ก่อนหน้านี้เคยได้ยินข่าวเกี่ยวกันหนังเรื่องนี้มาบ้าง ว่าเป็นหนังที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากเวทีม้าทองคำไต้หวันปีล่าสุด ซึ่งสามารถเอาชนะ หนังฟอร์มยักษ์ Shadow ของจางอี้โหมวมาได้
และข่าวส่วนตัวของผู้กำกับ ที่กำกับหนังขนาดยาวเรื่องแรก(และเรื่องสุดท้าย) ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายของตัวเอง และยอมปลิดชีวิตตัวเองในวัย 29 ปี หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการถ่ายทำได้ไม่นาน
ตัวหนังเรื่องนี้จึงเปรียบเสมือน "จดหมายลาตาย" ของผู้กำกับไปโดยปริยาย
เรื่องเล่าจากตัวละครหลายตัว ที่เป้น "ผู้แพ้" ในชีวิตในหลายๆรูปแบบ และหลายๆสาเหตุ
ทั้งล้มเหลวจากสภาพแวดล้อม, สภาพครอบครัว, สภาพสังคม, แม้กระทั่งจากทัศนคติและวุฒิภาวะของตัวละครเอง
โดยทุกตัวละครมีจุดหมายปลายทางที่เดียวกัน นั่นก็คือเมืองหม่านโจวหลี่ เมืองค้าขายทางชายแดนจีน-รัสเซีย ที่ว่ากันว่า มีช้างอยู่ตัวหนึ่งนั่งนิ่งๆ โดยไม่สนใจโลกและความวุ่นวายใดๆ
เว่ยปู้ เด็กหนุ่มวัยรุ่น ที่โดนดูถูกจากบุพการีว่า "ไอ้กระจอก" อยู่ตลอดเวลา พยายามช่วยเพื่อนจากการถูกกล่าวหาว่าขโมยโทรศัพท์จากเด็กเกเรคนหนึ่ง จนพลั้งมือทำให้ตกบันไดบาดเจ็บสาหัส
ฮวางหลิง เด็กสาวเพื่อนสนิทของเว่ยปู้ ที่อาศัยอยู่กับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวอันไร้ระเบียบ เกิดอาการเบื่อหน่ายแม่ของตัวเอง แอบไปมีความสัมพันธ์กับอาจารย์ จนมีคลิปหลุดว่อนเนต
หวังจิน ชายชราผู้เป็นส่วนเกินของครอบครัว ถูกลูกชายไล่ออกจากบ้านของตัวเองให้ไปอยู่บ้านพักคนชรา เพียงเหตุผลที่ว่า "บ้านมันคับแคบเกินไป"
หยูเฉิง อันธพาลประจำถิ่นผู้เป็นชู้กับเมียเพื่อน จนเพื่อนจับได้กระโดดตึกฆ่าตัวตายต่อหน้า

การวางตัวละครทุกตัว อุดมไปด้วยบุคคลที่มีตรรกะผิดเพี้ยนไปหมด แม้กระทั่งตัวละครหลักเอง
ทุกปัญหาที่เกิด แทบไม่มีใครนึกโทษตัวเองเลยแม้แต่น้อย
ยกตัวอย่างเช่น
- เพื่อนฆ่าตัวตาย แต่กลับไปโทษที่แฟนตัวเองไม่ใส่ใจ จนตัวเองไปคบชู้แล้วโดนจับได้
- เด็กสาวโทษแม่ตัวเองที่ทำตัวน่ารำคาญ จนตัวเองไปมีสัมพันธ์กับอาจารย์
- เจ้าของหมาทำหมาตัวเองหาย แล้วไม่ยอมรับว่าหมาตัวเองไปกัดหมาคนอื่นตาย แต่กลับไปคาดคั้นหาที่อยู่หมาตัวเองกับเจ้าทุกข์
เหมือนอยู่ในสังคม ที่ทุกคนพร้อมที่จะเห็นแก่ตัวใส่กันได้ตลอดเวลา
จนเมื่อเกิดเหตุผิดพลาดขึ้น จะสามารถแสดงตรรกะข้างๆคูๆได้โดยไม่ละอายใจ เป็นลักษณะของพวก"ขี้แพ้"

Loser) เต็มรูปแบบ
อย่างไรก็ดี หนังก็จะวางตัวละครที่มีวุฒิภาวะไว้เบรคทัศนคติอันสุดโต่งแบบนี้เป็นระยะ
การกำกับ ถือว่ากล้าหาญมาก ที่ใช้เทคนิค Long Take เกือบตลอดทั้งเรื่อง
ซึ่งการลำดับภาพจะใช้เพียง 1 คัทต่อ 1 ซีเควนซ์เท่านั้น โดยใช้กล้องตามติด และโฟกัสไปที่ตัวละครหลักตลอดเวลา โดยทิ้ง Background เบลอบ้าง ชัดบ้าง โดยที่ไม่ทิ้งโฟกัสตัวละครที่เป็น Foreground เลย
(แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคุมแสง-เงา และจัดองค์ประกอบของภาพได้เป๊ะมาก)
บางจังหวะก็ใช้เสียงแวดล้อมเล่าเรื่อง แทนการแพนกล้อง ไปที่เหตุการณ์ แต่คนดูก็สามารถรับรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในฉากนั้น
บางฉาก คนดูก็สามารถรับรู้ได้ ว่ามีตัวละครหลักอีกตัวอยู่ในฉากด้วย แม้กล้องจะไม่ได้โฟกัสให้เห็นเลยก็ตาม

ซึ่งการกำกับแบบนี้ ดูเหมือนจะง่าย ที่แค่ถือกล้องเดินตามตัวละครไปเรื่อยๆ แต่เป็นสิ่งที่ยากมากๆในการปฏิบัติ เพราะต้องวางแผนในการเล่าเรื่องในแต่ละซีเควนซ์มาเป็นอย่างดี
และสิ่งเล็กๆน้อยๆในฉาก ก็ดูมีความสำคัญกับการเล่าเรื่องกันหมด

กลายเป็นว่าการเล่าเรื่องแบบนี้ กลับทำให้ตรึงคนดูไว้กับหน้าจออยู่ตลอดเวลาเกือบ 4 ชั่วโมงในช่วงที่หนังฉาย (ผู้กำกับเก่งมากๆครับ)
มีเสียงเล่าลือว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้กำกับตัดสินใจอัตวินิบากกรรม คือการไม่ลงรอยกันระหว่างโปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนี้ ที่ต้องการให้หนังสั้นลง เพื่อให้ฉายรอบในโรงปกติได้ กับผู้กำกับที่ต้องการคงความยาวของหนังไว้เหมือนเดิม
โดยส่วนตัวมองว่า ถ้าต้องตัดหนังเรื่องนี้ให้สั้นกว่านี้ เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก เพราะทุกฉากทุกซีเควนซ์ มันมีความสำคัญส่งเสริมซึ่งกันและกันหมด เผลอๆจะทำให้จังหวะโดยรวมหนังเสียไปเลยก็ได้
ดังนั้นถ้าคุณคิดจะซื้อตั๋วดูหนังเรื่องนี้ แนะนำให้จัดการกับชีวิตส่วนตัว เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย พักผ่อนให้เพียงพอ
เพราะหนังไม่มีการพักครึ่งเวลา ฉายรวดเดียวไปจนจบเลย
พอดูจบ คุณอาจรู้สึกหน่วงๆอึนๆ จากความโศกเศร้าที่จุกอยู่ที่ลำคอ แต่กลับรู้สึกว่าชีวิตคุณมีค่า จนสามารถก้าวข้ามปัญหาได้ดีกว่าตัวละครในหนังก็เป็นได้
An Elephant Sitting Still (2018) นาฏกรรมของเหล่าผู้แพ้
และข่าวส่วนตัวของผู้กำกับ ที่กำกับหนังขนาดยาวเรื่องแรก(และเรื่องสุดท้าย) ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายของตัวเอง และยอมปลิดชีวิตตัวเองในวัย 29 ปี หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการถ่ายทำได้ไม่นาน
ตัวหนังเรื่องนี้จึงเปรียบเสมือน "จดหมายลาตาย" ของผู้กำกับไปโดยปริยาย
เรื่องเล่าจากตัวละครหลายตัว ที่เป้น "ผู้แพ้" ในชีวิตในหลายๆรูปแบบ และหลายๆสาเหตุ
ทั้งล้มเหลวจากสภาพแวดล้อม, สภาพครอบครัว, สภาพสังคม, แม้กระทั่งจากทัศนคติและวุฒิภาวะของตัวละครเอง
โดยทุกตัวละครมีจุดหมายปลายทางที่เดียวกัน นั่นก็คือเมืองหม่านโจวหลี่ เมืองค้าขายทางชายแดนจีน-รัสเซีย ที่ว่ากันว่า มีช้างอยู่ตัวหนึ่งนั่งนิ่งๆ โดยไม่สนใจโลกและความวุ่นวายใดๆ
เว่ยปู้ เด็กหนุ่มวัยรุ่น ที่โดนดูถูกจากบุพการีว่า "ไอ้กระจอก" อยู่ตลอดเวลา พยายามช่วยเพื่อนจากการถูกกล่าวหาว่าขโมยโทรศัพท์จากเด็กเกเรคนหนึ่ง จนพลั้งมือทำให้ตกบันไดบาดเจ็บสาหัส
ฮวางหลิง เด็กสาวเพื่อนสนิทของเว่ยปู้ ที่อาศัยอยู่กับคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวอันไร้ระเบียบ เกิดอาการเบื่อหน่ายแม่ของตัวเอง แอบไปมีความสัมพันธ์กับอาจารย์ จนมีคลิปหลุดว่อนเนต
หวังจิน ชายชราผู้เป็นส่วนเกินของครอบครัว ถูกลูกชายไล่ออกจากบ้านของตัวเองให้ไปอยู่บ้านพักคนชรา เพียงเหตุผลที่ว่า "บ้านมันคับแคบเกินไป"
หยูเฉิง อันธพาลประจำถิ่นผู้เป็นชู้กับเมียเพื่อน จนเพื่อนจับได้กระโดดตึกฆ่าตัวตายต่อหน้า
การวางตัวละครทุกตัว อุดมไปด้วยบุคคลที่มีตรรกะผิดเพี้ยนไปหมด แม้กระทั่งตัวละครหลักเอง
ทุกปัญหาที่เกิด แทบไม่มีใครนึกโทษตัวเองเลยแม้แต่น้อย
ยกตัวอย่างเช่น
- เพื่อนฆ่าตัวตาย แต่กลับไปโทษที่แฟนตัวเองไม่ใส่ใจ จนตัวเองไปคบชู้แล้วโดนจับได้
- เด็กสาวโทษแม่ตัวเองที่ทำตัวน่ารำคาญ จนตัวเองไปมีสัมพันธ์กับอาจารย์
- เจ้าของหมาทำหมาตัวเองหาย แล้วไม่ยอมรับว่าหมาตัวเองไปกัดหมาคนอื่นตาย แต่กลับไปคาดคั้นหาที่อยู่หมาตัวเองกับเจ้าทุกข์
เหมือนอยู่ในสังคม ที่ทุกคนพร้อมที่จะเห็นแก่ตัวใส่กันได้ตลอดเวลา
จนเมื่อเกิดเหตุผิดพลาดขึ้น จะสามารถแสดงตรรกะข้างๆคูๆได้โดยไม่ละอายใจ เป็นลักษณะของพวก"ขี้แพ้"
อย่างไรก็ดี หนังก็จะวางตัวละครที่มีวุฒิภาวะไว้เบรคทัศนคติอันสุดโต่งแบบนี้เป็นระยะ
การกำกับ ถือว่ากล้าหาญมาก ที่ใช้เทคนิค Long Take เกือบตลอดทั้งเรื่อง
ซึ่งการลำดับภาพจะใช้เพียง 1 คัทต่อ 1 ซีเควนซ์เท่านั้น โดยใช้กล้องตามติด และโฟกัสไปที่ตัวละครหลักตลอดเวลา โดยทิ้ง Background เบลอบ้าง ชัดบ้าง โดยที่ไม่ทิ้งโฟกัสตัวละครที่เป็น Foreground เลย
(แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคุมแสง-เงา และจัดองค์ประกอบของภาพได้เป๊ะมาก)
บางจังหวะก็ใช้เสียงแวดล้อมเล่าเรื่อง แทนการแพนกล้อง ไปที่เหตุการณ์ แต่คนดูก็สามารถรับรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในฉากนั้น
บางฉาก คนดูก็สามารถรับรู้ได้ ว่ามีตัวละครหลักอีกตัวอยู่ในฉากด้วย แม้กล้องจะไม่ได้โฟกัสให้เห็นเลยก็ตาม
ซึ่งการกำกับแบบนี้ ดูเหมือนจะง่าย ที่แค่ถือกล้องเดินตามตัวละครไปเรื่อยๆ แต่เป็นสิ่งที่ยากมากๆในการปฏิบัติ เพราะต้องวางแผนในการเล่าเรื่องในแต่ละซีเควนซ์มาเป็นอย่างดี
และสิ่งเล็กๆน้อยๆในฉาก ก็ดูมีความสำคัญกับการเล่าเรื่องกันหมด
กลายเป็นว่าการเล่าเรื่องแบบนี้ กลับทำให้ตรึงคนดูไว้กับหน้าจออยู่ตลอดเวลาเกือบ 4 ชั่วโมงในช่วงที่หนังฉาย (ผู้กำกับเก่งมากๆครับ)
มีเสียงเล่าลือว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้กำกับตัดสินใจอัตวินิบากกรรม คือการไม่ลงรอยกันระหว่างโปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนี้ ที่ต้องการให้หนังสั้นลง เพื่อให้ฉายรอบในโรงปกติได้ กับผู้กำกับที่ต้องการคงความยาวของหนังไว้เหมือนเดิม
โดยส่วนตัวมองว่า ถ้าต้องตัดหนังเรื่องนี้ให้สั้นกว่านี้ เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก เพราะทุกฉากทุกซีเควนซ์ มันมีความสำคัญส่งเสริมซึ่งกันและกันหมด เผลอๆจะทำให้จังหวะโดยรวมหนังเสียไปเลยก็ได้
ดังนั้นถ้าคุณคิดจะซื้อตั๋วดูหนังเรื่องนี้ แนะนำให้จัดการกับชีวิตส่วนตัว เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย พักผ่อนให้เพียงพอ
เพราะหนังไม่มีการพักครึ่งเวลา ฉายรวดเดียวไปจนจบเลย
พอดูจบ คุณอาจรู้สึกหน่วงๆอึนๆ จากความโศกเศร้าที่จุกอยู่ที่ลำคอ แต่กลับรู้สึกว่าชีวิตคุณมีค่า จนสามารถก้าวข้ามปัญหาได้ดีกว่าตัวละครในหนังก็เป็นได้