รายงานล่าสุด ปัญหาการส่งมอบพื้นที่ โครงการไฮสปีดเชื่อมสนามบิน จากผู้จัดการออนไลน์ เนื้อหาเป็นประโยชน์ อุปสรรคตรงไหน เพราะอะไร เข้าใจง่าย มีเหตุมีผล
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9620000093110
การเจรจาไม่จบ เพราะไม่มีใครต้องการให้ประวัติศาสตร์โฮปเวลล์ซ้ำรอย
- นักธุรกิจกังวลว่า ร.ฟ.ท.จะสามารถส่งมอบที่ดินได้ตามสัญญาหรือไม่ เพราะสภาพที่ดินบางแห่งมีสิ่งกีดขวาง มีผู้บุกรุกในพื้นที่จำนวนมาก และถ้าไม่ทันตามกำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับความเสียหายเหมือนที่เกิดกับโฮปเวลล์มาแล้ว หากจะส่งมอบที่ดินก่อน 80% ส่วนอีก 20% ค่อยทยอยส่ง ต้องชัดเจนว่าจะส่งเมื่อไร เพราะถ้า 20% เป็นจุดที่ยากมาก ด้วยผู้บุกรุกหรือมีสิ่งกีดขวาง แต่ต้องสร้างแล้ว จะทำอย่างไร การรื้อถอนมีต้นทุน เดิมบางพื้นที่การรถไฟจะเป็นผู้จ่ายค่ารื้อถอน และให้ซีพีเป็นผู้ดำเนินการรื้อย้าย แต่ในการเจรจากลับมีปัญหา เพราะรัฐจะให้ซีพีจ่าย ทำให้การเจรจาไม่จบ
พื้นที่ก่อสร้างสุดโหดหลายช่วง อุปสรรคใหญ่ตลอดเส้นทาง แต่ร.ฟ.ท.ยังไม่ชัดเจน
- ซีพีระบุปัญหาการส่งมอบที่ดินเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงต้องการข้อสรุปจาก ร.ฟ.ท. ในการส่งมอบที่ดินอย่างชัดเจน เพราะบางพื้นที่ทำการก่อสร้างยาก มีข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น
- ช่วงพญาไทไปถึงสถานีจิตรลดา จะมีช่วงของวงเลี้ยวของรถไฟไฮสปีดเทรน ต้องใช้วงกว้าง ซึ่งจะหักเข้าเขตทางรถไฟ ไปยังสถานีจิตรลดา เพื่อไปเชื่อมต่อสายสีแดง Missing Link มีระยะก่อสร้าง 3 กิโลเมตร แต่
เป็นช่วงที่วงการก่อสร้างถือว่าโหดสุด ๆ เพราะเป็นพื้นที่แคบและหักโค้ง
- อีกทั้งตรงบริเวณนี้ตามแผนจะมีการก่อสร้าง จะเป็นการใช้พื้นที่ใช้ร่วมกันของรถไฟ 3 ระบบ คือ รถไฟสายสีแดง Missing Link, ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟของ ร.ฟ.ท. (Middle Gate)
- จะ
ต้องก่อสร้างท่ามกลางขบวนรถไฟสายต่าง ๆ ที่วิ่งเข้า-ออกหัวลำโพงที่มีจำนวนมาก แต่พื้นที่ในการทำงานน้อยมาก และต้องขุดเจาะเป็นอุโมงค์ ท่ามกลางรถไฟที่วิ่งตลอดเวลา
-
ประเมินว่าจากพญาไทถึงดอนเมืองแค่ 20 ก.ม. จะใช้เวลาทำงานก่อสร้างเท่ากับพญาไทถึงอู่ตะเภา 200 ก.ม.
- วง
สะพานพระราม ๖ มี
ท่อส่งน้ำประปาขนาดใหญ่ ท่อส่งน้ำมัน และก่อนเข้าสถานีบางซื่อ ยังมี
อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ของ กทม.
