อวสาน อะแซหวุ่นกี้

ในสมัยกรุงธนบุรี แม่ทัพพม่าที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง นาม อะแซหวุ่นกี้
ได้สร้างความน่าเกรงขามไว้ในประวัติศาสตร์ไทย
ผู้ซึ่งได้รับหน้าที่กรีพาทัพมา ตีกรุงธนบุรี จนเกือบจะได้ชัยชนะ
แต่ก็ต้องรีบถอยทัพกลับไป สร้างความงวยงง สงสัยให้กับเหล่ากองทัพไทยเป็นอันมาก
และหลังจากนั้น พม่าก็ไม่เคยชนะไทยอีกเลย


เกิดอะไรขึ้นในกาลนั้น
เหตุใด เมื่อจวนจะชนะข้าศึกได้เพียงปลายนิ้วลัด
กลับต้องถอยทัพกลับพม่าอย่างเร่งรีบ
และนี่เองเป็นบท อวสานของแม่ทัพ นาม อะแซหวุ่นกี้
ที่คนไทยเราเคยเกรงกลัวต่อความเก่งกล้าสามารถของเขา


ในสมัย พระเจ้ามังระ ได้ส่งกองกำลังเข้าตีและยึดเมืองทางตอนเหนือของไทย
เรื่อยลงมาจนเข้า เขตกรุงเก่า(อยุธยา)
และเตรียมตัวเข้าตีกรุงธน

ในขณะที่ ทาง กรุงธนที่พึ่งสถาปนาเป็นเมืองขึ้นมาใหม่นั้น
ยังคงไม่พร้อมที่จะตั้งรับ กองทัพใหญ่จากพม่า
เรียกได้ว่าอยู่ในสถานการที่น่าเป็นห่วง
อยู่ๆ ทัพพม่าที่ปิดล้อมก็ถอยทัพกลับไป



เหตุเพราะ ทางแม่ทัพอะแซหวุ่นกี้ ได้รับพระราชศาลแจ้งว่า
พระเจ้ามังระ สวรรคต แล้ว

จะเกิดการผลัดแผ่นดินครั้งสำคัญในพม่า
แม่ทัพอะแซหวุ่นกี้จังต้องรีบเร่งไปจัดแจง
เตรียมการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสืบสันติวงศ์


ย้อนกลับไปในสมัย พระเจ้าอลองพญา
ได้มีพระโอรส 6 พระองค์ด้วยกัน
เพื่อไม่ให้เหล่าโอรสของพระองค์ต้องมีปัญหาเรื่องความขัดแย้งในการสืบสันติวงศ์
พระเจ้าอลองพญาได้ตั้งกฎมณเฑียรบาลไว้ให้โอรสสืบสันติวงศ์
โดยเรียงลำดับขั้นจากอาวุโสก่อนก็ได้เป็นก่อน
ซึ่งได้แก่
1 โอรสคนโต พระเจ้านองดอจี
2 พระเจ้า มังระ
3 อเมียงเมง
4 พระเจ้าปดุง
5 ประกาเมง
6 คนสุดท้อง (จำชื่อไม่ได้)

เมื่อพระเจ้าอลองพญา สวรรคต
ลูกชายคนโต นามว่า พระเจ้านองดอจี ก็ได้ขึ้นครองราช
แต่ ครองราชได้สามปี ก็ป่วยจนถึงขั้นสวรรคต
เป็นเหตุให้โอรสคนถัดไปได้ขึ้นครองราชต่อมา ก็คือ พระเจ้ามังระ นั้นเอง


เพราะเจ้ามังระ ได้เปลี่ยนกฎมณเฑียรบาลที่เดิมแล้วเมื่อพระเจ้ามังระสวรรคต
คนที่จะขึ้นครองราชต่อจากพระองค์ควรจะเป็นน้องคนถัดไปของพระองค์
แต่พระองค์กับแต่งตั้งลูกชายคนโตของพระองค์ขึ้นสืบสันติวงศ์แทน

นั้นก็คือพระเจ้าเซงกู
พระเจ้าเซงกูนี่เอง    ก่อนจะได้ขึ้นครองราช
พระองค์ยังมีศักดิ์เป็นลูกเขยของ อะแซหวุ่นกี้
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อสิ้นพระเจ้ามังระ
อะแซหวุ่นกี้ จึงต้องรีบเร่งเข้ามาดูแลความสงบในการสถาปนาพระเจ้าเซงกูขึ้นครองราช
เพราะยังมีความขัดแย้งกันในราชสำนัก
ถึงกฎมณเฑียรบาลที่เดิมผู้ที่จะสืบสันติวงศ์คนทัดไปควรเป็น
อเมียงเมง ลูกชายคนที่ 3 ของพระเจ้าอลองพญา

