เพื่อนๆ อาจจะทราบข่าวแล้วใช่ไหมครับว่า เราสามารถซื้อ
LTF ได้ถึงแค่ปลายปี 2562 เท่านั้น ซึ่งจะว่ายังไงต่อคงต้องรอดูกันอีกที ดังนั้นก็ถือเรายังโชคดีที่มีโอกาสใช้ กองทุน LTF เป็น ‘‘เครื่องมือ” ในการลงทุนระยะยาว แถมยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย
อย่างไรก็ตามถ้าต้องถือกันยาวทั้งที (ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทิน) K-Expert จึงอยากแนะนำว่าควรเลือกกองทุนที่เหมาะกับเรามากที่สุด ดังนั้น วันนี้ขอแนะนำสิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อกองทุน LTF ดังนี้ครับ
1.
หาตัวเองให้เจอ : ถามตัวเองก่อนจะทำการซื้อว่า
เราสามารถทนทานการขาดทุนได้เยอะแค่ไหน เพราะ กองทุน LTF นั้นเน้นลงทุน ในหุ้นไม่ต่ำว่า 65 % ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด ดังนั้นกองทุน ประเภทนี้จึง ขึ้นๆ ลง ๆ ตามตลาดหุ้น ซึ่งหากเรารับความเสี่ยงได้ไม่มากนัก เรายังพอมีทางเลือกครับ เพราะ เราไม่จำเป็นต้องลงในกอง LTF ที่มีนโยบายลงในหุ้น 100 % ก็ได้ แต่ ไปลงทุนในกองทุน LTF ที่มีการผสมระหว่าง หุ้น และ ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ก็จะทำให้อุ่นใจขึ้นในช่วงภาวะผันผวน
2.
เข้าใจความแตกต่างของกองทุน LTF : ความแตกต่างที่ว่า ทุกวันนี้ LTF มีให้เลือกเยอะไปหมด จนบางทีเลือกไม่ถูกตาลาย คล้ายจะเป็นลม (นึกถึง.......) แต่อันที่จริงแล้ว LTF มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ครับ
2.1 ชนิดของหุ้นที่ลงทุน ถึงแม้ว่ากอง LTF จะลงทุนในหุ้น แต่ก็ใช่ว่า ทุกกองจะเลือกลงทุนในหุ้นตัวเดียวกันทั้งหมด อันที่จริงแล้ว กองทุนของแต่ละที่ก็จะมีสไตล์การบริหารกองทุน และการเลือกหุ้นที่แตกต่างกัน เพื่อตอบโจทย์ กับความต้องการของนักลงทุนแตกต่างกันไป ตามรูปข้างล่างนี้ครับ
***โดยชนิดของหุ้นที่แตกต่างกันนี้ ก็ทำให้ความเสี่ยงของกองทุนแต่ละกองที่เลือกเข้าลงทุนในหุ้นแต่ละแบบนั้น ต่างกันอีกด้วย***
ทั้งนี้ เมื่อเราทราบถึงสไตล์การลงทุนที่ต่างกันแล้ว เราจึงขอแนะนำว่า เพื่อน ๆ ไม่ควรลงทุนในกองทุน LTF ที่มีนโยบายที่ซ้ำกัน เพราะจะกลายเป็นว่าเราลงทุนกระจุกๆ อยู่ในหุ้นประเภทเดิม ๆ ไม่ได้ถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงอีกด้วยนะครับ
2.2 ปันผล VS. ไม่ปันผลดี : เรามาลองเปรียบเทียบกันดูครับ
-
LTF แบบไม่จ่ายปันผล >>> หากอยากให้เงินลงทุนมีโอกาส “งอกเงยเติบโต” ในระหว่างที่ถือยาว เหมือนกับก้อนหิมะ ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเหมาะกับ LTF ที่ไม่จ่ายปันผลมากกว่า เพราะ ผลตอบแทนจากการลงทุนจะสะสมเพิ่มมูลค่าไปเรื่อยๆ แต่ข้อเสียก็คือ เราไม่ได้รับปันผลมาระหว่างทางให้อุ่นใจ และ อาจจะไม่เห็นผลกำไรจากการสะสมมูลค่าเพิ่มขึ้น หากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวยพรครับ
-
LTF แบบจ่ายปันผล >>> แต่ถ้าหาก เพื่อนๆ อยากได้เงินระหว่างทางกลับมา หรือ ต้องการ “ความสบายใจ” ในเวลาหุ้นผันผวนเพราะได้รับผลตอบแทนมาชดเชยบ้าง อันนี้ เราคงจะแนะนำให้ลงทุน LTF แบบจ่ายเงินปันผลน่าจะตอบโจทย์มากกว่า แต่ข้อเสียที่ต้องชั่งใจก็คือ เงินปันผลนั้นไม่ได้รับเต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะ เงินปันผลจะโดน หักภาษี ณ ที่จ่าย 10 % และ การจ่ายปันผลไม่ได้การันตีว่าจะจ่ายสม่ำเสมอด้วยนะครับ
2.3 ค่าธรรมเนียมกองทุน : ซึ่งในที่นี่ประกอบด้วย
ค่าธรรมเนียมซื้อ/ขาย และ
ค่าใช้จ่ายที่กองทุนเรียกเก็บจากกองทุน (Total Expense Ratio) โดยบางทีนักลงทุนเรา ๆ ก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจในค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ว่าแนะนำให้ศึกษาดีๆ ก่อนการลงทุน เพราะ เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนทั้งสิ้น บางกองได้ผลตอบแทนดี แต่ค่าธรรมเนียมแพง ก็จะทำให้ผลตอบแทนที่น้อยลงไปได้เช่นกัน
3.
