อ่อนเพลียเรื้อรังระวังภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะพบภาวะนี้ได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กลดลง ประจำเดือนออกมากในผู้หญิง มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ในระยะที่มีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย มักไม่มีอาการแสดงชัดเจน ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการผิดปกติใดๆ ในคนที่มีภาวะโลหิตจางมาก หรือเกิดขึ้นฉับพลัน มักจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร ถ้าเป็นมากอาจมีอาการใจหวิว ใจสั่นร่วมด้วย
ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางชัดเจน มักพบว่ามีอาการหน้าตาซีดเซียว ฝ่ามือซีด เล็บซีด เยื่อบุเปลือกตา ริมฝีปาก และลิ้นซีดขาวกว่าปกติ
โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยภาวะโลหิตจางว่าเกิดจากการขาดธาตุเหล็กหรือไม่ จากการเจาะเลือดส่งตรวจเพื่อตรวจดูปริมาณและขนาดของเม็ดเลือดแดง ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายและปริมาณธาตุเหล็กสะสม ซึ่งมักพบว่ามีระดับความเข้มข้นของเลือด (hemoglobin) ต่ำกว่า 12 กรัม/เดซิลิตร
เมื่อตรวจพบว่าเป็นโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก แพทย์จะให้ยาบำรุงโลหิต ถ้าหากพบว่ามีโรคหรือภาวะอื่นที่เป็นสาเหตุของโลหิตจางร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาควบคู่กันไป เช่น ให้ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ให้ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร
สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของอาการของผู้ป่วย หากมีภาวะโลหิตจางรุนแรงมาก อาจต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้ออกซิเจนให้เลือดทดแทน จากนั้นจึงให้ยาธาตุเหล็กทดแทนร่วมไปด้วย
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู นม ไข่ รวมถึงผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีสูงซึ่งจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กที่กำลังเจริญเติบโตและผู้ที่บริจาคโลหิตเป็นประจำ เพื่อเป็นการป้องกันภาวะโลหิตจางที่อาจเกิดขึ้นได้
อ่อนเพลียเรื้อรังระวังภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
อ่อนเพลียเรื้อรังระวังภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะพบภาวะนี้ได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กลดลง ประจำเดือนออกมากในผู้หญิง มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ในระยะที่มีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย มักไม่มีอาการแสดงชัดเจน ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการผิดปกติใดๆ ในคนที่มีภาวะโลหิตจางมาก หรือเกิดขึ้นฉับพลัน มักจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร ถ้าเป็นมากอาจมีอาการใจหวิว ใจสั่นร่วมด้วย
ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางชัดเจน มักพบว่ามีอาการหน้าตาซีดเซียว ฝ่ามือซีด เล็บซีด เยื่อบุเปลือกตา ริมฝีปาก และลิ้นซีดขาวกว่าปกติ
โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยภาวะโลหิตจางว่าเกิดจากการขาดธาตุเหล็กหรือไม่ จากการเจาะเลือดส่งตรวจเพื่อตรวจดูปริมาณและขนาดของเม็ดเลือดแดง ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายและปริมาณธาตุเหล็กสะสม ซึ่งมักพบว่ามีระดับความเข้มข้นของเลือด (hemoglobin) ต่ำกว่า 12 กรัม/เดซิลิตร
เมื่อตรวจพบว่าเป็นโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก แพทย์จะให้ยาบำรุงโลหิต ถ้าหากพบว่ามีโรคหรือภาวะอื่นที่เป็นสาเหตุของโลหิตจางร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาควบคู่กันไป เช่น ให้ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ให้ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร
สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของอาการของผู้ป่วย หากมีภาวะโลหิตจางรุนแรงมาก อาจต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้ออกซิเจนให้เลือดทดแทน จากนั้นจึงให้ยาธาตุเหล็กทดแทนร่วมไปด้วย
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู ตับวัว เลือดหมู นม ไข่ รวมถึงผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีสูงซึ่งจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กที่กำลังเจริญเติบโตและผู้ที่บริจาคโลหิตเป็นประจำ เพื่อเป็นการป้องกันภาวะโลหิตจางที่อาจเกิดขึ้นได้