มัมมี่เกลือในอิหร่าน



ที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน
ใกล้กับหมู่บ้าน Hamzehli Mehrabad
และ Chehrabad ในจังหวัด Zanjan
มีเหมืองเกลือที่เป็นโดมขนาดใหญ่
ในภูมิประเทศที่เป็นหินโดยรอบ
โดมเกลือนี้ประกอบด้วยกองหินเกลือ
ซึ่งมียิปซั่ม ดินเหนียว และหินเกลือ
อยู่ในช่วงยุค Miocene
ราว 5-23 ล้านปีที่ผ่านมา
ผลการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา
และขาดพื้นผิวดิน/หินปกคลุมด้านบน
ทำให้แหล่งเกลือที่อยู่ใกล้พื้นผิวดินมาก
จนทำให้สามารถทำเหมืองเกลือได้ง่าย ๆ
เหมืองเกลือหลายแห่งที่นี่
ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว

ในปี 1994 ช่วงหนึ่งของการทำเหมืองเกลือ
คนงานเหมืองเกลือได้พบกับหัวคนขาด
ที่เห็นได้ชัดว่ามีอายุมากแล้ว
เกลือทำให้หัวแห้งและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
ที่บริเวณหูมีรอยเจาะพร้อมกับต่างหูทองคำ
ศีรษะมีผมยาว หนวด เครา รุงรัง

ผลการขุดค้นเพิ่มเติมทางโบราณคดี
ทำให้พบชิ้นส่วนร่างกายที่ขาดหายไป
เช่น ขาที่ยังคงสวมรองเท้าบู๊ตหนัง
ทีมงานยังค้นพบ มีดเหล็ก 3 เล่ม
กางเกงขนสัตว์ เข็มเงิน สลิง(ที่ขว้างหิน)
ชิ้นส่วนของเชือกหนังขว้างหิน
หินขัด(ลับให้คม) ลูกวอลนัท
เศษเครื่องปั้นดินเผา เศษชิ้นส่วนสิ่งทอ
ที่มีลวดลาย และเศษกระดูกหัก

ในปี 2004 มีการค้นพบมัมมี่ร่างที่ 2
จึงเริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ
และอีก 6 ปีต่อมาค้นพบอีก 4 ศพ
ทำให้พบมัมมี่เกลือรวม 6 ศพ
ทั้งนี้การขุดค้นโบราณคดีในพื้นที่
ได้รับทุนวิจัย/อุดหนุนจากเยอรมันนี
.
.
.
มัมมี่เกลือหมายเลข 4 รักษาสภาพเป็นอย่างดี Cr : DBM/RUB, K. Stange
.
.


มัมมี่เกลือรายแรก
ผลตรวจสอบคาร์บอนได้ราว 1,700 ปีก่อน
อยู่ในช่วง Sasanian Empire
ยุคที่มีอารยธรรมสูงสุด
มัมมี่เกลือรายที่ 2  
ผลตรวจสอบคาร์บอนได้ราว  1,500 ปีก่อน
มีอายุร่วมยุคกับศพมัมมี่เกลือรายแรก
แต่มัมมี่เกลือรายที่ 3 4 5
น่าจะมาจากในยุคที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
แต่มัมมี่ทุกรายมีอายุประมาณ 2,200 ปี
ซึ่งเป็นยุคสมัย Achaemenids
จักรวรรดิแรกสุดของเปอร์เซีย
นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า
มัมมี่ทุกราย คือ เหยื่อของเหมืองเกลือถล่ม

มัมมี่/ข้าวของในเหมืองเกลือ
รักษาสภาพไว้เป็นอย่างดี
ทำให้นักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์
มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ ชีวิตคนงาน
อาหารการกิน แหล่งที่มา สภาพการทำงาน

ตัวอย่างเช่น หนึ่งในมัมมี่ 2,200 ปี
มีไข่พยาธิตัวตืดในลำไส้ของมัมมี่
แสดงว่ามัมมี่รายนี้กินเนื้อดิบหรือสุกแล้ว
นี่คือกรณีตัวอย่างแรกของปรสิต
ในสมัยโบราณของเปอร์เซีย
และเป็นหลักฐานชิ้นแรกของปรสิต
ในลำไส้เล็กบนดินแดนแห่งนี้

