พิพิธภัณฑ์เอกชนที่มีเครื่องบินมากที่สุดในโลก

กระทู้สนทนา
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Michel Pont: Jet Fighter Collector - Meet The Record Breakers Europe
.
ท่ามกลางเนินเขาชนบทพื้นที่ผลิตไวน์ Burgundy
ที่รายล้อมไปด้วยไร่องุ่นและผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์
มีในปราสาทสมัยศตวรรษที่ 14 ของ Michel Pont  นักสะสมตัวยง 
ผู้ชอบสะสมของทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าจะเป็นรถแข่งมอเตอร์ไซค์หรือแม้แต่เครื่องบินขับไล่
ท่านได้เปลี่ยนปราสาทในชุมชน Savigny-lès-Beaune
ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนขนาดใหญ่
ที่มีรถจักรยานยนต์กว่า 250 คัน รถแข่ง 30 คัน
และของสะสมที่น่าประทับใจคือ
เครื่องบินรบและเฮลิคอปเตอร์ 110 ลำ
ของสะสมส่วนตัวที่มากที่สุดในโลก

1
ที่ Chateau de Savigny-lès-Beaune Credit : Roland Turner / Flickr
.
Michel Pont ลูกชายของผู้ผลิตไวน์ 
เริ่มสะสมจักรยานยนต์เมื่ออายุเพียง 20  ปี
หลังจากนั้นก็เริ่มให้ความสนใจในการแข่งรถจักรยานยนต์
และมีส่วนร่วมในการแข่งขันและประชันกันในช่วงยุค 60 และต้นยุค 70
แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในการแข่งแข่ง
ทำให้ท่านเกือบเสียชีวิตในคราวนั้น
ท่านตัดสินใจเลิกกิจกรรมนี้และเริ่มสะสมรถยนต์แทน

ต่อมาความสนใจด้านการบินของ Michel Pont
กลับยิ่งเพิ่มมากขึ้นในอาชีพทหารอากาศที่ Dijon ในช่วงปี 1950
ในฐานะสมาชิกของกองทัพอากาศฝรั่งเศส
ท่านได้มีโอกาสพบนักบินและเห็นเครื่องบินทุกประเภท
ท่านเริ่มซื้อเครื่องบินปลดประจำการเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว
จากทั่วทุกมุมโลก เช่น อังกฤษ โปรตุเกสและรัสเซีย นอกเหนือจากฝรั่งเศส

“ ผมเดินทางไปกับทีมช่างเพื่อซื้อเครื่องบิน
รื้อพวกมันออกมาเป็นชิ้น ๆ เช่ารถเครนที่นั่น
ค้นหาผู้ขนส่งและนำมันกลับมาที่ฝรั่งเศส
ลำล่าสุดของผมคือ sabre  เครื่องบินอเมริกา
ที่ผมซื้อจากสวีเดน เราซ่อมแซม ทำสีใหม่
และทำความสะอาดมันให้เหมือนของใหม่
ฐานทัพทุกแห่งในฝรั่งเศสเป็นเขตทหารห้ามเข้า
แต่ที่นี่ คือสถานที่เดียวที่จะได้เห็นเครื่องบินเกือบทุกชนิดจากรอบโลก "
Micheal Pont  ให้สัมภาษณ์กับ Guinness World Records ซึ่งบันทึกว่ามีเครื่องบินรบ 110 ลำ

Micheal  Pont ยังได้ซื้อปราสาทและสวนรอบ ๆ
ใน Savigny-lès Beaune  ในช่วงต้นทศวรรษ 1980
ปราสาทถูกสร้างขึ้นในปี 1883 โดย Duke of Eudes
แต่ถูกทำลายในปี ค.ศ. 1478
หลังจากการรุกรานของ Burgundy โดย Louis XI
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17
ปราสาทได้ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยตระกูล Bouhier

เมื่อ Micheal Pont ได้ครอบครองทรัพย์สินแล้ว
ได้พัฒนาสวนเดิมที่ความว่างเปล่า
ด้วยการปลูกองุ่น 4 เฮคตาร์เพื่อทำไวน์
และเตรียมไว้ 2-3 เฮกตาร์สำหรับเครื่องบินของท่าน
ของสะสมประเภทรถแข่งและรถจักรยานยนต์อยู่ภายในปราสาท
และยังรวบรวมเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถไถและรถแทรกเตอร์ รวมทั้งของเก่า
ข้าวของเหล่านี้ถูกจัดแบ่งเป็น 9 พิพิธภัณฑ์ที่แยกจากกันภายปราสาท
ทั้งนี้ มีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ของ Micheal Pont  มากกว่า 35,000 คนในแต่ละปี

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2m1AAXU
https://bit.ly/2lmi2RT
https://bit.ly/2n0VyGj
https://bit.ly/2llEMkP


2
The château of Savigny-lès-Beaune, France. credit:  PicksArt/Shutterstock.com

3
 Meteor NF.11.  credit: Roland Turner/Flickr


4
 
credit: Groumfy69/Wikimedia Commons

 5
credit: Roland Turner/Flickr

6
 
Gloster Meteor TT20  credit: Johnny Comstedt/Flickr

7
 
Gloster Meteor T7 credit: Johnny Comstedt/Flickr

8
 
Mirage, F-16 and Starfighter credit: Roland Turner/Flickr

9
 
F-105 Thunderchief credit: Roland Turner/Flickr

10
A Dassault Etendard credit: Roland Turner/Flickr

ภาพ 11-13 Credit : https://bit.ly/2lmi2RT
11

12

13

ภาพ 14-18 Credit : https://bit.ly/2llEMkP
14

15

16

17

18


.
๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๖ สองพี่น้องตระกูล ไรท์ ( Orville-Wilbur Wright ) 
ชาวอเมริกันประสบความสำเร็จนำเครื่องบินที่สร้างขึ้นเอง
บินให้ชาวโลกได้นาน ๑๒ วินาที บินสูง ๒๐ ฟุตไปไกล ๑๒๐ ฟุต ถือว่ามนุษย์บินได้ตั้งแต่นั้นมา
๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ในสมัยในหลวง ร.๖
Vanden Born นักบินชาวเบลเยี่ยม
นำเครื่องบินปีก ๒ ชั้น แบบอังรีฟาร์มังของฝรั่งเศส
ลำตัวมีแต่โครงโปร่ง ๆ ไม่มีแพนหางเสื้อเลี้ยว
มีเครื่องยนต์ติดตั้งอยู่ตรงกลางลำตัวใกล้ชายปีกชั้นล่าง
เครื่องยนต์ขนาด ๕๐ แรงม้า ซึ่งให้แรงดันขับตัวเครื่องบินพุ่งไปข้างหน้า
ในอัตราความเร็วชั่วโมงละ ๕๐ กิโลเมตร
มีฐานกางมีล้อคล้ายล้อรถจักรยานข้างละ ๒ ล้อ
ตอนหัวประกอบด้วยไม้ยาว ๔ อันยื่นออกไป
บรรจบกันกับแพนเล็ก ๆ อันหนึ่งซึ่งขยับขึ้นลงได้
และที่นั่งคนขับอยู่บนปีกชั้นล่างหน้าเครื่องยนต์

โดยบินจากไซ่ง่อน (นครโฮจิมินห์) 
ผ่านน่านฟ้ากัมพูชา มาร่อนลงอย่างสง่างามที่สนามม้าสระปทุม 
โดยมีกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ทรงให้การต้อนรับ 
ประชาชนในบางกอกมารอชมเครื่องบินลำแรกที่บินมาลงในแผ่นดินสยาม
พร้อมกับนำมาแสดงให้ประชาชนชมและเก็บเงินค่าผ่านประตูที่สนามม้าสระปทุม 
หลังจากที่เครื่องบิน บินอยู่สักพักก็ลงสนาม 
นักบินได้เชิญให้ทหารไทยขึ้นโดยสารทดลองดู
ปรากฏว่าทหารไทยที่กล้าขึ้นเป็นคนแรกได้แก่
นายพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป)
ผู้บังคับกองพันพิเศษ กองพลที่ ๕ 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน 
กับเครื่องบินที่ชาวฝรั่งเศสนำมาแสดงเป็นครั้งแรกในเมืองไทย 
ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าปทุมวัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ 
ในตอนต้นรัชกาลที่ ๖ (ภาพจาก "หนังสือกรุงเทพฯ ในอดีต")


เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2lr9dWO
https://bit.ly/2n7IP4G




นายเลื่อน พงษ์โสภณ ผู้มีฉายาว่า เลื่อนกระดูกเหล็ก
เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕  ที่บ้านริมคลองรอบกรุง ย่านประตูสามยอด
บิดามารดามีร้านขายเฟอร์นิเจอร์และมีโรงสีด้วย
นายเลื่อนจึงสนใจเครื่องยนต์กลไกมาแต่เด็ก
ส่วนฉายา เลื่อนกระดูกเหล็ก ก็เพราะเป็นนักบิดมอเตอร์ไซค์ชั้นแนวหน้าของยุค
มีการประลองความเร็วกันเมื่อใด นายเลื่อนจะนำฮาร์เลย์เดวิดสันคู่ชีพลงชิงชัยด้วยทุกที
และชนะทุกครั้งจนถ้วยเต็มบ้าน เพราะบิดอย่างไม่กลัวเจ็บกลัวตาย

ท่านไปเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก ใกล้จะจบติดดาว
มีประกาศรับสมัครทหารไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ยุโรป จึงลาออกสมัครไปรบด้วย
เมื่อสงครามสงบ ทางราชการให้ทหารอาสาที่สนใจเครื่องยนต์เรียนต่อที่ฝรั่งเศสได้
ท่านสอบคัดเลือกได้เป็นอันดับ ๑  เข้าเรียนจนจบหลักสูตร
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๓  ท่านได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์รัชกาลที่ ๗
ให้ไปเรียนวิชาการบินที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๓ ปี
ช่วงเรียนก็ยังไปรับจ้างแสดงการบิดผาดโผนจนเป็นที่ชื่นชอบของคนดู
ตระเวนไปแสดงใน หลายรัฐ จนสามารถเก็บเงินซื้อเครื่องบินแบบเดียว
กับที่ใช้แสดงกลับมาเมืองไทยด้วย ตั้งชื่อให้ว่า  MISS SIAM นางสาวสยาม

เมื่อนายเลื่อนกลับมา/หางานทำไม่ได้
แม้ว่าสยามมีกรมอากาศยาน-กองทัพบก เครื่องบินฝรั่งเศส ๘ ลำ
จึงทูลรัชกาลที่ ๗ ขอนำนางสาวสยาม บินเบิกฟ้าจากสยามไปฮ่องกง
ซึ่งทรงอนุญาต ทั้งรับสั่งว่าเป็นความคิดที่ดีมาก พร้อมพระราชทานพรให้
 
ระยะทางบิน ๑,๔๐๐ ไมล์ จากสนามบินดอนเมือง
วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แวะไปตลอดทาง
ตั้งแต่นครราชสีมาเป็นครั้งแรก  ผ่านเวียดนาม จีน ถึงฮ่องกงในวันที่ ๒๓ มิถุนายน
ค้าง ๓ คืนแล้วบินกลับในเส้นทางเดิม  กลับมาถึงดอนเมืองในวันที่ ๓ กรกฎาคม
แม้ว่าจะมีที่นั่งสำหรับผู้โดยสารอีก ๑ ที่  แต่ก็ไม่มีใครไปด้วย

นางสาวสยาม คือ เครื่องบินพลเรือนลำแรกของไทย
และ นายเลื่อน พงษ์โสภณ ก็เป็นนักบินพลเรือนคนแรกของไทย
ต่อมานายเลื่อนเข้าทำงานกับบริษัท เดินอากาศ จำกัด  
เป็นนายสนามบินโคราช จนได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. โคราช ๔ สมัย
เป็นรัฐมนตรีลอยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมถึง ๖ รัฐบาล
และได้รับพระราชทานยศเป็น นาวาอากาศเอก

พ.ศ.๒๕๔๕ ครบรอบ ๗๐ ปีนางสาวสยาม
มีการบูรณะเครื่องบินและบินย้อนรอยทางเดิม
โดย โดยนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน พร้อมนักบินร่วม ๖ นาย
 
 
เรียบเรียง/ที่มา

แก้ไขข้อความเมื่อ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่