แต่ที่สุด
เมื่อพระเจ้าเซงกูขึ้นครองราช ก็มีการประหาร อเมียงเมง โอรสคนที่ 3 หรือน้องชายของพ่อนั้นเอง
เพื่อตัดอำนาจที่อาจจะสร้างความสั่นคลอนราชบัลลังก์


พระเจ้าเซงกูขึ้นครองราช ได้พยายามตัดเสี้ยนหนามที่จะเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ของพระองค์
เช่น โอรสของ พระเจ้านองดอจี(พี่ชายพระเจ้ามังระ หรือ น้าของพระเจ้าเซงกู) นาม หม่องหม่อง
ได้ลี้ภัยความขัดแย้งในราชสำนักไปบวช แต่ก็ไม่วายที่พระเจ้าเซงกูจะสั่งให้สิขาแล้วเนรเทศไปอยู่ต่างเมือง

พระเจ้าเซงกู ไม่โปรด อะแซหวุ่นกี้
แม้จะมีศักดิ์เป็นถึงพ่อตาพระองค์
ที่สุดได้ ถอดยศศักดิ์และเนรเทศไปอยู่ต่างเมือง
และไม่นานลูกสาวของอะแซหวุ่นกี้ ก็ถูกเนรเทศตามไปภายหลัง

แต่ที่น่าเศร้า ลูกสาวของอะแซหวุ่นกี้ ถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับพระญาติของพระเจ้าเซงกู
นางจึงถูกราชสำนักลงโทษโดยการจับใส่ถุงถ่วงน้ำทั้งเป็น

อะแซหวุ่นกี้ อยู่ด้วยความอับอาย เพราะไม่มีแม้ยศศักดิ์ ไม่มีแม้บารมีใดๆ
แถมลูกสาวก็มาถูกประหารอีก นับเป็นความคับแค้นใจที่ฝังลึกอยู่ในใจแม่ทัพชรา

จนกระทั้ง
ในที่สุด หม่องหม่อง โอรส พระเจ้านองดอจี ได้ถูกสนับสนุนจากเหล่าขุนนางที่ถูกเนรเทศในคราก่อน
ทำการยึดราชบัลลังก์จากพระเจ้าเซงกูเป็นผลสำเร็จ

แต่ พระเจ้าหม่องหม่องครองราชได้เพียง 7 วัน
ก็ถูกกลุ่มผู้สนับสนุน เจ้ามังระเก่า อันมี อะแซหวุ่นกี้ ร่วมวางแผนด้วย
จับตัวแล้วประหารชีวิต พระเจ้าหม่องหม่อง

สถาปนา ลูกชายคนที่ 4 ของพระเจ้าอลองพญา นามว่าพระเจ้าปดุง
ขึ้นครองราช ตามกฎมณเฑียรบาลเดิม

หลังจากนั้น
ได้จับกุมตัว พระเจ้าเซงกู แล้วตัดสินประหารชีวิต ด้วยการ ฝังทั้งเป็น
หรือบางตำราก็บอกว่า ถ่วงน้ำทั้งเป็น แบบที่ลูกสาวของ อะแซหวุ่นกี้ โดนกระทำ


จากที่มีการผลัดแผ่นดิน เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นความวุ่นวายต่อเนื่องในราชสำนัก

พระเจ้าปดุง ยังคงไม่ใช่ที่หมายตาของ อะแซหวุ่นกี้
ว่ากันว่า อะแซหวุ่นกี้ คิดจะทำการปลด พระเจ้าปดุง
และสถาปนาพระญาติของพระเจ้าปดุงขึ้นครองราช
ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ที่สุด
จึงรวบตัว อะแซหวุ่นกี้และพรรคพวกไว้ได้
และสั่งประหาร อะแซหวุ่นกี้กับพรรคพวกทั้งหมด ตายตกไปตามกัน

นับเป็นการอวสานของ แม่ทัพวัยชราในช่วงบั่นปลายชีวิต ที่หาสุขใดไม่ได้เลย
ผู้ที่เคยพิชิตเหนือราบคาบ เก่งกาจการศึก ลุยทุกสมรภูมิรบ
แต่ผลตอบแทนของชีวิต กลับกลายเป็น ความอัปยศสุดที่จะบรรยาย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่