สวัสดีครับ กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวอันแรกของผมเลย ผมเพิ่งไปทำใบอนุญาตขับรถมา เลยอยากจะมาเล่าให้ฟังแบบละเอียด ๆ เลยครับ
ผมได้เลือกไปทำที่
สำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี สาขาอำเภอคลองหลวง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ขนส่งคลองหลวง
ในครั้งนี้ผมไปทำทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์พร้อมกันเลย ใบขับขี่ใบแรกที่ได้จะเรียกว่า "
ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว"
ซึ่งจะแยกไปตามประเภทของยานพาหนะ เช่น
1. ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว
2. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว
ใบขับขี่ชนิดนี้จะมีอายุ 2 ปี นั่นคือหากใกล้จะครบ 2 ปี เราจะต้องไปทำเรื่องขอเปลี่ยนชนิดและต่ออายุใบขับขี่
ซึ่งเราจะได้ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล อายุ 5 ปี ตามนี้ครับ
1. ใบอนุญาตขับรถยนต์
ชั่วคราว --> ใบอนุญาตขับรถยนต์
ส่วนบุคคล
2. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์
ชั่วคราว --> ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์
ส่วนบุคคล
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อ
ชั่วคราว --> ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อ
ส่วนบุคคล
และสำหรับการต่ออายุครั้งถัดไป ก็จะเป็นการต่ออายุใบขับขี่จาก 5 ปี เป็น 5 ปี ไปเรื่อย ๆ ครับ
คราวนี้ เรามาเข้าเรื่องการวิธีการทำใบขับขี่นะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ผมจึงขอแบ่งการรีวิวเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. การเตรียมตัวก่อนทำใบขับขี่
2. การเดินทางไปขนส่งคลองหลวง
3. การเดินเรื่องขอทำใบขับขี่ใหม่
4. การเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี
5. การสอบทฤษฎีและปฏิบัติ
6. การเดินเรื่องเพื่อชำระค่าธรรมเนียมและถ่ายรูป
พร้อมแล้วก็เริ่มได้เลยครับ
1. การเตรียมตัวก่อนทำใบขับขี่
สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยผมคิดว่าคือการขับรถประเภทที่เราต้องการจะทำใบขับขี่ให้คล่องและการศึกษากฎหมายจราจรเบื้องต้นครับ
ถ้าหากเราไม่หัดซ้อมขับรถไปก่อน การทำใบขับขี่ที่อาจจะกินเวลาแค่ 2 วัน ก็อาจจะกลายเป็น 3 - 4 วันได้เลยนะครับ
นอกจากนี้การรู้กฎหมายและกฎจราจรก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องมี แน่นอนว่าเราจะต้องสอบทฤษฎีให้ผ่าน แต่การปฎิบัติตามกฎจราจรที่ถูกต้อง
ก็จะนำมาซึ่งความปลอดภัยของผู้ขับขี่พาหนะบนท้องถนนด้วยครับ
ถัดมาคือการเตรียมเอกสาร เอกสารที่ต้องใช้นั้นประกอบไปด้วย
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบรับรองแพทย์ (ออกไม่เกิน 1 เดือน)*
3. เอกสารการจองคิวล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ (ถ้ามี)
ตรงข้อ 2 ที่ผมหมายเหตุใส่ * ไว้ก็เพราะหากเราต้องการจะทำใบขับขี่ของรถ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมกัน เราจะต้องถ่ายสำเนาใบรับแพทย์อีก 1 ชุดนะครับ
ไม่จำเป็นต้องขอใบรับรองแพทย์ใหม่อีกใบ ใช้สำเนาได้ครับ