เช็กผลตอบแทนย้อนหลัง : แนะนำให้ลองดู ผลตอบแทนย้อนหลัง 3-5 ปี เป็นหลักครับ เพราะว่าถึงแม้ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้ยืนยันผลตอบแทนในอนาคต (เหมือนที่ได้ยินในโฆษณาพูดบ่อย ๆ ) แต่มันก็เป็นเหมือนตัวบ่งบอกคร่าวๆ ได้ว่า กอง LTF นั้นๆ จะมีแนวโน้มที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาวครับ
***สุดท้ายนี้ K-Expert หวังว่าเพื่อนๆ จะประสบความสำเร็จในด้านการลงทุน และวางแผนการลดหย่อนภาษีได้อย่างมั่นใจนะครับ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเช็กเงื่อนไขการลงทุนใน LTF ให้ถูกต้องก่อนซื้อนะครับ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการลงทุน ของเพื่อนๆ ทุกคน***
ปล. หากยังเลือกไม่ถูก เราขอแนะนำตัวช่วย K-Expert Workshop ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ " K-Expert Workshop เลือก LTF/RMF อย่างไรให้คุ้ม" https://k-expert.askkbank.com/ActivitySeminar/Seminar/Pages/K-ExpertWorkshop_LTF-RMF.aspx
ไหนๆ ก็ซื้อได้ถึงปี 2562 : เลือกซื้อ LTF อย่างไรให้ถูกใจคุณ
เพื่อนๆ อาจจะทราบข่าวแล้วใช่ไหมครับว่า เราสามารถซื้อ LTF ได้ถึงแค่ปลายปี 2562 เท่านั้น ซึ่งจะว่ายังไงต่อคงต้องรอดูกันอีกที ดังนั้นก็ถือเรายังโชคดีที่มีโอกาสใช้ กองทุน LTF เป็น ‘‘เครื่องมือ” ในการลงทุนระยะยาว แถมยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย
อย่างไรก็ตามถ้าต้องถือกันยาวทั้งที (ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทิน) K-Expert จึงอยากแนะนำว่าควรเลือกกองทุนที่เหมาะกับเรามากที่สุด ดังนั้น วันนี้ขอแนะนำสิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อกองทุน LTF ดังนี้ครับ
1. หาตัวเองให้เจอ : ถามตัวเองก่อนจะทำการซื้อว่า เราสามารถทนทานการขาดทุนได้เยอะแค่ไหน เพราะ กองทุน LTF นั้นเน้นลงทุน ในหุ้นไม่ต่ำว่า 65 % ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด ดังนั้นกองทุน ประเภทนี้จึง ขึ้นๆ ลง ๆ ตามตลาดหุ้น ซึ่งหากเรารับความเสี่ยงได้ไม่มากนัก เรายังพอมีทางเลือกครับ เพราะ เราไม่จำเป็นต้องลงในกอง LTF ที่มีนโยบายลงในหุ้น 100 % ก็ได้ แต่ ไปลงทุนในกองทุน LTF ที่มีการผสมระหว่าง หุ้น และ ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ก็จะทำให้อุ่นใจขึ้นในช่วงภาวะผันผวน
2. เข้าใจความแตกต่างของกองทุน LTF : ความแตกต่างที่ว่า ทุกวันนี้ LTF มีให้เลือกเยอะไปหมด จนบางทีเลือกไม่ถูกตาลาย คล้ายจะเป็นลม (นึกถึง.......) แต่อันที่จริงแล้ว LTF มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ครับ
2.1 ชนิดของหุ้นที่ลงทุน ถึงแม้ว่ากอง LTF จะลงทุนในหุ้น แต่ก็ใช่ว่า ทุกกองจะเลือกลงทุนในหุ้นตัวเดียวกันทั้งหมด อันที่จริงแล้ว กองทุนของแต่ละที่ก็จะมีสไตล์การบริหารกองทุน และการเลือกหุ้นที่แตกต่างกัน เพื่อตอบโจทย์ กับความต้องการของนักลงทุนแตกต่างกันไป ตามรูปข้างล่างนี้ครับ
***โดยชนิดของหุ้นที่แตกต่างกันนี้ ก็ทำให้ความเสี่ยงของกองทุนแต่ละกองที่เลือกเข้าลงทุนในหุ้นแต่ละแบบนั้น ต่างกันอีกด้วย***
ทั้งนี้ เมื่อเราทราบถึงสไตล์การลงทุนที่ต่างกันแล้ว เราจึงขอแนะนำว่า เพื่อน ๆ ไม่ควรลงทุนในกองทุน LTF ที่มีนโยบายที่ซ้ำกัน เพราะจะกลายเป็นว่าเราลงทุนกระจุกๆ อยู่ในหุ้นประเภทเดิม ๆ ไม่ได้ถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงอีกด้วยนะครับ
2.2 ปันผล VS. ไม่ปันผลดี : เรามาลองเปรียบเทียบกันดูครับ
- LTF แบบไม่จ่ายปันผล >>> หากอยากให้เงินลงทุนมีโอกาส “งอกเงยเติบโต” ในระหว่างที่ถือยาว เหมือนกับก้อนหิมะ ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเหมาะกับ LTF ที่ไม่จ่ายปันผลมากกว่า เพราะ ผลตอบแทนจากการลงทุนจะสะสมเพิ่มมูลค่าไปเรื่อยๆ แต่ข้อเสียก็คือ เราไม่ได้รับปันผลมาระหว่างทางให้อุ่นใจ และ อาจจะไม่เห็นผลกำไรจากการสะสมมูลค่าเพิ่มขึ้น หากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวยพรครับ
- LTF แบบจ่ายปันผล >>> แต่ถ้าหาก เพื่อนๆ อยากได้เงินระหว่างทางกลับมา หรือ ต้องการ “ความสบายใจ” ในเวลาหุ้นผันผวนเพราะได้รับผลตอบแทนมาชดเชยบ้าง อันนี้ เราคงจะแนะนำให้ลงทุน LTF แบบจ่ายเงินปันผลน่าจะตอบโจทย์มากกว่า แต่ข้อเสียที่ต้องชั่งใจก็คือ เงินปันผลนั้นไม่ได้รับเต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะ เงินปันผลจะโดน หักภาษี ณ ที่จ่าย 10 % และ การจ่ายปันผลไม่ได้การันตีว่าจะจ่ายสม่ำเสมอด้วยนะครับ
2.3 ค่าธรรมเนียมกองทุน : ซึ่งในที่นี่ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมซื้อ/ขาย และ ค่าใช้จ่ายที่กองทุนเรียกเก็บจากกองทุน (Total Expense Ratio) โดยบางทีนักลงทุนเรา ๆ ก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจในค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ว่าแนะนำให้ศึกษาดีๆ ก่อนการลงทุน เพราะ เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนทั้งสิ้น บางกองได้ผลตอบแทนดี แต่ค่าธรรมเนียมแพง ก็จะทำให้ผลตอบแทนที่น้อยลงไปได้เช่นกัน
3. เช็กผลตอบแทนย้อนหลัง : แนะนำให้ลองดู ผลตอบแทนย้อนหลัง 3-5 ปี เป็นหลักครับ เพราะว่าถึงแม้ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้ยืนยันผลตอบแทนในอนาคต (เหมือนที่ได้ยินในโฆษณาพูดบ่อย ๆ ) แต่มันก็เป็นเหมือนตัวบ่งบอกคร่าวๆ ได้ว่า กอง LTF นั้นๆ จะมีแนวโน้มที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาวครับ
***สุดท้ายนี้ K-Expert หวังว่าเพื่อนๆ จะประสบความสำเร็จในด้านการลงทุน และวางแผนการลดหย่อนภาษีได้อย่างมั่นใจนะครับ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเช็กเงื่อนไขการลงทุนใน LTF ให้ถูกต้องก่อนซื้อนะครับ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการลงทุน ของเพื่อนๆ ทุกคน***
ปล. หากยังเลือกไม่ถูก เราขอแนะนำตัวช่วย K-Expert Workshop ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้