ดาวที่เหงา และห่างไกลกว่าดาวพลูโตในระบบสุริยะ

ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุด ในระบบสุริยะจักรวาล มีขนาดเล็กมาก และวงโคจร ก็ต่างไปจาก ดาวดวงอื่นๆ จนเมื่อปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม เสนอให้ดาวพลูโต เป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) เท่านั้น
 
ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ทีอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุดเป็นลำดับที่ 9 ส่องกล้องค้นพบดาวพลูโตโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2473 (ค.ศ.1930) เป็นดาวเคราะห์ที่มี ขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ความรู้เรื่องต่างๆ ของดวงดาวนี้ยังมีความชัดเจนไม่มากนัก เพราะเป็นดาวที่อยู่ห่างจากโลกถึง 38.46 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 7,400,000,000 กิโลเมตร ซึ่งหากจะส่งยานอวกาศขึ้นไปสำรวจดาวพลูโต จะต้องใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 10-15 ปีทีเดียว

2003 UB313 Eris 
(ภาพ Render ของ Eris และ Dysomia ที่มา – NASA ผ่าน Universe Today)

วัตถุหนึ่งที่น่าสนใจคือ 2003 UB313 หรือ Eris ดาวหินเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2,300 กิโลเมตร ขนาดของมันใหญ่พอ ๆ กับดาวพลูโต (แต่ก็ยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกอยู่ดี) วงโคจรของ Eris เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ระยะ 37 AU และห่างที่สุดอยู่ที่ 97 AU หรือ ทำให้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ครั้งมันใช้เวลานานถึง 558 ปี
ด้วยขนาดและมวลของมันที่ไม่ต่างจากดาวพลูโตมากนัก มันมีบริวาร 1 ดวงชื่อว่า Dysomia ซึ่งค้นพบด้วยเทคนิค Adaptive Optics System ชื่อ Dysomia ตั้งชื่อตาม ลูกสาวของ Eris ตามตำนานกรีก

ณ ตำแหน่งปัจจุบันของ Eris นักวิทยาศาสตร์ได้คาดคะเนเวลาสำหรับภารกิจการสำรวจในอนาคต (หากมี) พวกเขาพบว่าหากยานอวกาศใช้เทคนิคการเดินทางแบบเดียวกับยาน New Horizons ที่ใช้แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสในการเร่งความเร็วพบว่าจะต้องใช้เวลาถึง 24 ปี (ภารกิจ New Horizons ใช้เวลา 9 ปีในการเดินทางไปดาวพลูโต)
Cr.https://spaceth.co

Makemake 
(ภาพถ่าย Makemake และดวงจันทร์ของมัน จากกล้อง Hubble ที่มา – NASA/ESA)

ในช่วงปี 2003-2005 นับว่าเป็นช่วงสำคัญที่เราค้นพบวัตถุโพ้นดาวเนปจูนหลายดวง นักดาราศาสตร์เริ่มรู้ว่ายังมีวัตถุอีกมากซึ่งขนาดใหญ่มากพอ ๆ กับดาวพลูโต ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่บีบคั้นให้เกิดการจำแนกดาวเคราะห์ นำไปสู่การตัดพลูโตออกในปี 2006 มีหนังสือเล่มนึงชื่อว่า How I Killed Pluto and Why It Had It Coming ของ Mike Brown นักดาราศาสตร์จาก Caltech อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด

Makemake อ่านว่ามาเกะมาเกะ ตามชื่อพื้นเมืองฮาวาย เป็นวัตถุขนาดสองในสามของดาวพลูโต มันถูกค้นพบในปี 2005 พร้อมกับดวงจันทร์ขนาดเล็กอีก 1 ดวง ชื่อตาม Provisional designation ของมันคือ 2005 FY9 มันใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 309 ปี
Cr.https://spaceth.co

Haumea
(ภาพจำลองวงแหวนของ Haumea ที่มา – IAA-CSIC/UHU)

เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 284 ปี คนที่ค้นพบมันก็ไม่ใช่ใคร แต่เป็น Mike Brown นั่นเอง
ข้อพิเศษของ Haumea ก็คือในปี 2017 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่ามันมี วงแหวน แต่ Haumea นั้น ไม่ใช่วัตถุขนาดเล็กที่สุดที่มีวงแหวน และก็ไม่ใช่วัตถุเดียวในแถบไคเปอร์ที่มีวงแหวนด้วย ในปี 2013 ได้มีการค้นพบวงแหวนกว้าง 300 กิโลเมตร ล้อมรอบดาวเคราะห์น้อย Chariklo และในปี 2015 ก็ได้มีการค้นพบวงแหวนของดาวเคราะห์น้อย Chairon เช่นกัน รวมถึงวัตถุในแถบไคเปอร์อย่าง Centaurs ก็มีวงแหวนเช่นเดียวกัน
วัตถุอื่น ๆ นอกจาก Pluto, Eris, Makemake และ Haumea เริ่มจะไม่คุ้นชื่อ ไม่ว่าจะเป็น Albion, Lempo หรือ Quaoar แต่จะมีชื่อหนึ่งที่อาจจะคุ้นชื่อกันก็คือ Sedna
Cr.https://spaceth.co

90377 Sedna
(ภาพถ่ายของ Sedna ที่มา – NASA/JPL/ESO)

เซดนา (90377 Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยเป็นวัตถุในระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุด   ที่ค้นพบโดยไมเคิล บราวน์ (สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย), แชด ทรูจิลโล (หอดูดาวเจมินี) และเดวิด แรบิโนวิตซ์ (มหาวิทยาลัยเยล) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 อยู่ไกลกว่าดาวพลูโตประมาณ 3 เท่า จึงมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำราว 12 เคลวิน (-261 องศาเซลเซียส) และคาดว่ามีขนาดประมาณ 2 ใน 3 ของดาวพลูโต ชื่อของเซดนามาจากเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของชาวเอสกิโ! มในเขตอาร์กติก
เซดนาโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบในเวลาประมาณ 11,487 ปี ผลการสังเกตการณ์ในปัจจุบันไม่พบว่าเซดนามีดาวบริวาร บางครั้งอาจเกิดความสับสนระหว่างเซดนากับวัตถุอีกดวงหนึ่งที่คาดว่าอาจเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ซึ่งมีบริวารด้วย นั่นคือ 2003 ยูบี 313

Sedna มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงแค่ประมาณ 1,000 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ก็ยังนับว่าเป็นวัตถุขนาดใหญ่พอที่จะทำให้เราสนใจมัน แต่เราไม่ได้สนใจมันในเชิงขนาด ขนาดประมาณ 1,000 กิโลเมตรนั้น ก็พอ ๆ กับวัตถุ TNOs อื่น ๆ ความน่าสนใจมันคือวงโคจร

Sedna นั่นแทบจะไม่มีกลางวันกลางคืน เนื่องจากระยะห่างของมันกับดวงอาทิตย์ที่ทำให้เห็นดวงอาทิตย์แทบจะเป็นเหมือนดาวดวงหนึ่งเท่านั้น (โดยเฉพาะเมื่อมันโคจรไปอยู่ที่จุด 936 AU) ท้องฟ้าของมันจะปรากฏทางช้างเผือกชัดเจน นับเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกเมื่อเราสามารถเห็นดวงอาทิตย์กับทางช้างเผือกพร้อมกันได้
Cr.https://spaceth.co

2015 TG387

2015 TG387 นั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 200-600 กิโลเมตร เข้าใกล้ดวงอาทิตย์สุดที่ระยะ 64.8 หน่วยดาราศาสตร์ และจุดห่างที่สุดของมันนั้นอยู่ที่ระยะ 2,300 หน่วยดาราศาสตร์ นั่นทำให้การโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบของ 2015 TG387 ต้องใช้เวลายาวนานถึง 34,000 ปีเลยทีเดียว
มันถูกค้นพบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2015 โดย David Tholen, Scott Sheppard และ Chad Trujillo ด้วยกล้องโทรทรรศน์ Subaru ที่หอดูดาวบนยอดเขา Mauna Kea เกาะฮาวาย ซึ่งเป็นวันเดียวกัน ทีมเดียวกันและที่เดียวกันที่ค้นพบ V774104 อีกวัตถุที่อาจจะเป็น Sednoid ด้วยเช่นกัน ซึ่งรายหลังนั้นยังไม่ได้รับการยืนยัน เนื่องจากยังไม่มีการส่งข้อมูลให้กับสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลนั่นเอง
Cr.https://spaceth.co