เมื่อเราพร้อมแล้ว การจะเดินเรื่องการขอทำใบขับขี่ (ซึ่งผมจะอธิบายแบบละเอียดอีกทีในข้อ 3) สามารถจองคิวล่วงหน้าออนไลน์ได้นะครับ ดังนี้
1. ไปที่เว็บไซต์
http://ebooking.dlt.go.th/ebooking/
2. คลิกที่ DLT Smart Queue
3. กดปุ่ม
ลงทะเบียน ด้านขวาบน แล้วลงทะเบียนโดยกรอกข้อมูลตามจริง
4. กรอก
หมายเลขบัตรประชาชน และ
รหัสผ่าน ที่เพิ่งลงทะเบียนไป แล้วกดปุ่ม
เข้าใช้งาน
5.เลือกประเภทของการขอใช้บริการ
- เลือกจังหวัด:
ปทุมธานี
- เลือกสำนักงาน:
สาขาอำเภอคลองหลวง
- เลือกประเภท:
ขอรับใบอนุญาต (สอบใหม่ หรือ ขาดต่อเกิน 1 ปีขึ้นไป)
6. เลือกวันที่ที่ต้องการจะไปเดินเรื่องขอทำใบขับขี่
- วันที่มีคิวว่าง จะขึ้นสีเขียว
- วันที่คิวเต็ม จะขึ้นสีแดง
7. กดจองคิว
8. พิมพ์ใบจองเพื่อนำมาเป็นหลักฐานการจองคิวในวันทำใบขับขี่
2. การเดินทางไปขนส่งคลองหลวง
ขนส่งคลองหลวงเดินทางไปไม่ยากครับ อยู่ริมทางคู่ขนาดข้าง ๆ มอเตอร์เวย์ตรงคลองสี่
แผนที่ไปขนส่งคลองหลวงครับ ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะค้นหาเป็น ใช้ Google Maps นำทางไปเลยครับ ง่ายที่สุด ^^
โดยมีทางเข้า 2 ทาง ดังนี้
- ประตูหน้า รถทุกประเภทเข้าได้ (รูปด้านล่าง)

- ประตูหลัง
อนุญาตให้เข้าได้เฉพาะรถจักรยานยนต์ ในรูปมันจะไม่มีรั้วกั้น แต่ปัจจุบันมีแล้วนะครับ (รูปด้านล่าง)

เมื่อเดินทางมาถึงแล้ว ตัวอาคารจะตั้งอยู่บริเวณประตูหน้าเลย ขับเข้ามาก็จะเห็นครับ
ที่จอดรถกว้างขวางมาก จัดคอนเสิร์ต เทเลอร์ สวิฟต์ กับ เอ็ด เชอแรน พร้อมกันยังได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่คนถึงมาทำใบขับขี่ที่นี่กัน
เยอะมาก
3. การเดินเรื่องขอทำใบขับขี่ใหม่
สำหรับการเดินทางขอทำใบขับขี่ หากจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจริง ๆ ก็คือการจองคิว
การจองคิวมี 2 แบบ
1. ไปต่อแถวจองคิวหน้างานเลย (walk-in)
2. จองคิวผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์หรือแอพพลิเคชั่น (ส่วนตัวไม่แนะนำแอพพลิชันเพราะช้าและค้างบ่อย)
ผมแนะนำว่าให้เดินทางไปถึงขนส่งก่อน 8.00 น. นะครับ ยิ่งมาเร็วก็จะยิ่งได้คิวเร็ว ไม่ต้องยืนข้างนอกนาน
โดยทุก ๆ คนไม่ว่าจะเป็นคนที่มาขอทำใบขับขี่ใหม่หรือมาต่ออายุก็จะมารอต่อแถวกันอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้า

เมื่อถึงเวลาให้บริการ เจ้าหน้าที่ (จนท.) จะมายืนจุดนี้ (รูปด้านล่าง) แล้วก็จะเริ่มคัดแยกประเภทของผู้มาใช้บริการ

เมื่อเราได้รับบัตรคิวแล้ว ให้ขึ้นมาชั้นสองเลย สำหรับคนที่
ไม่ได้จองคิวออนไลน์มา เราจะต้องต่อคิวตาม
เส้นสีแดงเพื่อที่จะเข้าไปขอทำใบขับขี่
ซึ่งเส้นสีแดงจะยาวกว่าเส้นอื่น ๆ เป็นพิเศษเพราะแถวแรกนี้คนจะยาวมาก ๆ โดยเส้นสีแดงมันจะนำไปสู่เคาเตอร์ที่ 3 ครับ (รูปอยู่ด้านล่างถัดไปอีก 3 รูป)

