
!SPOILER ALERT!
.
.
.
.
.
หญิงชุดดำ หน้าตา กริยา ท่าทางของเธอราวกับถูกทอดแบบออกมาจากตัวร้ายในละครหลังข่าว และแม่ของเธอที่เจ็บป่วยกระทันหันด้วยอาการปวดท้องเฉียบพลัน เธอนอนดิ้นทุรนทุรานประหนึ่งใจจะขาด ใบหน้าที่บิดเบี้ยว เสียงโอดครวญ ไม่ว่าใครพบเห็นคงตัดสินโดยพลันเลยว่าอาการเธอไม่สู้จะดีนัก และคงต้องการได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน
ลูกสาวด้วยความวิตกกังวลเข้าแจ้งพยาบาลถึงอาการของแม่ด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ พยาบาลเริ่มสักประวัติและวัดสัญญาณชีพ ผลปราฏว่าปกติดี พยาบาลแจ้งว่าตอนนี้หมอติดเคสเร่งด่วน จึงไม่อาจมาพบคุณแม่ของเธอได้ในตอนนี้
เวลาผ่านไป ลูกสาวเฝ้ารอการมาของหมอพร้อมๆกับอารมณ์ขุ่นเคืองที่เพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันเป็นการรออย่างหวังลึกๆ ว่าหมอจะมาหา แต่ในขณะเดียวกันมันก็เปนการรอที่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรอ และอาการปวดของแม่เธอไม่เร่งด่วนแตกต่างจากเคสที่หมอกำลังรักษาอยู่หรือไม่
ความอดทนถึงขีดสุด เมื่อพบว่าทุกครั้งที่เธอถามพยาบาล ได้แต่คำตอบว่าให้รอไปก่อน ความหวังเธอริบหรี่ เธอเดินมุ่งหน้าไปหารถฉุกเฉินที่กำลังเข้ามา เราเข้าใจว่าเธอเข้าห้องฉุกเฉินไม่ได้ เธอเลยเลือกที่จะไปหาแพทย์ที่อื่น เพราะการเฝ้ารอตรงเคาเตอร์กับพยาบาลคนนั้นเท่ากับความสิ้นหวัง และพึ่งพิงอะไรไม่ได้อีกต่อไป จนเธอค้นพบว่ามีคนไข้ที่เร่งด่วนกว่าคุณแม่ของเธอ หญิงวัยไล่เลี่ยกันกับเธอ ร้องสะอื้นเรียกบิดาของเธอผู้ไม่ได้สติบนเตียงที่กำลังถูกเข็นมุ่งหน้าไปที่ห้องฉุกเฉิน ความโกรธเคืองค่อยๆ ลดลงแสดงออกผ่านสีหน้าของเธอ หลังค้นพบว่ามีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาก่อนหน้าแม่เธอจริงๆ
หนังสั้นเรื่องนี้น่าจะมีวัตุประสงค์ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชนทั่วไปเห็นอกเห็นใจ (empathize) แพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ ผ่านเรื่องราวของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลที่ถูกนำเสนอด้วยภาพของประชาชนที่ไม่เข้าใจในกระบวนการคัดแยกผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน (Triage) เป็นภาพจำของประชาชนที่ไม่เข้าใจ และไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสาธารณสุข ในทางกลับกันเขาถูกมองเป็นภาระงานที่หลังไหลเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน
การใช้สีดำของฝั่งผู้ป่วยตอกย้ำภาพของตัวร้ายรวมถึงคอมเมนต์ในโลกโซเชียลที่กระหน่ำข้อความ เป็นภาพจำของประชาชนที่ใช้อารมณ์ในการแสดงความคิดเห็น เช่นเดียวกับตัวละครหลักเองที่หงุดหงิด เหวี่ยงวีนง่าย ผิดกับภาพของพยาบาลทีถูกนำเสนอให้ในโทนสีขาว สงบนิ่ง ไม่ยี่หระต่อการฟัดกระเฟียดของหญิงชุดดำ พร้อมๆ กับทีมแพทย์และบุคคลากรที่ฉายภาพของภาพจำในฐานะของบุคคลที่เสียสละ กระทำคุณงามความดี