2012 วีพี 113
2012 VP113 ชื่อเล่นว่า “Biden”  โคจรอยู่ที่ระยะราว 84 AU   ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์รู้จักดาวเซดนา ซึ่งเป็นวัตถุในระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่รู้จัก แต่ 2012 วีพี 113 มีจุดใกล้สุดในวงโคจรห่างกว่าเซดนาเสียอีก ทำให้กลายเป็นวัตถุในระบบสุริยะที่อยู่ไกลดวงใหม่  มีขนาดอยู่ที่ประมาณ 450-600 กิโลเมตร

การค้นพบ 2012 VP113 ทำให้วัตถุนี้กลายเป็นวัตถุเมฆออร์ตชั้นในดวงที่สอง  จุดใกล้ดวงอาทิตย์ในวงโคจรของ 2012 VP113 มีระยะทาง 80 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือราวสองเท่าของระยะทางเฉลี่ยจากดาวพลูโตถึงดวงอาทิตย์
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th

2018 VG18

ทีมนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบเทหวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบในระบบสุริยะของเรา และเป็นครั้งแรกที่พบว่ามีวัตถุในระบบสุริยะที่อยู่ไกลเกินกว่า 100 เท่าของระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์
การค้นพบเทหวัตถุใหม่นี้ถูกประกาศเมื่อ 17 ธันวาคม 2018 โดยศูนย์วิจัย Minor Planet Center ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และถูกเรียกชื่อว่า 2018 VG18 โดยเป็นผลงานการค้นพบของ 3 นักดาราศาสตร์ Scott S. Sheppard จากสถาบัน Carnegie, David Tholen จากมหาวิทยาลัยฮาวาย และ Chad Trujillo จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเธิร์นแอริโซนา

2018 VG18 ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “Farout” เป็นวัตถุที่อยู่ไกลมากๆคือราว 120 AU (1 AU คือระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งเท่ากับ 93 ล้านไมล์) โดยก่อนหน้านี้วัตถุที่อยู่ไกลที่สุดเป็นดาวเคราะห์แคระ Eris ซึ่งอยู่ไกลออกไป 96 AU ส่วนดาวพลูโตที่เคยเป็นดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุดนั้นอยู่ที่ระยะ 34 AU ซึ่งนั่นหมายถึง 2018 VG18 อยู่ไกลกว่าดาวพลูโตถึง 3 เท่าครึ่ง

“2018 VG18 อยู่ไกลมากและเคลื่อนที่ช้ากว่าวัตถุอื่นในระบบสุริยะที่เคยพบ ดังนั้นมันต้องใช้เวลาสองสามปีในการคำนวณวงโคจรที่สมบูรณ์ของมัน” Sheppard กล่าว “แต่มันถูกพบที่ตำแหน่งบนท้องฟ้าคล้ายกับวัตถุที่อยู่ห่างไกลอื่นที่เราพบก่อนหน้านี้ซึ่งทำให้มีแนวโน้มว่ามันอาจมีวงโคจรจรชนิดเดียวกัน วงโคจรที่คล้ายคลึงกันของวัตถุขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกลจำนวนมากนี้ยิ่งทำให้พวกเรายืนยันความคิดเดิมที่ว่ามีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อยู่ที่ระยะหลายร้อย AU กำลังต้อนวัตถุเล็กๆพวกนี้อยู่”

2018 VG18 ถูกพบโดยกล้องโทรทรรศน์ Subaru ของญี่ปุ่นซึ่งตั้งอยู่ที่ยอดภูเขา Mauna Kea ในฮาวาย สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2018 และได้รับการยืนยันด้วยกล้องโทรทรรศน์ Magellan ที่หอดูดาว Carnegie’s Las Campanas Observatory ประเทศชิลีว่ามีระยะห่างราว 120 AU มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 500 กม. น่าจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมและเป็นดาวเคราะห์แคระ มีโทนสีเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีของพวกวัตถุที่อุดมไปด้วยน้ำแข็ง
“ทั้งหมดที่เรารู้เกี่ยวกับ 2018 VG18 ก็คือระยะห่างจากดวงอาทิตย์, ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโดยประมาณ และสีของมัน” Tholen กล่าว “เนื่องจาก 2018 VG18 อยู่ไกลมาก และมันโคจรอย่างช้าๆ ดังนั้นเป็นไปได้ที่มันจะใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบมากกว่า 1,000 ปี”
Cr.https://www.takieng.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่