http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=3071
นักวิเคราะห์ขาเชียร์แนะนำจนเป็นเสียงเดียวว่า ราคาหุ้น บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด(มหาชน) หรือ IVL ที่ใต้ 60.00 บาท น่าทยอยสะสม ไม่ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยและทั่วโลก จะแปรปรวนเพียงใด
เหตุผลที่ใช้อธิบายคือ เป็นหุ้นที่พื้นฐานของบริษัทที่ฐานะแข็งแกร่งและยังเติบโตได้อีกมาก แต่ที่สำคัญ ค่าพี/อี ค่อนข้างต่ำมากแค่ระดับ 13 เท่า
ที่สำคัญ หากพิจารณาถึงปัจจัยลบที่อาจจะเกิดขึ้นอาทิ
1) ความผันผวนของธุรกิจโพลีเอสเตอร์ที่จะเป็นขาลง
2) ปัญหาด้านวัตถุดิบ
3) การปิดโรงงาน และ
4) ความล่าช้าในการขยายกิจการ
ก็แทบจะมองไม่เห็นกันเลยทีเดียวว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในสถานการณ์อันใกล้นี้
คำอธิบายที่มองว่าปัจจัยเสี่ยงของ IVL ค่อนข้างต่ำ เกิดขึ้นจากจุดเด่นสำคัญ 2 ประการคือ
1) ยุทธศาสตร์การขายธุรกิจสร้างสินทรัพย์ด้วยการ"ฉลาดซื้อกิจการ"ที่ไม่ต้องรอสร้างโรงงานใหม่
2) ความโดดเด่นจากการบริหารการเงินที่เหนือชั้น รักษาความสามารถทางทำกำไร ควบคู่กับการขยายกิจการอย่างมีดุลยภาพ
เกือบทุกๆปีที่ผ่านมา IVL เร่งซื้อกิจการปิโตรเคมีปลายน้ำ ทางด้านโรงงานPET, PTA และ โพลีเอสเตอร์เฉพาะทาง ข้ามประเทศ ผ่านวิศวกรรมการเงิน M&A ต่อเนื่องมาโดยตลอด จนสินทรัพย์ของกิจการมากมายถึงล่าสุดสิ้นไตรมาสแรกปีนี้ 2.86 แสนล้านบาท เทียบกับเมื่อสิ้นปี 2557 ที่มียอดรวมสินทรัพย์แค่ 1.95 แสนล้านบาท
หากเป็นกิจการทั่วไป การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งใช้เวลาสร้างสินทรัพย์ภายในเวลาแค่ 4 ปีเศษ เติบโตเกือบ 50% ด้วย inorganic growth แล้วสามารถรักษาการเติบโตของกำไรสุทธิ และกำไรต่อหุ้นได้สวยงาม ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ IVL ทำได้เป็นปกติ
กำไรสุทธิของ IVL ที่ก้าวกระโดดจากสิ้นปี 2557 ที่มีเพียงแค่ 1.48 พันล้านบาท (หรือ หุ้นละ 0.28 บาท) กระโดดขึ้นมาเป็น 6.6 พันล้านบาท(หุ้นละ 1.20 บาท) ในปี 2558 จากนั้นเพิ่มเป็น 1.61 หมื่นล้านบาท (หุ้นละ 3.15 บาท) ในปี 2559 ส่วนในปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มเป็น 2.88 ล้านบาท(หุ้นละ 3.98 บาท) ในขณะที่ ไตรมาสแรกของปีนี้ก็มีกำไรสุทธิไปแล้ว 5.8 พันล้านบาท(หุ้นละ 1.01 บาท) เข้าไปแล้ว
ความสามารถทำกำไรที่โดดเด่นที่ส่งผลต่อราคาหุ้นโดยตรง นอกจากมาจากรายได้ที่เติบโตก้าวกระโดดจากการซื้อกิจการประเภท"ซื้อแล้วสามารถบันทึกรายได้ทันที"อันเป็นกลยุทธ์ขาประจำที่คุ้นเคยมาตั้งแต่เริ่มขยายกิจการทางลัด ยังเกิดจากธุรกิจในสายการผลิตของ IVL ที่เป็นจังหวะขาขึ้น โดยเฉพาะ PET ที่ราคาและอัตรากำไรส่งผลบวกโดยตรง
