วัดที่สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา ... วัดเจดีย์หลวง

กาลครั้งหนึ่ง
ในวันพระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันพระใหญ่
ศรัทธาวัดและครอบครัว รวมทั้งบ้านเรา จะนำอาหารไปทำบุญที่วัดเจดีย์หลวง

ภายในวิหาร
ข้างหน้าต่างซ้ายมือของวิหาร มีตู้ไม้เตี้ย ๆ ยาว ๆ
ในตู้มีจาน ชาม ถาด ช้อนส้อม จัดใส่อาหารเตรียมเรียบร้อยก็วางบนหลังตู้เตรียมถวายพระ
ราวสิบโมงเช้า จะเริ่มทำวัตร เทศนา ถวายภัตตาหารเพล
หลังประเคนเรียบร้อย แต่ละบ้านจะตักแบ่งกับข้าวที่เหลือในหม้อ
จัดสำรับ รับประทานอาหารร่วมกัน ... เป็นอาหารที่รสเลิศที่สุดในสามโลก





ตำนานเล่าว่า

ในสมัยพญาแสนเมืองมา รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย
พ่อค้าที่ไปเมืองพุกาม ได้มาพักที่ใต้ต้นนิโครธ
ต้นที่พระเจ้ากือนาเป็นรุกขเทวดารักษาอยู่
รุกขเทวดานั้นจึงฝากความไปถึงพระเจ้าแสนเมืองมาพระโอรสว่า
พระองค์ไปเกิดในสวรรค์ไม่ได้
ให้พระเจ้าแสนเมืองมาสร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งที่กลางเมือง
สูงพอที่คนอยู่ไกล 2000 วา มองเห็น แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้
จะได้ไปเกิดบนสวรรค์





พญาแสนเมืองมาจึงโปรดให้
ถางที่บริเวณกลางเมือง ทางใต้ของคุ้ม
สร้างต้นโพธิด้วยเงิน ใบโพธิด้วยทองสูงเท่าพระองค์
หล่อพระพุทธรุปทำด้วยทององค์หนึ่งและเงินองค์หนึ่งประดิษฐานที่ใต้ต้นโพธิ
แต่งเครื่องบูชาแล้วก่อเจดีย์ครอบไว้ แต่ไม่แล้วเสร็จ พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคต

พญาสามฝั่งแกนโอรสพญาแสนเมืองมา ขึ้นครองล้านนาด้วยพระชนมายุ 13 ชันษา
พระนางติโลกะจุดามหาเทวี มเหสีพญาแสนเมืองมา จึงเป็นเป็นผู้สำเร็จราชการ
ได้ก่อสร้างมหาเจดีย์หลวงต่ออีก 5 ปีจึงแล้วเสร็จ
เป็นเจดีย์สูง 39 วา มีซุ้มโขง 4 ด้านพระดิษฐานพระพุทธรูป ปะดับลวดลายนาค 5 เศียร
มุมทั้งสี่มีรูปปั้นราชสีห์
ในเดือนสิบ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พ.ศ. 1954 พระนางติโลกะจุฑา ได้ทรงกระทำพิธีปก(ปิด)ยอดเจดีย์ด้วยทองคำ ประดับรัตนมณีไว้บนยอดพระเจดีย์
เรียกว่ากู่หลวง สามารถมองเห็นในระยะ 5 พันวาอย่างชัดเจน

ในสมัยพระเจ้าติโลกทรงโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต หรือสิงหโคต
สร้างปราสาทอยู่ตรงกลางเจดีย์หลวง
ทำบันไดบันไดนาค 5 เศียร ทั้งสี่ด้านรวม 8 ดัว
ขยายฐานทำเจดีย์สูงขึ้นถึง 50 วา มองเห็นได้ในระยะ 6000 วา





มีช้างแปดตัว ใส่ยันต์ลงในหัวช้าง
นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน)
เวียนมาตามทิศตะวันออก มีดังนี้
เมฆบังวัน (เกิดอาเพธท้องฟ้ามืดมิด ศัตรูตกใจ)
ข่มพลแสน (ข่มให้ศัตรูไม่อาจครองสติ ระส่ำระสาย)
ดาบแสนด้าม (มีดาบเป็นแสนก็สู้ไม่ได้)
หอกแสนลำ (หอกแสนเล่ม ... ลำ)
ก๋องแสนแหล้ง (ปืนแสนกระบอก)
หน้าไม้แสนเปียง
แสนเขื่อนก๊าน (ช้างแสนเชือกแพ้)
ไฟแสนเต๋า (ร้อนเหมือนมีเตาไฟแสนเตา)

จากร่องรอยพบว่ามีช้างทั้งหมด 28 ตัว
ตัวเดียวที่เหลืออยู่คือทางด้านทิศใต้





มีอุโมงค์เชื่อมช้างทั้งแปดและขึ้นไปยังยอด
โดยก่อเจดีย์ครอบอุโมงค์ขึ้นไป
ในอุโมงค์ ใส่ยนตร์ผัดและยนตร์ฟันไว้ ... ป้องกันการบุกรุก อย่าได้เข้าไป
ทางเข้าอโมงค์ปัจจุบันอยู่ใต้นาคตัวซ้ายของเจดีย์ด้านทิศเหนือ

