
สำหรับ
'โพลิติคอล ทริลเลอร์' เป็นหนังแนวระทึกขวัญที่มีเนื้อหาทางการเมือง โดยหัวใจสำคัญของหนังอาจมุ่งไปยังการเปิดเผยด้านมืดของกลุ่มผู้ทรงอิทธิพล การต่อสู้เพื่ออิสรภาพ การยับยั้งสถานการณ์ทางการเมืองระดับชาติ หรือบางครั้งอาจพาไปสำรวจความจริงทางการเมืองในบางแง่มุม ซึ่งหนังลักษณะจะค่อนข้างดูเข้าใจง่ายและเพลิดเพลินกว่า
'โพลิติคอล ดราม่า' (Political Drama) ที่จะเน้นการนำเสนอข้อเท็จจริงหรือบางเรื่องเล่าออกมาในรูปแบบกึ่งสารคดี ไม่มีโมเม้นท์ของความลุ้นระทึก หรือการไขปริศนา อย่างเช่น Frost/Nixon (2008), Milk (2008), Good Night and Good Luck (2005), Lincoln (2012) และ Jackie (2016)
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. State of Play (2009)
การเข้าไปสำรวจเบื้องหลังการทำงานของสื่อทั้งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างไม่ซื่อตรงและความขัดแย้งในการทำงานร่วมกับตำรวจ ตลอดจนเชื่อมโยงถึงการคอรัปชั่นและกลวิธีการเรียกกระแสความนิยมของเหล่านักการเมือง นับเป็นความเยี่ยมในการลงรายละเอียดที่สมจริงและหนังได้แสดงออกมาภายใต้ปมการเสียชีวิตปริศนาของหญิงสาวซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยและเป็นชู้รักอย่างลับๆของหนุ่มนักการเมืองไฟแรงผู้เก็บงำความลับบางอย่างเอาไว้ โดยหนังจะโฟกัสไปยังตัวเอกซึ่งเป็นนักข่าวมากประสบการณ์ที่ต้องสืบหาความจริงดังกล่าวร่วมกับนักข่าวรุ่นน้อง ก่อนปริศนาอันซับซ้อนจะค่อยๆถูกเปิดออกและทวีความเข้มข้นไปตามลำดับ กระทั่งนำไปสู่ความจริงที่อาจมาสั่นคลอนความมั่นคงของประเทศ
9. Miss Sloane (2016)
หนังระทึกขวัญการเมืองที่มีบทอันยอดเยี่ยมเสมือนเป็นงานเขียนจาก Aaron Sorkin ด้วยการวางโครงเรื่องอันซับซ้อนที่สร้างโมเม้นท์พลิกผันไปมา หรือจะเป็นชุดไดอะล็อกที่ดูคมคายและชาญฉลาด ตลอดจนการย่อยข้อมูลทางวิชาการและศัพท์เทคนิคทางการเมืองให้เข้าใจได้ไม่ยาก โดยหนังเปิดเรื่องด้วยการกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติในการเป็นล็อบบี้ยีสต์ ที่ต้องมองการณ์ไกล มีการคาดคะเนแนวทางและต้องนำหน้าคู่แข่งอยู่หนึ่งก้าวเสมอ ตลอดจนการจู่โจมหลังจากคู่แข่งทิ้งไพ่ไม้ตาย ซึ่งเป็นชุดประโยคที่ถูกกล่าวโดยตัวเอกสาวที่รับบทโดย Jessica Chastain เพื่อให้คนดูเข้าใจถึงทัศนคติและตระหนักถึงความไม่ธรรมดาของตัวละครนี้ และโฟกัสไปยังซีนการไต่สวนคดีที่เธอถูกตั้งข้อหาเรื่องการละเมิดจริยธรรม ก่อนหนังจะย้อนไปเล่าถึงต้นตอของเรื่องทั้งหมดเมื่อ 3 เดือนก่อน ที่เธอเลือกสนับสนุนฝั่งออกกฎหมายควบคุมการครอบครองอาวุธปืน ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายต่อต้านที่เป็นอดีตเพื่อนร่วมงานที่รู้ไส้รู้พุงเธอเป็นอย่างดี
8. The Post (2017)
