- วันเสาร์ที่ 16 มิย. 2561 ได้ลื่นล้มที่กระบี่ระหว่างขึ้นจากเรือจะไปที่รถบัส ขณะที่ฝนตกหนัก โดยขาซ้ายก้าวไปข้างหน้า นั่งทับขาขวา จนได้ยินเสียงก็อบ พยายามตะเกียกตะกายขึ้นรถบัส แต่เจ็บมาก จนมีอาการเป็นลม สักครึ่งชั่วโมงมาถึงโรงแรม รีบกระเป๊กๆเข้าห้องพัก อาบน้ำ เปิดแอร์ 20 องศา เอาผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำมาโปะไว้ที่เท้า ทานยา acti-fast ยกเท้าสูง จนหลับ ได้ยา acroxia จากเพื่อนร่วมงาน ก็อัดยาเข้าไป แล้วกระเป๊กมาทานอาหารเย็น อาการปวดลดลงตามฤทธิ์ของยา แต่ยังปวดมากอยู่ อาหารเป็นบุฟเฟต์อีก ทรมานในการเดินไปตักมาก ได้ยาทามาจากน้องๆ และบริษัททัวร์ รอจนเสร็จพิธีการก็รีบกลับมานอนต่อ ทายาไว้เป็นคืนแรกที่เจ็บปวดทรมาน แม้จะยกเท้าสูง
- วันอาทิตย์ที่ 17 มิย. 2561 อาการปวดยังเยอะอยู่ โชคดีได้คุณแอนช่วยพันเท้าให้ ทำให้หายปวดไปเยอะ สามารถกระเป๊กๆ ไปขึ้นเครื่องกลับบ้านได้ มาถึงเชียงใหม่ 3 ทุ่มกว่าแวะเข้าโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม เอ็กซเรย์เจอว่า กระดูกฟิบูล่าหัก ให้รอหมอกระดูก จนเกือบเที่ยงคืน หมอมาถึง ก็ให้ตัดสินใจระหว่างเข้าเฝือกเฉยๆ หรือผ่าตัดดามเหล็ก ความกว้างของระยะกระดูกหักประมาณ 2 มม. ยังตัดสินใจไม่ได้ เลยพันเฝือกอ่อนไว้ก่อน นัดอีก 1 อาทิตย์ พร้อมได้ไม้ค้ำคู่ใจมา 1 อัน ใช้ก็ไม่เป็น และใบรับรองแพทย์ให้หยุดก่อน 1 เดือน กลับมาถึงบ้านเกือบตี 1 แฟนอาบน้ำให้โดยยกขา 1 ข้างพาดเก้าอี้



- ระหว่างรอเจอแพทย์อีกครั้ง มีทั้งน้องที่ทำงาน คุณเกดและพี่ชายแฟนช่วยเช็คว่า ควรจะผ่าตัดดามเหล็กหรือไม่ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่บอกว่า ควรผ่าตัดดามเหล็ก ก็เลยค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แนวโน้มคือควรผ่าตัด เพราะ
การผ่าตัด - ข้อดี
1. ถ้าระยะกระดูกหักออกจากกันเกิน 2 มม.ควรใช้เหล็กในการควบคุมทิศทางการเชื่อมของกระดูก เพราะกระดูกฟิบูล่า เป็นกระดูกเล็ก โอกาสติดจะน้อยกว่ากระดูกใหญ่
2. อายุ 53 ปี มีโอกาสที่กระดูกจะติดช้า ดังนั้นการใช้เหล็กช่วยจะทำให้ระยะห่างของกระดูกหักชิดแนบกัน โอกาสกระดูกติดจะสูงขึ้น
3. หลังผ่าตัดประมาณ 3 อาทิตย์ น่าจะลงน้ำหนักได้ แต่ต้องใช้ไม้ค้ำในการเดิน จนกว่า จะเกิดเนื้อเยื่อเพื่อเชื่อมกระดูก ซึ่งระยะเวลาในการหายจะสั้นกว่าเข้าเฝือกเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน
การผ่าตัด - ข้อเสีย
1. ความเสี่ยงจากการบล็อคหลังให้ยาชา การติดเชื้อที่แผล แผลหายช้า
2. นอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 อาทิตย์ ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ 1 แสนบาท ซึ่งแพงมาก
3. หลังหายดี ต้องมาเอาโลหะเชื่อมต่อออก แล้วต้องพักรักษาตัวประมาณ 1 เดือน เพื่อให้รูน๊อตที่กระดูกเชื่อมประสานและให้แผลผ่าตัดครั้งที่ 2 หายดี
การเข้าเฝือกอย่างเดียว - ข้อดี