ยิ่งปีนี้สงครามการค้าที่เริ่มปะทุรุนแรง มีผลทำให้กิจการอื่นๆย่ำแย่ แต่ IVL กลับมีอานิสงส์ทางอ้อม โดยเฉพาะการผลิตในตลาดสหรัฐฯ ที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเตรียมใช้ภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) ของ PET นำเข้าจากบราซิล, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, ปากีสถาน และไต้หวัน หลังจากที่เริ่มมีการสอบสวนเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน โดยจะมีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในวันที่ 17 ก.ย. 2018 ในขณะที่การตัดสินใจของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (ITC) จะประกาศภายในวันที่ 31 ต.ค. 2018 เป็นปัจจัยบวกต่อ IVL เพราะคิดเป็นสัดส่วน 32% ของ PET ที่ผลิตสร้างรายได้ให้บริษัท
ในขณะที่โรงงานในบราซิลของIVL(โรงงาน Suape ที่ซื้อมาจาก M&G) และอินโดนีเซีย ซึ่งทำรายได้คิดเป็น 12% และ 4% ตามลำดับอาจจะได้รับผลกระทบ แตีโรงงานในบราซิลเน้นการขายในอเมริกาใต้ และโรงงานที่อินโดนีเซียไม่มีการขายมายังสหรัฐฯจึงน่าจะเสียหายไม่มากนัก
จังหวะเช่นนี้ การเปิดเกมรุกของ IVL เพื่อซื้อกิจการในต่างประเทศก็รุกคืบไปอีกตามแนวทางไม่มีสะดุด
ปีนี้ IVL ประกาศจะใช้เงินซื้อกิจการไปแล้วอย่างน้อย 4 รายการ คือ
- การตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ในนาม บริษัท Corpus Christi Polymers LLC (“CC Polymers”(บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท Indorama Ventures Holdings LP (“Indorama”) บริษัทย่อยทางอ้อมของ IVL และบริษัท Far Eastern Investment (Holding) Ltd. (“Far Eastern”)) กับ บริษัท Alpek, S.A.B. de C.V. (“Alpek”) เพื่อเข้าซื้อทรัพย์สินกับบริษัท M&G USA Corp.และลูกหนี้ที่เกี่ยวข้อง(“M&G”) ตามแผนเข้าซื้อทรัพย์สินของโรงงานผลิต PTA-PET แบบบูรณาการที่กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง มีวงเงินที่อยุ่รูปแบบของเงินสดและ/หรือเงินทุนอื่นใดมูลค่า 1.125 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- การเข้าซื้อบริษัท M&G Polimeros Brazil S.A. ซึ่งเป็นโรงงานผลิต PET ตั้งอยู่ในเมือง Ipojuca ประเทศบราซิล ถือเป็นโรงงานผลิต PET ที่ใหญ่ที่สุดในบราซิล กำลังการผลิต 550,000 ตันต่อปี มียุทธศาสตร์ที่ตั้งและได้รับประโยชน์จากพันธมิตรที่ผลิต PTA ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PETการเข้าซื้อกิจการดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2
- เข้าซื้อกิจการในอัตราร้อยละ 65.72 ในบริษัท AVGOL INDUSTRIES 1953 LTD. ในอิสราเอล ผู้ผลิตเส้นใยนันวูเว่นสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่ารวม 1.62 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น Avgol มีโรงงานทั้งหมด 6 แห่ง ในประเทศอิสราเอล สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีนและอินเดีย โดยมีกำลังการผลิตรวม 203,000 ตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงครึ่งหลังของปี 2561