มัมมี่รายแรกมีลักษณะกระดูกหัก
รอบดวงตา และร่องรอยเสียหายอื่น ๆ
ที่เกิดขึ้นก่อนตายเพราะถูกทุบที่หัวอย่างแรง
ต่างหูทองคำ รองเท้าหนังที่สวมใส่ไว้
สันนิษฐานว่า มัมมี่รายนี้
เป็นพวกชนชั้นนำที่มีระดับ
แต่การพบมัมมี่ในเหมืองเกลือนี้
ยังเป็นเรื่องลึกลับ เพราะอาจจะถูกฆ่า
แล้วนำศพมาทิ้งไว้ที่นั่น
หรือว่าเคราะห์ร้ายจากเหมืองเกลือถล่ม
.
.


เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/UeCeSd
https://goo.gl/pm9pfY
https://goo.gl/mwT3fG
https://goo.gl/umQvSY

.
.
.
.
พื้นที่เหมืองเกลือ Douzlakh
ใกล้ Chehrābād ในจังหวัด Zanjān
.
.
รองเท้าบูทของมัมมี่เกลือในเหมืองแร่
พร้อมกับชิ้นส่วนขาคาอยู่ในรองเท้า
ที่  National Museum of Iran ใน Tehran
.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.
มัมมี่เกลือรายแรก
ที่ค้นพบในเหมืองเกลือช่วงปี 1994 CE
ที่ Zanhan National Museum of Iran Tehran
.
.
มัมมี่เกลือรายที่  2
.
.
มัมมี่เกลือรายที่  3
.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.
มัมมี่เกลือรายที่  4
.
.
มัมมี่เกลือรายที่  2  จากเหมืองเกลือ  Zanjan
ที่  Zanjan Musem
.
.

.
Maryam Mirzakhani สตรีนักคณิตศาสตร์ระดับโลก
.
.

.
อิหร่านประกาศว่าสร้างเจ้าพ่อระเบิด FOAB ขนาดเล็กได้แล้ว
.
.

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ.
2+2=5 | Two & Two  
Nominated as Best Short Film
Bafta Film Awards, 2012
.
.

ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้เป็นภาษาเปอร์เซีย/ฟาร์ซี
ผู้กำกับ นักแสดง เป็นลูกหลานชาวอิหร่าน
ในสหรัฐอเมริกาสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้าน
รัฐบาลเผด็จการอิหร่าน มีนัยว่า
คุก ทหาร ศาล ตำรวจ โรงเรียน โรงพยาบาลบ้า
คือ เครื่องมือกดขี่/การปกครองของรัฐ  
ตามนิยามมิเชล  ฟูโก
.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ


นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมเปอร์เซีย/อิหร่าน
ระบุว่าชาติตนถูกข่มขืนมาแล้ว 2 ครั้ง
ครั้งแรกโดยมหาโจรอเล็กซานเดอร์จากกรีก
ครั้งที่สองโดย Caliph Umar ชนเผ่าอาหรับ
พร้อมกับศาสนาอิสลาม นิกายสุนนี
ทำให้เปอร์เซียมีภาษากรีก/อาหรับปะปนอยู่
และถือว่าพวกตนเองมีอารยธรรมเหนือกว่า
พวกมายึดครองดินแดนอิหร่าน

เรื่องนี้จึงมีนัยแฝงเร้นว่า
อิหร่านแม้ว่านับถือศาสนาอิสลาม
แต่ยังแยกนิกายชีอะห์ออกจากนิกายสุนนี
แบบไม่ยอมรับหลักการนิกายสุนนี
ที่พวกอาหรับส่วนมากนิยมนับถือกัน
ทำให้พวกอิสลามนิกายสุนนีประณามว่า
พวกอิสลามนิกายชีอะห์เป็นพวกนอกรีต
จนเป็นสาเหตุบาดหมาง/รบกันมาโดยตลอด