1. ไม่เจ็บตัว กลับบ้านได้เลย ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
2. ไม่ต้องผ่าตัด 2 ครั้ง โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับแผลและเส้นเอ็นไม่มี
การเข้าเฝือกอย่างเดียว - ข้อเสีย
1. โอกาสเสี่ยงที่กระดูกจะไม่ติด ค่อนข้างสูง ต้องมีวินัยในการใช้เท้าเดียวสูง ห้ามลงน้ำหนัก ทานอาหารที่มีแคลเซียมเยอะๆ และขึ้นอยู่กับสุขภาพของคนขาหักว่า กระดูกพรุนหรือไม่ มีปัญหาอะไรหรือเปล่า
2. ใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น อย่างน้อย 1 เดือน
- วันเสาร์ที่ 23 มิย. 2561 ได้มาเอ็กซเรย์และพบหมอตามนัด หลังจากศึกษาข้อดีข้อเสียแล้ว เลยตัดสินใจไม่ผ่าตัด ใช้วิธีใส่เฝือกแทน หมอเลยให้ใส่เฝือกพลาสติก แล้วนัดมาหาอีก 2 อาทิตย์ พร้อมให้แคลเซียม 1000 mg. ทานวันละเม็ด

- วันเสาร์ที่ 7 กค. 2561 มาพบตามนัด เอ็กซเรย์แล้ว กระดูกยังไม่มีทีท่าจะติด เริ่มกังวลมากๆ ว่าตัดสินใจผิดหรือไม่ คุณหมอเลยนัดอีก 2 อาทิตย์ เพื่อดูความคืบหน้า
- วันจันทร์ที่ 9 กค. 2561 ตัดสินใจไปทำงาน หลังจากหยุดมา 3 อาทิตย์ เพราะไม่รู้อนาคตว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ ต้องอดทน ไม่งั้นงานค้าง แม้ว่าจะรีโมททำจากที่บ้านแต่ก็ไม่เหมือนไปนั่งด้วยตัวเอง ซึ่งต้องขอบคุณน้องในแผนกช่วยมารับและส่งระหว่างนี้ ก็พยายามไม่ลงน้ำหนักขาข้างขวาที่กระดูกหัก เดินได้ช้ามาก เพราะใช้ walker 4 ขาไป แต่ไม่เสี่ยงเรื่องล้ม ตอนนี้ได้สั่ง iwalk2.0 มาจากอเมริกาผ่าน E-Bay ใช้เวลาอาทิตย์กว่า ได้ของวันที่ 23 กค.
- วันเสาร์ที่ 21 กค.2561 ผ่านมา 5 อาทิตย์ มาพบหมอตามนัด เอ็กซเรย์แล้ว กระดูกก็ยังไม่มีทีท่าจะติด ไม่เห็นแม้แต่เงาเนื้อเยื่อ หรือ collus คุณหมอนัดอีก 2 อาทิตย์ ความกังวลมีมากๆ แต่ต้องผ่าเฝือกพลาสติกออก เพราะขาลีบ เฝือกหลวม เลยขอคุณหมอใช้เฝือกลมแทน (Air cast) เพราะอ่านมาถึงข้อดีมากมาย แต่ราคาแพงมาก 1x,xxx บาท แต่ยอม เพราะจะได้ถอดอาบน้ำได้ คุณหมอให้ลงน้ำหนักได้ 20% เมื่อ iwalk 2.0 มา เลยค่อนข้างลำบากกับการ
ใช้คู่กับเฝือกลม เพราะเฝือกลมแบบเต็มช่วงหน้าแข้งหนักประมาณ 20 กว่ากิโลกรัม แต่ก็ได้ใช้ระหว่างอยู่ที่บ้าน กรณีอยากเดินถือของด้วย


- วันเสาร์ที่ 4 สค.2561 ผ่านมา 7 อาทิตย์ หรือประมาณเดือนครึ่ง เอ็กซเรย์แล้ว มี collus ปกคลุมแบบเห็นได้ชัด กระดูกอยู่ในแนวที่ดี เป็นกำลังใจมากๆ คุณหมอนัดอีก 1 เดือน เพื่อตัดสินใจต่อไปว่าอย่างไร คุณหมอให้ลงน้ำหนักได้40%

- วันเสาร์ที่ 1 กย.2561 ผ่านมา 11 อาทิตย์ หรือประมาณ 2 เดือนครึ่ง ได้ถอดเฝือกเสียที กระดูกติดเกือบ 80% ต่อไปนี้ก็ต้องกายภาพหัดเดินต่อไป
---------------------------------------------------------
ปล. บันทีกนี้ อยากเก็บไว้เป็นอุทาหรณ์ตัวเองไม่ให้รีบ และเพื่ออธิบายให้คนที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เอาไว้ใช้ตัดสินใจ ไม่ต้องไปค้นหาข้อมูลให้มากมายแบบที่ผมเจอ
