k’u.@Bar.ac.th
ในปัจจุบันนี้ภาคเหนือมีกลุ่มพระสงฆ์จำนวนหนึ่งที่ได้รับเรียกขานจากผู้ศรัทธาด้วยคำว่า “ครูบา” “พระครูบา” หรือ “ครูบาเจ้า” โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์กลุ่มนี้มักมีภาพลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ นุ่งห่มด้วยจีวรสีกรักแดง หรือสีกรักน้ำตาล นุ่งห่มแบบรัดอก นิยมสวมลูกประคำ
และใช้ตาลปัตรทำจากใบลานหรือขนนกยูง ซึ่งถือว่าเป็นภาพลักษณ์สำคัญของความเป็นครูบาศรีวิชัยที่รับรู้และเข้าใจกันในทุกวันนี้

ครูบาศรีวิชัย ต้นแบบแห่งครูบาในยุคปัจจุบัน
แต่เนื่องจากกลุ่มครูบาคติใหม่นั้นส่วนใหญ่มักมีอายุพรรษาน้อย บางรูปถูกเรียกด้วยคำว่า “ครูบา” ตั้งแต่เป็นสามเณรว่า “ครูบาเณร” หรือ “ครูบาน้อย” ครูบาคติใหม่จึงถูกเรียกว่า “ครูบาอุกแก๊ส” หรือ “ครูบาบ่มแก๊ส” หมายถึง การบ่มเพื่อเร่งให้สุกก่อนเวลาที่สมควร เปรียบดั่งผลไม้ที่ถูกเร่งให้สุกก่อนเวลา ทำให้รสชาติไม่อร่อย กระแสวิพากษ์วิจารณ์นี้นำมาสู่ข้อถกเถียงทางวิชาการในประเด็นของการนิยามคำว่า “ครูบา”

ครูบา เจษฎา จิรสีโล

ครูบา อริยชาติ อริยจิตโต
ซึ่งปัจจุบันกลับมีครูบาที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งการแต่งตั้งตนเอง การแต่งกายสีกรักเลียนแบบ ครูบาศรีวิชัยการใช้ความเชื่อความศรัทธา อ้างคุณวิเศษหูทิพย์ตาทิพย์ มาบ่งบอกตนเองว่าเป็นครูบา ใช้ศาสนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว ไม่ถูกหลักพระธรรมวินัย เป็นการหลอกลวงประชาชน ศิลปินจึงได้แรงบันดาลใจจากส่วนนี้มาสร้างสรรค์ผลงานภายใต้ แนวคิด การตีแผ่พระสงฆ์ ครูบา ที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทำมาหากิน ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา

นาย ศุภกิตติ์ เครือสาร นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ศิลปินเองเคยมีโอกาสได้อยู่ในร่มกาสาวพัตร์ถึง 3 พรรษา ซึ่งนี้อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวศิลปินได้รับรู้ถึงเรื่องราวปัญหาในพุทธศาสนา และนำมาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้

ต๋นบุญ
ภายใต้ชื่อผลงานk’u.@Bar.ac.th โดยศิลปินให้ความหมายกับชื่อผลงานว่า kingในหมู่ You
คือเป็นทีสุดในหมู่สงฆ์ ซึ่งศิลปินเองสร้างสรรค์ผลงานออกมาทั้งหมด 3 เฟรม โดยแบ่งออกเป็น 1.ต๋นบุญ 2.จารีตล้านนา 3.การปรับตัวในยุคปัจจุบัน ในรูปแบบเทคนิคกรดอท(จุด,วงกลม)
ที่เปรียบกับลูกประคำที่ครูบามักห้อยกัน รวมกับการติดตั้งที่คล้ายกับพิธีศพของพระในภาคเหนือ ซึ่งในอดีตการจัดพิธีแบบนี้มีแค่พระเถระชั้นผู้ใหญ่หรือครูบาเท่านั้น โดยได้จัดแสดงงานในวันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพะเยา

จารีตล้านนา

การปรับตัวในยุคปัจจุบัน


โดยส่วนตัวศิลปินมุ่งหวัง เพื่อกระตุ้นเตือนสติ จิตใจ พุทธศาสนิกชนไม่ให้หลงเชื่อสิ่งงมงายไม่เป็นจริง และควรยึดมั่นในความดี ไม่ได้ต้องการดูหมิ่นหรือล้อเลียนแต่อย่างใด และหวังว่าผู้ชมจะเข้าใจและเปิดใจรับฟังเรื่องเหล่านี้อย่างมีเหตุผล
นาย ชัยพัฒน์ เครือสาร 59120153
นาย ณัฐชนน ชนะชัย 59120186
นาย ศุภกิตติ์ เครือสาร 59120388
เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาศิลปวิจารณ์ 181431
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ สาขา ศิลปะและการออกแบบ
k’u.@Bar.ac.th ครูบาสมัยใหม่ที่กระแสกำลังเติบโตขึ้น
ในปัจจุบันนี้ภาคเหนือมีกลุ่มพระสงฆ์จำนวนหนึ่งที่ได้รับเรียกขานจากผู้ศรัทธาด้วยคำว่า “ครูบา” “พระครูบา” หรือ “ครูบาเจ้า” โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์กลุ่มนี้มักมีภาพลักษณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ นุ่งห่มด้วยจีวรสีกรักแดง หรือสีกรักน้ำตาล นุ่งห่มแบบรัดอก นิยมสวมลูกประคำ
และใช้ตาลปัตรทำจากใบลานหรือขนนกยูง ซึ่งถือว่าเป็นภาพลักษณ์สำคัญของความเป็นครูบาศรีวิชัยที่รับรู้และเข้าใจกันในทุกวันนี้
ครูบาศรีวิชัย ต้นแบบแห่งครูบาในยุคปัจจุบัน
แต่เนื่องจากกลุ่มครูบาคติใหม่นั้นส่วนใหญ่มักมีอายุพรรษาน้อย บางรูปถูกเรียกด้วยคำว่า “ครูบา” ตั้งแต่เป็นสามเณรว่า “ครูบาเณร” หรือ “ครูบาน้อย” ครูบาคติใหม่จึงถูกเรียกว่า “ครูบาอุกแก๊ส” หรือ “ครูบาบ่มแก๊ส” หมายถึง การบ่มเพื่อเร่งให้สุกก่อนเวลาที่สมควร เปรียบดั่งผลไม้ที่ถูกเร่งให้สุกก่อนเวลา ทำให้รสชาติไม่อร่อย กระแสวิพากษ์วิจารณ์นี้นำมาสู่ข้อถกเถียงทางวิชาการในประเด็นของการนิยามคำว่า “ครูบา”
ครูบา เจษฎา จิรสีโล
ครูบา อริยชาติ อริยจิตโต
ซึ่งปัจจุบันกลับมีครูบาที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งการแต่งตั้งตนเอง การแต่งกายสีกรักเลียนแบบ ครูบาศรีวิชัยการใช้ความเชื่อความศรัทธา อ้างคุณวิเศษหูทิพย์ตาทิพย์ มาบ่งบอกตนเองว่าเป็นครูบา ใช้ศาสนาแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว ไม่ถูกหลักพระธรรมวินัย เป็นการหลอกลวงประชาชน ศิลปินจึงได้แรงบันดาลใจจากส่วนนี้มาสร้างสรรค์ผลงานภายใต้ แนวคิด การตีแผ่พระสงฆ์ ครูบา ที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทำมาหากิน ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา
ศิลปินเองเคยมีโอกาสได้อยู่ในร่มกาสาวพัตร์ถึง 3 พรรษา ซึ่งนี้อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวศิลปินได้รับรู้ถึงเรื่องราวปัญหาในพุทธศาสนา และนำมาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้
ต๋นบุญ
ภายใต้ชื่อผลงานk’u.@Bar.ac.th โดยศิลปินให้ความหมายกับชื่อผลงานว่า kingในหมู่ You
คือเป็นทีสุดในหมู่สงฆ์ ซึ่งศิลปินเองสร้างสรรค์ผลงานออกมาทั้งหมด 3 เฟรม โดยแบ่งออกเป็น 1.ต๋นบุญ 2.จารีตล้านนา 3.การปรับตัวในยุคปัจจุบัน ในรูปแบบเทคนิคกรดอท(จุด,วงกลม)
ที่เปรียบกับลูกประคำที่ครูบามักห้อยกัน รวมกับการติดตั้งที่คล้ายกับพิธีศพของพระในภาคเหนือ ซึ่งในอดีตการจัดพิธีแบบนี้มีแค่พระเถระชั้นผู้ใหญ่หรือครูบาเท่านั้น โดยได้จัดแสดงงานในวันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพะเยา
จารีตล้านนา
การปรับตัวในยุคปัจจุบัน
นาย ชัยพัฒน์ เครือสาร 59120153
นาย ณัฐชนน ชนะชัย 59120186
นาย ศุภกิตติ์ เครือสาร 59120388
เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาศิลปวิจารณ์ 181431
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ สาขา ศิลปะและการออกแบบ