หลายๆคนคงสังเกตว่าทำไมโค้ชคุมิพูดน้อยจัง หน้าตาดูเครียดๆทั้งเกมส์ แก้เกมส์ก็ไม่ค่อยพูด
แต่จริงๆแล้วทีมงานญี่ปุ่นเขาใช้ระบบ decentralized หรือกระจายการทำงานไปทุกๆคน
อันนี้เราได้เคยถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องแวดวงวอลเลย์บอล พอทราบมาว่าทีมชาติเขาแบ่งหน้าที่ 5 ทีมหลัก
1. ทีมบังคับบัญชา (commander) มีคนเดียวคือ โค้ชคุมิ ทั้งเกมส์นางต้องดูนักกีฬาเล่น และต้องฟังทีมทั้ง 4 ทีม พร้อมกัน ก็ไม่แปลกใจที่นางดูเครียดเพราะต้องใช้สมาธิมาก การขอเวลานอก ช่วงเบรค ก็ทำหน้าที่เหมือนโค้ชคนอื่นๆ ที่กระตุ้นลูกทีม ให้กำลังใจ
2. ทีมข้อมูล (Data) ทีมนี้ขอบอกเลยว่า มีแต่นักสถิติหัวกะทิ มีข้อมูลมหาศาลทั้งนักกีฬาในทีม คู่แข่ง มีกล้องที่เรียกว่าเป็น AI จับผู้เล่นทั้งสนาม เก็บข้อมูลได้ละเอียด แล้วส่งให้ทีมกลยุทธ์การเล่น
3. ทีมกลยุทธ์ (Strategy) ทีมนี้มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลจากทีม Data แล้วประมวลแก้เกมส์ระดับภาพรวม ถ้า 2 ปีก่อน คงเคยเห็น อัคบาซ ที่ทีมชาติญี่ปุ่นจ้างมา เพราะพี่อัคบาซน่าจะเป็นคนเดียวในวงการวอลเลย์บอลที่เก่งสถิติ และสามารถแก้เกมส์ภาพรวม หน้าที่หลักๆ เกมส์เสริฟเป็นคนส่งสัญญาณว่าต้องเสริฟไปตำแหน่งไหน แต่ละคนควรยืนรับตำแหน่งไหน ไกด์ภาพรวมว่าต้องเล่นอย่างไรให้ผู้เล่นเข้าใจ
4. ทีมแก้เทคติครายคน(personal tactics) อันนี้โดยส่วนตัวเรานะ เป็นจุดแข็งของญี่ปุ่นนะคะ มีสตาฟ 7 คนแบ่งดูรายตำแหน่ง os1 os2 op st mb1 mb2 lib อย่างชัดเจน ถ้านักกีฬาคนไหนเล่นติดขัด เขาจะบอกเลยว่า ตบอย่างไร ตบที่ตำแหน่งไหน ถ้าใครสังเกตพอโค้ชคุมิพูดจบ ก็จะมีโค้ชลูกเจี๊ยบเข้าไปสอนรายคน
5. ทีมสนับสนุน ส่วนใหญ่เป็นทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ดูเหมือนเขาชิลๆ ก็ไม่ชิล ทีมนี้เขาก็ต้องตามดูดาต้าจากทีมข้อมูล เพื่อดูว่านักกีฬาไหวมั้ย ล้ามั้ย การเคลื่อนไหวมีปัญหา หรือเก็บฟีดแบ็คไว้ไปสร้าง fitness
จบล่ะค่ะ ไม่ได้เก่งอะไรนะคะ แค่อยากแบ่งปันให้เพื่อนได้รู้ ว่าทำไมทีมญี่ปุ่นตามคู่ต่อสู้เยอะหลายเกมส์มาก แล้วพลิกชนะเสมอ มันไม่ใช่แค่นักกีฬาเก่ง การบริหารจัดการทีมก็สำคัญมากค่ะ