ตัวยาที่ใช้ : calplus 1000 มก. ทานวันละ 1 เม็ด และ Ossium 0.2 g/tabl. (แนะนำโดยหลานสาวคนสวยนักเภสัช)
อาหาร :นมดีน่างาดำ,นมจืด วันละอย่างน้อย 1 กล่อง ถั่ว ปลากรอบ และ น้ำผักผลไม้ปั่นทุกวัน งด กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความเจ็บปวด : มาก จนสุดบรรยาย แต่พยายามเงียบ อดทน เพราะถึงพูดออกไป ความเจ็บปวดไม่ได้ลดลง พยายามไม่รบกวนคนอื่น มีหลายคนพยายามไถ่ถาม ก็ได้แต่ตอบว่า โอเค ยกเว้นตอนอยู่หน้าแฟน ก็บ่นได้เต็มที่ ^^
ขอขอบคุณ ทุกความช่วยเหลือจากเพื่อน พี่ น้อง และคนในครอบครัว รวมทั้งคำอวยพรจากทุกคนเสริมกำลังใจระหว่างที่ขาหัก จริงๆ แล้วโลกเราสวยงามกว่าที่เราคิด ใช้ชีวิตแต่ละย่างก้าวอย่างมีสติ อุปสรรคย่อมมีมาเสมอ
Fibula Fracture (กระดูกน่องหัก)
- วันอาทิตย์ที่ 17 มิย. 2561 อาการปวดยังเยอะอยู่ โชคดีได้คุณแอนช่วยพันเท้าให้ ทำให้หายปวดไปเยอะ สามารถกระเป๊กๆ ไปขึ้นเครื่องกลับบ้านได้ มาถึงเชียงใหม่ 3 ทุ่มกว่าแวะเข้าโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม เอ็กซเรย์เจอว่า กระดูกฟิบูล่าหัก ให้รอหมอกระดูก จนเกือบเที่ยงคืน หมอมาถึง ก็ให้ตัดสินใจระหว่างเข้าเฝือกเฉยๆ หรือผ่าตัดดามเหล็ก ความกว้างของระยะกระดูกหักประมาณ 2 มม. ยังตัดสินใจไม่ได้ เลยพันเฝือกอ่อนไว้ก่อน นัดอีก 1 อาทิตย์ พร้อมได้ไม้ค้ำคู่ใจมา 1 อัน ใช้ก็ไม่เป็น และใบรับรองแพทย์ให้หยุดก่อน 1 เดือน กลับมาถึงบ้านเกือบตี 1 แฟนอาบน้ำให้โดยยกขา 1 ข้างพาดเก้าอี้
การผ่าตัด - ข้อดี
1. ถ้าระยะกระดูกหักออกจากกันเกิน 2 มม.ควรใช้เหล็กในการควบคุมทิศทางการเชื่อมของกระดูก เพราะกระดูกฟิบูล่า เป็นกระดูกเล็ก โอกาสติดจะน้อยกว่ากระดูกใหญ่
2. อายุ 53 ปี มีโอกาสที่กระดูกจะติดช้า ดังนั้นการใช้เหล็กช่วยจะทำให้ระยะห่างของกระดูกหักชิดแนบกัน โอกาสกระดูกติดจะสูงขึ้น
3. หลังผ่าตัดประมาณ 3 อาทิตย์ น่าจะลงน้ำหนักได้ แต่ต้องใช้ไม้ค้ำในการเดิน จนกว่า จะเกิดเนื้อเยื่อเพื่อเชื่อมกระดูก ซึ่งระยะเวลาในการหายจะสั้นกว่าเข้าเฝือกเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน
การผ่าตัด - ข้อเสีย
1. ความเสี่ยงจากการบล็อคหลังให้ยาชา การติดเชื้อที่แผล แผลหายช้า
2. นอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 อาทิตย์ ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ 1 แสนบาท ซึ่งแพงมาก
3. หลังหายดี ต้องมาเอาโลหะเชื่อมต่อออก แล้วต้องพักรักษาตัวประมาณ 1 เดือน เพื่อให้รูน๊อตที่กระดูกเชื่อมประสานและให้แผลผ่าตัดครั้งที่ 2 หายดี
การเข้าเฝือกอย่างเดียว - ข้อดี
1. ไม่เจ็บตัว กลับบ้านได้เลย ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า
2. ไม่ต้องผ่าตัด 2 ครั้ง โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับแผลและเส้นเอ็นไม่มี
