เรื่องเล่าของ สังขานต์ จากนามธรรม สู่ รูปธรรม

เรื่องเล่าของ สังขานต์ จากนามธรรม สู่ รูปธรรม

เรื่องเล่าของตำนานนานจากเมื่องแพร่เล่าสืบต่อกันมาอย่างช้านาน
จุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์งานนี้คือ ตัวของผู้สร้างสรรค์ใด้อยู่กับทวดมาตั้งแต่เด็กและทวดได้เลี้ยงดูและทวดได้ก็จะมีเรื่องราวที่มีมาจากบรรพบุรุษและเล่าสืบต่อกันมาอย่างช้านานและเรื่องที่ผมได้สนใจคือ เรื่องเล่าของจขานเมืองแพร่เรื่องราวก็จะไม่ต่างจากเรื่องเล่ากลุ่มภาคเหนือแต่จะมีความเชื่อแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันบางส่วนแต่ได้หาข้อมูลจากคนแก่แถวบ้านว่าเรื่องเล่านี้มีความเป็นมาเหมือนกันไหมทุกข้อมูลที่หาจากเมืองแพร่คือจขานมักเป็นเรื่องเล่าที่คนสมัยเก่าแกอุบปโหลกมาให้คนได้เห็นความสำคัญของวันสำคัญนั้นๆจากการเก็บข้อมูลมาผมก็ได้ข้อมูลจากเมืองแพร่มาส่วนมากประเด็นก็จะคล้ายๆกัน