- โครงการร่วมทุนโดยผ่าน บริษัท Indorama Netherlands B.V. (INBV) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อม กับบริษัท Dhunseri Petrochem Limited (Dhunseri) ประเทศอินเดียฝ่ายละ 50% เพื่อเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิต PET ของบริษัท Egyptian Indian Polyester Company S.A.E. (EIPET) ในประเทศอียิปต์ ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 540,000 ตัน/ปี เป็นหนึ่งในผู้ผลิต PET ที่ใหญ่ที่สุดในแถบตะวันออกกลาง ยุโรป และทวีปแอฟริกา ส่งผลให้เกิดบูรณาการให้ IVL เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายใน EMEA ที่มีการบูรณาการระหว่าง PTA และ PET ครอบคลุมประเทศลิทัวเนีย จนถึงไนจีเรีย แล้วเป็นผู้ผลิต PET ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้รายใหญ่ที่สุดในประเทศตุรกี และยังเป็นผู้ผลิต PTA และ PET ในเนเธอร์แลนด์ และคาบสมุทรไอบีเรีย
โครงการทั้ง 4 นี้ ไม่ได้ระบุยอดเงินที่ต้องจ่าย(ยกเว้นโครงการแรก) เพียงแต่ระบุว่า การวื้อกิจการทั้งหลาย จะ"มุ่งสร้างการเติบโตและมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน ในขณะที่รักษาวินัยทางการเงินอย่างต่อเนื่อง"
การเติบโตปีนี้ ยังไม่รวมถึงการเริ่มดำเนินงานของโรงแยกก๊าซอีเทนไตรมาส 4 การสร้างโรงงาน PTA ที่โปรตุเที่เสร็จในไตรมาส 3
แล้วหากมองไปในอนาคต ยังมีโรงงาน Suape ที่บราซิลที่เริ่มดำเนินงานใน 3 ทำให้กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นต่ออีก 7% ในปี 2019 และโรงงาน Avgol ในอิสราเอลที่จะเริ่มดำเนินงานต้นปี 2019 แล้วยังมี โรงงาน Corpus Christi ที่จะเริ่มดำเนินงานในปี 2020 จะเห็นได้ว่า เส้นทางของความแข็งแกร่งของ IVL ยังรออยู่อีกมาก ไม่ได้หยุดแค่นี้
ปมประเด็นที่ต้องตั้งคำถามคือการใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลในการสร้างสินทรัพย์ ทำได้อย่างไรโดยไม่กระทบกับสภาพคล่องทางการเงินและไม่ก่อหนี้จนสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายอันตราย
คำตอบอยู่ในงบการเงิน
ทุนจดทะเบียนชำระแล้วล่าสุดของIVLคือ 5,411 ล้านบาท แต่กลับมีส่วนผู้ถือหุ้นสวยงามมากถึง 1.26 แสนล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับยอดหนี้สินรวม 1.58 แสนล้านบาท ถือว่าการก่อหนี้เพื่อสร้างสินทรัพย์ของ IVL มีวินัยอย่างมาก เพราะโดยพื้นฐานแล้วบริษัทก็มีอัตรากำไรสุทธิไม่สูงมากนัก
อัตรากำไรสุทธิล่าสุด 7.52 % ที่ถือว่าสูงสุดในรอบหลายปี ทำให้คำว่าวินัยทางการเงินมีความสำคัญมาก แม้ว่าสภาพคล่องของบริษัทล่าสุดจะยังโดดเด่น จากสินทรัพย์หมุนเวียน 1.01 แสนล้านบาท เทียบกับหนี้สินหมุนเวียน 6.7 หมื่นล้านบาท ทำให้อัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 1.3 เท่า
นอกจากนั้น กำไรสะสมที่มีอยู่ 6.09 หมื่นล้านบาท ก็ถือว่ายิ่งกว่าปลอดภัย
พื้นฐานดังนี้ ไม่น่าแปลกที่เสียงเชียร์ให้เก็บสะสม IVL ของนักวิเคราะห์จะดังเป็นทิศทางเดียวกัน ประเด็นคำถามอยู่ที่ว่า อนาคตของIVL ในยุคที่มรสุมของสงครามการค้ากำลังเริ่มปะทุจะยั่งยืนจนไม่ทำให้ธุรกิจสะดุดแบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อน จนกินเวลานานหลายปี
บางครั้งเสียงเชียร์ของนักวิเคราะห์ อาจจะไม่ใช่สัจธรรมเสมอไป
/////////////////////
ขอบคุณบทความจาก www.facebook.com/Share2Trade/
http://www.share2trade.com