การอธิบายการวินิจฉัย พยากรณ์โรค การรักษา การปฏิบัติตัวให้กับผู้ป่วยในตอนท้ายเรื่องก็ตอกย้ำบทบาทและอิทธิพลของแพทย์ที่ครอบงำผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเป็นในรูปแบบของการบัญชาการ สั่งสอนที่ผู้ป่วยต้องเชื่อฟัง ยอมทำตามแต่โดยดี ไม่อาจขัดขืน ความสัมพันธ์รูปแบบนี้อาจเรียกว่าแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือแพทย์ผูกขาดการตัดสินใจ และผู้ป่วยหน้าที่ปฏิบัติตตาม
ภาพลักษณ์ของแพทย์ ในฐานะหนึ่งในผู้เยียวยารักษาที่มีบทบาทมาแต่อดีต เป็นภาพจำที่ติดมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีแพทย์ การรักษาอาการเจ็บป่วยในหลายครั้งผู้ติดกับความเชื่อภูติผี จนมาถึงปัจจุบันที่อธิบายด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ แต่เดิมการรักษากระทำโดยพระ หมอผี ต่อมาเริ่มมีแพทย์แผนปัจจุบัน แต่สถานะของผู้เยียวยายังคงเป็นเช่นเดิม กลายเป็นผู้ที่สูงส่งด้วยความรู้ที่ผู้ได้รับการรักษาไม่อาจเข้าถึง เป็นศาสตร์เฉพาะด้านที่ต้องการฝึกฝนอย่างหนักและซับซ้อน แถมยังค่อนข้างเป็นวิชาชีพที่จำกัดอยู่ในกระฎุมพี ในขณะที่กลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา มีสถานภาพทางการเงินต่ำ มักจะไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียน แพทย์จึงกลายเป็นอาชีพของลูกหลานชนชั้นกลางมีการศึกษาดี ที่รวยอยู่แล้วและมีโอกาสจะยิ่งรวยขึ้นไปอีกเมื่อได้มาเรียนแพทย์ นี่เองจึงเท่ากับเป็นการทีบห่างและเกิดช่องว่างชนชั้นมากขึ้นไปอีก
ถึงแม้ปัจจุบันสถานะระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยจะค่อยๆ เปลี่ยนจากพ่อปกครองลูก เป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ความสัมพันธ์เป็นไปในรูปแบบการค้าและสัญญามากขึ้น การนับถือศรัทธาในตัวบุคคลลดลง การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารมากขึ้นทำให้ผู้ใช้บริการจากตั้งรับ เป็นว่าเขาคำนึงถึง Autonomy มากขึ้น เขามีสิทธิที่จะรู้ว่าตนวินิจฉัยว่าอะไรและควรได้รับการรักษาอย่างไร
Talcott Parsons ได้อธิบายว่าความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ผู้ป่วยเป็นแบบ asymmetry relationship และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษา นั่นเท่ากับว่าแพทย์มีอำนาจในการกุมชีวิตผู้ป่วย เนื่องด้วยความรู้ของแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ป่วยเป็นผู้อ่อนแอกว่า ต้องได้รับการรักษา และอยู่ในสถานะพึ่งพิง คล้ายกับบิดามารดและบุตร
แต่จริงๆแล้วความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ หากวิเคราะห์ตาม The Szasz and Hollender Model พบว่า มีหลายรูปแบบตามสถานการณ์ เช่น active-passive ในเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนที่แพทย์ต้องรีบให้การช่วยเหลือ ราวกับผู้ป่วยเป็นสิ่งไม่มีชีวิต หรือ Guidance-Cooperation จะใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยยังมีสติ ดังที่เราเห็นในตอนท้ายของเรื่องเมื่อหมอชุดดำให้คำสั่งแนะนำผู้ป่วย และคาดหวังในเธอทำตาม ก่อนจะออกไปพบว่าญาติคนนั้นโพสด่าเธอและโรงพยาบาล
สองรูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้กล่าวไปยังถือว่าเป็น asymmetry relationship ตามหลักของเพียร์สัน แต่ความสัมพันธ์ Mutual Participation ที่ได้อิทธิพลจากแนวคิดประชาธิปไตยจากตะวันตก แพทย์และผู้ป่วยเท่าเทียมกัน ทั้งสองฝ่ายจะมองหาแนวทางในการรักษาร่วมกัน การบำบัดกระทำอยู่บนความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าจะมองว่าเป็นการรักษาที่คำนึงถึง Autonomy ผู้ป่วยมากที่สุดก็คงไม่ผิด
คราวนี้กลับมาที่หนังสั้น เราครุ่นคิดถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยและทีมรักษา อาจจำแนกได้เป็นสองเรื่องคือ ความคาดหวังของบุคคลากรทางการแพทย์ให้เข้าใจถึงสิ่งที่ตนต้องเผชิญ อันได้แก่ภาระงานที่หนักหน่วง ความกดดันและความรับผิดชอบต่อชีวิตมนุษย์ พวกเขามองว่าผู้ป่วยไม่เข้าใจพวกเขาเอาเสียเลย ผู้ป่วยที่เป็นภาพจำของคนที่ passive ความรู้น้อย และควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ไม่มีวุฒิภาวะ อยากได้การรักษาที่รวดเร็ว ทันใจ ในระหว่างที่พวกกู้ชีพจนหัวหมุนไม่ได้พัก (จนลืมโทรศัพท์ไว้บนโต๊ะ)
แต่ความคาดหวังของทีมรักษา เพื่อหวังให้ผู้ป่วยเกิด emotional insight ราวกับเชื่อในทรงเจ้าเข้าผีแบบที่ไม่ต้องใช้เหตุผลอะไรอธิบายกันให้เข้าใจ แน่นอนว่าตามหลักจิตวิทยา คงเป็นการยากมากที่มนุษย์จะเข้าใจผู้อื่นโดยที่ไม่ intellectualize คือ ทำความเข้าใจ อีกฝ่ายก่อน ซึ่งเรามองว่าการจะเข้าใจแพทย์ได้ ก็ด้วยผ่านการอธิบายผู้ป่วยให้เข้าใจถึง triage หรือระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ซึ่งหลักการนี้ทีมแพทย์ต่างรู้ดี แต่เราจะมาคาดหวังให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ intellectualize หรือเกิด emotional insight ด้วยตัวเองหรอกหรือ
สุดท้ายที่เราพิมพ์อะไรมายาวยืดอาจจะจบลงเพียงแค่ การมองว่าตนเองสำคัญเสียเหลือเกิน และต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ เราเองก็ต้องเข้าใจถึง autonomy ด้วยเช่นกัน อันเป็นสิทธิ์ของผู้ป่วยที่เขามีอำนาจในการรู้ว่าเขาป่วยเป็นอะไรเบื้องต้น ต้องรอทำไม นานเท่าไหร่โดยประมาณ ซึ่งตรงนี้จะมาอ้างว่าห้องฉุกเฉินยุ่งจนไม่ว่างมาอธิบาย ก็คงเป็นเรื่องของระบบที่ไม่คำนึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือถ้าทีมแพทย์ได้อธิบายข้อมูลที่ผู้ป่วยพึงได้รับครบถ้วนแล้ว ผู้ป่วยยังโวยวายไม่ยินยอม นั่นก็ถือว่าเต็มสุดความสามารถของเราแล้ว
เอาจริงๆ เรื่องการอธิบาย traige ให้ผู้ป่วยฟังนี่เป็นอะไรที่ไม่น่าจะต้องมาพูดกันในยุคสมัยนี้แล้ว (เพราะมันควรจะทำกันมาตั้งแต่เริ่มมี triage) ส่วนที่น่าสนใจว่านี้คือเราจะสร้างระบบยังไงให้คุณป้าสามารถดูแลตนเอง ป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บ เฝ้าระวังโรค หรือแม้แต่ให้การรักษาตนเองเบื้องต้นมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
Ref.
- ดวงกมล ศรีประเสริฐ, อำนาจแพทย์ และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย, Faculty of Sociology and Anthropology Siam University, Apr 24, 2018
ฉุกเฉิน (องค์กรแพทย์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, 5 min, 2018)
.