เมื่อต่อคิวมาเรื่อย ๆ จะพบว่าเมื่อขึ้นไปถึงชั้นสองจะมีทางแยกซ้ายและขวา ทางซ้ายจะไปห้องทำเรื่องเอกสารต่าง ๆ + ห้องอบรมทฤษฎี + ห้องสอบทฤษฎี ส่วนทางขวาจะเป็นบริเวณป้ายบอกความรู้กฎจราจรและห้องทดสอบสมรรถภาพร่างกายครับ

เมื่อเราตามเส้นสีแดงไปทางซ้าย เราจะพบว่าจะสีเส้นอีกสองสีคือสีเหลืองและสีเขียว
- สีเหลือง นำไปสู่เคาเตอร์สำหรับชำระค่าธรรมเนียม (ขั้นตอนรองสุดท้ายของการทำใบขับขี่)
- สีเขียว นำไปสู่เคาเตอร์สำหรับคนที่จองคิวผ่านทางออนไลน์ (เช่น เว็บไซต์) มาแล้วเท่านั้น

ดังนั้น สรุปก็คือ
- ถ้า Walk-in จะต้องไปเคาเตอร์ที่ 3 ตามเส้นสีแดง (แถวจะยาวเป็นพิเศษ)
- ถ้าจองคิวออนไลน์มา สามารถเดินมาเข้าช่องเคาเตอร์ที่ 2 ตามเส้นสีเขียวได้เลยครับ
เลี้ยวขวาเข้าไปใส่ห้องที่ จนท. อยู่ (รูปด้านล่างต่อเนื่องจากรูปก่อนหน้านี้)

ดูรูปด้านล่างประกอบครับ จะนำมาสู่ทั้ง 3 เคาเตอร์

เมื่อถึงคิวของเรา ก็ยื่นเอกสารให้ จนท. ซึ่งเขาจะทำการเช็คประวัติและออกเอกสารใหม่ให้เราอีกหนึ่งชุด ซึ่งประกอบไปด้วย
1. เอกสารขอทำใบขับขี่ใหม่ มีชื่อและที่อยู่ของเรา
2. แผ่นประเมินการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (สำหรับ จนท. เท่านั้น)
3. แผ่นประเมินการทดสอบทฤษฎีหรือข้อเขียน (สำหรับ จนท. เท่านั้น)
4. แผ่นประเมินการทดสอบปฏิบัติ (สำหรับ จนท. เท่านั้น)
และ จนท. ก็จะเย็บใบรับรองแพทและสำเนาบัตรประชาชนรวมเข้ากับเอกสารชุดนี้ ซึ่งระหว่างที่เราไปสอบในฐานอื่น ๆ เราก็ต้องนำเอกสารทั้งชุดนี้ไปด้วย
-> ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

ให้เดินมาที่ห้องฝั่งตรงข้ามเลยครับ ซึ่งสำหรับคนที่มาขอทำใบขับขี่ใหม่ก็จะเป็นกลุ่มที่ 2 ครับ นั่งรอด้านนอกห้องแล้วรอเรียกได้เลย
(ตารางสำหรับการเรียกเข้าไปทดสอบก็จะเป็นไปตามนี้)

4. การเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี
เมื่อทดสอบเสร็จแล้ว ให้เราเข้ามายังห้องที่จัดไว้สำหรับอบรมทฤษฎี โดย จนท. จะเปิดวิดีโอให้ดู 2 ช่วง ช่วงเช้ากับช่วงบ่าย
อบรมรวมทั้งหมดประมาณ 5 ชั่วโมงครับ ช่วงระหว่างที่พักก็ลงไปรับประทานอาหารได้ที่ตึกข้าง ๆ ได้เลยครับ
- ช่วงเช้า 09.00 - 12.00 น.
- ช่วงเช้า 13.00 - 15.00 น.
เมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมี จนท. เดินเข้ามาเช็คชื่อแล้วแจ้งรายละเอียดของการสอบทฤษฎีและปฏิบัติในวันถัดไป
หลังจากนั้นกลับบ้านได้ครับ
5. การสอบทฤษฎีและปฏิบัติ
สำหรับวันที่สองไม่จำเป็นต้องรีบมาก่อน 08.00 น. แล้วนะครับ เพราะการสอบจะเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น.
แต่ผมแนะนำว่าให้มาก่อน 10.00 น. เพราะเราจะต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับการขึ้นไปหยิบเอกสารของเราจากห้องที่เรายื่นทำเรื่อง ชั้น 2
เมื่อเราได้เอกสารมาแล้ว ให้เราไปที่สนามสอบและรอสอบปฏิบัติขับรถตามที่เราต้องการทำใบขับขี่
บริเวณสนามสอบจะอยู่ด้านหลังตึกของขนส่งเลย ไปไม่ยาก ให้เราเดินลงทางประตูด้านขวาไปได้เลยครับ