IVL เสียงเชียร์อาจมิใช่สัจจะ โดย อีหล่าน้อย บทความจากเว็บไซต์ Share2Trade
นักวิเคราะห์ขาเชียร์แนะนำจนเป็นเสียงเดียวว่า ราคาหุ้น บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด(มหาชน) หรือ IVL ที่ใต้ 60.00 บาท น่าทยอยสะสม ไม่ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยและทั่วโลก จะแปรปรวนเพียงใด
เหตุผลที่ใช้อธิบายคือ เป็นหุ้นที่พื้นฐานของบริษัทที่ฐานะแข็งแกร่งและยังเติบโตได้อีกมาก แต่ที่สำคัญ ค่าพี/อี ค่อนข้างต่ำมากแค่ระดับ 13 เท่า
ที่สำคัญ หากพิจารณาถึงปัจจัยลบที่อาจจะเกิดขึ้นอาทิ
1) ความผันผวนของธุรกิจโพลีเอสเตอร์ที่จะเป็นขาลง
2) ปัญหาด้านวัตถุดิบ
3) การปิดโรงงาน และ
4) ความล่าช้าในการขยายกิจการ
ก็แทบจะมองไม่เห็นกันเลยทีเดียวว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในสถานการณ์อันใกล้นี้
คำอธิบายที่มองว่าปัจจัยเสี่ยงของ IVL ค่อนข้างต่ำ เกิดขึ้นจากจุดเด่นสำคัญ 2 ประการคือ
1) ยุทธศาสตร์การขายธุรกิจสร้างสินทรัพย์ด้วยการ"ฉลาดซื้อกิจการ"ที่ไม่ต้องรอสร้างโรงงานใหม่
2) ความโดดเด่นจากการบริหารการเงินที่เหนือชั้น รักษาความสามารถทางทำกำไร ควบคู่กับการขยายกิจการอย่างมีดุลยภาพ
เกือบทุกๆปีที่ผ่านมา IVL เร่งซื้อกิจการปิโตรเคมีปลายน้ำ ทางด้านโรงงานPET, PTA และ โพลีเอสเตอร์เฉพาะทาง ข้ามประเทศ ผ่านวิศวกรรมการเงิน M&A ต่อเนื่องมาโดยตลอด จนสินทรัพย์ของกิจการมากมายถึงล่าสุดสิ้นไตรมาสแรกปีนี้ 2.86 แสนล้านบาท เทียบกับเมื่อสิ้นปี 2557 ที่มียอดรวมสินทรัพย์แค่ 1.95 แสนล้านบาท
หากเป็นกิจการทั่วไป การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งใช้เวลาสร้างสินทรัพย์ภายในเวลาแค่ 4 ปีเศษ เติบโตเกือบ 50% ด้วย inorganic growth แล้วสามารถรักษาการเติบโตของกำไรสุทธิ และกำไรต่อหุ้นได้สวยงาม ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ IVL ทำได้เป็นปกติ
กำไรสุทธิของ IVL ที่ก้าวกระโดดจากสิ้นปี 2557 ที่มีเพียงแค่ 1.48 พันล้านบาท (หรือ หุ้นละ 0.28 บาท) กระโดดขึ้นมาเป็น 6.6 พันล้านบาท(หุ้นละ 1.20 บาท) ในปี 2558 จากนั้นเพิ่มเป็น 1.61 หมื่นล้านบาท (หุ้นละ 3.15 บาท) ในปี 2559 ส่วนในปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มเป็น 2.88 ล้านบาท(หุ้นละ 3.98 บาท) ในขณะที่ ไตรมาสแรกของปีนี้ก็มีกำไรสุทธิไปแล้ว 5.8 พันล้านบาท(หุ้นละ 1.01 บาท) เข้าไปแล้ว
ความสามารถทำกำไรที่โดดเด่นที่ส่งผลต่อราคาหุ้นโดยตรง นอกจากมาจากรายได้ที่เติบโตก้าวกระโดดจากการซื้อกิจการประเภท"ซื้อแล้วสามารถบันทึกรายได้ทันที"อันเป็นกลยุทธ์ขาประจำที่คุ้นเคยมาตั้งแต่เริ่มขยายกิจการทางลัด ยังเกิดจากธุรกิจในสายการผลิตของ IVL ที่เป็นจังหวะขาขึ้น โดยเฉพาะ PET ที่ราคาและอัตรากำไรส่งผลบวกโดยตรง