นับเป็นหนังที่น่าสนใจอีกเรื่องหลังจาก Spotlight เมื่อสองปีก่อน ที่พูดถึงองค์กรด้านสื่อได้อย่างซื่อตรง ทั้งการล้วงลึกเบื้องหลังการทำงานเเละสะท้อนอิทธิพลที่มีต่อบ้านเมืองเเละประชาชน โดยปมหนังพูดถึงความจริงที่ถูกปกปิดมาหลายทศวรรษและเป็นสิ่งที่มาสั่นคลอนความมั่นคงของชาติ เมื่อหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สืบพบแฟ้มภารกิจการส่งทหารไปยังสงครามเวียดนามว่าแท้จริงแล้วเป็นเพียงการทำเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของชาติโดยไม่สนว่าจะมีทหารอเมริกันต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ทว่าก่อนที่เรื่องจะถูกแพร่งพรายก็มีอิทธิพลมืดจากรัฐบาลเข้ามาบงการและเก็บงำความจริงดังกล่าวไว้ และจุดโฟกัสของหนังจะเป็นการสืบค้นข้อเท็จจริงของสงครามเวียดนามผ่านทีมสื่อข่าวหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ที่จะเป็นกระบอกเสียงตีแผ่ความจริงออกสู่สังคม
7. The Quiet American (2002)
การนำมาสร้างเป็นหนังครั้งที่ 2 ของนิยายรักสามเส้าที่ขับเคลื่อนด้วยปมการเมืองของ Graham Greene ซึ่งปมหลักจะพูดถึงการเสียชีวิตปริศนาของนักสังคมสงเคราะห์ที่เกิดขึ้นในเวียดนาม จนตัวเอกของเรื่องที่เป็นเพื่อนสนิทต้องสืบหาความจริงดังกล่าวด้วยตัวเอง โดยหนังฉาบหน้าด้วยปมรักสามเส้าของสามเพื่อนรักเพื่อสะท้อนประเด็นทางศีลธรรมและความถูกต้อง ก่อนใช้ปมฆาตกรรมซ่อนเงื่อนเพื่อปูทางไปสู่แก่นของเรื่องในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศสในเวียดนามช่วงต้นยุค 50 ที่ชาวต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์และลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเวียดนาม ทั้งยังตีแผ่มูลเหตุของสงครามและความขัดแย้งกับชาวอเมริกันผ่านมุมมองร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ
6. Munich (2005)
หนังอ้างอิงจากเหตุการณ์สะท้านโลกในโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1972 ที่กรุงมิวนิก เมื่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ในชื่อ 'กันยาทมิฬ' ได้ทำการจับเหล่านักกีฬาชาวอิสราเอลเป็นตัวประกันเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษ แต่ท้ายที่สุดก็จบด้วยโศกนาฏกรรมที่เหล่าตัวประกันทั้งหมดเสียชีวิต ซึ่งหนังโฟกัสไปยังเหตุการณ์หลังจากนั้นที่ชาวอิสราเอลมีการจัดตั้งทีมปฏิบัติการลับเพื่อสังหารกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยหัวใจสำคัญที่ Steven Spielberg ต้องการสื่อคือจับประเด็นความขัดแย้งร่วมสมัยระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์มาถ่ายทอดในฐานะคนกลางเพื่อสะท้อนให้ถึงผลกระทบจากการล้างแค้นที่มีต่อสภาพจิตใจของผู้คนและสังคมในวงกว้างที่นำไปสู่สภาวะไร้สันติในโลกตะวันออกกลาง
5. The Ghost Writer (2010)