รูปด้านล่างคือสนามสอบมุมมองจากชั้น 2

รูปด้านล่างคือบริเวณสนามสอบขับรถ ถ่ายจากศาลานั่งรอครับ

สำหรับท่าที่ใช้สอบผมเชื่อว่าทุกคนคงรู้กันอยู่แล้ว หาข้อมูลได้ไม่ยาก ค้นหาใน Google ได้เลย
ซึ่งคร่าว ๆ มีดังนี้ครับ
รถยนต์
1. จอดเทียบฟุตพาท ล้อห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร (ล้อเหยียบเส้นเหลือง)
2. เดินหน้า-ถอยหลังเข้าซอง (เข้าไปให้สุด)
3. ถอยหลังจอดเทียบฟุตพาท โดยใช้เกียร์หน้าหลังได้ไม่เกิน 7 ครั้ง
รถจักรยานยนต์
1. ขับเข้ามาหยุดในช่องสีเหลือง (ตามรูปด้านบน)
2. ทดสอบการทรงตัวบนเนินทางยาว โดยต้องทรงตัวให้รถอยู่บนนั้นได้ไม่ต่ำกว่า 10 วินาที
3. ขับหลบกรวยเป็นรูปฟันปลา
ถ้าสอบขับรถยนต์ให้เราเอาเอกสารไว้กับตัวได้เลย พอขับไปถึงจุดสอบท่าแรกตรงป้อม เราจึงค่อยลงเอาใบไปยื่นให้กรรมการครับ
แต่สำหรับจักรยานยนต์จะมี จนท. มาเก็บใบไปเลยก่อนที่จะสอบ
รถสำหรับเช่าสอบ
- รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ฮอนด้า แอคคอร์ดรุ่นเก่า (รูปด้านล่าง)
- รถยนต์เกยีร์ธรรมดา โตโยต้า วีโก้
- รถจักรยานยนต์ ฟีโน่
ค่าใช้จ่ายในการเช่ารถ
- รถยนต์ 100 บาท / คัน / วัน
- รถจักรยานยนต์ (ถ้าจำไม่ผิด) 50 บาท / คัน / วัน

ผมแนะนำว่าให้มาถึงสนามสอบ 10.00 น. ตรงนะครับ จะได้ฟังคำอธิบายและดูการสาธิตด้วย สำคัญมาก ๆ
เมื่อทดสอบเสร็จแล้ว จนท. จะเรียกไปฟังผล ถ้าหากไม่ผ่านท่าไหน ก็มาสอบใหม่แค่ท่านั้น สอบตนกว่าจะผ่าน โดยจะได้มาสอบใหม่ก็คือ 3 วันถัดไป
หรือจะมาจากนั้น 3 วันไปแล้วก็ได้ (เขาให้เวลาเราไปฝึกขับเพิ่มเติม) แต่จะต้องสอบทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ทำเรื่องครับ
เมื่อผ่านการทดสอบปฎิบัติแล้ว เราสามารถไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารกลางวันแล้วรอสอบทฤษฎีต่อไปตอนเวลา 13.00 น. ครับ
ซึ่งก่อนที่จะไปพักนั้น ให้เรานำเอกสารของเราไปคว่ำใส่ในตะกร้าหน้าห้องสอบตรงชั้น 2 เพื่อจองคิวในการสอบครับ

