กำแพงเวียงเจ็ดลิน ... ร่องรอยอารยธรรมเมืองเชียงใหม่

จุดศูนย์กลางเมืองเจ็ดลิน





เป็นเวียงโบราณ ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ
มีอายุประมาณ 1,500 – 1,600 ปี ก่อนเมืองหริภุญไชยและเมืองเชียงใหม่
กำแพงล้อมรอบเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร ไม่มีประตูเข้า
เมื่อจะเข้าไปต้องสร้างสะพานไม้ไผ่และเดินเข้าไป
จึงน่าจะเป็นเมืองที่ให้เฉพาะบุคคลสำคัญและกษัตริย์ได้พำนักอาศัยเท่านั้น
อาจเป็นศูนย์กลางการปกครองของลัวะ ซึ่งมีนาอยู่ด้านนอกเวียง
ร่องรอยของกำแพงและคูน้ำ ยังปรากฏให้เห็นใน ภาพถ่ายทางอากาศ Google Earth อย่างชัดเจน
เชื่อว่าคนสมัยโบราณได้นำหินภูเขา มาก่อสร้างเป็นแนวกำแพงเวียงเจ็ดลิน





เมืองส่วนใหญ่มักจะมีวัดเป็นศูนย์กลางของเมือง
แต่เวียงเจ็ดลินกลับใช้ตาน้ำผุด เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองเป็นตาน้ำผุด
ตาน้ำอยู่ใต้อาคารนี้





ตาน้ำอยู่ใต้พื้นด้านขวา





ด้านนี้เป็นบ่อที่ต่อออกมาจากตาน้ำ มีปลาตัวเล็ก ๆ ใช้เป็นดัชนีบอกความสะอาดของน้ำ





ต่อจากอาคารตาน้ำ ... จุดสีฟัาในรูป (อยู่ในเขตของปศุสัตว์ หรือที่ขายนมวัวแดง)
จะเห็นแนวเหมือง (ธารน้ำ) เล็ก ๆ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ
บรรจบกับคูน้ำรอบเวียงเจ็ดลิน และบางส่วนไหลต่ออกไปทางตะวันออกอีก
เห็นธารน้ำเล็ก ๆ บางทีขาด ๆ หาย ๆ ลอดใต้ถนนมั่ง เห็นแล้วใจหายเหมือนกัน





ตำนานว่า

เป็นเวียงของคนไทและลัวะที่ฤาษีดอยผาลาดชี้สถานที่ให้สร้าง
จากแผ่นจารึกดินเหนียวลัวะ เป็นอักษรรูปลิ่มโบราณ
ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2477 ขณะที่มีการก่อสร้างทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ
ในปี 2543 ได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบแผ่นดินเหนียวจารึก
พบว่าอยู่ ในช่วงอายุ 8,000 - 15,000 ปี ที่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์


ภาพจาก ... ค้นพบกำแพงหมื่นปีที่เชียงใหม่ - PaLungJit.org




ตำนานที่เกี่ยวข้องกับเมืองหริภุญไชย

จาก อ.จำเหลาะ สมจิตต์  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กล่าวถึงขุนหลวงวิลังคะ กษัตริย์องค์ที่ 13 ของ ระมิงค์นคร ราชวงศ์กุนาระ
ทรงมีอิทธิฤทธิ์และฝีมือในการพุ่งเสน่า (หอก)
ต้องการที่จะเอาพระนางจามเทวีมาเป็นมเหสี
แต่รบแพ้เพราะพระนางจามเทวีใช้กลยุทธ์ทำลายความขลัง
จึงได้ตรอมใจ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 1227 รวมอายุได้ 90 กว่าชันษา
พระนางจามเทวีได้นำพระธิคาของ ขุนหลวงวิลังคะ ไปแต่งงานกับพระโอรสแฝดทั้งสองของพระนาง
... อายุก็มากแล้วเนาะตอนจะติดต่อพระนางจามเทวีมาเป็นมเหสี ...



ประวัติศาสตร์ร่วมกับเมืองเชียงใหม่

พญามังรายได้เคยมาแวะพักทัพที่เวียงนี้ก่อนเข้าตีเมืองหริภุญไชย
เมื่อพญามังรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่ได้มาพักที่เวียงเจ็ดริน
นิมิตรเห็นฝูงหมูป่าจำนวนมากกำลังหากินอยู่บริเวณนี้
เมื่อเดินมาดู ฝูงหมู่ป่าก็วิ่งหนีหายไปต่อหน้าต่อตา
แต่มีหมูทองคำนอนอยู่บ่อน้ำ
พระองค์จึงสร้างวัดขึ้น ตั้งชื่อว่าวัดหมูบุ่น ... บุ่นภาษาเหนือ เป็นกริยา แปลว่า มุด
ปัจจุบันมีอีกชื่อว่า วัตโชติกุนสุวรรณาราม
เป็นวัดเดียวที่พบในเขตกำแพงเวียงเจ็ดลิน





ปัจจุบันมีการก่อสร้างอาคารหลายหลังในพื้นที่
ก่อนการปรับพื้นที่สร้างอาคารได้พบเศษอิฐสีแดงขนาดใหญ่ เศษกระเบื้องดินขอ กระจายอยู่มากมาย
ใกล้ ๆ วัดนี้ที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ มีร่องรอยของหลุมศพโบราณ
บึงที่เห็นอยู่ในส่วนทุ่งเลี้ยงสัตว์ ของปศุสัตว์ ในกำแพงเวียงเจ็ดริน





แนวคูเมือง ... ที่แห้งแล้ว ... ของเวียงเจ็ดรินที่ข้ามเข้ามายังวัด





ในสมัยพญาสามฝั่งแกนขึ้นครองเชียงใหม่ ... เมืองหลวงล้านนาขณะนั่น เมื่อ พ.ศ.1954 ต่อจากพญากือนา
เจ้ายี่กุมกามพระเชษฐาที่ครองเชียงราย ... เมืองลูกหลวง
ทรงไม่พอพระทัยที่พระอนุชาครองล้านนา จึงยกทัพมาเชียงใหม่
แต่สู้ไม่ได้จึงขอให้พระเจ้าไสลือไทยแห่งกรุงสุโขทัยมาช่วย
พระเจ้าไสลือไท มาตั้งทัพอยู่ที่เชิงดอยเจ็ดลิน แต่ช่วยไม่ได้จึงถอยทัพกลับไป
ภายหลังพญาสามฝั่งแกนสถาปนาเวียงเจ็ดลินขึ้นเป็นเวียงที่ประทับพักผ่อน



สมัยเจ้าท้าวลก (พญาติโลกราช) พ.ศ.1984
แต่งคนไปลอบเผาไฟเวียงเจ็ดลินที่พญาสามฝั่งแกนผู้บิดาประทับพักผ่อนอยู่
พญาสามฝั่งแกนหนีเข้าเมืองเชียงใหม่ก็ถูกท้าวลกจับตัวไว้ และบังคับให้ยกล้านนาให้ตนปกครอง
สมัยนี้ท่านได้บูรณะเวียงเจ็ดรินและวัดหมูบุ่น



สมัยพระนางจิรประภา มเหสีของพญาเกสที่ถูกปลงพระชนม์เพราะฟั่นเฟือน
พระไชยราชา กษัตริย์แห่งอยุธยายกทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่
พระนางจิรประภามหาเทวีได้ยอมอ่อนน้อมต่อสมเด็จพระไชยราชา
พระองค์ได้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศพระเมืองเกษเกล้าร่วมกับพระมหาเทวี ณ วัดโลกโมฬี
และได้เสด็จมาสรงน้ำที่เวียงเจ็ดลิน



สมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์ พ.ศ.2369-2389
เสด็จออกไปย้ายเคราะห์ที่เวียงเจ็ดลิน



พ.ศ.2459-2468 ใช้พื้นที่เวียงเจ็ดลินเป็นที่ตั้งของโรงเรียน มหาดเล็กหลวง
ต่อมาเป็นที่ราชพัสดุให้ส่วนราชการเช่น
ศูนย์ราชการกรมปศุสัตว์ ส่วนราชการกรมป่าไม้ และ วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ


มาสำรวจแนวกำแพงเมืองเจ็ดลิน
จากวัดหมูบุ่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงเจ็ดริน เวียนทวนเข็มนาฬิกา
ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี 2557

ซ้ายมือเป็นแนวกำแพงเวียงเจ็ดริน













กำแพงเวียง
อยู่ตรงข้ามอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ที่ห้วยแก้ว ... หลังที่ทำการ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย





ลงต่อมายังถนนห้วยแก้ว เชิงดอยสุเทพ





เดินเข้าไปสำรวจที่ขอบอ่างแก้ว ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่









คูน้ำของเวียง ต่อมาจากสวนสัตว์เชียงใหม่ อ้อมหลังสวนรุกขชาติ





ต่อมายังถนนห้วยแก้ว ฝั่งสวนรุกขชาติ









เข้าไปใน ม.ราชมงคลล้านนา

















กำแพงเหลืออยู่ถึงแค่ตรงนี้





คูน้ำสุดที่สะพานเข้า ม.ทิศตะวันออก





ได้กลับมาเยือนถิ่นเก่า













แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่