อาจเรียกได้ว่าเป็นผลงานแนวสืบสวนของ Roman Polanski ที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรภาค "ดิ อพาร์ทเม้นท์ ทริโลจี้" กับการวางปมให้ตัวเอกซึ่งเป็นหนุ่มนักเขียนเงามากพรสวรรค์ ต้องมาสานต่อผลงานอัตชีวประวัติของ 'อดัม แลง' อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่มีประวัติอันอื้อฉาว แทนที่นักเขียนคนเก่าซึ่งเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุปริศนาที่คำให้การของพยานต่างดูขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมและหลักความเป็นจริง แต่เหนืออื่นใดภายใต้บรรยากาศอึมครึม ดูไม่น่าไว้วางใจที่ถูกขับจากสถานที่และบุคคลรอบตัว จะเป็นการโฟกัสไปที่เบื้องหลังอันดำมืดของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่ค่อยๆถูกเปิดออกอย่างแยบคาย คู่ขนานไปกับตัวเอกที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากเงามืดที่อาจอยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตของนักเขียนคนเก่า
4. The Constant Gardener (2005)
หนังสืบสวนปมการเมืองจากผู้กำกับ City of God ที่ยอดเยี่ยมด้วยการวางส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างโรแมนซ์และมิสเทอรี่ โดยปมเรื่องพูดถึงการฆาตกรรมอันเหี้ยมโหดที่เกิดกับสาวนักสิทธิมนุษยชนและมูลเหตุถูกเชื่อมโยงไปยังการคบชู้กับเพื่อนสนิทของเธอ ซึ่งหนังโฟกัสไปยังผู้เป็นสามีที่ไม่อาจปักใจเชื่อเรื่องดังกล่าวได้ จึงต้องเดินทางข้ามทวีปเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงด้วยตัวเอง โดยหนังจะค่อยๆแสดงเบื้องหลังการเสียชีวิตที่โยงใยกับปัญหาระดับชาติ ซึ่งเกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาที่กลายเป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของบริษัทผลิตยาข้ามชาติ ที่ใช้ผู้คนที่น่าสงสารเป็นหนูทดลองยาเพื่อลดต้นทุนในการวิจัย ขณะเดียวกันภายใต้ความจริงอันโสมมที่ค่อยๆถูกเปิดออก ฝั่งคนดูก็จะยิ่งตระหนักถึงรักอันหวานซึ้งของคู่พระนางเช่นกัน ผ่านห้วงคำนึงของตัวเอกที่สะท้อนออกมาเป็นภาพแฟลชแบ็ค
3. The Lives of Others (2006)
ผลงานเปิดตัว Florian Henckel ที่การันตีคุณภาพด้วยการคว้าออสการ์หนังต่างประเทศมาครอบครอง โดยวางปมเรื่องที่โยงใยกับมุมซ่อนเร้นทางการเมืองและใช้ไอเดียการดักฟังเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งลักษณะของหนังอาจเปรียบได้กับ The Conversation แห่งศตวรรษที่ 21 ที่ถูกทำออกมาในบรรยากาศที่เหงาและดูเปล่าเปลี่ยวยิ่งกว่า และยังสะท้อนสภาพชีวิตของผู้คนในยุคกำแพงเบอร์ลินที่ต่างไร้ซึ่งอิสระและจิตวิญญาณออกมาได้อย่างน่าสนใจ โดยปมเรื่องพูดถึงเจ้าหน้าที่รัฐทางฝั่งเยอรมันตะวันออกที่ถูกสั่งการให้คอยสอดแนมและตามติดชีวิตในทุกฝีก้าวของหนุ่มนักประพันธ์ชื่อดังที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างลับๆกับฝั่งเยอรมันตะวันตก
2. The Ides of March (2011)