ตำนานว่ามีทางลับไปออกที่ถ้ำเชียงดาวได้
พี่ชายบอกว่า ลองไปมุดดูแล้ว แคบ ๆ อึดอัดน่ากลัว มุดไปนิดเดียวก็ออกมา
คุณอาเพื่อนยุวชนทหารของคุณพ่อบอกว่า มุดเข้าไปแล้วไม่มีอะไร ที่ว่าไปโผล่ถ้ำเชียงดาว ขี้จุ๋





เรือนธาตุสี่เหลี่ยม
ประตูโขงปิดเปิดได้ทั้งสี่ด้าน
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป






ด้านทิศตะวันออกเคยประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากลำปาง
ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วหยกเชียงใหม่ ... พระพุทธเฉลิมสิริราช





ซุ้มจระนำประดับปูนปั้นลายพรรณพฤกษา
(ด้านทิศตะวันตก)





ประดับยอดด้วยลูกแก้วสามดวง ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
เอาทองคำแท่งมาตีเป็นทองจังโกครอบลงมายอดเจดีย์ได้ 27 วา
แผ่นทองจังโก ตะปู เศียรพระพุทธรูป ประทีบดินเผา
จัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดเจดีย์หลวง









สมัยพญายอด
ปิดทองซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน บูชาตามประทีบ ครองได้ 9 ปีก็สละราชสมบัติให้พญาแก้ว

สมัยพญาแก้ว
บูรณะทองจังโก
สร้างปราสาทประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่อัญเชิญลงมาจากเจดีย์

ต่อมาสมัยพระมหาเทวีจิระประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย
เกิดฝนตกหนัก และแผ่นดินไหว
ทำให้ส่วนยอดของเจดีย์หักพังเหลือเพียงครึ่งองค์
และเกิดรอยร้าวที่ไม่สามารถแก้ไขได้จึงถูกทิ้งมานานถึงสี่ร้อยกว่าปี



เจดีย์ในปัจจุบัน

สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ อยู่ในสมัยพระเจ้าติโลก
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมสองชั้น
ฐานบัวคว่ำ บัวหงาย
ฐานกระดาน โดยรอบมีช้างล้อม รูปปั้นช้างประดับครึ่งต้ว ... 28 เชือก
อิทธิพลลังกา เชื่อว่าช้างเป็นผู้ค้ำจุนจักรวาล





เรือนธาตุสี่เหลี่ยมยกเก็จ ตรงกลางมีซุ้มโขง ประดับด้วยปูนปั้น
บัวถลาสี่เหลี่ยมยกเก็จลดหลั่นสามชั้น
ฐานแปดเปลี่ยมลดหลั่นสามชั้น ... บูรณะสมัยพญาแก้ว เพื่อรับองค์ระฆัง

ซุ้มโขงประตูทั้ง 4 ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขง
บันไดพญานาค 5 หัว ปั้นเต็มตัว 8 ตัว อยู่ใน 2 ข้างบันได





เจดีย์ราย ของพระเจดีย์อยู่สองข้างของพระวิหาร




เจดีย์รายทิศเหนือ





เจดีย์รายทิศใต้





กู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของวัด





วิหารหลวงปู่มั่น เป็นวิหารล้านนา สร้างขึ้นตรงที่เดิมที่เคยเป็นกุฏิหลวงปู่มั่น





ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่มั่นและพระอัฐิธาตุ





วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์









ด้านหลังหลวงตามหาบัว เป็นอัฐิธาตุของบูรพาจารย์





วิหาร

















โบสถ์เก่า

สร้างปี 2426 ปฏิสังขรณ์ปี 2491
ได้ถอนเสมาไปที่พระวิหาร ปี 2518
โบสถ์หลังเก่าจึงปฏิสังขรและอนุรักษ์ไว้เมื่อปี 2540













กุฏิเจ้าแก้วนวรัฐ สร้างถวาย





พระวิหาร

สร้างขึ้นทางทิศตะวันออกของพระเจดีย์ในพระนางติโลกะจุดามหาเทวี
พร้อมทั้งให้หล่อพระประธาน คือ พระอัฏฐารส และพระโมคคัลลา พระสารีบุตร พระสาวก
ประดิษฐานไว้ในวิหารหลวง
ทำการฉลองสมโภชพระธาตุเจดีย์หลวง พระวิหาร พระอัฏฐารส และวัดเจดีย์หลวง ในคราวเดียวกัน

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนวิหารวัดเชียงมั่น
พ.ศ. 2471 เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจนฺโท) และ เจ้าแก้วนวรัฐได้บูรณะขึ้นใหม่
หน้าบันของหลังคาทั้งสองชั้นเป็นรูปช้างเอราวัณ แกะด้วยไม้ลงรักปิดทอง













และนี่ก็ได้รับการบูรณะอีกครั้ง ... ถึงว่าไม่คุ้นตาเราเลย





บันไดมกรคายนาค
หางนาคเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร





พระประธานในพระวิหารหลวง พระอัฎฐารส
เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก
พระโมคคัลลา พระสารีบุตร





บ่อน้ำโบราณของวัด อยู่ทางทิศใต้ของพระเจดีย์









สารบัญที่นี่ค่ะ https://pantip.com/topic/36574038
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่