.
.
.
.
หญิงชุดดำ หน้าตา กริยา ท่าทางของเธอราวกับถูกทอดแบบออกมาจากตัวร้ายในละครหลังข่าว และแม่ของเธอที่เจ็บป่วยกระทันหันด้วยอาการปวดท้องเฉียบพลัน เธอนอนดิ้นทุรนทุรานประหนึ่งใจจะขาด ใบหน้าที่บิดเบี้ยว เสียงโอดครวญ ไม่ว่าใครพบเห็นคงตัดสินโดยพลันเลยว่าอาการเธอไม่สู้จะดีนัก และคงต้องการได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน
ลูกสาวด้วยความวิตกกังวลเข้าแจ้งพยาบาลถึงอาการของแม่ด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ พยาบาลเริ่มสักประวัติและวัดสัญญาณชีพ ผลปราฏว่าปกติดี พยาบาลแจ้งว่าตอนนี้หมอติดเคสเร่งด่วน จึงไม่อาจมาพบคุณแม่ของเธอได้ในตอนนี้
เวลาผ่านไป ลูกสาวเฝ้ารอการมาของหมอพร้อมๆกับอารมณ์ขุ่นเคืองที่เพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันเป็นการรออย่างหวังลึกๆ ว่าหมอจะมาหา แต่ในขณะเดียวกันมันก็เปนการรอที่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรอ และอาการปวดของแม่เธอไม่เร่งด่วนแตกต่างจากเคสที่หมอกำลังรักษาอยู่หรือไม่
ความอดทนถึงขีดสุด เมื่อพบว่าทุกครั้งที่เธอถามพยาบาล ได้แต่คำตอบว่าให้รอไปก่อน ความหวังเธอริบหรี่ เธอเดินมุ่งหน้าไปหารถฉุกเฉินที่กำลังเข้ามา เราเข้าใจว่าเธอเข้าห้องฉุกเฉินไม่ได้ เธอเลยเลือกที่จะไปหาแพทย์ที่อื่น เพราะการเฝ้ารอตรงเคาเตอร์กับพยาบาลคนนั้นเท่ากับความสิ้นหวัง และพึ่งพิงอะไรไม่ได้อีกต่อไป จนเธอค้นพบว่ามีคนไข้ที่เร่งด่วนกว่าคุณแม่ของเธอ หญิงวัยไล่เลี่ยกันกับเธอ ร้องสะอื้นเรียกบิดาของเธอผู้ไม่ได้สติบนเตียงที่กำลังถูกเข็นมุ่งหน้าไปที่ห้องฉุกเฉิน ความโกรธเคืองค่อยๆ ลดลงแสดงออกผ่านสีหน้าของเธอ หลังค้นพบว่ามีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาก่อนหน้าแม่เธอจริงๆ
หนังสั้นเรื่องนี้น่าจะมีวัตุประสงค์ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชนทั่วไปเห็นอกเห็นใจ (empathize) แพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ ผ่านเรื่องราวของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลที่ถูกนำเสนอด้วยภาพของประชาชนที่ไม่เข้าใจในกระบวนการคัดแยกผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน (Triage) เป็นภาพจำของประชาชนที่ไม่เข้าใจ และไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสาธารณสุข ในทางกลับกันเขาถูกมองเป็นภาระงานที่หลังไหลเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน
การใช้สีดำของฝั่งผู้ป่วยตอกย้ำภาพของตัวร้ายรวมถึงคอมเมนต์ในโลกโซเชียลที่กระหน่ำข้อความ เป็นภาพจำของประชาชนที่ใช้อารมณ์ในการแสดงความคิดเห็น เช่นเดียวกับตัวละครหลักเองที่หงุดหงิด เหวี่ยงวีนง่าย ผิดกับภาพของพยาบาลทีถูกนำเสนอให้ในโทนสีขาว สงบนิ่ง ไม่ยี่หระต่อการฟัดกระเฟียดของหญิงชุดดำ พร้อมๆ กับทีมแพทย์และบุคคลากรที่ฉายภาพของภาพจำในฐานะของบุคคลที่เสียสละ กระทำคุณงามความดี