หยิบคติความเชื่อตามหลักรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง มาตั้งเป็นชื่อหนังได้อย่างโดดเด่น อีกทั้งในส่วนของตัวบทยังมีการย่อยรายละเอียดการตีแผ่เบื้องลึกการเมืองของสหรัฐให้คนดูสามารถเข้าถึงได้ง่าย นับเป็นอีกหนึ่งผลงานชั้นเยี่ยมจาก George Clooney อย่างแท้จริง โดยหนังวางปมให้ตัวเอกที่รับบทโดย Ryan Gosling เป็นผู้ดูแลภาพลักษณ์ให้กับผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต ก่อนที่หนังจะพาคนดูไปล้วงลึกสัจธรรมการเมือง ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการหลอกลวง ทุกคนสามารถแปรเปลี่ยนสถานภาพระหว่างมิตรแท้และศัตรูได้อยู่ตลอดเวลา เพราะต่างฝ่ายก็หวังจะใช้ประโยชน์จากกันและกัน เพื่อพาตัวเองไปสู่ตำแหน่งของผู้ชนะที่อาจต้องแลกมาด้วยของสำคัญบางอย่างหรือการละทิ้งจิตวิญญาณและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
1. Argo (2012)
ผลงานที่อิงเค้าโครงจากเรื่องจริงกับภารกิจชิงตัวประกันสุดระทึกที่ทำให้หลายคนหมดข้อกังขาถึงความสามารถของ Ben Affleck เมื่อหนังคว้า 3 รางวัลบนเวทีออสการ์และหนึ่งในนั้นคือสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยปมเรื่องพูดถึงกลุ่มหัวรุนแรงชาวอิหร่านที่บุกเข้ายึดสถานฑูตสหรัฐและจับคนอเมริกัน 50 คนไว้เป็นตัวประกัน มีเพียงเจ้าที่ 6 คนที่หลบหนีออกมาได้และไปกบดานอยู่ที่บ้านพักท่านทูตแคนาดาประจำอิหร่าน ซึ่งจุดโฟกัสจะเป็นภารกิจที่รัฐบาลสั่งมอบให้เจ้าหน้าที่ซีไอเอชิงตัวประกันกลับมาภายใต้กลวิธีสร้างทีมถ่ายหนังที่เข้าไปสำรวจโลเคชั่น จึงเปรียบเสมือนหนังซ้อนหนังที่พยายามคงไว้ซึ่งข้อเท็จจริงของเรื่องราว ผ่านการตัดต่ออันเฉียบคมที่เชื่อมโยงกระบวนการทำงานส่วนย่อยเข้ากับจุดโฟกัสหลักเพื่อเล่นกับความลุ้นระทึกจนคนดูนั่งไม่ติดเก้าอี้
.
.
.
.
.
.
.

ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน
10 หนังระทึกขวัญการเมือง (Political Thriller) แห่งศตวรรษที่ 21
สำหรับ 'โพลิติคอล ทริลเลอร์' เป็นหนังแนวระทึกขวัญที่มีเนื้อหาทางการเมือง โดยหัวใจสำคัญของหนังอาจมุ่งไปยังการเปิดเผยด้านมืดของกลุ่มผู้ทรงอิทธิพล การต่อสู้เพื่ออิสรภาพ การยับยั้งสถานการณ์ทางการเมืองระดับชาติ หรือบางครั้งอาจพาไปสำรวจความจริงทางการเมืองในบางแง่มุม ซึ่งหนังลักษณะจะค่อนข้างดูเข้าใจง่ายและเพลิดเพลินกว่า 'โพลิติคอล ดราม่า' (Political Drama) ที่จะเน้นการนำเสนอข้อเท็จจริงหรือบางเรื่องเล่าออกมาในรูปแบบกึ่งสารคดี ไม่มีโมเม้นท์ของความลุ้นระทึก หรือการไขปริศนา อย่างเช่น Frost/Nixon (2008), Milk (2008), Good Night and Good Luck (2005), Lincoln (2012) และ Jackie (2016)
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. State of Play (2009)
การเข้าไปสำรวจเบื้องหลังการทำงานของสื่อทั้งการเข้าถึงแหล่งข้อมูลอย่างไม่ซื่อตรงและความขัดแย้งในการทำงานร่วมกับตำรวจ ตลอดจนเชื่อมโยงถึงการคอรัปชั่นและกลวิธีการเรียกกระแสความนิยมของเหล่านักการเมือง นับเป็นความเยี่ยมในการลงรายละเอียดที่สมจริงและหนังได้แสดงออกมาภายใต้ปมการเสียชีวิตปริศนาของหญิงสาวซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยและเป็นชู้รักอย่างลับๆของหนุ่มนักการเมืองไฟแรงผู้เก็บงำความลับบางอย่างเอาไว้ โดยหนังจะโฟกัสไปยังตัวเอกซึ่งเป็นนักข่าวมากประสบการณ์ที่ต้องสืบหาความจริงดังกล่าวร่วมกับนักข่าวรุ่นน้อง ก่อนปริศนาอันซับซ้อนจะค่อยๆถูกเปิดออกและทวีความเข้มข้นไปตามลำดับ กระทั่งนำไปสู่ความจริงที่อาจมาสั่นคลอนความมั่นคงของประเทศ
