หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
มกอช. ประสบความสำเร็จ สร้าง Q อาสา เสริมการรับรองการผลิตอาหารปลอดภัยในระบบแปลงใหญ่
กระทู้ข่าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกษตรกร
เกษตรอินทรีย์
สินค้าเกษตร
อาหาร
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ได้สร้างQ อาสาขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง มกอช.กับเกษตรกร ให้คำปรึกษาเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบมาตรฐาน ผลิตพืชอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้นำกลุ่มเกษตรกร ตัวแทนสภาเกษตรกร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) โดยทำหน้าที่ให้คำแนะนำ และเป็นพี่เลี้ยงให้เกษตรกรที่จะเข้าสู่ระบบการผลิต การจัดการแปลงพืชผักให้เป็นไปตามมาตรฐานผ่านการรับรอง
นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กล่าวว่า ทาง มกอช. ได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด 9จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร สระแก้ว พัทลุงกำแพงเพชร ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครนายก นำ Q อาสา ไปตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ หรือพื้นที่ทั่วไป ที่ยื่นขอการรับรอง GAP และให้คำแนะนำแก่เกษตรว่า จะต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติในเรื่องอะไร/อย่างไร ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดหลัก 100% และข้อกำหนดรองไม่น้อยกว่า 60% เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมในการตรวจรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา Q อาสาได้ปฏิบัติงานร่วมตรวจประเมินแปลงและให้คำแนะนำ จำนวน 619 แปลง จนสามารถผ่านการรับรอง ร้อยละ 74.96
ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่แปลงใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบล ปากช่อง และ ตำบล ลานบ่า อำเภอ หล่มสัก นับว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งผลิตพืชที่สำคัญของเมืองไทย มีทั้งพืชผัก ไม้ผล พืชไร่ ซึ่งเกษตรกรในระบบแปลงใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตรใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการผลิตพืชอาหารปลอดภัยมากขึ้น ทั้งปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ ปลอดภัยต่อตนเอง ดังนั้นการให้คำแนะนำของ Q อาสา ต่อเกษตรกรเพื่อปรับเปลี่ยนการปฏิบัติให้สอดคล้องตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐาน GAP พืชอาหาร จึงเป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการผลักดันให้แปลงเกษตรกรผ่านการรับรอง GAP รวดเร็วขึ้น โดยในตำบล ปากช่อง ซึ่งเป็นแปลงใหญ่พืชผักนั้น ในปี ปี2561 Q อาสาได้เข้าตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น ของเกษตรกร จำนวน 50 ราย ปี2562 จำนวน 20 ราย ส่วนในตำบล ลานบ่า ซึ่งเป็นแปลงใหญ่ส้มโอ Q อาสาได้เข้าตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น ในปี 2562 จำนวน 30 ราย
เลขาธิการ มกอช. ได้กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า คิวอาสาที่เป็นตัวแทนแต่ละพื้นที่ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ทั้งจากการฝึกอบรมและ การปฏิบัติงานจริงมาใช้ในการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น (Pre audit) พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้แก่เกษตรกรเพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจประเมินแปลง GAP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้กรมวิชาการเกษตรสามารถตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกัน ทาง มกอช. ยังได้พัฒนาเครือข่าย Q อาสา ให้เป็นเครือข่าย ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตพืชอาหารได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งหมดนั้นคือ ความสำเร็จคิวอาสา ของ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช.
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อยากปลูกทุเรียน
ใครมีประสบการร์ เเนวทาง เเนะนำหน่อยครับ ตั้งเเต่เริ่มต้นเลยครับ
สมาชิกหมายเลข 8881703
ทำไมมะเขือเทศแพงคะ ช่วงนี้หน้าฝน น่าจะราคาถูก
ไม่ได้ซื้อเองมานานแล้ว นาน ๆ ซื้อที เลยจำราคาก่อนหน้าไม่ได้ แต่สงสัยว่าดูมีราคาสูง เพราะเหตุปัจจัยอะไรคะ ข่าวคราวก่อน เหมือนว่าพระจะซื้อมาแจกญาติโยม เพื่อช่วยเกษตรกร หรือเพราะราคาตก ทำให้เกษตรกรปลูก
อวัยวะชิ้นนั้น
ราชกิจจาฯ ประกาศปลดล็อก “สะเดา-ข่า-ตะไคร้หอม” พ้นบัญชีวัตถุอันตราย
ใช้ประกอบอาหารแทบทุกวัน พึ่งมาทราบตอนปลดออก ว่า สารสกัดที่เอาไปใช้กำจัดแมลงแบบชีวภาพจากวัตถุดิบเหล่านี้อยู่ในบัญชีวัตถุอันตราย วันที่ 7 กรกฎาคม 2568 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงอุต
สมาชิกหมายเลข 2933266
ทำไมเนเธอร์แลนด์จึงเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรมล้ำสมัย ?
เนเธอร์แลนด์ ประเทศที่มีพื้นที่เพียง 41,850 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่า ประเทศไทย 12 เท่า และเล็กเป็นอันดับที่ 131 ของโลก แต่ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้ กลับมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม มากเป็นอันดับ 2
สมาชิกหมายเลข 5429714
สุขวิชโนมิกส์ (Sukavichinomics) : วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อ ส่งเสริมการเกษตรและสนับสนุนการท่องเที่ยว
พ.ศ.2539 คุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต โดยรับผู้จบการศึกษาชั้น ม.3 จากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของสำนักงานคณะกร
สมาชิกหมายเลข 4440335
ทำไมเกษตรกรไทยยังจน... ทั้งที่สร้างอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศ?
ความจนของเกษตรกรไทยไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นผลลัพธ์จากโครงสร้างเศรษฐกิจและระบบการผลิตที่ไม่เป็นธรรม เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังคงยึดติดกับเกษตรแบบดั้งเดิมที่พึ่งพาดิน ฟ้า อากาศ แต่ต้องเผชิญกับต้นทุนที
หมู-ผู้สงสัย
ฝากถึงไม่ว่า รัฐบาลไหน อยากไห้รัฐทบาล เข้ามาดูแลเกษตรกรอย่างจริงจังซักที เกษตรกรในไทยยังจนอยู่ส่วนมาก
ผมเข้าไปหาข้อมูล จากประเทศที่เค้าทำเกษตรแล้วมีกินมีใช้ ชอบตรงที่เค้าหาตลาดไหม่ไห้เกษตรกร ไม่ยิดติดกับตลาดเก่า คอยช่วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และ คอยช่วยไห้ เกษตรกรเก็บผลผลิตไว้ขายในช่วงเวลาที่ราคา สูง
สมาชิกหมายเลข 8283285
มกอช.เร่งดันโรงคัดบรรจุผักปลอดภัยเข้าระบบ GMP จับมือกรมส่งเสริมการเกษตร เสริมความรู้มาตรฐาน GAP พืชอาหารกลุ่มเกษตรกร
มกอช.ขยายผลนโยบายตลาดนำการผลิตพื้นที่แปลงใหญ่ ดันโรงคัดบรรจุและโรงรวบรวมผักและผลไม้สดขนาดเล็กเข้าระบบ GMP หวังลดความเสี่ยงสินค้าเกษตรล้นตลาด-ราคาตก ปี 62วางเป้าพัฒนานำร่องนำร่อง 4 จังหวัด พระนครศรีอยุ
สมาชิกหมายเลข 4870051
ชาวนาระทม ราคาข้าวเปลือกดิ่งแตะ 5,000 บาท จี้รัฐบาลเร่งจ่ายไร่ละพัน
พืชผล ผลผลิตทางการเกษตร ราคาดิ่งหนักทุกชนิดเลยของปีนี้ ชาวนาหลายรายต้องเผชิญกับราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ลดลงอย่างหนักต่ำสุดในรอบ 17 ปีแตะที่ระดับ 5,000 บาทต่อตัน ทำให้สถานการณ์ตลาดข้าวในประเทศเข้าสู่ภ
สมาชิกหมายเลข 2933266
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เกษตรกร
เกษตรอินทรีย์
สินค้าเกษตร
อาหาร
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 29
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
มกอช. ประสบความสำเร็จ สร้าง Q อาสา เสริมการรับรองการผลิตอาหารปลอดภัยในระบบแปลงใหญ่
นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กล่าวว่า ทาง มกอช. ได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด 9จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร สระแก้ว พัทลุงกำแพงเพชร ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และนครนายก นำ Q อาสา ไปตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ หรือพื้นที่ทั่วไป ที่ยื่นขอการรับรอง GAP และให้คำแนะนำแก่เกษตรว่า จะต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติในเรื่องอะไร/อย่างไร ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดหลัก 100% และข้อกำหนดรองไม่น้อยกว่า 60% เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมในการตรวจรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา Q อาสาได้ปฏิบัติงานร่วมตรวจประเมินแปลงและให้คำแนะนำ จำนวน 619 แปลง จนสามารถผ่านการรับรอง ร้อยละ 74.96
ทั้งนี้ในส่วนของพื้นที่แปลงใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบล ปากช่อง และ ตำบล ลานบ่า อำเภอ หล่มสัก นับว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งผลิตพืชที่สำคัญของเมืองไทย มีทั้งพืชผัก ไม้ผล พืชไร่ ซึ่งเกษตรกรในระบบแปลงใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตรใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการผลิตพืชอาหารปลอดภัยมากขึ้น ทั้งปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ ปลอดภัยต่อตนเอง ดังนั้นการให้คำแนะนำของ Q อาสา ต่อเกษตรกรเพื่อปรับเปลี่ยนการปฏิบัติให้สอดคล้องตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐาน GAP พืชอาหาร จึงเป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการผลักดันให้แปลงเกษตรกรผ่านการรับรอง GAP รวดเร็วขึ้น โดยในตำบล ปากช่อง ซึ่งเป็นแปลงใหญ่พืชผักนั้น ในปี ปี2561 Q อาสาได้เข้าตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น ของเกษตรกร จำนวน 50 ราย ปี2562 จำนวน 20 ราย ส่วนในตำบล ลานบ่า ซึ่งเป็นแปลงใหญ่ส้มโอ Q อาสาได้เข้าตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น ในปี 2562 จำนวน 30 ราย
เลขาธิการ มกอช. ได้กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า คิวอาสาที่เป็นตัวแทนแต่ละพื้นที่ได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ทั้งจากการฝึกอบรมและ การปฏิบัติงานจริงมาใช้ในการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น (Pre audit) พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้แก่เกษตรกรเพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจประเมินแปลง GAP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้กรมวิชาการเกษตรสามารถตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกัน ทาง มกอช. ยังได้พัฒนาเครือข่าย Q อาสา ให้เป็นเครือข่าย ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตพืชอาหารได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งหมดนั้นคือ ความสำเร็จคิวอาสา ของ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช.