🍉~มาลาริน~เช้าวันเสาร์มาดูเรื่องเกษตรกรทำกินกันค่ะ มะพร้าวข้าวโพด และอื่นๆอีกมากมาย เมืองไทยมีดีค่ะ ➡️⬆️↗️↘️


กะลามะพร้าวกินได้ สร้างรายได้เกษตรกรชุมชนตะเคียนเตี้ย กิโลละพัน!!





นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการนำปฏิรูปภาคการเกษตรของสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยให้เกษตรกรแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้วจึงขาย เป้าหมายต่อไปคือการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูป โดยเห็นว่า การทำให้พื้นที่การเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นการตลาดที่ดีช่องทางหนึ่งจึงประสานงานกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรี เพื่อเรียนรู้การบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ณ วิสาหกิจชุมชนตะเคียนเตี้ย (บ้านร้อยเสา) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอดีตชุมชนตะเคียนเตี้ยมีอาชีพทำนา น้ำสมบูรณ์ตลอดทั้งปี แต่ต่อมาน้ำที่ใช้ทำนาเริ่มไม่เพียงพอ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงหันไปปลูกมะพร้าวเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว จนปัจจุบันมีการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น แต่มะพร้าวยังถือเป็นพืชหลักของชุมชนโดยสามารถใช้ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวได้หลากหลายและที่สร้างชื่อให้กับชุมชนคือ “แกงไก่กะลา”






นางอภิญญา ทิพนาค (ป้าแป๊ด) อายุ 54 ปี ชาวบ้านตะเคียนเตี้ยผู้ปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสี เล่าให้ฟังว่า ปลูกมะพร้าวพันธุ์ดังกล่าวพื้นที่ 2 ไร่ มะพร้าวหมูสีเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของที่นี่ เป็นพันธุ์กินผลอ่อน น้ำมีรสชาติหวานแต่ไม่หอม ที่รอบหัวจุกมะพร้าวจะเป็นสีขาวเมื่อดึงขั้วจุกออกจะมีสีชมพูยังไม่มีเนื้อมะพร้าวเป็นกะลาอ่อนรสชาติกรุบ กรอบ มัน หวานอ่อน หอมมะพร้าวอ่อน อร่อย หากรอบขั้วจุกมะพร้าวเป็นสีเขียวจะมีเนื้อมะพร้าวใช้กินไม่ได้เพราะกะลาจะมีรสฝาด คนในชุมชนตะเคียนเตี้ยกินกะลามะพร้าวอ่อนกันมานาน และขายเป็นมะพร้าวกินผลอ่อนโดยนำกะลามาบริโภคเป็นอาหารราคาขายอยู่ที่ลูกละ 25-30 บาท ซึ่งกะลามะพร้าวอ่อนจะเก็บได้เมื่อลูกมะพร้าวออกทะลาย 2-3 เดือน ใน 1 ปีจะมีผลผลิต 12 ทะลายต่อต้น หากเป็นมะพร้าวที่แก่กว่านี้ราคาขายอยู่ที่ลูกละ 4-5 บาท ใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ แทน ผลผลิตกะลามะพร้าวอ่อนมีทุกวันและยอดสั่งจองก็มีทุกวันเช่นเดียวกัน ในการผลิตกะลามะพร้าวอ่อนเพื่อการบริโภคนั้นจะนำส่วนกะลาอ่อนมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 1 รอบการผลิตใช้มะพร้าว 50 ลูก ได้ผลผลิตประมาณ 2 กิโลกรัม เนื้อกะลามะพร้าวอ่อนสีไม่คล้ำเคล็ดลับคือเมื่อฝานเนื้อกะลาแล้วนำแช่ในน้ำหมักมะนาวที่ผสมกับน้ำตาลทรายแดง




ทั้งนี้ ตั้งราคาขายไว้ที่กรัมละ 1 บาท กิโลกรัมละ 1,000 บาท มียอดสั่งจองจากร้านอาหารเส้นถนนสาธร ครัวขึ้นชื่ออีกหลายแห่งในกรุงเทพฯ จนผลิตไม่ทัน นักท่องเที่ยวที่มาเยือนชุมชนตะเคียนเตี้ย เมนูที่ต้องลิ้มลองคือ แกงไก่กะลา , ผัดฉ่ากะลาอ่อนใส่กุ้ง สูตรพื้นถิ่นด้วยส่วนประกอบสำคัญคือกระเพรา 100 ปี พันธุ์ดั้งเดิมที่อนุรักษ์ปลูกเฉพาะชุมชนตะเคียนเตี้ยด้วยกลิ่นหอม ฉุน ไม่เหมือนสายพันธุ์จากแหล่งอื่นจึงทำให้อร่อยล้ำไม่ควรพลาด




อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ชุมชนตะเคียนเตี้ยมีความแข็งแกร่ง และนำรายได้เข้าสู่ชุมชนได้มากขึ้น หน่วยงานภาครัฐได้ร่วมกับชุมชนสร้างความเข้มแข็งด้วยการดึงคนภายนอกให้เข้ามาเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตพอเพียง และเข้าชมพิพิธภัณฑ์บ้านร้อยเสา ซึ่งเป็นลานวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม เมื่อสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติได้ศึกษากระบวนงานการพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจากชุมชนนี้แล้วจะขยายการพัฒนาชุมชน เกษตรกรพื้นที่อื่นๆให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามรอยบ้านร้อยเสาได้ในอนาคตโดยร่วมมือกับ อพท. ต่อไป

https://siamrath.co.th/n/50994


เกษตรกรชาวราชบุรีทดลองปลูกข้าวโพดนมสด 'ฮอกไกโด' ได้ผลผลิตงามหนึ่งเดียวในไทย (ชมคลิป)



เกษตรกรชาวไร่ตำบลน้ำพุ เมืองราชบุรี หันมาทดลองปลูกข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด ได้ผลผลิตงามหนึ่งเดียวในไทย ที่สามารถทานสดได้ ไม่อืดท้อง รสชาติเหมือนนมสดหวานหอม แคลอรี่ต่ำ ไฟเบอร์สูง เตรียมขยายนำสู่ท้องตลาดท้องถิ่นให้ลองชิม

2 พ.ย.61 นายไพโรจน์ ใจธรรม อายุ 40 ปี ชาวตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้นำข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด สายพันธุ์ตรงจากประเทศญี่ปุ่น มาจำหน่ายให้กับบรรดานักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวที่ธารน้ำร้อนบ่อคลึง ในอำเภอสวนผึ้ง หลังไปนำมาจากไร่แหล่งเพราะปลูกที่ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่นำเมล็ดข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด มาจากประเทศญี่ปุ่น มาทดลองเพราะปลูก จนสามารถได้ผลผลิตสลับหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี จำนวน 100 ไร่ มีการเก็บเกี่ยวผลผลิต นำแพ๊คใส่กล่องซีนถุงบรรจุหีบห่อ และติดสลาดสินค้าอย่างชัดเจน เพื่อนำส่งเข้าไปจำหน่ายในห้องสรรพสินค้าชื่อดังภายในประเทศ 


ทั้งนี้ ข้าวโพนมสด ฮอกไกโด สามารถหักจากต้นรับประทานสดได้ทันที ไม่ต้องต้มหรือนำไปย่าง สามารถรับประทานได้ทันที ไม่อืดท้อง สามารถทานเป็นสลัด หรือ จะนำไปนึ่ง ต้ม ย่าง เมล็ดเปลือกบาง เนื้อนิ่ม น้ำเยอะ และความหวาน 18 แถมยังได้รับการจัดการเรื่องคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำรับพืช GAP ซึ่งจากการนำมาทดลองวางจำหน่ายมีประชาชนและนักท่องเที่ยวให้ความสนใจซื้อรับประทานและนำกลับไปเป็นของฝากกันจำนวนมาก จนล่าสุดเตรียมขยายเข้าสู่ตลาดท้องถิ่น ชุมชนเมือง เพื่อให้ชาวบ้านได้รับประทาน โดยไม่ต้องบินไปถึงเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น



นายไพโรจน์ ใจธรรม กล่าวว่า ข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด นับว่าเป็นข้าวโพดที่กำลังมาแรง เริ่มที่จะได้รับความนิยม หลังจากที่ตนได้นำอกมาจากไร่เพื่อนำมาทดลองจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวได้ลองชิม ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีอีกทั้งยังเตรียมที่จะทำการขยายตลาดเปิดให้ผู้ที่สนใจจะนำไปจำหน่ายตามตลาดหรือแหล่งชุมชน แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันที่ราชบุรีมีจำหน่ายที่เดียวคือ ศูนย์สั่งซื้อร้านน้องแก้ว ธานน้ำร้อนบ่อคลึง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำหน่ายในราคาฝักละ 20 – 50 บาท ขึ้นอยู่ตามขนาดเกรดของฝักเล็ก – ใหญ่