9. Miss Sloane (2016)
หนังระทึกขวัญการเมืองที่มีบทอันยอดเยี่ยมเสมือนเป็นงานเขียนจาก Aaron Sorkin ด้วยการวางโครงเรื่องอันซับซ้อนที่สร้างโมเม้นท์พลิกผันไปมา หรือจะเป็นชุดไดอะล็อกที่ดูคมคายและชาญฉลาด ตลอดจนการย่อยข้อมูลทางวิชาการและศัพท์เทคนิคทางการเมืองให้เข้าใจได้ไม่ยาก โดยหนังเปิดเรื่องด้วยการกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติในการเป็นล็อบบี้ยีสต์ ที่ต้องมองการณ์ไกล มีการคาดคะเนแนวทางและต้องนำหน้าคู่แข่งอยู่หนึ่งก้าวเสมอ ตลอดจนการจู่โจมหลังจากคู่แข่งทิ้งไพ่ไม้ตาย ซึ่งเป็นชุดประโยคที่ถูกกล่าวโดยตัวเอกสาวที่รับบทโดย Jessica Chastain เพื่อให้คนดูเข้าใจถึงทัศนคติและตระหนักถึงความไม่ธรรมดาของตัวละครนี้ และโฟกัสไปยังซีนการไต่สวนคดีที่เธอถูกตั้งข้อหาเรื่องการละเมิดจริยธรรม ก่อนหนังจะย้อนไปเล่าถึงต้นตอของเรื่องทั้งหมดเมื่อ 3 เดือนก่อน ที่เธอเลือกสนับสนุนฝั่งออกกฎหมายควบคุมการครอบครองอาวุธปืน ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายต่อต้านที่เป็นอดีตเพื่อนร่วมงานที่รู้ไส้รู้พุงเธอเป็นอย่างดี
8. The Post (2017)
นับเป็นหนังที่น่าสนใจอีกเรื่องหลังจาก Spotlight เมื่อสองปีก่อน ที่พูดถึงองค์กรด้านสื่อได้อย่างซื่อตรง ทั้งการล้วงลึกเบื้องหลังการทำงานเเละสะท้อนอิทธิพลที่มีต่อบ้านเมืองเเละประชาชน โดยปมหนังพูดถึงความจริงที่ถูกปกปิดมาหลายทศวรรษและเป็นสิ่งที่มาสั่นคลอนความมั่นคงของชาติ เมื่อหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สืบพบแฟ้มภารกิจการส่งทหารไปยังสงครามเวียดนามว่าแท้จริงแล้วเป็นเพียงการทำเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของชาติโดยไม่สนว่าจะมีทหารอเมริกันต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ทว่าก่อนที่เรื่องจะถูกแพร่งพรายก็มีอิทธิพลมืดจากรัฐบาลเข้ามาบงการและเก็บงำความจริงดังกล่าวไว้ และจุดโฟกัสของหนังจะเป็นการสืบค้นข้อเท็จจริงของสงครามเวียดนามผ่านทีมสื่อข่าวหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ที่จะเป็นกระบอกเสียงตีแผ่ความจริงออกสู่สังคม
7. The Quiet American (2002)
การนำมาสร้างเป็นหนังครั้งที่ 2 ของนิยายรักสามเส้าที่ขับเคลื่อนด้วยปมการเมืองของ Graham Greene ซึ่งปมหลักจะพูดถึงการเสียชีวิตปริศนาของนักสังคมสงเคราะห์ที่เกิดขึ้นในเวียดนาม จนตัวเอกของเรื่องที่เป็นเพื่อนสนิทต้องสืบหาความจริงดังกล่าวด้วยตัวเอง โดยหนังฉาบหน้าด้วยปมรักสามเส้าของสามเพื่อนรักเพื่อสะท้อนประเด็นทางศีลธรรมและความถูกต้อง ก่อนใช้ปมฆาตกรรมซ่อนเงื่อนเพื่อปูทางไปสู่แก่นของเรื่องในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศสในเวียดนามช่วงต้นยุค 50 ที่ชาวต่างชาติเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์และลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเวียดนาม ทั้งยังตีแผ่มูลเหตุของสงครามและความขัดแย้งกับชาวอเมริกันผ่านมุมมองร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ
6. Munich (2005)
หนังอ้างอิงจากเหตุการณ์สะท้านโลกในโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1972 ที่กรุงมิวนิก เมื่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ในชื่อ 'กันยาทมิฬ' ได้ทำการจับเหล่านักกีฬาชาวอิสราเอลเป็นตัวประกันเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษ แต่ท้ายที่สุดก็จบด้วยโศกนาฏกรรมที่เหล่าตัวประกันทั้งหมดเสียชีวิต ซึ่งหนังโฟกัสไปยังเหตุการณ์หลังจากนั้นที่ชาวอิสราเอลมีการจัดตั้งทีมปฏิบัติการลับเพื่อสังหารกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยหัวใจสำคัญที่ Steven Spielberg ต้องการสื่อคือจับประเด็นความขัดแย้งร่วมสมัยระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์มาถ่ายทอดในฐานะคนกลางเพื่อสะท้อนให้ถึงผลกระทบจากการล้างแค้นที่มีต่อสภาพจิตใจของผู้คนและสังคมในวงกว้างที่นำไปสู่สภาวะไร้สันติในโลกตะวันออกกลาง
5. The Ghost Writer (2010)
อาจเรียกได้ว่าเป็นผลงานแนวสืบสวนของ Roman Polanski ที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรภาค "ดิ อพาร์ทเม้นท์ ทริโลจี้" กับการวางปมให้ตัวเอกซึ่งเป็นหนุ่มนักเขียนเงามากพรสวรรค์ ต้องมาสานต่อผลงานอัตชีวประวัติของ 'อดัม แลง' อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่มีประวัติอันอื้อฉาว แทนที่นักเขียนคนเก่าซึ่งเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุปริศนาที่คำให้การของพยานต่างดูขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมและหลักความเป็นจริง แต่เหนืออื่นใดภายใต้บรรยากาศอึมครึม ดูไม่น่าไว้วางใจที่ถูกขับจากสถานที่และบุคคลรอบตัว จะเป็นการโฟกัสไปที่เบื้องหลังอันดำมืดของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่ค่อยๆถูกเปิดออกอย่างแยบคาย คู่ขนานไปกับตัวเอกที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากเงามืดที่อาจอยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตของนักเขียนคนเก่า
4. The Constant Gardener (2005)
หนังสืบสวนปมการเมืองจากผู้กำกับ City of God ที่ยอดเยี่ยมด้วยการวางส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างโรแมนซ์และมิสเทอรี่ โดยปมเรื่องพูดถึงการฆาตกรรมอันเหี้ยมโหดที่เกิดกับสาวนักสิทธิมนุษยชนและมูลเหตุถูกเชื่อมโยงไปยังการคบชู้กับเพื่อนสนิทของเธอ ซึ่งหนังโฟกัสไปยังผู้เป็นสามีที่ไม่อาจปักใจเชื่อเรื่องดังกล่าวได้ จึงต้องเดินทางข้ามทวีปเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงด้วยตัวเอง โดยหนังจะค่อยๆแสดงเบื้องหลังการเสียชีวิตที่โยงใยกับปัญหาระดับชาติ ซึ่งเกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาที่กลายเป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของบริษัทผลิตยาข้ามชาติ ที่ใช้ผู้คนที่น่าสงสารเป็นหนูทดลองยาเพื่อลดต้นทุนในการวิจัย ขณะเดียวกันภายใต้ความจริงอันโสมมที่ค่อยๆถูกเปิดออก ฝั่งคนดูก็จะยิ่งตระหนักถึงรักอันหวานซึ้งของคู่พระนางเช่นกัน ผ่านห้วงคำนึงของตัวเอกที่สะท้อนออกมาเป็นภาพแฟลชแบ็ค
