สงสัยคำว่า "ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน"

1. ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ร่องมรสุมผ่านไทย แต่ทำไมฝนตกน้อยแทบไม่มี และยังมีอากาศร้อนอบอ้าวอยู่มาก เหนียวตัว ความชื้นสูง ถึงขั้นนอนถอดเสื้อ เปิดพัดลมแรงสุด (เปิดแอร์ เปลืองไฟครับ)

2. ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม "ร่องมรสุมผ่านตอนใต้จีน ทำให้ไทยเกิดฝนทิ้งช่วง" และอากาศคลายความร้อนลง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำฝนทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมไทย คำกล่าวนี้จริงหรือไม่ครับ

3. ในเดือนสิงหาคม-กันยายน "ร่องมรสุมผ่านไทยอีกครั้ง" ฝนตกชุก น้ำเยอะ แต่คราวนี้ ไม่ร้อนเหมือนเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นเพราะอะไรครับ ทั้งที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมเหมือนกัน หรือว่าะมีมรสุมตะวันเฉียงใต้บวกร่องความกดอากาศตัดผ่าน คำกล่าวนี้จริงหรือไม่ครับ (ข้อนี้ ขอคำอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ มันขัดกันยังไม่รู้)

4. ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน "ร่องมรสุมตัดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และความกดอากาศสูงจากจีนเริ่มแผ่ปกคลุมภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย" ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกต่อไปถึงปลายปี ส่วนภาคอื่นของไทยเริ่มมีฝนลดลง แต่เป็นฝนแนวปะทะ(ลมเหนือมาปะทะกับลมตะวันตกเฉียงใต้) และทำให้อากาศเย็นลง คำกล่าวนี้ จริงหรือไม่ครับ

5. ในเดือนธันวาคม-มกราคม ประเทศไทยเกือบทุกภาค อากาศหนาวเย็น ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนบ้าง เพราะอิทธิพล "ร่องความกดอากาศต่ำยังปกคลุมแถบมาเลเซีย-อินโดนีเซีย" ส่วนภาคอื่นเจอความกดอากาศสูงปกคลุม ทำให้ไม่มีฝน แต่บางครั้ง เดือนมกราคม กลับมีฝนตก เป็นเพราะลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นอ่าวไทยขึ้นมา หรือที่เรียกว่า ฝนช่อมะม่วง แปลว่า อากาศจะกลับมาเริ่มร้อนแล้วล่ะ คำกล่าวนี้ จริงหรือไม่ครับ

6. ในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม อากาศจะกลับมาร้อนอีกครั้ง เพราะ L กำลังมา คราวนี้ร้อนอบอ้าวสุดๆ เพราะ L ปกคลุมไทยหรือไม่ ปกลุมอย่างไร และไม่มีร่องความกดอากาศต่ำนิครับ ฤดูฝนของจริงยังไม่มาเลย แต่บางครั้งก็มีพายุฤดูเข้า เนื่องจากความกดอากาศสูงแผ่ลงมาบางครั้ง ทำให้เกิดฝนแนวปะทะ และอากาศคลายความร้อนลง แต่ซักแปป ก็จะร้อนเหมือนเดิม คำกล่าวนี้ จริงหรือไม่ครับ

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ผมขอตอบแบบรวม ๆ ไปเลยนะครับ  จะได้เข้าใจ Model สภาพอากาศ

   การอธิบายเรื่องนี้  ขอเริ่มด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงฤดูร้อนก่อนครับ
ในช่วงฤดูร้อน  โลกจะหันซีกโลกเหนือในบริเวณประเทศไทยเข้าหาดวงอาทิตย์แบบเต็ม ๆ
ทำให้ แผ่นดิน ในซีกโลกเหนือร้อน  อากาศเหนือพื้นดินส่วนนี้จะยกตัวขึ้น โดยมันจะ
ยกตัวขึ้นทั้งแถบแนวนอนที่รับพลังงานเต็ม ๆ ครับ  แถบที่อากาศยกตัวนี่เองเรียกว่า ร่องความกดอากาศต่ำ (ITCZ)