วันสังขานต์ล่อง ประเพณีล้านนา ปีใหม่เมือง มีเล่าต่อกันมา
ตำนานวันสังขารล่อง
จากปู่สังขารสู่ขุนสังขานต์
จขาน นั้นมาจากสังขานต์ที่เป็นสันกฤษอยู่เเล้วโดย ในช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง ทางล้านนามีวันสำคัญอยู่สามวัน ได้แก่ วันสังขานต์ล่อง วันเน่า และวันพระญาวัน วันสังขานต์ล่อง คือ วันสิ้นปี วันเน่า เป็นวันสุกดิบ หมายถึงวันที่อยู่ระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ ส่วน วันพระญาวัน เป็น วันเถลิงศก ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่
เฉพาะวันสังขานต์ล่องนั้นมีเรื่องราวเล่าสู่กันฟังทั้งในรูปแบบของวรรณกรรม มุขปาฐะ และวรรณกรรม ลายลักษณ์ วรรณกรรมมุขปาฐะ เป็นการเล่าขานสู่กันฟังจากปากสู่ปากไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนวรรณกรรมลายลักษณ์คือวรรณกรรมที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องของสังขานต์ มีการสร้างภาพในเชิงบุคลาธิษฐานไว้สองลักษณะ คือลักษณะแบบชาวบ้านและลักษณะของโหราศาสตร์ โดยที่ลักษณะของชาวบ้านจะให้ภาพเป็นภาพลบ คือเสนียดยิ้ม ในขณะที่ลักษณะของโหราศาสตร์จะให้ภาพเป็นภาพบวก คือเป็นเทพอันสูงส่ง
คำว่า "สังขานต์" ได้กล่าวถึงคำนี้ว่า
"…ต้นเค้าของคำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า สงฺกฺารนติ ซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า "สังขาน" ทั้งนี้ ในการเขียนด้วยอักษรล้านนานั้น อาจเขียนหลากกันไปเป็น สํกฺราน สํขาน สังขาน สังกราน หรือ สังขราน ซึ่งต่างก็ออกเสียงเหมือนกัน จึงทำให้มีผู้เลยเข้าใจว่าเป็นสังขารได้"
สังขานต์ ในภาพของชาวบ้าน มีลักษณะเป็นภาพลบ มีคำนำหน้าว่า "ปู่" หรือ "ย่า" เล่าขานกันด้วยวรรณกรรมมุขปาฐะ บางแห่งมีเฉพาะปู่สังขานต์ บางแห่งมีเฉพาะ ย่าสังขานต์ และบางท้องที่มีทั้งปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ มีรูปร่างลักษณะน่าเกลียด พุงกาง คางใหญ่ นัยน์ตาเหลือกถลน การมาของปู่สังขานต์หรือย่าสังขานต์จะมาในเช้ามืดของวันสังขานต์ล่อง บางถิ่นว่า สะพายย่ามมา บางแห่งว่าหาบตะกร้ามา หรือบางที่ว่า นุ่งห่มเสื้อผ้าสีแดง สยายผมล่องแพมาตามลำน้ำ เด็ก ๆ สมัยก่อนมักถูกหลอกให้ตื่นเช้าเพื่อดูสังขานต์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเด็กคนไหนได้พบเห็นสังขานต์ ความเข้าใจสำคัญของชาวบ้าน คือ เสนียดยิ้ม สิ่งที่ปู่หรือย่าสังขานต์ นำติดตัวมาด้วยนั้นคือสิ่งอัปมงคล ซึ่งควรจะล่วงเลยไปกับปีเก่า จึงต้องมีการจุดประทัดยิงปืน เคาะกะโหลกโขกกะลา ให้เกิดเสียงดังเพื่อเร่งเร้าให้สังขานต์ผ่านพ้นไปโดยเร็ว ขณะที่วัดวาอารามก็มีการตีกลอง ลั่นระฆัง เป็นการเตือนว่าความไม่เที่ยงของชีวิตได้เปลี่ยนไปอีกรอบหนึ่งแล้ว และการที่วัดทำอย่างนั้นจึงเป็นที่มาของคำ "สังขาร" อีกคำหนึ่ง ความสับสนจึงตามมาว่าจะใช้คำไหน ซึ่งในระยะหนึ่งใช้คำว่า "สังขาร" ตัวสังขานต์ จึงเป็น"ปู่สังขาร" หรือ "ย่าสังขาร" แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาใช้ "สังขานต์" เพราะจำนนด้วยเหตุผลทางวิชาการ
ส่วนสังขานต์ในทัศนะของ โบราณาจารย์ทางโหราศาสตร์จะเป็นลักษณะบวก กล่าวคือเป็นสุริยเทพ ถูกยกย่องและให้ความสำคัญโดยมีคำว่า "ขุน" นำหน้า มีการแต่งกายด้วยเครื่องสูง ประดับกายด้วยรัตนชาติ มีเทพธิดามาคอยต้อนรับ และมีการบันทึกไว้เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษร ในคัมภีร์โหราศาสตร์ โดยนักปราชญ์พฤฒาจารย์
การดำรงคงอยู่ของการโห่ไล่สังขานต์ดำรงอยู่นานเพราะเป็นวรรณกรรมที่บริโภคง่าย ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออด้านสติปัญญา ขณะเดียวกันการขาดช่วงของขุนสังขานต์ เพราะไม่มีใครอ่านองค์ความรู้เดิม ทั้งนี้มีปัจจัยแห่งการแปรเปลี่ยนด้านสังคมและการเมืองที่เมธีชนทราบกันอยู่
ข้อมูลโดย สนั่น ธรรมธิ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลข้างต้นสู่แรงบันดาลใจงานศิลปะจิตรกรรม
ภาพถ่ายตัวผู้สร้างสรรค์ผลงาน

