สรุป ดราม่าปลากระเบนที่ยาวมาขนาดนี้เพราะ Ego จริงๆ

เห็นมีหลายคนมาตามดราม่าที่หลัง ก็งง ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทีนี้ว่างๆอยู่ก็อยากลองสรุปดราม่า
ต้นเหตุดราม่ามาจากมาจากรายการ MasterChef EP.5 นำปลากระเบนมาเป็นวัตถุดิบในการแข่งขัน

คลิปเต็มรายการ ตามไปดูได้จากตรงนี้
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
หลังจากออนแอร์ไป ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสติงรายการ

หลังจากนั้น มีคนมาท้วงติงอาจารย์เกี่ยวกับสายพันธุ์ รู้สึกว่าจะเป็นนักศึกษาด้วยซ้ำ
อาจารย์เลยลบโพสแรกแล้วโพสใหม่

จากเหตุการณ์ที่อาจารย์โพส หลายคนอาจจะบอกว่าท่านไม่ได้โพสผิดอะไรนี่นา
ยังไงก็เป็นปลากระเบนนกอยู่ดี ต่อให้เป็นปลากระเบนค้างคาวก็เถอะ
ทีนี้มาลงรายกันว่าอาจารย์ผิดอย่างไร

key word ของโพสแรก คือ กระเบนนกเป็นสัตว์หายากของไทย มีภาวะโดนคุกคาม
เน้นหนาๆที่คำว่าภาวะโดนคุกคามนะครับ จากที่ไปหาข้อมูลกระเบนนก มี 4 ชนิคครับ
แต่ละชนิดมีความหายากในธรรมชาติไม่เท่ากัน ซึ่งในรายการเป็นปลากระเบนลายจุด
ลักษณะแบบนี้ มี 2 ชนิดที่คล้ายกัน
1. A. ocellatus ตัวนี้ความหายากระดับ VU(อยู่ในภาวะโดนคุกคาม)
2. A. narinari ตัวนี้ความหายากระดับ NT(ยังไม่โดนคุกคาม)

นี่คือระดับความหายากของสัตว์

ในโพสแรก อาจารย์ได้ระบุว่าอยู่ในภาวะโดนคุกคาม ฉะนั้นสรุปได้ง่ายๆคือโพสแรกของอาจารย์หมายถึง A. ocellatus
แบบฟังธง ซึ่งเป็นเหตุผลให้เกิดการดราม่าใหญ่โต ตั้งแต่วันอาทิตย์ ต่อเนื่องมาจนถึงตอนนี้
แต่ผู้รู้หลายคนออกมาให้ความเห็นว่าตัวในรายการอาจจะเป็น A. narinari ซึ่งยังไม่ได้อยู่ในภาวะโดนคุกคาม ยังห่างไกลคำว่าสูญพันธุ์อีกมาก
เรียกได้ว่าความเข้าใจผิดของอาจารย์เป็นตัวก่อดราม่าโดยแท้จริง

ซึ่งหลังจากมีคนแย้งไปแล้วอาจารย์ควรจะขอโทษว่าเข้าใจผิดไปตั้งแต่ทีแรก เลยทำให้เกิดดราม่าหรืออะไรก็ตาม
แต่อาจารย์กลับไปให้ข่าวเหมือนเลี่ยงบาลี ว่ากระเบนค้างคาวก็คือกระเบนนกอย่างนึง ถูกครับ แต่ แต่ละชนิดความหายากไม่เท่ากัน
อาจารย์ไปบอกว่าแต่ตอนแรกว่าอยู่ในภาวะโดนคุกคาม ซึ่งเป็นข้อมูลผิด

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_2273858

สรุปตามความเห็นผม การที่อาจารย์มีหัวโขนที่น่าเชื่อถือ มีหน้ามีตาในสังคม อยากให้อาจารย์ช่วยกรองข้อมูลสักนิด
ว่าสิ่งที่อาจารย์ได้โพสไปมันกระทบใครบ้าง มันสร้างความเสียหายต่อคนอื่นอย่างไร
เพราะเมื่อไหร่คนที่น่าเชื่อถือแบบอาจารย์มาโพส ก็พร้อมจะมีคนตามน้ำในทันที เพราะเขาไม่ได้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านนี้
โพสไปก่อน คิดทีหลัง ตอนนี้หลายคนเลยเหมือนลิงแก้แห ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง สิ่งง่ายๆที่ควรทำก็ไม่ทำ
ถามย้อนกลับว่า ให้ข้อมูลผิดแล้วควรขอโทษหรือไม่แล้วแต่จะคิด


