ตามรอยปิ่นปักผมอี่นายซ้องปีบจากตระกูลสล่าเครื่องเงินอ้ายมั่นฟ้าชุมชนวัวลาย

ตามรอยกลิ่นกาสะลอง🌼ปิ่นปักผม"อี่นายซ้องปีบ"


🍂ตระกูลสล่าเครื่องเงินของ"อ้ายมั่นฟ้า" ในละครกลิ่นกาสะลอง ที่ทำปิ่นปักผมให้"อี่นายซ้องปีบ" อยู่บ้านวัวลาย

สะป๊ะความฮู้เรื่องกลิ่นกาสะลอง
ช่างเงิน วัวลาย


ช่างทำเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่ คือช่างในชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ถนนวัวลาย ซึ่งสืบทอดวิชากันมาตั้งแต่ยุคแรกสร้างเมือง โดยจะถ่ายทอดให้ลูกหลานในครัวเรือนจนเป็นช่างฝีมือหรือสล่า แม้ในสมัยก่อนช่างเงินส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา แต่ยามว่างก็จะทำเครื่องเงินอย่างขันหรือพาน สลักลายงดงามไปขาย โดยเกือบทุกบ้านจะมีโรงงานขนาดเล็กอยู่ที่บ้าน
การทำงานของช่างเงินนั้นต้องใช้ทั้งสมาธิ ความใจเย็น ความอดทน และใช้เวลานานมากกว่าจะได้งานชิ้นหนึ่ง



ชุมชนวัวลาย จัดได้ว่าเป็นชุมชนวัฒนธรรมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะเป็นแหล่งที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ นั่นคือการต้องลายโลหะหรือเรียกอีกชื่อว่า การดุนโลหะ



🌼ลวดลายที่ถูกสลักเป็นเรื่องราว เรื่องเล่าที่ถูกกล่าวขานมานานหลายร้อยปี เครื่องเงินเริ่มเข้ามามีบทบาทในเชียงใหม่ ตั้งแต่สมัยพญามังราย เริ่มจากการเข้ามาของช่างฝีมือจากเมืองพุกาม มาเป็นครูสอนให้แก่ชาวบ้านในสมัยนั้น และสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น
ในอดีต การต้องลายโลหะ มักถูกแสดงออกมาในรูปแบบของจิตรกรรมฝาผนัง มีความประณีตอ่อนช้อยตามแบบฉบับของชาวล้านนา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลายไทย ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ เกิดขึ้นตามแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยนั้น




🌸ปัจจุบัน แม้การต้องลายโลหะจะไม่ได้รับความนิยมอย่างเช่นในอดีต แต่ ณ ชุมชนวัวลาย ยังคงกลิ่นอายของเครื่องเงิน ครูสล่าหลายท่าน ยังคงอาศัยอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้ นอกจากเครื่องเงินที่เป็นจุดเด่นของวัวลายแล้ว ที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของวัดที่มีอุโบสถเงินหลังแรกของโลกอีกด้วย
วัดศรีสุพรรณ” วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ ก่อตั้งมานานนับ 500 ปี วัดแห่งนี้เป็นที่ยืนยันว่า เครื่องเงินมีความสำคัญเป็นอย่างมากในจังหวัดเชียงใหม่ อุโบสถเงิน ที่ตั้งตระหง่านอยู่ภายในบริเวณวัด นับเป็นอุโบสถที่ทำจากโลหะหลังแรก มีการสลักลวดลายสวยงาม ทั้งนี้ยังเป็นที่ตั้งของบ้านครูช่าง พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนา ไม่ไกลกันนั้นเป็นที่ตั้งของ “วัดหมื่นสาร” วัดที่เมื่อไปเยือนถึงวัวลายแล้ว ไม่ควรพลาดที่จะไปเที่ยวชมที่นี่ “หอศิลป์ สุทฺธจิตฺโต” หอศิลป์ที่รวบรวมโลหะที่สลักลวดลายไว้อย่างสวยงาม ตั้งแต่ประตูทางเข้า รวมถึงภาพที่เล่าถึงเรื่องราวในอดีตอย่างพิธีบุกเบิกกรุยทางขึ้นดอยสุเทพ โดยเจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งสามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจได้เป็นอย่างดี ภายนอกหอศิลป์ยังคงมีโลหะที่ถูกสลักเป็นพระธาตุประจำปีเกิดทั้งสิบสองนักษัตรอีกด้วย







🌺ทั้งนี้ทุกคืนวันเสาร์ ชุมชนวัวลาย จะถูกจัดเป็น “ถนนคนเดินวัวลาย” ซึ่งมีเครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำจากอะลูมิเนียม และถูกต้องลายให้เกิดความสวยงามและทันสมัยมากขึ้น ซึ่งมีมากมายให้ได้เลือกซื้อตามความชอบ ทำให้เห็นว่าเครื่องเงินยังไม่หายไปจากเมืองเชียงใหม่ แม้จะถูกปรับเปลี่ยนไปบ้างตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป

เครื่องเงินร้านจากชุมชนวัวลาย







Cr: เพจข่าวคนเมือง
ขอบคุณข้อมูลจาก : บ้านครูช่าง พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าสิบหมู่ล้านนา
Cr. เพจSlow Life ChiangMai
ขอบคุณข้อมูลและรูปจาก : จักรพงษ์ คำบุญเรือง
Cr.TopChiangMai
Cr.เพจร้านเครื่องเงินชมชื่น , เพจเครื่องเงินวัวลาย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่