- และ
จากสถานีบางซื่อไปยังดอนเมือง ยังมีปัญหา
สายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 KV ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พาดผ่านรางรถไฟ ซึ่งเป็นสายไฟขนาดใหญ่มาก เป็นสายวงจรคู่สองชั้น รวมแล้ว 4 วงจร
- ซีพี
ต้องสร้างไฮสปีดตรงอุโมงค์ระบายน้ำ ในทางวิศวกรรมถือว่าค่อนข้างยาก เพราะท่ออยู่ลึก
แต่ที่ยากที่สุดก็ตรงสายไฟ 500 KV พาดผ่าน อาจจะต้องมีการวาง Root ใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลา 1-2 ปี
- การย้ายสายไฟ 500 KV ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ อาจต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม หรือถ้าจะย้ายลงดินเฉพาะช่วงจุดตัด ทำเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ก็ต้องใช้งบประมาณสูงอาจถึง 10,000 ล้านบาท
- ปัญหาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างล่าช้า จะอยู่ช่วงตั้งแต่
ฉะเชิงเทราไปถึงชลบุรี ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร เรื่องของท่อส่งน้ำมัน กับท่อส่งก๊าซ ซึ่งยังไม่ชัดว่าอยู่ในเขตรถไฟหรือไม่ แต่ที่เป็นปัญหาแน่ ๆ คือ Block Station ส่วนที่เป็น Block Valve เข้าไป
อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างจำนวนมาก
เสาตอม่อ เจรจาจบไปนานแล้ว ซีพีจ่ายเอง
- สำหรับเสาตอม่อ ที่เป็นของโครงการโฮปเวลล์เดิม ที่ต้องมีการรื้อย้ายจำนวน 300 ต้น เฉลี่ยต้นละ 500,000 บาท ต้องใช้งบประมาณถึง 150-200 ล้านบาทนั้น มีการคุยจนได้ข้อสรุปแล้วว่ากลุ่มซีพีเป็นฝ่ายออกค่ารื้อถอนทั้งหมด
ซีพีพร้อมดำเนินการรื้อย้าย แต่ร.ฟ.ท. ยังหาที่เก็บของให้ไม่ได้
- แม้กระทั่ง
ที่ดินมักกะสัน ก็ยังมีปัญหา
ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้สะดวก เพราะยังมีรางรถไฟ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ ร.ฟ.ท. ที่กลุ่มซีพีพร้อมดำเนินการย้ายให้ เพียงแต่ว่าย้ายแล้วจะให้นำไปไว้ที่ไหน ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป
อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายต่างมีเป้าหมายตรงกันให้โครงการนี้สำเร็จ จึงต้องเจรจากันให้รู้เรื่อง โดยลงลึกในรายละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างการดำเนินโครงการ จึงต้องเอาใจช่วยให้ทุกฝ่ายให้ทุกอย่างผ่านไปอย่างราบรื่น
เบื้องลึกเจรจาไฮสปีด แจงปัญหาสุดโหดตลอดเส้นทาง
การเจรจาไม่จบ เพราะไม่มีใครต้องการให้ประวัติศาสตร์โฮปเวลล์ซ้ำรอย
- นักธุรกิจกังวลว่า ร.ฟ.ท.จะสามารถส่งมอบที่ดินได้ตามสัญญาหรือไม่ เพราะสภาพที่ดินบางแห่งมีสิ่งกีดขวาง มีผู้บุกรุกในพื้นที่จำนวนมาก และถ้าไม่ทันตามกำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับความเสียหายเหมือนที่เกิดกับโฮปเวลล์มาแล้ว หากจะส่งมอบที่ดินก่อน 80% ส่วนอีก 20% ค่อยทยอยส่ง ต้องชัดเจนว่าจะส่งเมื่อไร เพราะถ้า 20% เป็นจุดที่ยากมาก ด้วยผู้บุกรุกหรือมีสิ่งกีดขวาง แต่ต้องสร้างแล้ว จะทำอย่างไร การรื้อถอนมีต้นทุน เดิมบางพื้นที่การรถไฟจะเป็นผู้จ่ายค่ารื้อถอน และให้ซีพีเป็นผู้ดำเนินการรื้อย้าย แต่ในการเจรจากลับมีปัญหา เพราะรัฐจะให้ซีพีจ่าย ทำให้การเจรจาไม่จบ
พื้นที่ก่อสร้างสุดโหดหลายช่วง อุปสรรคใหญ่ตลอดเส้นทาง แต่ร.ฟ.ท.ยังไม่ชัดเจน
- ซีพีระบุปัญหาการส่งมอบที่ดินเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงต้องการข้อสรุปจาก ร.ฟ.ท. ในการส่งมอบที่ดินอย่างชัดเจน เพราะบางพื้นที่ทำการก่อสร้างยาก มีข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น
- ช่วงพญาไทไปถึงสถานีจิตรลดา จะมีช่วงของวงเลี้ยวของรถไฟไฮสปีดเทรน ต้องใช้วงกว้าง ซึ่งจะหักเข้าเขตทางรถไฟ ไปยังสถานีจิตรลดา เพื่อไปเชื่อมต่อสายสีแดง Missing Link มีระยะก่อสร้าง 3 กิโลเมตร แต่เป็นช่วงที่วงการก่อสร้างถือว่าโหดสุด ๆ เพราะเป็นพื้นที่แคบและหักโค้ง
- อีกทั้งตรงบริเวณนี้ตามแผนจะมีการก่อสร้าง จะเป็นการใช้พื้นที่ใช้ร่วมกันของรถไฟ 3 ระบบ คือ รถไฟสายสีแดง Missing Link, ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟของ ร.ฟ.ท. (Middle Gate)
- จะต้องก่อสร้างท่ามกลางขบวนรถไฟสายต่าง ๆ ที่วิ่งเข้า-ออกหัวลำโพงที่มีจำนวนมาก แต่พื้นที่ในการทำงานน้อยมาก และต้องขุดเจาะเป็นอุโมงค์ ท่ามกลางรถไฟที่วิ่งตลอดเวลา
- ประเมินว่าจากพญาไทถึงดอนเมืองแค่ 20 ก.ม. จะใช้เวลาทำงานก่อสร้างเท่ากับพญาไทถึงอู่ตะเภา 200 ก.ม.
- วงสะพานพระราม ๖ มีท่อส่งน้ำประปาขนาดใหญ่ ท่อส่งน้ำมัน และก่อนเข้าสถานีบางซื่อ ยังมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ของ กทม.
- และจากสถานีบางซื่อไปยังดอนเมือง ยังมีปัญหาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 KV ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พาดผ่านรางรถไฟ ซึ่งเป็นสายไฟขนาดใหญ่มาก เป็นสายวงจรคู่สองชั้น รวมแล้ว 4 วงจร
- ซีพีต้องสร้างไฮสปีดตรงอุโมงค์ระบายน้ำ ในทางวิศวกรรมถือว่าค่อนข้างยาก เพราะท่ออยู่ลึก แต่ที่ยากที่สุดก็ตรงสายไฟ 500 KV พาดผ่าน อาจจะต้องมีการวาง Root ใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลา 1-2 ปี
- การย้ายสายไฟ 500 KV ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ อาจต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม หรือถ้าจะย้ายลงดินเฉพาะช่วงจุดตัด ทำเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ก็ต้องใช้งบประมาณสูงอาจถึง 10,000 ล้านบาท
- ปัญหาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างล่าช้า จะอยู่ช่วงตั้งแต่ฉะเชิงเทราไปถึงชลบุรี ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร เรื่องของท่อส่งน้ำมัน กับท่อส่งก๊าซ ซึ่งยังไม่ชัดว่าอยู่ในเขตรถไฟหรือไม่ แต่ที่เป็นปัญหาแน่ ๆ คือ Block Station ส่วนที่เป็น Block Valve เข้าไปอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างจำนวนมาก
เสาตอม่อ เจรจาจบไปนานแล้ว ซีพีจ่ายเอง
- สำหรับเสาตอม่อ ที่เป็นของโครงการโฮปเวลล์เดิม ที่ต้องมีการรื้อย้ายจำนวน 300 ต้น เฉลี่ยต้นละ 500,000 บาท ต้องใช้งบประมาณถึง 150-200 ล้านบาทนั้น มีการคุยจนได้ข้อสรุปแล้วว่ากลุ่มซีพีเป็นฝ่ายออกค่ารื้อถอนทั้งหมด
ซีพีพร้อมดำเนินการรื้อย้าย แต่ร.ฟ.ท. ยังหาที่เก็บของให้ไม่ได้
- แม้กระทั่งที่ดินมักกะสัน ก็ยังมีปัญหา ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้สะดวก เพราะยังมีรางรถไฟ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ ร.ฟ.ท. ที่กลุ่มซีพีพร้อมดำเนินการย้ายให้ เพียงแต่ว่าย้ายแล้วจะให้นำไปไว้ที่ไหน ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป
อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายต่างมีเป้าหมายตรงกันให้โครงการนี้สำเร็จ จึงต้องเจรจากันให้รู้เรื่อง โดยลงลึกในรายละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างการดำเนินโครงการ จึงต้องเอาใจช่วยให้ทุกฝ่ายให้ทุกอย่างผ่านไปอย่างราบรื่น