ระหว่างนี้เราก็อาจจะเตรียมสอบทฤษฎีโดยการอ่านแนวข้อสอบและศึกษากฎหมายจราจรครับ จะได้สอบครั้งเดียวผ่าน
เว็บไซต์ที่ผมคิดว่ามีแนวข้อสอบเยอะและครอบคลุมดี แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่คืออันนี้ครับ
https://xn--22caa8gab2ixab7b7bwkvcc.blogspot.com/2016/07/2559.html
เมื่อใกล้เวลา 13.00 น. ก็ให้เรามารอหน้าห้องสอบ แล้ว จนท. จะอธิบายการทำข้อสอบโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็จะเรียกตามคิวครับ
- อ่านต่อที่ความคิดเห็นที่ 1 -
[CR] รีวิวการทำใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี สาขาอำเภอคลองหลวง (อัพเดท สิงหาคม 2562)
ผมได้เลือกไปทำที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี สาขาอำเภอคลองหลวง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ขนส่งคลองหลวง
ในครั้งนี้ผมไปทำทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์พร้อมกันเลย ใบขับขี่ใบแรกที่ได้จะเรียกว่า "ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว"
ซึ่งจะแยกไปตามประเภทของยานพาหนะ เช่น
1. ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว
2. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว
ใบขับขี่ชนิดนี้จะมีอายุ 2 ปี นั่นคือหากใกล้จะครบ 2 ปี เราจะต้องไปทำเรื่องขอเปลี่ยนชนิดและต่ออายุใบขับขี่
ซึ่งเราจะได้ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล อายุ 5 ปี ตามนี้ครับ
1. ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว --> ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล
2. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว --> ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว --> ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
และสำหรับการต่ออายุครั้งถัดไป ก็จะเป็นการต่ออายุใบขับขี่จาก 5 ปี เป็น 5 ปี ไปเรื่อย ๆ ครับ
คราวนี้ เรามาเข้าเรื่องการวิธีการทำใบขับขี่นะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ผมจึงขอแบ่งการรีวิวเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. การเตรียมตัวก่อนทำใบขับขี่
2. การเดินทางไปขนส่งคลองหลวง
3. การเดินเรื่องขอทำใบขับขี่ใหม่
4. การเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี
5. การสอบทฤษฎีและปฏิบัติ
6. การเดินเรื่องเพื่อชำระค่าธรรมเนียมและถ่ายรูป
พร้อมแล้วก็เริ่มได้เลยครับ
1. การเตรียมตัวก่อนทำใบขับขี่
สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยผมคิดว่าคือการขับรถประเภทที่เราต้องการจะทำใบขับขี่ให้คล่องและการศึกษากฎหมายจราจรเบื้องต้นครับ
ถ้าหากเราไม่หัดซ้อมขับรถไปก่อน การทำใบขับขี่ที่อาจจะกินเวลาแค่ 2 วัน ก็อาจจะกลายเป็น 3 - 4 วันได้เลยนะครับ
นอกจากนี้การรู้กฎหมายและกฎจราจรก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องมี แน่นอนว่าเราจะต้องสอบทฤษฎีให้ผ่าน แต่การปฎิบัติตามกฎจราจรที่ถูกต้อง
