พินัยกรรม VS มรดก – ผู้จัดการมรดก ความแตกต่าง แบบไหนดี?

มีเรื่องสงสัย อยากถาม เป็นความรู้
1. ถ้าตาย มรดกตกแก่ทายาท แต่ต้องไปขอศาลตั้งผู้จัดการมรดกก่อน
- ค่าใช้จ่าย เวลาไปขอ กรณีไม่มีปัญหาทะเลาะกันเบาะแว้ง ค่าใช้จ่ายคิดตามมูลค่าทรัพย์ หรือว่า แค่ขอ บางรายการก็ใช้ได้แล้ว
เช่น มี บ้านราคา 10 ล้าน มีรถยนต์ราคา 4 แสน เราอาจยื่นขอ เป็นผจก.มรดก โดยยื่นรายการทรัพย์สิน แค่รถ 1 คัน พอ ได้คำสั่งศาลแล้ว เราเอาคำสั่งไปจัดการ ทรัพย์สินทั้งหมด ไม่ว่า รถ บ้าน บัญชีธนาคา มิใช่แต่เฉพาะรถ เป็น แบบนี้ถูกต้องไหม

2. อย่างกรณี เช่น มีทายาท คนเดียว คือ ลูก ที่จะได้รับ ถ้าบิดา(หม้าย) ตาย
1. ถ้า ไม่ทำอะไรเลย ตายตกเป็นของลูก แต่ต้องไปร้องขอศาล ตั้ง ผจก.มรดกก่อน
2. แต่ถ้า บิดาทำพินัยกรรม บอกทรัพย์สินทั้งหมดยกให้ลูก เป็นพินัยกรรมแบบเขียนเอง ในทางกฎหมายถือว่าใช้ ได้ แต่ในทางปฏิบัติ เราเอาพินัยกรรม พ่อ ไปที่ดิน ไปธนาคาร เขาจะยอมให้โอน ให้เบิกเงินออกมาหรือเปล่า สงสัยในทางปฏิบัติ ว่า ที่ดิน ธนาคาร เขาจะเชื่อถือหรือ

3. คือผมมอง กรณี บิดา หย่าร้าง มีลูกคนเดียว ปู่ย่าตายหมด ทายาท จึงมีแค่ลูก ถ้าจะทำพินัยกรรมก็น่าจะง่ายกว่าไหม ตายก็ตกเป็นของลูก ไม่ต้องไปทำเรื่องทางศาล

ขอบคุณความ เห็น ความรู้ แบบไหนดี

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่