ทำไมจึงไม่มีความล่าช้า(lag) เมื่อเราโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (กระทู้ความรู้)

ทำไมจึงไม่มีความล่าช้า(lag) เมื่อเราโทรศัพท์ระหว่างปประเทศ บางครั้งไปอีกฟากของโลกครับ

จริงๆแล้วมี lag หรือ delay หรือหน่วงเวลา ซึ่งน้อยมาก เนื่องจากสัญญาณโทรศัพท์นั้นคือสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วเสียง

หรือ 300 ล้านเมตรต่อวินาที หรือ 300000 กิโลเมตรต่อวินาที ให้นึกถึงว่าระยะทางไปยังอีกครึ่งฟากของโลกนั้นประมาณ 20117 กิโลเมตร ใช้เวลาสัญญาณโทรศัพท์ขาเดียวประมาณ 20117/300000 หรือ 0.067 วินาที หรือเดินทางไปกลับคือ 0.067 X 2 หรือ 0.134 วินาที แต่เราไม่รับรู้สิ่งนี้ เนื่องจากการสื่อสารทางโทรศัพท์ หรือ VOIP(Internet Over Fiberoptic) นั้นจริงๆจับว่าใครกำลังพูด เมื่อเรากำลังรออีกปลายสายตอบกลับ การหน่วงนี้จะอยู่ในเศษส่วนของวินาที หรือเพียง 2 ถึง 3 วินาทีเท่านั้น เราเพียงรออีกปลายคู่สายฟัง คิด และตอบกลับ ทำให้เรารู้สึกว่าไม่มีการหน่วง หรือเป็นการสื่อสารแบบเวลาจริงหรือ real time ครับ

การสื่อสารสองด้านที่สังเกตุการหน่วงของเวลาที่เห็นได้ชัดคือทางการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต เช่นการใช้วิดีโอคอลทางคอมพิวเตอร์ หรือทางไลน์ที่เราคุ้นเคยกัน จะมีสิ่งที่เรียกว่า “Latency” ที่หมายถึงระยะเวลาการหน่วง วัดกันในหน่วยหนึ่งส่วนพันของวินาที หรือ milliseconds ที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูลไปและกลับ และ “latency” นี้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต เพียงแค่ทำให้เวลาหน่วงน้อยที่สุดด้วยระบบเครือข่ายที่ดีขึ้น “latency” นี้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเร็วในการส่งสัญญาณ แต่เป็นสิ่งที่ “แฝง” ก็ตามความหมายนั่นแหละครับ จากอุปกรณ์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งหมด รวมถึงดาวเทียมด้วยครับ

เจ้า “latency” นี้เกิดเนื่องจากหลายตัวแปร รวมถึงจำนวนครั้งที่นำข้อมูลส่งไปตามเส้นทางการส่งข้อมูล(เช่นโดย routers หรือ servers) ส่วนดาวเทียม GEO หรือ geosynchronous ใช้งานอินเทอร์เน็ตสองทาง และอยู่ประมาณ 37015 กิโลเมตรเหนือเส้นอีควอเตอร์ หรือเส้นศูนย์สูตร นั่นหมายความว่าการส่งข้อมูลไปและกลับจะเป็นทางเป็นระยะสองเท่าของระยะทางนี้ครับ

ที่มา
อาจารย์กุ๊ก: เสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2562
https://www.facebook.com/ittibhoom

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่