ยิ่งปีนี้สงครามการค้าที่เริ่มปะทุรุนแรง มีผลทำให้กิจการอื่นๆย่ำแย่ แต่ IVL กลับมีอานิสงส์ทางอ้อม โดยเฉพาะการผลิตในตลาดสหรัฐฯ ที่กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเตรียมใช้ภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (AD) ของ PET นำเข้าจากบราซิล, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, ปากีสถาน และไต้หวัน หลังจากที่เริ่มมีการสอบสวนเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน โดยจะมีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในวันที่ 17 ก.ย. 2018 ในขณะที่การตัดสินใจของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (ITC) จะประกาศภายในวันที่ 31 ต.ค. 2018 เป็นปัจจัยบวกต่อ IVL เพราะคิดเป็นสัดส่วน 32% ของ PET ที่ผลิตสร้างรายได้ให้บริษัท
ในขณะที่โรงงานในบราซิลของIVL(โรงงาน Suape ที่ซื้อมาจาก M&G) และอินโดนีเซีย ซึ่งทำรายได้คิดเป็น 12% และ 4% ตามลำดับอาจจะได้รับผลกระทบ แตีโรงงานในบราซิลเน้นการขายในอเมริกาใต้ และโรงงานที่อินโดนีเซียไม่มีการขายมายังสหรัฐฯจึงน่าจะเสียหายไม่มากนัก
จังหวะเช่นนี้ การเปิดเกมรุกของ IVL เพื่อซื้อกิจการในต่างประเทศก็รุกคืบไปอีกตามแนวทางไม่มีสะดุด
ปีนี้ IVL ประกาศจะใช้เงินซื้อกิจการไปแล้วอย่างน้อย 4 รายการ คือ
- การตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ในนาม บริษัท Corpus Christi Polymers LLC (“CC Polymers”(บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท Indorama Ventures Holdings LP (“Indorama”) บริษัทย่อยทางอ้อมของ IVL และบริษัท Far Eastern Investment (Holding) Ltd. (“Far Eastern”)) กับ บริษัท Alpek, S.A.B. de C.V. (“Alpek”) เพื่อเข้าซื้อทรัพย์สินกับบริษัท M&G USA Corp.และลูกหนี้ที่เกี่ยวข้อง(“M&G”) ตามแผนเข้าซื้อทรัพย์สินของโรงงานผลิต PTA-PET แบบบูรณาการที่กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง มีวงเงินที่อยุ่รูปแบบของเงินสดและ/หรือเงินทุนอื่นใดมูลค่า 1.125 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- การเข้าซื้อบริษัท M&G Polimeros Brazil S.A. ซึ่งเป็นโรงงานผลิต PET ตั้งอยู่ในเมือง Ipojuca ประเทศบราซิล ถือเป็นโรงงานผลิต PET ที่ใหญ่ที่สุดในบราซิล กำลังการผลิต 550,000 ตันต่อปี มียุทธศาสตร์ที่ตั้งและได้รับประโยชน์จากพันธมิตรที่ผลิต PTA ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PETการเข้าซื้อกิจการดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2
- เข้าซื้อกิจการในอัตราร้อยละ 65.72 ในบริษัท AVGOL INDUSTRIES 1953 LTD. ในอิสราเอล ผู้ผลิตเส้นใยนันวูเว่นสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่ารวม 1.62 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น Avgol มีโรงงานทั้งหมด 6 แห่ง ในประเทศอิสราเอล สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีนและอินเดีย โดยมีกำลังการผลิตรวม 203,000 ตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงครึ่งหลังของปี 2561