ทำไมโค้ชญี่ปุ่น คุมิ นากาดะ ถึงไม่ค่อยพูด เหมือนไม่ค่อยแก้เกมส์ มาดูการทำงานสตาฟฟ์ญี่ปุ่น
แต่จริงๆแล้วทีมงานญี่ปุ่นเขาใช้ระบบ decentralized หรือกระจายการทำงานไปทุกๆคน
อันนี้เราได้เคยถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องแวดวงวอลเลย์บอล พอทราบมาว่าทีมชาติเขาแบ่งหน้าที่ 5 ทีมหลัก
1. ทีมบังคับบัญชา (commander) มีคนเดียวคือ โค้ชคุมิ ทั้งเกมส์นางต้องดูนักกีฬาเล่น และต้องฟังทีมทั้ง 4 ทีม พร้อมกัน ก็ไม่แปลกใจที่นางดูเครียดเพราะต้องใช้สมาธิมาก การขอเวลานอก ช่วงเบรค ก็ทำหน้าที่เหมือนโค้ชคนอื่นๆ ที่กระตุ้นลูกทีม ให้กำลังใจ
2. ทีมข้อมูล (Data) ทีมนี้ขอบอกเลยว่า มีแต่นักสถิติหัวกะทิ มีข้อมูลมหาศาลทั้งนักกีฬาในทีม คู่แข่ง มีกล้องที่เรียกว่าเป็น AI จับผู้เล่นทั้งสนาม เก็บข้อมูลได้ละเอียด แล้วส่งให้ทีมกลยุทธ์การเล่น
3. ทีมกลยุทธ์ (Strategy) ทีมนี้มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลจากทีม Data แล้วประมวลแก้เกมส์ระดับภาพรวม ถ้า 2 ปีก่อน คงเคยเห็น อัคบาซ ที่ทีมชาติญี่ปุ่นจ้างมา เพราะพี่อัคบาซน่าจะเป็นคนเดียวในวงการวอลเลย์บอลที่เก่งสถิติ และสามารถแก้เกมส์ภาพรวม หน้าที่หลักๆ เกมส์เสริฟเป็นคนส่งสัญญาณว่าต้องเสริฟไปตำแหน่งไหน แต่ละคนควรยืนรับตำแหน่งไหน ไกด์ภาพรวมว่าต้องเล่นอย่างไรให้ผู้เล่นเข้าใจ
4. ทีมแก้เทคติครายคน(personal tactics) อันนี้โดยส่วนตัวเรานะ เป็นจุดแข็งของญี่ปุ่นนะคะ มีสตาฟ 7 คนแบ่งดูรายตำแหน่ง os1 os2 op st mb1 mb2 lib อย่างชัดเจน ถ้านักกีฬาคนไหนเล่นติดขัด เขาจะบอกเลยว่า ตบอย่างไร ตบที่ตำแหน่งไหน ถ้าใครสังเกตพอโค้ชคุมิพูดจบ ก็จะมีโค้ชลูกเจี๊ยบเข้าไปสอนรายคน
5. ทีมสนับสนุน ส่วนใหญ่เป็นทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ดูเหมือนเขาชิลๆ ก็ไม่ชิล ทีมนี้เขาก็ต้องตามดูดาต้าจากทีมข้อมูล เพื่อดูว่านักกีฬาไหวมั้ย ล้ามั้ย การเคลื่อนไหวมีปัญหา หรือเก็บฟีดแบ็คไว้ไปสร้าง fitness
จบล่ะค่ะ ไม่ได้เก่งอะไรนะคะ แค่อยากแบ่งปันให้เพื่อนได้รู้ ว่าทำไมทีมญี่ปุ่นตามคู่ต่อสู้เยอะหลายเกมส์มาก แล้วพลิกชนะเสมอ มันไม่ใช่แค่นักกีฬาเก่ง การบริหารจัดการทีมก็สำคัญมากค่ะ