การอธิบายการวินิจฉัย พยากรณ์โรค การรักษา การปฏิบัติตัวให้กับผู้ป่วยในตอนท้ายเรื่องก็ตอกย้ำบทบาทและอิทธิพลของแพทย์ที่ครอบงำผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเป็นในรูปแบบของการบัญชาการ สั่งสอนที่ผู้ป่วยต้องเชื่อฟัง ยอมทำตามแต่โดยดี ไม่อาจขัดขืน ความสัมพันธ์รูปแบบนี้อาจเรียกว่าแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือแพทย์ผูกขาดการตัดสินใจ และผู้ป่วยหน้าที่ปฏิบัติตตาม
ภาพลักษณ์ของแพทย์ ในฐานะหนึ่งในผู้เยียวยารักษาที่มีบทบาทมาแต่อดีต เป็นภาพจำที่ติดมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีแพทย์ การรักษาอาการเจ็บป่วยในหลายครั้งผู้ติดกับความเชื่อภูติผี จนมาถึงปัจจุบันที่อธิบายด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ แต่เดิมการรักษากระทำโดยพระ หมอผี ต่อมาเริ่มมีแพทย์แผนปัจจุบัน แต่สถานะของผู้เยียวยายังคงเป็นเช่นเดิม กลายเป็นผู้ที่สูงส่งด้วยความรู้ที่ผู้ได้รับการรักษาไม่อาจเข้าถึง เป็นศาสตร์เฉพาะด้านที่ต้องการฝึกฝนอย่างหนักและซับซ้อน แถมยังค่อนข้างเป็นวิชาชีพที่จำกัดอยู่ในกระฎุมพี ในขณะที่กลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา มีสถานภาพทางการเงินต่ำ มักจะไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียน แพทย์จึงกลายเป็นอาชีพของลูกหลานชนชั้นกลางมีการศึกษาดี ที่รวยอยู่แล้วและมีโอกาสจะยิ่งรวยขึ้นไปอีกเมื่อได้มาเรียนแพทย์ นี่เองจึงเท่ากับเป็นการทีบห่างและเกิดช่องว่างชนชั้นมากขึ้นไปอีก
ถึงแม้ปัจจุบันสถานะระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยจะค่อยๆ เปลี่ยนจากพ่อปกครองลูก เป็นผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ความสัมพันธ์เป็นไปในรูปแบบการค้าและสัญญามากขึ้น การนับถือศรัทธาในตัวบุคคลลดลง การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารมากขึ้นทำให้ผู้ใช้บริการจากตั้งรับ เป็นว่าเขาคำนึงถึง Autonomy มากขึ้น เขามีสิทธิที่จะรู้ว่าตนวินิจฉัยว่าอะไรและควรได้รับการรักษาอย่างไร
Talcott Parsons ได้อธิบายว่าความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ผู้ป่วยเป็นแบบ asymmetry relationship และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษา นั่นเท่ากับว่าแพทย์มีอำนาจในการกุมชีวิตผู้ป่วย เนื่องด้วยความรู้ของแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ป่วยเป็นผู้อ่อนแอกว่า ต้องได้รับการรักษา และอยู่ในสถานะพึ่งพิง คล้ายกับบิดามารดและบุตร
แต่จริงๆแล้วความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ หากวิเคราะห์ตาม The Szasz and Hollender Model พบว่า มีหลายรูปแบบตามสถานการณ์ เช่น active-passive ในเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนที่แพทย์ต้องรีบให้การช่วยเหลือ ราวกับผู้ป่วยเป็นสิ่งไม่มีชีวิต หรือ Guidance-Cooperation จะใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยยังมีสติ ดังที่เราเห็นในตอนท้ายของเรื่องเมื่อหมอชุดดำให้คำสั่งแนะนำผู้ป่วย และคาดหวังในเธอทำตาม ก่อนจะออกไปพบว่าญาติคนนั้นโพสด่าเธอและโรงพยาบาล
สองรูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้กล่าวไปยังถือว่าเป็น asymmetry relationship ตามหลักของเพียร์สัน แต่ความสัมพันธ์ Mutual Participation ที่ได้อิทธิพลจากแนวคิดประชาธิปไตยจากตะวันตก แพทย์และผู้ป่วยเท่าเทียมกัน ทั้งสองฝ่ายจะมองหาแนวทางในการรักษาร่วมกัน การบำบัดกระทำอยู่บนความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าจะมองว่าเป็นการรักษาที่คำนึงถึง Autonomy ผู้ป่วยมากที่สุดก็คงไม่ผิด
คราวนี้กลับมาที่หนังสั้น เราครุ่นคิดถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยและทีมรักษา อาจจำแนกได้เป็นสองเรื่องคือ ความคาดหวังของบุคคลากรทางการแพทย์ให้เข้าใจถึงสิ่งที่ตนต้องเผชิญ อันได้แก่ภาระงานที่หนักหน่วง ความกดดันและความรับผิดชอบต่อชีวิตมนุษย์ พวกเขามองว่าผู้ป่วยไม่เข้าใจพวกเขาเอาเสียเลย ผู้ป่วยที่เป็นภาพจำของคนที่ passive ความรู้น้อย และควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ไม่มีวุฒิภาวะ อยากได้การรักษาที่รวดเร็ว ทันใจ ในระหว่างที่พวกกู้ชีพจนหัวหมุนไม่ได้พัก (จนลืมโทรศัพท์ไว้บนโต๊ะ)
แต่ความคาดหวังของทีมรักษา เพื่อหวังให้ผู้ป่วยเกิด emotional insight ราวกับเชื่อในทรงเจ้าเข้าผีแบบที่ไม่ต้องใช้เหตุผลอะไรอธิบายกันให้เข้าใจ แน่นอนว่าตามหลักจิตวิทยา คงเป็นการยากมากที่มนุษย์จะเข้าใจผู้อื่นโดยที่ไม่ intellectualize คือ ทำความเข้าใจ อีกฝ่ายก่อน ซึ่งเรามองว่าการจะเข้าใจแพทย์ได้ ก็ด้วยผ่านการอธิบายผู้ป่วยให้เข้าใจถึง triage หรือระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ซึ่งหลักการนี้ทีมแพทย์ต่างรู้ดี แต่เราจะมาคาดหวังให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ intellectualize หรือเกิด emotional insight ด้วยตัวเองหรอกหรือ
สุดท้ายที่เราพิมพ์อะไรมายาวยืดอาจจะจบลงเพียงแค่ การมองว่าตนเองสำคัญเสียเหลือเกิน และต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ เราเองก็ต้องเข้าใจถึง autonomy ด้วยเช่นกัน อันเป็นสิทธิ์ของผู้ป่วยที่เขามีอำนาจในการรู้ว่าเขาป่วยเป็นอะไรเบื้องต้น ต้องรอทำไม นานเท่าไหร่โดยประมาณ ซึ่งตรงนี้จะมาอ้างว่าห้องฉุกเฉินยุ่งจนไม่ว่างมาอธิบาย ก็คงเป็นเรื่องของระบบที่ไม่คำนึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือถ้าทีมแพทย์ได้อธิบายข้อมูลที่ผู้ป่วยพึงได้รับครบถ้วนแล้ว ผู้ป่วยยังโวยวายไม่ยินยอม นั่นก็ถือว่าเต็มสุดความสามารถของเราแล้ว
เอาจริงๆ เรื่องการอธิบาย traige ให้ผู้ป่วยฟังนี่เป็นอะไรที่ไม่น่าจะต้องมาพูดกันในยุคสมัยนี้แล้ว (เพราะมันควรจะทำกันมาตั้งแต่เริ่มมี triage) ส่วนที่น่าสนใจว่านี้คือเราจะสร้างระบบยังไงให้คุณป้าสามารถดูแลตนเอง ป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บ เฝ้าระวังโรค หรือแม้แต่ให้การรักษาตนเองเบื้องต้นมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
Ref.
- ดวงกมล ศรีประเสริฐ, อำนาจแพทย์ และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย, Faculty of Sociology and Anthropology Siam University, Apr 24, 2018