การเข้าเฝือกอย่างเดียว - ข้อเสีย
1. โอกาสเสี่ยงที่กระดูกจะไม่ติด ค่อนข้างสูง ต้องมีวินัยในการใช้เท้าเดียวสูง ห้ามลงน้ำหนัก ทานอาหารที่มีแคลเซียมเยอะๆ และขึ้นอยู่กับสุขภาพของคนขาหักว่า กระดูกพรุนหรือไม่ มีปัญหาอะไรหรือเปล่า
2. ใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น อย่างน้อย 1 เดือน
- วันเสาร์ที่ 23 มิย. 2561 ได้มาเอ็กซเรย์และพบหมอตามนัด หลังจากศึกษาข้อดีข้อเสียแล้ว เลยตัดสินใจไม่ผ่าตัด ใช้วิธีใส่เฝือกแทน หมอเลยให้ใส่เฝือกพลาสติก แล้วนัดมาหาอีก 2 อาทิตย์ พร้อมให้แคลเซียม 1000 mg. ทานวันละเม็ด
- วันจันทร์ที่ 9 กค. 2561 ตัดสินใจไปทำงาน หลังจากหยุดมา 3 อาทิตย์ เพราะไม่รู้อนาคตว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ ต้องอดทน ไม่งั้นงานค้าง แม้ว่าจะรีโมททำจากที่บ้านแต่ก็ไม่เหมือนไปนั่งด้วยตัวเอง ซึ่งต้องขอบคุณน้องในแผนกช่วยมารับและส่งระหว่างนี้ ก็พยายามไม่ลงน้ำหนักขาข้างขวาที่กระดูกหัก เดินได้ช้ามาก เพราะใช้ walker 4 ขาไป แต่ไม่เสี่ยงเรื่องล้ม ตอนนี้ได้สั่ง iwalk2.0 มาจากอเมริกาผ่าน E-Bay ใช้เวลาอาทิตย์กว่า ได้ของวันที่ 23 กค.
- วันเสาร์ที่ 21 กค.2561 ผ่านมา 5 อาทิตย์ มาพบหมอตามนัด เอ็กซเรย์แล้ว กระดูกก็ยังไม่มีทีท่าจะติด ไม่เห็นแม้แต่เงาเนื้อเยื่อ หรือ collus คุณหมอนัดอีก 2 อาทิตย์ ความกังวลมีมากๆ แต่ต้องผ่าเฝือกพลาสติกออก เพราะขาลีบ เฝือกหลวม เลยขอคุณหมอใช้เฝือกลมแทน (Air cast) เพราะอ่านมาถึงข้อดีมากมาย แต่ราคาแพงมาก 1x,xxx บาท แต่ยอม เพราะจะได้ถอดอาบน้ำได้ คุณหมอให้ลงน้ำหนักได้ 20% เมื่อ iwalk 2.0 มา เลยค่อนข้างลำบากกับการ
ใช้คู่กับเฝือกลม เพราะเฝือกลมแบบเต็มช่วงหน้าแข้งหนักประมาณ 20 กว่ากิโลกรัม แต่ก็ได้ใช้ระหว่างอยู่ที่บ้าน กรณีอยากเดินถือของด้วย
---------------------------------------------------------
ปล. บันทีกนี้ อยากเก็บไว้เป็นอุทาหรณ์ตัวเองไม่ให้รีบ และเพื่ออธิบายให้คนที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เอาไว้ใช้ตัดสินใจ ไม่ต้องไปค้นหาข้อมูลให้มากมายแบบที่ผมเจอ
ตัวยาที่ใช้ : calplus 1000 มก. ทานวันละ 1 เม็ด และ Ossium 0.2 g/tabl. (แนะนำโดยหลานสาวคนสวยนักเภสัช)
อาหาร :นมดีน่างาดำ,นมจืด วันละอย่างน้อย 1 กล่อง ถั่ว ปลากรอบ และ น้ำผักผลไม้ปั่นทุกวัน งด กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความเจ็บปวด : มาก จนสุดบรรยาย แต่พยายามเงียบ อดทน เพราะถึงพูดออกไป ความเจ็บปวดไม่ได้ลดลง พยายามไม่รบกวนคนอื่น มีหลายคนพยายามไถ่ถาม ก็ได้แต่ตอบว่า โอเค ยกเว้นตอนอยู่หน้าแฟน ก็บ่นได้เต็มที่ ^^
ขอขอบคุณ ทุกความช่วยเหลือจากเพื่อน พี่ น้อง และคนในครอบครัว รวมทั้งคำอวยพรจากทุกคนเสริมกำลังใจระหว่างที่ขาหัก จริงๆ แล้วโลกเราสวยงามกว่าที่เราคิด ใช้ชีวิตแต่ละย่างก้าวอย่างมีสติ อุปสรรคย่อมมีมาเสมอ