อิหร่านยังให้ความคุ้มครองพวกชนกลุ่มน้อย
ที่ยังนับถือศาสนาไซโรอัสเตอร์
ศาสนาแรกของโลกของชนเผ่าฟาร์ซีดั้งเดิม

ในยุคแรกชนเผ่าฟาร์ซี
ต้องหลบหนีการกดขี่ด้วยดาบและภาษี
เพื่อให้เปลี่ยนศาสนาจากพวกมุสลิมสุดโต่ง
โดยเดินทางจากเปอร์เซียจนถึงแคว้นคชรัฐ
เจ้านครรัฐไม่อยากต้อนรับพวกนี้อีกแล้ว
เลยบอกขับไล่เป็นนัย ๆ
ด้วยการเติมนมจนเต็มอ่างทองเหลือง
มีนัยว่าที่นี่มีคนมากพอแล้ว เพิ่มคนไม่ได้อีกแล้ว

ผู้นำตระกูล Tata จึงนำน้ำผึ้งหยดลงไปผสม
แล้วคนหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นัยว่าจะผสมผสานกลมกลืนกับคนที่นี่ได้
เลยได้ตั้งรกรากทำมาหากินในอินเดีย
จนถึงทุกวันนี้ ครอบครัว Tata
เป็นนักธุรกิจระดับเจ้าพ่ออุตสาหกรรม
ทั้งยังนับถือศาสนาไซโรอัสเตอร์
เวลาตายจะให้แร้งกินศพ
แทนการฝังหรือเผาศพ
โดยมีสุสานของพวกตนเองในอินเดีย
มีใน  ฟากฟ้าฝังศพ
.
.

จุฬาราชมนตรีท่านแรกของไทย
แต่งตั้งในสมัยพระเจ้าทรงธรรม
เพื่อดูแลกรมท่าขวาในการค้าขายทางเรือ
กับควบคุมกำกับดูแลคนมุสลิมทั้ง 2 นิกาย

ท่านแรกคือ เฉกอะหมัด (เฉก=ชีค)
เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์
มาจากเมืองกูนี (Gūnī) เปอร์เซีย/อิหร่าน
เป็นต้นตระกูล บุนนาค ในไทย
แต่เดิมเชื่อว่ามาจากเมืองกุม Qom
เคยมีคนไทยไปค้นหาต้นสกุลที่นี่
แต่ชาวบ้านแถวนั้นไม่รู้จัก
เพราะไม่มีตำนานเล่าขานว่า
เคยมีคนอิหร่านมาสร้างชื่อเสียงไว้ที่เมืองไทย

เฉกอะหมัดเดินทางมาค้าขายที่เมืองไทย
พร้อมกับเฉกสะอีด น้องชายท่าน
ตั้งแต่ปลายสมัยพระเอกาทศรศ
พระอนุชาพระนเรศ(ชื่อตามประวัติศาสตร์พม่า)
ได้ตั้งรกรากและมีภริยาเป็นชาวไทย

ต่อมา เฉกสะอีดกลับไปตายที่บ้านเกิด
หลังจากนั้นไปไม่นานนัก อากามหะหมัด
บุตรชายเฉกสะอีดก็เดินทางกลับมาเมืองไทย
แล้วเข้ารับราชการในสมัยพระนารายณ์มหาราช
ตอนนั้นเฉกอะหมัดยังอยู่แต่ชราภาพแล้ว

ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สายสกุลบางคนเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
เพราะอยากตามเสด็จใกล้ชิดเจ้านาย
และไปไหว้พระพุทธบาทที่สระบุรี
แต่บางสายสกุลยังเป็นมุสลิมนิกายชีอะห์

ในสมัยต้นรัชกาลที่ 1
มุสลิมชีอะห์บางส่วนเริ่มเปลี่ยนเป็นมุสลิมสุนนี
แม้ว่าสายสกุลนับถือศาสนาต่างกัน
แต่ยังนับญาติกัน และมีที่รวมญาติพี่น้อง
สายพุทธที่ วัดบุปผารามวรวิหาร
สายอิสลามที่ มัสยิศต้นสน
รวมญาติทุกฝ่ายเป็นงานประจำปี
ที่ฝังศพเฉกอะหมัด  ต้นตระกูลบุนนาค
ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
.
.