ก็จะนำมาซึ่งความปลอดภัยของผู้ขับขี่พาหนะบนท้องถนนด้วยครับ
ถัดมาคือการเตรียมเอกสาร เอกสารที่ต้องใช้นั้นประกอบไปด้วย
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบรับรองแพทย์ (ออกไม่เกิน 1 เดือน)*
3. เอกสารการจองคิวล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ (ถ้ามี)
ตรงข้อ 2 ที่ผมหมายเหตุใส่ * ไว้ก็เพราะหากเราต้องการจะทำใบขับขี่ของรถ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมกัน เราจะต้องถ่ายสำเนาใบรับแพทย์อีก 1 ชุดนะครับ
ไม่จำเป็นต้องขอใบรับรองแพทย์ใหม่อีกใบ ใช้สำเนาได้ครับ
เมื่อเราพร้อมแล้ว การจะเดินเรื่องการขอทำใบขับขี่ (ซึ่งผมจะอธิบายแบบละเอียดอีกทีในข้อ 3) สามารถจองคิวล่วงหน้าออนไลน์ได้นะครับ ดังนี้
1. ไปที่เว็บไซต์ http://ebooking.dlt.go.th/ebooking/
2. คลิกที่ DLT Smart Queue
3. กดปุ่ม ลงทะเบียน ด้านขวาบน แล้วลงทะเบียนโดยกรอกข้อมูลตามจริง
4. กรอก หมายเลขบัตรประชาชน และ รหัสผ่าน ที่เพิ่งลงทะเบียนไป แล้วกดปุ่ม เข้าใช้งาน
5.เลือกประเภทของการขอใช้บริการ
- เลือกจังหวัด: ปทุมธานี
- เลือกสำนักงาน: สาขาอำเภอคลองหลวง
- เลือกประเภท: ขอรับใบอนุญาต (สอบใหม่ หรือ ขาดต่อเกิน 1 ปีขึ้นไป)
6. เลือกวันที่ที่ต้องการจะไปเดินเรื่องขอทำใบขับขี่
- วันที่มีคิวว่าง จะขึ้นสีเขียว
- วันที่คิวเต็ม จะขึ้นสีแดง
7. กดจองคิว
8. พิมพ์ใบจองเพื่อนำมาเป็นหลักฐานการจองคิวในวันทำใบขับขี่
2. การเดินทางไปขนส่งคลองหลวง
ขนส่งคลองหลวงเดินทางไปไม่ยากครับ อยู่ริมทางคู่ขนาดข้าง ๆ มอเตอร์เวย์ตรงคลองสี่
แผนที่ไปขนส่งคลองหลวงครับ ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะค้นหาเป็น ใช้ Google Maps นำทางไปเลยครับ ง่ายที่สุด ^^
โดยมีทางเข้า 2 ทาง ดังนี้
- ประตูหน้า รถทุกประเภทเข้าได้ (รูปด้านล่าง)
- ประตูหลัง อนุญาตให้เข้าได้เฉพาะรถจักรยานยนต์ ในรูปมันจะไม่มีรั้วกั้น แต่ปัจจุบันมีแล้วนะครับ (รูปด้านล่าง)
เมื่อเดินทางมาถึงแล้ว ตัวอาคารจะตั้งอยู่บริเวณประตูหน้าเลย ขับเข้ามาก็จะเห็นครับ
ที่จอดรถกว้างขวางมาก จัดคอนเสิร์ต เทเลอร์ สวิฟต์ กับ เอ็ด เชอแรน พร้อมกันยังได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่คนถึงมาทำใบขับขี่ที่นี่กันเยอะมาก
3. การเดินเรื่องขอทำใบขับขี่ใหม่
สำหรับการเดินทางขอทำใบขับขี่ หากจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจริง ๆ ก็คือการจองคิว
การจองคิวมี 2 แบบ
1. ไปต่อแถวจองคิวหน้างานเลย (walk-in)
2. จองคิวผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์หรือแอพพลิเคชั่น (ส่วนตัวไม่แนะนำแอพพลิชันเพราะช้าและค้างบ่อย)
ผมแนะนำว่าให้เดินทางไปถึงขนส่งก่อน 8.00 น. นะครับ ยิ่งมาเร็วก็จะยิ่งได้คิวเร็ว ไม่ต้องยืนข้างนอกนาน
โดยทุก ๆ คนไม่ว่าจะเป็นคนที่มาขอทำใบขับขี่ใหม่หรือมาต่ออายุก็จะมารอต่อแถวกันอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้า
เมื่อถึงเวลาให้บริการ เจ้าหน้าที่ (จนท.) จะมายืนจุดนี้ (รูปด้านล่าง) แล้วก็จะเริ่มคัดแยกประเภทของผู้มาใช้บริการ
เมื่อเราได้รับบัตรคิวแล้ว ให้ขึ้นมาชั้นสองเลย สำหรับคนที่ไม่ได้จองคิวออนไลน์มา เราจะต้องต่อคิวตามเส้นสีแดงเพื่อที่จะเข้าไปขอทำใบขับขี่
ซึ่งเส้นสีแดงจะยาวกว่าเส้นอื่น ๆ เป็นพิเศษเพราะแถวแรกนี้คนจะยาวมาก ๆ โดยเส้นสีแดงมันจะนำไปสู่เคาเตอร์ที่ 3 ครับ (รูปอยู่ด้านล่างถัดไปอีก 3 รูป)
เมื่อต่อคิวมาเรื่อย ๆ จะพบว่าเมื่อขึ้นไปถึงชั้นสองจะมีทางแยกซ้ายและขวา ทางซ้ายจะไปห้องทำเรื่องเอกสารต่าง ๆ + ห้องอบรมทฤษฎี + ห้องสอบทฤษฎี ส่วนทางขวาจะเป็นบริเวณป้ายบอกความรู้กฎจราจรและห้องทดสอบสมรรถภาพร่างกายครับ
เมื่อเราตามเส้นสีแดงไปทางซ้าย เราจะพบว่าจะสีเส้นอีกสองสีคือสีเหลืองและสีเขียว
- สีเหลือง นำไปสู่เคาเตอร์สำหรับชำระค่าธรรมเนียม (ขั้นตอนรองสุดท้ายของการทำใบขับขี่)
- สีเขียว นำไปสู่เคาเตอร์สำหรับคนที่จองคิวผ่านทางออนไลน์ (เช่น เว็บไซต์) มาแล้วเท่านั้น
ดังนั้น สรุปก็คือ
- ถ้า Walk-in จะต้องไปเคาเตอร์ที่ 3 ตามเส้นสีแดง (แถวจะยาวเป็นพิเศษ)
- ถ้าจองคิวออนไลน์มา สามารถเดินมาเข้าช่องเคาเตอร์ที่ 2 ตามเส้นสีเขียวได้เลยครับ
เลี้ยวขวาเข้าไปใส่ห้องที่ จนท. อยู่ (รูปด้านล่างต่อเนื่องจากรูปก่อนหน้านี้)
ดูรูปด้านล่างประกอบครับ จะนำมาสู่ทั้ง 3 เคาเตอร์
เมื่อถึงคิวของเรา ก็ยื่นเอกสารให้ จนท. ซึ่งเขาจะทำการเช็คประวัติและออกเอกสารใหม่ให้เราอีกหนึ่งชุด ซึ่งประกอบไปด้วย
1. เอกสารขอทำใบขับขี่ใหม่ มีชื่อและที่อยู่ของเรา
2. แผ่นประเมินการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (สำหรับ จนท. เท่านั้น)
3. แผ่นประเมินการทดสอบทฤษฎีหรือข้อเขียน (สำหรับ จนท. เท่านั้น)
4. แผ่นประเมินการทดสอบปฏิบัติ (สำหรับ จนท. เท่านั้น)
และ จนท. ก็จะเย็บใบรับรองแพทและสำเนาบัตรประชาชนรวมเข้ากับเอกสารชุดนี้ ซึ่งระหว่างที่เราไปสอบในฐานอื่น ๆ เราก็ต้องนำเอกสารทั้งชุดนี้ไปด้วย
-> ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ให้เดินมาที่ห้องฝั่งตรงข้ามเลยครับ ซึ่งสำหรับคนที่มาขอทำใบขับขี่ใหม่ก็จะเป็นกลุ่มที่ 2 ครับ นั่งรอด้านนอกห้องแล้วรอเรียกได้เลย
(ตารางสำหรับการเรียกเข้าไปทดสอบก็จะเป็นไปตามนี้)
4. การเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี
เมื่อทดสอบเสร็จแล้ว ให้เราเข้ามายังห้องที่จัดไว้สำหรับอบรมทฤษฎี โดย จนท. จะเปิดวิดีโอให้ดู 2 ช่วง ช่วงเช้ากับช่วงบ่าย
อบรมรวมทั้งหมดประมาณ 5 ชั่วโมงครับ ช่วงระหว่างที่พักก็ลงไปรับประทานอาหารได้ที่ตึกข้าง ๆ ได้เลยครับ
- ช่วงเช้า 09.00 - 12.00 น.
- ช่วงเช้า 13.00 - 15.00 น.
เมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมี จนท. เดินเข้ามาเช็คชื่อแล้วแจ้งรายละเอียดของการสอบทฤษฎีและปฏิบัติในวันถัดไป
หลังจากนั้นกลับบ้านได้ครับ
5. การสอบทฤษฎีและปฏิบัติ
สำหรับวันที่สองไม่จำเป็นต้องรีบมาก่อน 08.00 น. แล้วนะครับ เพราะการสอบจะเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น.
แต่ผมแนะนำว่าให้มาก่อน 10.00 น. เพราะเราจะต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับการขึ้นไปหยิบเอกสารของเราจากห้องที่เรายื่นทำเรื่อง ชั้น 2
เมื่อเราได้เอกสารมาแล้ว ให้เราไปที่สนามสอบและรอสอบปฏิบัติขับรถตามที่เราต้องการทำใบขับขี่
บริเวณสนามสอบจะอยู่ด้านหลังตึกของขนส่งเลย ไปไม่ยาก ให้เราเดินลงทางประตูด้านขวาไปได้เลยครับ
รูปด้านล่างคือสนามสอบมุมมองจากชั้น 2
รูปด้านล่างคือบริเวณสนามสอบขับรถ ถ่ายจากศาลานั่งรอครับ
สำหรับท่าที่ใช้สอบผมเชื่อว่าทุกคนคงรู้กันอยู่แล้ว หาข้อมูลได้ไม่ยาก ค้นหาใน Google ได้เลย
ซึ่งคร่าว ๆ มีดังนี้ครับ
รถยนต์
1. จอดเทียบฟุตพาท ล้อห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร (ล้อเหยียบเส้นเหลือง)
2. เดินหน้า-ถอยหลังเข้าซอง (เข้าไปให้สุด)
3. ถอยหลังจอดเทียบฟุตพาท โดยใช้เกียร์หน้าหลังได้ไม่เกิน 7 ครั้ง
รถจักรยานยนต์
1. ขับเข้ามาหยุดในช่องสีเหลือง (ตามรูปด้านบน)
2. ทดสอบการทรงตัวบนเนินทางยาว โดยต้องทรงตัวให้รถอยู่บนนั้นได้ไม่ต่ำกว่า 10 วินาที
3. ขับหลบกรวยเป็นรูปฟันปลา
ถ้าสอบขับรถยนต์ให้เราเอาเอกสารไว้กับตัวได้เลย พอขับไปถึงจุดสอบท่าแรกตรงป้อม เราจึงค่อยลงเอาใบไปยื่นให้กรรมการครับ
แต่สำหรับจักรยานยนต์จะมี จนท. มาเก็บใบไปเลยก่อนที่จะสอบ
รถสำหรับเช่าสอบ
- รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ฮอนด้า แอคคอร์ดรุ่นเก่า (รูปด้านล่าง)
- รถยนต์เกยีร์ธรรมดา โตโยต้า วีโก้
- รถจักรยานยนต์ ฟีโน่
ค่าใช้จ่ายในการเช่ารถ
- รถยนต์ 100 บาท / คัน / วัน
- รถจักรยานยนต์ (ถ้าจำไม่ผิด) 50 บาท / คัน / วัน
ผมแนะนำว่าให้มาถึงสนามสอบ 10.00 น. ตรงนะครับ จะได้ฟังคำอธิบายและดูการสาธิตด้วย สำคัญมาก ๆ
เมื่อทดสอบเสร็จแล้ว จนท. จะเรียกไปฟังผล ถ้าหากไม่ผ่านท่าไหน ก็มาสอบใหม่แค่ท่านั้น สอบตนกว่าจะผ่าน โดยจะได้มาสอบใหม่ก็คือ 3 วันถัดไป
หรือจะมาจากนั้น 3 วันไปแล้วก็ได้ (เขาให้เวลาเราไปฝึกขับเพิ่มเติม) แต่จะต้องสอบทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ทำเรื่องครับ
เมื่อผ่านการทดสอบปฎิบัติแล้ว เราสามารถไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารกลางวันแล้วรอสอบทฤษฎีต่อไปตอนเวลา 13.00 น. ครับ
ซึ่งก่อนที่จะไปพักนั้น ให้เรานำเอกสารของเราไปคว่ำใส่ในตะกร้าหน้าห้องสอบตรงชั้น 2 เพื่อจองคิวในการสอบครับ
ระหว่างนี้เราก็อาจจะเตรียมสอบทฤษฎีโดยการอ่านแนวข้อสอบและศึกษากฎหมายจราจรครับ จะได้สอบครั้งเดียวผ่าน
เว็บไซต์ที่ผมคิดว่ามีแนวข้อสอบเยอะและครอบคลุมดี แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่คืออันนี้ครับ
https://xn--22caa8gab2ixab7b7bwkvcc.blogspot.com/2016/07/2559.html
เมื่อใกล้เวลา 13.00 น. ก็ให้เรามารอหน้าห้องสอบ แล้ว จนท. จะอธิบายการทำข้อสอบโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วก็จะเรียกตามคิวครับ
- อ่านต่อที่ความคิดเห็นที่ 1 -
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้