เป็นคนที่เดินทางด้วยรถยนต์เป็นส่วนใหญ่
แต่เมื่อผ่านสถานีรถไฟที่ทำให้รู้สึกว่าน่าไปดูหน่อยนะ
จึงเป็นที่มาของการเก็บสะสมภาพสถานีรถไฟต่าง ๆ ไว้
สถานีรถไฟพิชัย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
ด้านหน้าสถานีมีศาลเจ้าพระยาพิชัย
ครั้งนี้เพราะอยากไปบ้านเกิดพระยาพิชัย ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยคา ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย
แผนที่ดังนี้
มีบ้านพระยาพิชัยจำลอง และพิพิธภัณฑ์
ตำนานว่า เมืองพิชัยสร้างมากว่าพันปีมาแล้ว โดยพระยาโคตรบองเทวราช
จากจำนานเมืองพิจิตรว่า พระยาโคตรบองเทวราช จะเป็นพระนามกษัตริย์ทุกพระองค์
โปรดให้สร้างวัดขึ้นเป็นหลักเมือง สร้างพระประธานคือหลวงพ่อโต เมื่อปี พ.ศ. 1470 ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย ที่วัดหน้าพระธาตุ
พระยาพิชัยได้ไปเรียนหนังสือกับพระครูวัดหน้าพระธาตุ และเกิดเหตุวิวาทกับลูกเจ้าเมือง
วัดหน้าพระธาตุ อำเภอพิชัย
หนีจากเมืองพิชัยไปฝากตัวเป็นศิษย์ครูเที่ยงที่บ้านแก่งใต้ ปัจจุบันอยู่ในอำเภอตรอน อุตรดิตถ์
วัดแก่งใต้ แวะโดยบังเอิญเพราะติดน้ำน่าน กะจะไปถ่ายรูปน้ำน่าน
เมื่อไปไหว้หลวงพ่อใหญ่ในวิหาร
พบว่าเป็นหลวงพ่อที่ปูนที่พระอุระกะเทาะออกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2555 แล้วพบหลวงพ่อองค์เดิมที่ซ่อนอยู่ด้านใน เพื่อป้องกันภัยสงคราม
เมือเดินเล่นรอบ ๆ ก็เจอค่ายมวยครูเที่ยง
พระยาพิชัยได้ท่ากระโดดเตะข้ามศรีษะจากงิ้ว ที่วัดวังเตาหม้อหรือวัดท่าถนน อำเภอเมือง อุตรดิตถ์
อุตรดิตถ์ แปลว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ
วัดท่าถนน เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 ขัดสมาธิเพ็ชรหล่อด้วยทองสำริดทั้งองค์
พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอบางโพ (อำเภอเมืออุตรดิตถ์)
ได้พบจอมปลวกขนาดใหญ่รูปร่างแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป ที่บริเวณวัดไผ่ล้อม ต.ทุ่งยั้ง
จึงเอาไม้เคาะที่ยอดปลายแหลมจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมาจึงขุดพบพระพุทธรูปฝังอยู่ในจอมปลวก
... เหมือนหลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร ...
จึงอัญเชิญไปไว้ที่วัดหมอนไม้
เพราะวัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถ และ ประชาชนที่ทราบข่าวมาสักการะบูชามาก จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน)
และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพ็ชร .. ขัดสมาธิเพ็ชร
ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร
ได้รวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงามตามหัวเมืองต่าง ๆ ไปประดิษฐาน
รวมทั้งหลวงพ่อเพ็ชรด้วย
เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนวัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์
เล่าว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น
ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครูเมฆที่วัดใหญ่ท่าเสา อำเภอเมือง อุตรดิตถ์
ขึ้นชกมวยครั้งแรกปราบครูนิลที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์
เรียนดาบที่วัดพระปรางค์ เมืองสวรรคโลก หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย สุโขทัย
ชกชนะครูมวยของพระเจ้าตาก และเข้ารับราชการกับพระเจ้าตากที่วัดดอยข่อยเขาแก้ว อำเภอเมือง ตาก
ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางสวางคบุรี อำเภอเมือง อุตรดิตถ์ ... ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองพิชัย
วัดพระฝางมีบานประตูวิหารไม้แกะสลักสวยงามมาก ปัจจุบันเก็บไว้ที่ อาคารธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย อำเภอเมือง อุตรดิตถ์
พ.ศ. 2315 โปสุพาลา แม่ทัพพม่าให้ซิกชิงโบนายทัพยกมาตีเมืองลับแล ต่อถึงเมืองพิชัย
เพราะไพร่พลมีน้อยพระยาพิชัยได้ตั้งมั่นรักษาเมืองแล้วขอกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์) เสด็จยกกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย
ตั้งค่ายอยู่ที่บริเวณวัดขวางชัยภูมิ อำเภอพิชัย อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน
ส่วนพม่าตั้งค่ายอยู่ที่บริเวณวัดเอกาในปัจจุบัน อำเภอพิชัย อุตรดิตถ์
และเป็นสนามรบที่พระยาพิชัยได้รบกับพม่าเป็นสามารถจนดาบหัก
บริเวณนี้คงไม่ค่อยมีใครอยากมาอยู่เพราะเป็นสนามรบแต่เดิม
บันทึกสถานีรถไฟพิชัยเมื่อ 1 ตุลาคม 2559
สารบัญสถานีรถไฟ
ชะเง้อสถานีรถไฟตามรายทาง ... สถานีรถไฟพิชัย
แต่เมื่อผ่านสถานีรถไฟที่ทำให้รู้สึกว่าน่าไปดูหน่อยนะ
จึงเป็นที่มาของการเก็บสะสมภาพสถานีรถไฟต่าง ๆ ไว้
สถานีรถไฟพิชัย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
ด้านหน้าสถานีมีศาลเจ้าพระยาพิชัย
แผนที่ดังนี้