... และเมื่อสภาวะนี้ดำเนินผ่านไปจากเดือนเมษายน  จนถึงประมาณเดือนพฤษภาคม (Lack ไป 1 เดือน)  
ก็จะเริ่มเกิดปรากฏการณ์ ลมมรสุมเปลี่ยนทิศ  โดยมวลอากาศจากทะเลที่มีความชื้นสูงพัดเข้ามา
แทนที่มวลอากาศที่ยกตัวขึ้น  ลมที่พัดเข้ามาแทนที่ นี้  เรียกว่า ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ครับ  
และจากการที่มันหอบเอาความชื้นจากทะเลสู่แผ่นดินนี้เอง  ทำให้เกิดการก่อตัวของเมฆได้ ง่าย และ มาก  
ทำให้ฝนตกได้ มาก และ บ่อย  ..... นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูฝน  โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยา
ได้ยึดถือตามการเปลี่ยนทิศของลมมรสุม นี้  เป็นการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนครับ


ในภาพข้างบนนี้  เรียกว่าร่องความกดอากาศต่ำ (Intertropical Convergence Zone : ITCZ)  
ร่องความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณของโลกที่ได้รับความร้อนสูงจากดวงอาทิตย์  
ทำให้ แถบ ของพื้นที่บนโลกที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมาให้นี้  เกิดความร้อนสูง  
ทำให้อากาศบริเวณนี้ ยกตัว ขึ้นไปเนื่องจากความร้อน  ส่งผลให้ แถบ หรือ ร่อง นี้  
มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากอากาศขยายตัว

และเมื่อเกิดร่องความกดอากาศต่ำนี้ขึ้น  ทำให้อากาศด้านข้างแถบนี้ทั้งสองข้างเกิดการวิ่งเข้ามาแทนที่
กลายเป็นความแปรปรวนของมวลอากาศ  ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของเมฆที่มีความชื้นสูงอย่างหนาแน่นมาก
ในบริเวณร่องนี้ครับ  นี่เอง  ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ให้ฝนตกหนักบริเวณที่ร่องความกดอากาศพาดผ่านครับ

ร่องความกดอากาศต่ำ นี้  ปกติแล้วจะมีความกว้างประมาณ 350 - 420 กิโลเมตร ครับ

จากภาพบนนี้  เส้นในแนวนอนที่มีชื่อเดือนกำกับ คือ แนวของ ITCZ ที่เลื่อนไปตามแต่ละเดือนครับ
ปกติร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม
แต่จะส่งผลให้เกิดฝนตกชุกตั้งแต่ช่วงพฤษภาคมเป็นต้นไป  ซึ่งเป็นช่วงที่ร่องนี้เคลื่อนมาถึงตอนกลางของประเทศ
และเมื่อถึงเดือนมิถุนายนก็ไปพาดแถวตอนเหนือของประเทศไทย  .... และประมาณเดือนกรกฎาคมร่องนี้จะเคลื่อนไป
อยู่ทางตอนเหนือสุดของเวียดนามและทางใต้ของจีนพักหนึ่ง  ก่อนจะเริ่มเคลื่อนกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในระหว่าง
เดือน สิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม

ปรากฏการณ์เช่นนี้เอง  ที่ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน
โดย ฝนจะ ทิ้งช่วง ไปพักหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม  และกลับมาตกชุกจนถึงตกหนักอีกครั้งตั้งแต่
เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป .... จนสุดท้ายเมื่อจะสิ้นสุดฤดูฝน  ร่องความกดอากาศต่ำ นี้  ก็จะ
เลื่อนลงไปอยู่แถว ๆ ทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ  และจุดนี้ก็จะเริ่มต้นฤดูหนาวของไทยครับ

การที่ร่องความกดอากาศต่ำ  เลื่อนไปมาแบบนี้ตามแนว Latitude ของโลก
เพราะเป็นแนวที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมาให้ตามการโคจรของโลก
ในแบบที่เอียงแกนโลก 23.5 องศา  ทำให้เกิดกลไกที่อธิบายไปแล้วครับ

ตอบคำถาม จขกท. (ขอใส่ Spoil ใว้ครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่