- โครงการร่วมทุนโดยผ่าน บริษัท Indorama Netherlands B.V. (INBV) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อม กับบริษัท Dhunseri Petrochem Limited (Dhunseri) ประเทศอินเดียฝ่ายละ 50% เพื่อเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิต PET ของบริษัท Egyptian Indian Polyester Company S.A.E. (EIPET) ในประเทศอียิปต์ ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 540,000 ตัน/ปี เป็นหนึ่งในผู้ผลิต PET ที่ใหญ่ที่สุดในแถบตะวันออกกลาง ยุโรป และทวีปแอฟริกา ส่งผลให้เกิดบูรณาการให้ IVL เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายใน EMEA ที่มีการบูรณาการระหว่าง PTA และ PET ครอบคลุมประเทศลิทัวเนีย จนถึงไนจีเรีย แล้วเป็นผู้ผลิต PET ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้รายใหญ่ที่สุดในประเทศตุรกี และยังเป็นผู้ผลิต PTA และ PET ในเนเธอร์แลนด์ และคาบสมุทรไอบีเรีย
โครงการทั้ง 4 นี้ ไม่ได้ระบุยอดเงินที่ต้องจ่าย(ยกเว้นโครงการแรก) เพียงแต่ระบุว่า การวื้อกิจการทั้งหลาย จะ"มุ่งสร้างการเติบโตและมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืน ในขณะที่รักษาวินัยทางการเงินอย่างต่อเนื่อง"
การเติบโตปีนี้ ยังไม่รวมถึงการเริ่มดำเนินงานของโรงแยกก๊าซอีเทนไตรมาส 4 การสร้างโรงงาน PTA ที่โปรตุเที่เสร็จในไตรมาส 3
แล้วหากมองไปในอนาคต ยังมีโรงงาน Suape ที่บราซิลที่เริ่มดำเนินงานใน 3 ทำให้กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นต่ออีก 7% ในปี 2019 และโรงงาน Avgol ในอิสราเอลที่จะเริ่มดำเนินงานต้นปี 2019 แล้วยังมี โรงงาน Corpus Christi ที่จะเริ่มดำเนินงานในปี 2020 จะเห็นได้ว่า เส้นทางของความแข็งแกร่งของ IVL ยังรออยู่อีกมาก ไม่ได้หยุดแค่นี้
ปมประเด็นที่ต้องตั้งคำถามคือการใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลในการสร้างสินทรัพย์ ทำได้อย่างไรโดยไม่กระทบกับสภาพคล่องทางการเงินและไม่ก่อหนี้จนสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายอันตราย
คำตอบอยู่ในงบการเงิน
ทุนจดทะเบียนชำระแล้วล่าสุดของIVLคือ 5,411 ล้านบาท แต่กลับมีส่วนผู้ถือหุ้นสวยงามมากถึง 1.26 แสนล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับยอดหนี้สินรวม 1.58 แสนล้านบาท ถือว่าการก่อหนี้เพื่อสร้างสินทรัพย์ของ IVL มีวินัยอย่างมาก เพราะโดยพื้นฐานแล้วบริษัทก็มีอัตรากำไรสุทธิไม่สูงมากนัก
อัตรากำไรสุทธิล่าสุด 7.52 % ที่ถือว่าสูงสุดในรอบหลายปี ทำให้คำว่าวินัยทางการเงินมีความสำคัญมาก แม้ว่าสภาพคล่องของบริษัทล่าสุดจะยังโดดเด่น จากสินทรัพย์หมุนเวียน 1.01 แสนล้านบาท เทียบกับหนี้สินหมุนเวียน 6.7 หมื่นล้านบาท ทำให้อัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 1.3 เท่า
นอกจากนั้น กำไรสะสมที่มีอยู่ 6.09 หมื่นล้านบาท ก็ถือว่ายิ่งกว่าปลอดภัย
พื้นฐานดังนี้ ไม่น่าแปลกที่เสียงเชียร์ให้เก็บสะสม IVL ของนักวิเคราะห์จะดังเป็นทิศทางเดียวกัน ประเด็นคำถามอยู่ที่ว่า อนาคตของIVL ในยุคที่มรสุมของสงครามการค้ากำลังเริ่มปะทุจะยั่งยืนจนไม่ทำให้ธุรกิจสะดุดแบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อน จนกินเวลานานหลายปี
บางครั้งเสียงเชียร์ของนักวิเคราะห์ อาจจะไม่ใช่สัจธรรมเสมอไป
/////////////////////
ขอบคุณบทความจาก www.facebook.com/Share2Trade/
http://www.share2trade.com