จากการสอบถาม น.ส.สุพร อภิวัฒน์ปิติโชติ อายุ 32 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ต.อ่างหิน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เกษตรกรผู้เพราะปลูกข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด สายพันธุ์ตรงจากประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ก่อนที่จะหันมาทดลองเพราะปลูกข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด เดิมตนได้ลองปลูกเลม่อนมาก่อนทำอยู่ประมาณ 8 ปี แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จประสบปัญหาขาดทุน อีกทั้งต้นทุนสูงการนำเข้าเมล็ดพันธุ์และแรงงานที่ต้องใช้ในการเพราะปลูก จนได้รู้จักกับข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด จึงตัดสินใจสั่งเมล็ดพันธุ์เข้ามาทำการเพราะปลูก 




โดยเริ่มจากการลองผิดลองถูกด้วยการหาพื้นที่ที่มีดินและสภาพอากาศคล้ายคลึงกับเมืองฮอกไกโดจนมาได้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับเขื่อนไม้เต็ง ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 2 แปลง แปลงละ 50 ไร่ รวมแล้วจำนวน 100 ไร่ โดยแบ่งกันเพราะปลูกเพื่อสลับหมุนเวียนการจัดเก็บผลผลิตตลอดทั้งปี หลังจากทดลงจนได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ฝักข้าวโพดมีความหอม สามารถกินสดได้จากต้นไม่เกิดอันตราย ไม่มีสารตกค้าง รสชาติหอมหวานนมสด เหมือนได้ดื่มน้ำนม เม็ดข้าวโพดนิ่มกัดกินง่ายและเป็นที่แรกของประเทศไทยที่สามารถเพราะปลูกได้สำเร็จ นอกจากนี้ไร่ข้าวโพดยังผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำรับพืช GAP ไม่มีสารตกค้าง



น.ส.สุพร กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการเพราะปลูกไม่มีอะไรยุ่งยาก เริ่มจากการเตรียมดินปรับสภาพพื้นดิน พร้อมทั้งทำการยกร่อง ใช้เครื่องปั่นดิน ก่อนจะทำการลงปุ๋ยปรับสภาพดินตามด้วยการใช้เครื่องปั่นดินเพื่อให้ปุ๋ยและดินให้เข้ากัน ก่อนจะลงเมล็ดพันธุ์ แปลงละ 12,000 ต้น ดูแลด้วยระบบน้ำหยด จะใช้เวลาในการเพราะปลูก 60 วัน ก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้ ข้าวโพด 1 ต้น จะได้ผลผลิต 2 ฝัก รอบหนึ่งจะสามารถเก็บฝักข้าวโพดได้ประมาณ 12,000 – 20,000 ฝัก แต่จะสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ส่วนเทคนิคการจัดเก็บเฉพาะของข้าวโพดนมสด ฮอกไกโด จะเริ่มเก็บกันตั้งแต่ช่งเช้ามืด เวลาประมาณ 05.30 น. และจะต้องเก็บให้เสร็จก่อนเวลา 11.00 น. หากเกินเวลาฝักข้าวโพดจะเหยี่ยวแห้ง และไม่มีความสดหอมหวานของรสน้ำนมจากเม็ดข้าวโพด 

 


หลังจากเก็บเสร็จจะนำมาเข้าสู่กระบวนการคัดแยก ฝักสวยเกรด A จะคัดจัดใส่แพคเกจจิ้ง แพคละ 2 ฝัก ปิดฉลากแนะสินค้า จากนั้นจะนำบรรจุไว้ในลังโฟรมจัดเก็บไว้ในห้องเย็นในอุณหภูมิ 1.5 องศา เพื่อให้ฟักข้าวโพสดคงที่ ส่วนตลาดที่เราจัดส่งภายในประเทศไทย อาทิ ฟู้ดแลนด์ ฟูจิ หรือ ห้างเดอะมอลล์ สามารถไปเลือกซื้อรับประทานได้






https://www.naewna.com/likesara/374264


เกษตรกรรู้จักปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เขากับยุคสมัย  ใช้ผลผลิตที่แปลกใหม่เป็นที่สนใจของผู้บริโภคก็ไปได้ดีในอาชีพ

ดีกว่าเกษตรกรที่รอคอยแต่ความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝ่ายเดียวนะคะ

เห็นข้าวโพดแล้วน่าชิมสักฝักค่ะ  

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่