วัดที่สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา ... วัดพันเตา





เชื่อว่า
เคยเป็นบริเวณเขตสังฆาวาสของวัดเจดีย์หลวง ซึ่งมีอยู่สี่มุมโดยรอบวิหารเขตพุทธาวาส
เคยใช้ที่ตั้งเตาหลอมพระอัฏฐารส พระประธานของวัดเจดีย์หลวง และพระพุทธรูปหลายองค์บนแท่นชุกชี ภายในวิหารวัดเจดีย์หลวง
อาจเป็นวัดในรัชกาลต่อมา คือพญาสามฝั่งแกนก็อาจเป็นได้ เพราะวัดเจดีย์หลวงเสร็จในรัชกาลนี้

สันนิษฐานไว้สองสถาน
ถ้ามาจากภาษาเหนือว่า ปันเต้า ... พันเท่า
หมายถึงทำบุญที่นี่จะได้บุญเป็นพันเท่า

ถ้ามาจากภาษาเหนือว่า ปันเต๋า ... พันเตา
หมายถึง ใช้เตามากมาย เป็นพันๆ ในการหลอมพระพุทธรูป


เจดีย์วัดพันเตา

เป็นเจดีย์ฐานเขียง ฐานบัว บัวลูกแก้ว บัวปากระฆัง แปดเหลี่ยม
บัาถลา รับองค์ระฆัง กลม
ปล้องไฉน ปลียอด ฉัตร





แต่ที่น่าสนใจคือ วิหาร
เป็นหอคำของเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 (พ.ศ.2390 – 2397)
เคยอยู่ที่คุ้มเวียงแก้ว





พ.ศ.2419 พระเจ้าอินทวิชยานนท์
ทรงมีพระดำริว่า หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ
สมควรจะอยู่ในวัดมากกว่าอยู่ในวัง
จึงทรงให้ช่างรื้อหอคำ
แล้วย้ายมาปลูกสร้างขึ้นใหม่ที่วัดพันเตา





โครงสร้างแบบกรอบยึดมุม เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้





ฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของศิลปะสมัยอยุธยา





บานหน้าต่างมีลูกมะหวด บานประตู









แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนาแข็งแรงกว่า
แต่จากฝีมือช่างที่ถากเสา และผนังแบบหยาบ ๆ
ทำให้อาจเชื่อได้ว่าอาจเป็นหอคำหลวงมาแต่สมัยเจ้ากาวิละ ซึ่งบ้านเมืองเพิ่งเสร็จศึกสงครามกับพม่า





เหนือประตูเป็นรูปนกยูง





ยืนอยู่เหนือรูปสัตว์ ... มอม?





หน้าต่างด้านข้างประตู













พระประธาน
ธรรมาสน์ แบบล้านนา





หอเสื้อวัด อยู่มุมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพันเตา
คือวิญญาณที่ปกป้องดูแลวัด
บันไดเป็นสิ่งที่บอกว่าเป็นวิญญาณหรือผี
เช่นศาลพระภูมิจะไม่มีบันได เพราะท่านเป็นเทพ
แต่ศาลเจ้าที่จะมีบันได เพราะท่านเป็นผี

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่