3. The Lives of Others (2006)
ผลงานเปิดตัว Florian Henckel ที่การันตีคุณภาพด้วยการคว้าออสการ์หนังต่างประเทศมาครอบครอง โดยวางปมเรื่องที่โยงใยกับมุมซ่อนเร้นทางการเมืองและใช้ไอเดียการดักฟังเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งลักษณะของหนังอาจเปรียบได้กับ The Conversation แห่งศตวรรษที่ 21 ที่ถูกทำออกมาในบรรยากาศที่เหงาและดูเปล่าเปลี่ยวยิ่งกว่า และยังสะท้อนสภาพชีวิตของผู้คนในยุคกำแพงเบอร์ลินที่ต่างไร้ซึ่งอิสระและจิตวิญญาณออกมาได้อย่างน่าสนใจ โดยปมเรื่องพูดถึงเจ้าหน้าที่รัฐทางฝั่งเยอรมันตะวันออกที่ถูกสั่งการให้คอยสอดแนมและตามติดชีวิตในทุกฝีก้าวของหนุ่มนักประพันธ์ชื่อดังที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างลับๆกับฝั่งเยอรมันตะวันตก
2. The Ides of March (2011)
หยิบคติความเชื่อตามหลักรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง มาตั้งเป็นชื่อหนังได้อย่างโดดเด่น อีกทั้งในส่วนของตัวบทยังมีการย่อยรายละเอียดการตีแผ่เบื้องลึกการเมืองของสหรัฐให้คนดูสามารถเข้าถึงได้ง่าย นับเป็นอีกหนึ่งผลงานชั้นเยี่ยมจาก George Clooney อย่างแท้จริง โดยหนังวางปมให้ตัวเอกที่รับบทโดย Ryan Gosling เป็นผู้ดูแลภาพลักษณ์ให้กับผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต ก่อนที่หนังจะพาคนดูไปล้วงลึกสัจธรรมการเมือง ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการหลอกลวง ทุกคนสามารถแปรเปลี่ยนสถานภาพระหว่างมิตรแท้และศัตรูได้อยู่ตลอดเวลา เพราะต่างฝ่ายก็หวังจะใช้ประโยชน์จากกันและกัน เพื่อพาตัวเองไปสู่ตำแหน่งของผู้ชนะที่อาจต้องแลกมาด้วยของสำคัญบางอย่างหรือการละทิ้งจิตวิญญาณและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
1. Argo (2012)
ผลงานที่อิงเค้าโครงจากเรื่องจริงกับภารกิจชิงตัวประกันสุดระทึกที่ทำให้หลายคนหมดข้อกังขาถึงความสามารถของ Ben Affleck เมื่อหนังคว้า 3 รางวัลบนเวทีออสการ์และหนึ่งในนั้นคือสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยปมเรื่องพูดถึงกลุ่มหัวรุนแรงชาวอิหร่านที่บุกเข้ายึดสถานฑูตสหรัฐและจับคนอเมริกัน 50 คนไว้เป็นตัวประกัน มีเพียงเจ้าที่ 6 คนที่หลบหนีออกมาได้และไปกบดานอยู่ที่บ้านพักท่านทูตแคนาดาประจำอิหร่าน ซึ่งจุดโฟกัสจะเป็นภารกิจที่รัฐบาลสั่งมอบให้เจ้าหน้าที่ซีไอเอชิงตัวประกันกลับมาภายใต้กลวิธีสร้างทีมถ่ายหนังที่เข้าไปสำรวจโลเคชั่น จึงเปรียบเสมือนหนังซ้อนหนังที่พยายามคงไว้ซึ่งข้อเท็จจริงของเรื่องราว ผ่านการตัดต่ออันเฉียบคมที่เชื่อมโยงกระบวนการทำงานส่วนย่อยเข้ากับจุดโฟกัสหลักเพื่อเล่นกับความลุ้นระทึกจนคนดูนั่งไม่ติดเก้าอี้
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน