วันที่ 27 ธันวาคม 2561 - 16:28 น.
"ฟาร์เอาต์" จากจินตนาการของศิลปิน (ภาพ-Roberto Molar Candanosa/Carnegie Institution for Science)
ทีมนักดาราศาสตร์อเมริกันค้นพบดวงดาวสีชมพูเข้มที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่มนุษย์สามารถตรวจสอบเห็นได้ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างกว่าวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กว่า 100 เท่าตัว
ทีมดาราศาสตร์ตั้งชื่อสามัญเรียกดาวดวงนี้ว่า “ฟาร์เอาต์” ซึ่งได้รับชื่อที่ขึ้นทะเบียนเป็นทางการจากสหภาพดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) ว่า “2018วีจี18” ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบพบเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์แคระ สัณฐานกลม มีสีชมพูเข้ม และเนื่องจากอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะมาก จึงมีแนวโน้มว่ากว่าจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ จำเป็นต้องใช้เวลามากกว่า 1,000 ปี ทีเดียว
ภาพเปรียบเทียบระยะห่างจากดวงอาทิตย์ของฟาร์เอาต์กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ (ภาพ-Roberto Molar Candanosa/Carnegie Institution for Science)
ฟาร์เอาต์ โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 120 หน่วยดาราศาสตร์ (แอสโทรโนมิคอล ยูนิต หรือเอยู เป็นหน่วยวัดระยะทาง 1 เอยู เท่ากับระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ซึ่งเท่ากับ 93 ล้านไมล์ หรือ 150 ล้านกิโลเมตร) อยู่ไกลกว่าระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวพลูโตถึง 3.5 เท่า (ดวงอาทิตย์กับดาวพลูโตอยู่ห่างกัน 34 เอยู) และอยู่ไกลออกไปกว่า ดาวเคราะห์แคระ เอริส ที่ถือกันว่าเป็นดาวที่อยู่ไกลที่สุดของระบบสุริยะก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 96 เอยู
อย่างไรก็ตาม “ฟาร์เอาต์” ยังไม่จัดว่าเป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ เนื่องจากมีการตรวจสอบได้ว่า มีวัตถุอื่นๆ อีกมากที่มองไม่เห็นแต่สังเกตพบว่ามีอยู่จากอิทธิพลต่อสภาพโดยรอบ อาทิ ดาวเคราะห์แคระ เซดนา ซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 900 เอยู หรือในชั้นเมฆออร์ต ซึ่งอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 เอยู ก็เชื่อว่ามีดาวหางอยู่นับเป็นล้านล้านดวงเป็นต้น
ทีมนักดาราศาสตร์ที่ประกอบด้วย สก็อตต์ เชปปาร์ด, เดวิด โทเลน, แชด ทรูฮิลโญ และคณะ ค้นพบ “ฟาร์เอาต์” เป็นครั้งแรกโดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ ซูบารุ8 ที่ฮาวาย ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งเมื่อต้นเดือนธันวาคมด้วย กล้องโทรทรรศน์ แม็กเจลเลนในชิลี เพื่อยืนยัน พบว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 500 กิโลเมตร ซึ่งทำให้จัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์แคระ นอกจากนั้นสภาพสีชมพูเข้มของมันแสดงให้เห็นว่าดาวดวงนี้ปกคลุมด้วยน้ำแข็งนั่นเอง
วงโคจรของดาวเคราะแคระที่ค้นพบใหม่นี้ยังไม่แน่ชัด เนื่องจากเป็นดาวที่อยู่ห่างไกลและเคลื่อนที่ช้า อาจจำเป็นต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี กว่าจะคำนวณวงโคจรที่ชัดเจนได้นั่นเอง
มติชนออนไลน์
พบดาวเคราะห์แคระ ไกลที่สุดในระบบสุริยะ
"ฟาร์เอาต์" จากจินตนาการของศิลปิน (ภาพ-Roberto Molar Candanosa/Carnegie Institution for Science)
ทีมนักดาราศาสตร์อเมริกันค้นพบดวงดาวสีชมพูเข้มที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่มนุษย์สามารถตรวจสอบเห็นได้ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างกว่าวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กว่า 100 เท่าตัว
ทีมดาราศาสตร์ตั้งชื่อสามัญเรียกดาวดวงนี้ว่า “ฟาร์เอาต์” ซึ่งได้รับชื่อที่ขึ้นทะเบียนเป็นทางการจากสหภาพดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) ว่า “2018วีจี18” ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบพบเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์แคระ สัณฐานกลม มีสีชมพูเข้ม และเนื่องจากอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะมาก จึงมีแนวโน้มว่ากว่าจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ จำเป็นต้องใช้เวลามากกว่า 1,000 ปี ทีเดียว
ภาพเปรียบเทียบระยะห่างจากดวงอาทิตย์ของฟาร์เอาต์กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ (ภาพ-Roberto Molar Candanosa/Carnegie Institution for Science)
ฟาร์เอาต์ โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 120 หน่วยดาราศาสตร์ (แอสโทรโนมิคอล ยูนิต หรือเอยู เป็นหน่วยวัดระยะทาง 1 เอยู เท่ากับระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก ซึ่งเท่ากับ 93 ล้านไมล์ หรือ 150 ล้านกิโลเมตร) อยู่ไกลกว่าระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวพลูโตถึง 3.5 เท่า (ดวงอาทิตย์กับดาวพลูโตอยู่ห่างกัน 34 เอยู) และอยู่ไกลออกไปกว่า ดาวเคราะห์แคระ เอริส ที่ถือกันว่าเป็นดาวที่อยู่ไกลที่สุดของระบบสุริยะก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 96 เอยู
อย่างไรก็ตาม “ฟาร์เอาต์” ยังไม่จัดว่าเป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ เนื่องจากมีการตรวจสอบได้ว่า มีวัตถุอื่นๆ อีกมากที่มองไม่เห็นแต่สังเกตพบว่ามีอยู่จากอิทธิพลต่อสภาพโดยรอบ อาทิ ดาวเคราะห์แคระ เซดนา ซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 900 เอยู หรือในชั้นเมฆออร์ต ซึ่งอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 เอยู ก็เชื่อว่ามีดาวหางอยู่นับเป็นล้านล้านดวงเป็นต้น
ทีมนักดาราศาสตร์ที่ประกอบด้วย สก็อตต์ เชปปาร์ด, เดวิด โทเลน, แชด ทรูฮิลโญ และคณะ ค้นพบ “ฟาร์เอาต์” เป็นครั้งแรกโดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ ซูบารุ8 ที่ฮาวาย ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งเมื่อต้นเดือนธันวาคมด้วย กล้องโทรทรรศน์ แม็กเจลเลนในชิลี เพื่อยืนยัน พบว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ 500 กิโลเมตร ซึ่งทำให้จัดได้ว่าอยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์แคระ นอกจากนั้นสภาพสีชมพูเข้มของมันแสดงให้เห็นว่าดาวดวงนี้ปกคลุมด้วยน้ำแข็งนั่นเอง
วงโคจรของดาวเคราะแคระที่ค้นพบใหม่นี้ยังไม่แน่ชัด เนื่องจากเป็นดาวที่อยู่ห่างไกลและเคลื่อนที่ช้า อาจจำเป็นต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี กว่าจะคำนวณวงโคจรที่ชัดเจนได้นั่นเอง
มติชนออนไลน์