จุฬาราชมนตรีไทยดูแลทั้งประเทศ
ในมาเลเซียแต่ละรัฐที่มีสุลต่าน
จะมีจุฬาราชมนตรีแต่ละรัฐเอง

จุฬาราชมนตรีไทย
สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
เป็นตำแหน่งพระราชทาน
ปู่ของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เป็นจุฬาราชมนตรีท่านสุดท้าย
ที่เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์

หลังจากนั้นเป็นต้นมา
จุฬาราชมนตรีไทย
จะเป็นมุสลิมนิกายสุนนี
เพราะมีจำนวนผู้นับถือมากที่สุด
และผ่านจากระบบเลือกตั้ง
.

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://goo.gl/9TDBIs
https://goo.gl/pmWbB1

.
.

.
.

สุลต่านซุไลมาน เป็นมุสลิมชีอะห์
แต่บางท่านว่าเป็น มุสลิมสุนนี
อดีตเจ้านครรัฐสงขลา  
ต้นสกุล ณ พัทลุง ศรียาภัย ณ ป้อมเพ็ชร ฯลฯ
เคยรบชนะอโยธยา นครศรีธรรมราช

สุสานสุลต่านสุไลมาน
ใกล้ทางเข้าคลังน้ำมัน ปตท. สิงหนคร สงขลา
ชาวบ้านเรียกกันว่า มรหุ่มสุลต่านซุไลมาน
คือ เรียกให้เป็นเกียรติแทนคำว่า กูโบร์
(ที่ฝังศพชาวมุสลิมทั่วไป)
คนในพื้นที่จะเรียกท่านด้วยความเคารพว่า
ทวดหุม หรือ ทวดหุ่ม

มรหุ่ม มรโหม  สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า
อัล-มาร์ฮุม ในภาษาอารบิก
เป็นคำยกย่องผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว คือ
ผู้ที่ไปสู่พระกรุณาของพระอัลเลาะห์

ทวด ในภาษาภาคใต้
มีนัยนอกเหนือจาก พ่อแม่ ของ ปู่ย่าตายาย
คือ บุคคลที่ได้รับความเคารพอย่างสูงสุด
เพราะเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ มีคุณงามความดีมาก
เช่น หลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ ทวดเกาะยอ
บางครั้งก็คือ สัตว์ที่มีอายุมาก หนังเหนียว
ยิงไม่เข้า มีขนาดใหญ่โตมากเป็นที่น่ากลัว
น่าเกรงขามมาก เช่น ทวดช้าง ทวดงูเห่า
ทวดบ้องหลา(งูจงอาง) ทวดฟาน(เก้ง)
ทวดหมูป่า ทวดปลวก
ถ้าต้นไม้ เช่น ทวดตะเคียน ทวดไทร เป็นต้น
.
.

ทวดโค้งปราบเซียน
ที่ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
เพราะมีคนตายมาร่วม 100 ศพแล้ว
ตั้งแต่สร้างถนนยุคแรก ๆ

จะทิ้ง=ชัก/ลาก เปรี๊ยะ=พระ
(เปรี๊ยะวิเฮียร์ พระวิหาร)
แถวทะเลน้อย ทะเลน้ำจืด (ทะเลสาบสงขลา)
ยังมีประเพณีชักลากพระทางน้ำด้วยเรือ
หลังวันออกพรรษาแล้ว
วัดนี้เดิมติดทะเล ก่อนหาดทรายงอก
ออกไปจนวัดไกลจากทะเลมากแล้ว
จากการขุดชั้นดินที่วัด
ตรวจสอบตอนบูรณะพระเจดีย์
มีร่องรอยคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ 1,320 คำ
ดุษฏีนิพนธิ์ของ เปรมินทร์ คาระวี
.
.

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ประเทศอิหร่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่