เพิ่มเติม
พูดคนละประเด็นกันแต่แรก พอรายการออกอากาศ อาจารย์ธรณ์มาโพสว่านี่คือ A.Ocellatus
ทั้งที่บอกกันเองจะแยกให้ได้จริงๆต้องตรวจ DNA แล้วปัดความเป็นไปได้อย่างอื่นนอกเหนือนั้นทิ้งหมด
1.ถ้าเป็นปลากระเบนที่จับในไทย จากรายงานปี 2014 พบ A.Ocellatus :A.Narinari อัตรา41:1
2.ปลาอพยพย้ายถิ่น ปลากระเบนสามารถอพยพได้ไกลหลายพันไมล์ <<อาจารย์ไม่ได้สนใจเคสนี้
3.ปลาจับจากน่านน้ำอื่นแล้วขึ้นในไทย ปลานำเข้า << อันนี้ก็ไม่สนใจ
https://www.thairath.co.th/content/1510756
แล้วด่วนสรุปไปในโพสแรกว่าปลาชนิดนี้ความหายากระดับ VU ซึ่งหมายถึงเป็นปลากระเบน A.Ocellatus เท่านั้น มันมีผลให้ดราม่าแรงขึ้นจริงมั้ย การที่คุณเอาวิจัยมากมายมาโพส แต่วิจัยพวกนั้นบอกอะไร?
สรุปง่ายๆ บอกว่าปลากระเบนในไทยพันธุ์ที่พบส่วนมากคือพันธุ์ A.Ocellatus
แต่ที่ผมท้วงติงคือการด่วนสรุปทั้งๆ ตอนนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าตัวในรายการคือสายพันธุ์ไหน ได้มายังไง ที่มันมีโอกาสเป็นได้ 1 2 3 ตามข้างบน
ผมไม่ได้ไปเถียงกับคุณประเด็นที่ว่าปลากระเบนในไทยทั้งหมดคือสายพันธุ์ไหนเพราะต้องตรวจ DNA
ผมติการสรุปโดยยังไม่มีมูลชี้ชัด อย่าลืมนะครับ ว่านักวิทยาศาสตร์เขาไม่ควรทิ้งความเป็นไปได้หมด
สมมุติ
ผมเจอสัตว์ชนิดนึง แล้วนักวิชาการท่านนึงดูรูปแล้วบอกว่ามันคือ สายพันธุ์ A ทันที ทั้งๆที่ มันมี 2 สายพันธุ์ ...A และ B คล้ายกันมาก
จะรู้ว่าสายพันธุ์ไหนต้องพิสูจน์ DNA เท่านั้น หลังจากนั้นนักวิชาการก็เอาวิจัยมาบอกว่าในไทยมันมีโอกาสเจอสายพันธุ์ A มากกว่า B
เลยตอบว่าสายพันธุ์ A ไป
ถ้ามีคนไปตินักวิชาการท่านนั้น ว่าเขาด่วนสรุป แสดงว่าเขาผิด?

ส่วนกระแสในกระทู้เข้าใจว่าตอนแรกกระทู้เงียบแล้ว แต่เหมือนจะมีคนเอาไปแชร์ที่ไหนสักที่เลยเข้ามาเยอะ
แล้วพยายามเอาวิจัยเรื่องปลากระเบนสายพันธุ์ A.Ocellatus มีในไทยน้อยมาถกเถียง ทำไปทำมาเหมือนมาเถียงด้วยข้อมูล แต่คนละประเด็น
พอแปะข้อมูลเยอะๆแล้วบอกฝ่ายตัวเองชนะ  จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครรู้เลยว่าปลาตัวนั้นสายพันธุ์อะไร แต่บอกว่าผมเงิบ ให้ขอโทษอาจารย์ ตรรกะอะไรเนี่ย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่