คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การฟังเพลง classic จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยากนะครับ หากเราเข้าใจในระเบียบบางอย่าง เช่น
การแต่งกาย ถ้าเป็นคอนเสิร์ตทั่วไปก็แต่งกายสุภาพครับ แต่ถ้าเป็นงานทางการหรือมีรับเสด็จก็แต่งกายให้เหมาะสมกว่าเดิม (บางงานจะมี dress code ก็ให้ใส่ชุดตามที่ระบุไว้)
ควรไปถึงหอแสดงดนตรีก่อนเริ่มทำการแสดงครับ หากมาช้าเจ้าหน้าที่จะให้เข้าหลังจากจบเพลงโหมโรง (overture)
เมื่อพูดถึงตรงนี้แล้ว ก็ต้องพูดถึงหลักทั่วไปของการแสดงเพลง classic ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการบรรเลงเพลงอยู่ 3 รูปแบบคือ
1. เพลงโหมโรง (overture) เป็นเพลงสั้นๆประมาณ 5-15 นาที เหมือนเป็นการเรียกน้ำย่อย
2. เพลงบรรเลงเดี่ยว (concerto) เป็นเพลงที่จะมีนักดนตรีรับเชิญมาร่วมบรรเลงเดี่ยวร่วมกับวง orchestra ปกติมักจะมี 3 ท่อน (บางเพลงที่แต่งในยุคหลังๆจะก็เป็นบรรเลงแบบท่อนเดียวจบเลยก็มี)
*การปรบมือ : ควรทำหลังจบการบรรเลงในท่อนสุดท้าย นักดนตรีรับเชิญจะโค้งรับการปรบมือ บางคนจะมีการโซโล่เดี่ยวเป็น encore ด้วย หากยังไม่ชินให้สังเกตคนรอบข้างก็ได้ครับ
จากนั้นจะเป็นช่วงพักการแสดงประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจะเข้าสู่ครึ่งหลัง ซึ่งจะบรรเลง...
3. เพลงซิมโฟนี (symphony) เป็นเพลงขนาดยาว (ตั้งแต่ 30-90 นาที) มีเนื้อหาดนตรีที่ซับซ้อน ปกติมักจะแบ่งเป็น 4 ท่อน (บางเพลงมีถึง 6 ท่อน)
*การปรบมือ : ควรทำหลังจบการบรรเลงในท่อนสุดท้าย บางคนที่ชอบมากๆจะถึงกับยืนขึ้นปรบมือ เรียกว่า standing ovation เป็นการแสดงถึงความชอบแบบขั้นสุด
ส่วนเราจะทราบได้อย่างไรว่าคอนเสิร์ตแต่ละครั้งจะมีเพลงอะไรหรือมีกี่ท่อน ไม่ยากครับ เพราะการแสดงทุกครั้งจะระบุโปรแกรมการแสดงไว้ตั้งแต่ต้น เราสามารถศึกษาประวัติหรือข้อมูลของเพลงต่างๆได้ล่วงหน้า โดยที่ไม่ต้องรอรับสูจิบัตรจากหน้างานได้เลย
การเลือกที่นั่ง อันนี้แล้วแต่ชอบครับ ส่วนผมชอบนั่งแถวกลางๆ เพราะอยากฟังเสียงแบบมสมดุลซ้าย-ขวา
สุดท้ายคือ เสน่ห์ของการฟังเพลงแบบสดๆ คือ การฟังเสียงจากเครื่องดนตรีจริงๆ โดยไม่ผ่านไมโครโฟนใดๆ ได้รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของวาทยากร (conductor) และนักดนตรีรับเชิญแบบจริงๆ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีลีลาการบรรเลงและมีการตีความเพลงแตกต่างกันออกไปครับ
การแต่งกาย ถ้าเป็นคอนเสิร์ตทั่วไปก็แต่งกายสุภาพครับ แต่ถ้าเป็นงานทางการหรือมีรับเสด็จก็แต่งกายให้เหมาะสมกว่าเดิม (บางงานจะมี dress code ก็ให้ใส่ชุดตามที่ระบุไว้)
ควรไปถึงหอแสดงดนตรีก่อนเริ่มทำการแสดงครับ หากมาช้าเจ้าหน้าที่จะให้เข้าหลังจากจบเพลงโหมโรง (overture)
เมื่อพูดถึงตรงนี้แล้ว ก็ต้องพูดถึงหลักทั่วไปของการแสดงเพลง classic ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการบรรเลงเพลงอยู่ 3 รูปแบบคือ
1. เพลงโหมโรง (overture) เป็นเพลงสั้นๆประมาณ 5-15 นาที เหมือนเป็นการเรียกน้ำย่อย
2. เพลงบรรเลงเดี่ยว (concerto) เป็นเพลงที่จะมีนักดนตรีรับเชิญมาร่วมบรรเลงเดี่ยวร่วมกับวง orchestra ปกติมักจะมี 3 ท่อน (บางเพลงที่แต่งในยุคหลังๆจะก็เป็นบรรเลงแบบท่อนเดียวจบเลยก็มี)
*การปรบมือ : ควรทำหลังจบการบรรเลงในท่อนสุดท้าย นักดนตรีรับเชิญจะโค้งรับการปรบมือ บางคนจะมีการโซโล่เดี่ยวเป็น encore ด้วย หากยังไม่ชินให้สังเกตคนรอบข้างก็ได้ครับ
จากนั้นจะเป็นช่วงพักการแสดงประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจะเข้าสู่ครึ่งหลัง ซึ่งจะบรรเลง...
3. เพลงซิมโฟนี (symphony) เป็นเพลงขนาดยาว (ตั้งแต่ 30-90 นาที) มีเนื้อหาดนตรีที่ซับซ้อน ปกติมักจะแบ่งเป็น 4 ท่อน (บางเพลงมีถึง 6 ท่อน)
*การปรบมือ : ควรทำหลังจบการบรรเลงในท่อนสุดท้าย บางคนที่ชอบมากๆจะถึงกับยืนขึ้นปรบมือ เรียกว่า standing ovation เป็นการแสดงถึงความชอบแบบขั้นสุด
ส่วนเราจะทราบได้อย่างไรว่าคอนเสิร์ตแต่ละครั้งจะมีเพลงอะไรหรือมีกี่ท่อน ไม่ยากครับ เพราะการแสดงทุกครั้งจะระบุโปรแกรมการแสดงไว้ตั้งแต่ต้น เราสามารถศึกษาประวัติหรือข้อมูลของเพลงต่างๆได้ล่วงหน้า โดยที่ไม่ต้องรอรับสูจิบัตรจากหน้างานได้เลย
การเลือกที่นั่ง อันนี้แล้วแต่ชอบครับ ส่วนผมชอบนั่งแถวกลางๆ เพราะอยากฟังเสียงแบบมสมดุลซ้าย-ขวา
สุดท้ายคือ เสน่ห์ของการฟังเพลงแบบสดๆ คือ การฟังเสียงจากเครื่องดนตรีจริงๆ โดยไม่ผ่านไมโครโฟนใดๆ ได้รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของวาทยากร (conductor) และนักดนตรีรับเชิญแบบจริงๆ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีลีลาการบรรเลงและมีการตีความเพลงแตกต่างกันออกไปครับ
แสดงความคิดเห็น
ใครเคยไปฟังอเครสตาบ้างเป็นอย่างไร แต่งตัว ตบมือ ตอนไหน อย่างไร เสน่ห์ของมันคืออะไร ควรนั่งตรงไหน