[CR] พาไปเที่ยวจุดชมวิวที่สวยที่สุดในอ่างขาง(สำหรับผม) จุดชมวิวม่อนสน และเดินขึ้นยอดสูงสุงดอยอ่างขางที่น้อยคนจะรู้

*** ผมไปมาเมื่อ ธค 2556  ข้อมูลบางอย่างอาจจะมีการเปลี่ยนแปล ควรตรวจสอบอีกครั้ง


สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่ตำบลยิ้มอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะ 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ให้เขาช่วยตัวเอง" เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว ที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน

  โดยเรื่องกำเนิดของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แห่งนี้ เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร

          จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่า ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"

          "อ่างขางในอดีตวันนั้นสวยมากด้วยดอกฝิ่นและภูมิประเทศ เราได้เห็นต้นท้อ แอ๊ปเปิ้ลป่า และทราบว่าอากาศหนาวเราได้คุยกับผู้ที่ไปตั้งร้านขายของ ซื้อฝิ่นเขาขึ้นมาอีกทางหนึ่ง ห่างจากค่ายทหารจีนโดยที่ชาวเขาส่วนมากอพยพไปที่อื่น อ่างขางจึงมีที่เหลือให้หญ้าคาขึ้นอยู่มาก ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้นเมื่อ 30 ปี มานี้ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ทำวิจัยได้" ม.จ. ภีศเดช รัชนี กล่าว

          โดยคำว่า "อ่างขาง" ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ข้อมูลจาก
https://travel.kapook.com/view1266.html

---------------------------------------------------------------------------------------------
ม่อนสน....อีกจุดพักค้างแค้มป์ ชมพระอาทิตย์ขึ้น ทะเลหมอก ที่สุดที่สุดแห่งหนึ่งบริเวณอ่างขาง

ม่อนสนอยู่ตรงไหน

ม่อนสนจะอยู่บริเวณ สามแยก ซึ่งเป็นจุดตัดที่มาจากสามทาง
1 ขึ้นมาจากทาง อ.ไชยปราการ จากวัดหาดสำราญ ซึ่งเป็นเส้นทางที่คนใช้มากที่สุด แต่ทางนี้ก็คดเคียวและชัน มีโค้งหักศอกมากมาย ต้องระวัง
2 ขึ้นมาจากทาง อ.ฝาง วิ่งผ่านแนวชายแดนไทย-พม่า ผ่านบ้านนอแล(ฐานทหาร)  ผ่านทางลงสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ทางนี้ถนนจะไม่ค่อยดีเป็นหลุมเยอะ แต่รถน้อย เพราะต้องผ่านด่านทหาร ทางไต่ระดับความสูงไปเรื่อยๆ
3 ขึ้นมาจากทาง อ.เชียงดาว จากแยกเมืองงาย

ทั้งสามทางจะมาบรรจบกันที่สามแยก ซึ่งเรียกกว่า ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง (จุดชมวิวม่อนสน) ซึ่งตรงจุดนี้จะมีจุดกางเต็นท์ 2 ที่ด้วยกันคือ

1 ลานกางเต็นท์ดอยอ่างขาง  อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก (ม่อนสน)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
จากแยกเลี้ยวขวาจะถึงเป็นจุดแรก
บริเวณฝั่งตรงข้ามจะมีร้านค้าชาวบ้านมากมาย ทั้งร้านอาหาร และให้เช่าอุปกรณ์แค้มป์ต่างๆ เช่นเต็นท์ ผ้าห่ม เต่า ฯลฯ


อาหารก็มีทั้งผลไม้ประจำฤดูกาล  น้ำสมุนไพรร้อนๆ ขนมพื้นเมืองต่างๆ





บางร้านก็มีพวกเครื่องนอนต่างๆให้เช่า

เมื่อมาถึงก็ควรมาติดต่อที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวด้วย เจ้าหน้าที่จะได้รู้จำนวนคน

การมากางเต็นท์พักแรมที่นี่ เนื่องจากเป็นส่วนของอุทยานก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย ต่อคน ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท (อาจมีการเปลี่ยนแปลงควรตรวจสอบ)

อัตราค่าบริการ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา (ผมไปมาเมื่อ ธค 2556) ถ้าใครไม่ได้เอาอุปกรณ์แค้มป์มาก็สามารถมาเช่าได้ แต่แนะนำเอามาเองจะดีกว่า เพราะคนเยอะ อาจมีปัญหาของไม่พอ หรือไม่สะอาด

จะอุดหนุนเจ้าหน้าที่ก็ได้ครับ

เมื่อติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอกางเต็นท์และชำระค่าบริการแล้ว ก็เดินเลือกที่กางเต็นท์ได้เลย โดยลักษณะสถานที่กางเต็นท์ เป็นลานสน ค่อยๆลาดลง มีการปรับแต่งพื้นที่ให้เป็นที่ราบเพื่อกางเต็นท์ ดอยสามารถมองเห็นตัวเมือง และถนนที่คดเคียว ได้




โดยมีจุดชมวิว สร้างเป็นลานไม้ยกพื้นสูง เห็นวิว ตัวเมือง พระอาทิตย์ขึ้น และทะเลหมอก

ฟ้าใสๆ ก็จะเห็นหนทางที่ขึ้นมาจาก อ.ไชยปราการ ที่คดเคียวเหมือนงู

ตอนกลางคืน จุดชมวิวม่อนสน ก็สามารถดูวิวดาวบนดิน อ.ไชยปราการก็สวย









หรือจะดูวิวพระอาทิตย์ขึ้น และทะเลหมอก ก็แจ่ม













*** บริเวณ  ลานกางเต็นท์ดอยอ่างขาง  อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก (ม่อนสน) สถานที่จอดรถมีน้อย อาจต้องจอดข้างถนน และพื้นที่แออันมากยิ่งในช่วงเทศกาลจะลำบาก

2 ลานกางเต็นท์ฐานปฏิบัติการดอยอ่างขาง
อยู่ถัดและติดกับลานกางเต็นท์ดอยอ่างขาง  อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก

โดยรวมเรียก จุดชมวิวม่อนสน (ไม่แน่ใจว่าเรียกเฉพาะที่ ลานกางเต็นท์ดอยอ่างขาง  อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก หรือเปล่า แต่มันติดกันผมเลยเรียกรวม)

ทั้งสองที่อยู่ติดกันเลย เดินได้สบาย ทางเข้าของฐานปฏิบัติการจะมีทหารเดินตรวจอยู่

ภายในฐานปฏิบัติการ ทางเข้าจะมีศาลสมเด็จพระนเรศวร แวะสักการะเพื่อเป็นศิริมงคลหน่อย

รถเยอะไม่ต่างกับที่อื่นๆ

ก็จะแน่นๆหน่อย

ห้องน้ำห้องอาบน้ำมี แต่ช่วงคนเยอะๆ ก็หมดเหมือนกันนะครับ




เข้ามาก็มาติดต่อที่ศูนย์บริการประชาชน ลงทะเบียน และดูกฏต่างๆภายในที่พัก


ที่ฐานปฏิบัติการ ไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้จ่าย แต่มีตู้สำหรับบริจาค เพราะยังไงก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการการบำรุงสถานที่ ค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ



และยังมีที่ให้เช่าอุปกรณ์เครื่องนอนต่างๆ ด้วย

ชื่อสินค้า:   ม่อนสน
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่