ประวัติผู้สร้างสรรค์
ชื่อนาย กฤษณะ เทศน์ไธสง อายุ 22 ปี เกิดวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ที่อยู่268/1 หมู่ 8 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสถาปัตย์กรรมศาสตร์เเละศิลปกกรมศาสตร์ สาขา ศิลปะเเละการออกแบบ ชั้นปีที่4
เรื่องเล่าจากขุนสังขานต์เป็นเรื่องเล่าในสมัยเด็กที่ทวดเล่าใหฟ้ังเกี่ยวกับเรื่องเล่าของจขานหรอื ขุนสังขานต์เป็นเรื่องเล่าที่ถูกเล่าสืบต่อกันมาสมัยบรรพบุรุษที่เล่ากันมาจากปากสู่ปาก ในสมัยก่อนคน ล้านนาได้อุปโหลกเรื่องเล่ารูปร่าง ท่าทาง ลักษณะเด่น น้ีข้ึนมาเป็นเหมือนการให้ความสำคัญกับวัน สำคัญของล้านนาเกี่ยวกับวัฒธรรม ความเชื่อ ให้คนได้ระลึกถึงปฎิบัติกันมาเรื่อยๆโดยเรื่องราวของ จขาน คือทุกวันที่13ก่อนรุ่งสร่างจะมีจขานจะออกมาเดินตามถนนเชื่อว่าจะมารับสิ่งที่ไม่ดีจากชีวติเราไป แต่บางท้องถิ่นเชื่อว่าจะนำเอาสิ่งไม่ดีมาให้ จึงมีการจุดประทัด(ภาษาเหนือคือ ประทัด)และจุดกองไฟ เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีและความเชื่ออีกหนึ่งอย่างคือขุนสังขานตร์ประจำวันของแต่ละปีจะมีการคำนวณ ทางปฎิทินล้านนาว่าแต่ละปีขุนสังขานต์จะตรงกับวันไหน จุดเด่นของขุนสังขานต์เป็นอย่างไร ถ้าตรงกับ วันอาทิตย์ ขุนสังขานต์ ขี่นาค มือซ้ายถือค้อนเหล็ก มือขวาถือปืน วันจันทร์จะขี่ครุฑ มือซ้างถือหอก มือขวาถือขอช้าง วันอังคาร นั่งยักษ์ วันพุธขี่ ควาย มือซ้ายถือดาบ มือขวาถือดอกไม้ วันพฤหัสบดี ขี่ม้า มือซ้ายถือน้ำเต้า มือขวาถือพัด วันศุกร์ขี่วัว มอืซ้ายถือไม้เท้า มอืขวาถือค้อนเหล็ก วันเสาร์นั่งบนปราสาท มือซ้ายถือขวาน มือขวาถือค้อนเหล็ก และทุกปีจะเปลี่ยนตามวันและขุนสังขานต์แต่ละปีจะมี ลักษณะเฉพาะวันคนส่วนมากจะไม่รู้เร่ืองเล่าหรือสิ่งที่เป็นเรื่องราวของวันสำคัญนั้นๆ การที่ทำให้ขุนสัง ขานต์จากเรื่องเล่าที่เป็นเพียงนามธรรมออกมาในรูปแบบของรูปธรรมที่ทำให้เห็นถึงภาพประกอบของ ขุนสังขานต์และให้คนที่อยู่ต่างถิ่นได้เห็นถึงลักษณะของขุนสังขานต์ตามวันโดยการสร้างสรรค์ผ่านงาน จิตรกรรม
สิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องการจะสื่อถึง
การสร้างสรรค์ รูปลักษณ์และจุดเด่นของขุนสังขานต์ในแต่ละวันให้เป็นรูปธรรมและการเพิ่ม เต็มความคิดในการสร้างสรรค์งานในแบบข้าพเจ้า
จขานเรื่องเล่าของคนยุคเก่าสู่ภาพจิตรกรรมของคนยุคใหม่
สร้างสรรค์งานจติกรรมสีอะคิลิค รูปร่าง หน้าตา ลักษณะเฉพาะ ของตัวละครจากเรื่องเล่า ของจขานและวรรณกรรมสร้างสรรค์ให้ผลงานทำให้เข้าใจลักษณะ และการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า ผล ที่คาดว่าจะได้รับ การสร้างความเข้าใจและลักษณะเฉพาะของขุนสังขานต์แต่ละวันให้ผู้ที่รับชมผลงานได้ รู้ถึงตัวละคร อาวุธประจำกาย และยังเพิ่มความเข้าใจแก่ผู้ที่อยู่ต่างถิ่น

กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน

ข้อมูลอิทธิพลที่ส่งผลต่องาน เป็นเรื่องราวที่เข้าใจอยากและข้อมูลอาจจะได้ค่อยชัดเจนและข้อมูลจากสื่ออาจมีความคาดเคลื่อนจึง หาข้อมูลจากคนที่เคยได้ฟังเรื่องเล่า และปัจจัยต่างๆในการ สร้างสรรค์ เช่น สีทีใช้ควรเข้ากับงานการสร้างสรรค์เพิ่มเติม


การตีความหมายของจขานผ่านผลงานด้านจิตรกรรมของคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวคิดวรรณกรรมมุขปาฐะมาสู่รูปแบบของรูปธรรม
วันอาทิตย์ ขุนสังขานต์ ขี่นาค มือซ้ายถือค้อนเหล็ก มือขวาถือปืน

วันจันทร์จะขี่ครุฑ มือซ้างถือหอก มือขวาถือขอช้าง

วันอังคาร นั่งยักษ์


วันพุธขี่ ควาย มือซ้ายถือดาบ มือขวาถือดอกไม้


วันพฤหัสบดี ขี่ม้า มือซ้ายถือน้ำเต้า มือขวาถือพัด


วันศุกร์ขี่วัว มอืซ้ายถือไม้เท้า มอืขวาถือค้อนเหล็ก


วันเสาร์นั่งบนปราสาท มือซ้ายถือขวาน มือขวาถือค้อนเหล็ก

จขานที่เป็นเพียงเรื่องเล่าที่เป็นเพียงแค่นามธรรม มาสร้างสรรค์ในรูปแบบของงานจิตรกรรม เมื่อคนที่มาได้พบได้เข้าใจและจดจำตัวตนหรือลักษณะเด่นของจขานในแต่ละวัน และปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ถึงเรื่องเล่าในวันสำคัญเพื่อไม่ให้เรื่องราวเหล่านี้สูญหายไป...
โดยรวมเเล้วผลงานชิ้นนี้นั้นยังมีคำถามการติดตั้ง ที่ว่าการติดตั้งผลงานนั้นมันสูงกว่าระดับสายตาคนปกติรวมถึงลายของตัวจขานนั้นยังสื่อไม่ถึงของตัวงานกับเรื่องที่ผู้สร้างสรรค์ออกแบบ เเละ นายทวี เสรีวาศ ได้กล่าวว่า “ชอบลายเส้นของผลงานชิ้นนี้ เพราะว่ามันดูเป็นเอกลักษณ์” ซึ่งมันเป็นเอกลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์เอง
โดยผลงานของศิลปินนั้น ยังมีความไม่ชัดเจนของตัวงานที่สร้างสรรค์กับเรื่องราวที่ยังสื่อออกมายังไม่ค่อยชัดเจนมากเท่าไหร่และการตีความหมายหมายของการเชื่อมโยงของผลงานยังไม่ค่อยตรงกันสักเท่าไหร่และอาจทำให้คนที่มารับชมผลงานยังไม่รู้ว่าตัวของสังขานต์ที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายและข้อมูลอาจยังจะไม่ค่อยตรงกับผลงาน และคิดว่างานน่าจะออกมาสื่ิอในรุปแบบที่จะทำให้ผู้คนที่เข้ามาชมผลงานได้เห็นและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

การจัดการผลงานเเละเเสดงงาน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562

นาย กฤษฎา เจริญ 591120030
นาย กฤษณะ เทศน์ไธสง 59120041
นาย ธนวัชร คำเอี่ยม 59120210
นายรัตนากร ศรีศักดา 59120300
เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ศิลปะวิจาร์ Art Criticism 181431
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่