KTB เพิ่งจะเปิดตัวบัตรเดบิตแบบเติมเงินได้ สำหรับเงินสกุลต่างชาติ 7 สกุลหลักไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
https://www.ktb.co.th/th/content/personal/cards/krungthai-travel-card
วิธีสมัครใช้งานบัตรมีคนรีวิวไว้แล้วที่
https://www.blognone.com/node/101681 กระทู้นี้คงไม่พูดถึงนะครับ
วันนี้เรามาวิเคาะห์อัตราแลกเปลี่ยนกันโดยใช้อัตราของวันที่ 27 เมษายน 2561 เวลา 10:00 เป็นจุดอ้างอิงครับ
ที่มาของอัตราแลกเปลี่ยน
- แอพ KTB netbank
-
https://www.superrichthailand.com/#!/en/exchange
-
https://www.visa.co.th/en_TH/travel-with-visa/exchange-rate-calculator.html
มาดูตารางกันก่อน เป็นการเปรียบเทียบอัตรแลกเปลี่ยนกับร้านแลกเงินชื่อดัง และอัตราแลกเปลี่ยนของบัตร VISA ที่ออกในประเทศไทยเมื่อรูดซื้อสินค้าเป็นเงินสกุลอื่นๆ

-
Selling คือราคาเงินบาทที่เราต้องจ่ายเพื่อซื้อเงินสกุลอื่นๆ 1 หน่วย (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
-
Buying คือราคาเงินบางที่เราจะได้เมื่อขายคืนเงินสกุลอื่นๆ 1 หน่วย (ยิ่งมากยิ่งดี)
-
Spread % คือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและขายเงินสกุลอื่นๆ (ยิ่งน้อยยิ่งขายคืนขาดทุนน้อย คือดี)
-
พื้นหลังสีเขียว คิออัตราขายที่ถูกที่สุดของแตะละสกุลเงิน
-
ตัวอักษรสีเขียว คือส่วนต่างราคาซื้อขายที่ต่ำที่สุด
ซื้อเงินสกุลต่างๆที่ไหนถูกสุด?
จะเห็นได้ว่า ราคาขายของ KTB Travel Card กับ Superrich สีเขียวแทบไม่ต่างกัน ยกเว้นเงิน JPY ที่ Superrich สีเขียวขายถูกกว่าเล็กน้อย แต่ถ้าพิจารณาจากกรณีต้องการแลกคืนด้วย KTB Travel Card ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ
ถ้าซื้อแล้วใช้เงินไม่หมด แลกคืนที่ไหนขาดทุนน้อยสุด?
กรณีนี้มีข้อจำกัดว่า ซื้อที่ไหนต้องแลกคืนที่นั่น ชัดเจนว่า KTB Travel Card แลกคืนได้อัตราดีกว่า(ขาดทุน้อยกว่า)จาก spread ที่ต่ำกว่า Superrich สีเขียวชัดเจนครับ
ถูกกว่ารูดบัตรเครดิตเยอะไหม?
ดูจาก column ขวาสุดจะเห็นว่า rate ของ VISA ซึ่งรวม bank fee อีก 2.5% จะแพงกว่า KTB Travel Card ประมาณ 2-3% ในทุกๆสกุลเงิน
ข้อดีของการใช้บัตร KTB Travel Card
1. สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสด ทำบัตรหายก็เข้าไปปิดบัตรในแอพ KTB netbak ได้เลย แต่ถ้าหายทั้งบัตรทั้งโทรศัพท์ ก็ตัวใครตัวมันละครับ
2. อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าหรือเทียบเท่าร้านแลกเงิน โดยที่ไม่ต้องลางานไปต่อคิว ถือเงินสดจำนวนมากเดินทางไปกลับ เพิ่มความเสี่ยงจะถูกปล้น
3. ขาดทุนน้อยกว่าเวลาแลกคืน และเหลือเป็นเศษสตางค์ก็แลกคืนได้
ข้อด้อย
1. ถ้าร้านไม่รับบัตร จะต้องกดเงินสดออกมา เสียค่าธรรมเนียม 100 บาทให้ KTB และเสียให้ธนาคารเจ้าตู้ ATM (อัตราขึ้นกับเจ้าของตู้) แต่ประเทศที่ใช้เงิน 7 สกุลหลักนี้ก็น่าจะรับ card payment ได้เกือบทุกที่ที่คนไทยจะไปเที่ยวแล้วละมั้ง
2. มีแค่ 7 สกุล อาจจะน้อยไปหน่อย ถ้าต้องการแลกเงินสกุลอื่นๆ อาจจะต้องแลก USD แล้วไปแลกที่ปลายทางอีกต่อหนึ่ง
ให้คะแนนรีวิว 4.5/5 หัก 0.5 คะแนนเพราะไม่มีเงินสกุล RMB ให้แลก ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมีคนใช้เยอะกว่า AUD
สรุปได้ว่า ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินสดจริงๆ KTB Travel Card ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้ครับ
ช่วงนี้สมัครฟรีไม่มีค่าธรรมเนียมถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561 ด้วย สมัครแล้วบัตรมีอายุการใช้งาน 2 ปี จะรออะไรรีบไปสมัครกันสิครับ
ส่วนสุดท้ายมีอีกตารางให้ดูครับ เป็นการเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง KTB Travel Card และการแลกเงินหน้าเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย

ตารางนี้ใส่มาเพื่อให้เห็นว่าบัตร KTB Travel Card คือตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า
สังคมไร้เงินสดหรือ e-payment ที่เราได้ยินในข่าวบ่อยๆนั้นมีข้อดีกว่าการใช้เงินสดแบบเดิมอย่างไร
กรณีนี้ ผมเข้าใจว่า KTB เทรดเงินต่างประเทศเก็บสะสมเป็นตัวเลขไว้ในบัญชีเท่านั้น แล้วค่อยเอามาขายลูกค้ารายย่อย โดยไม่มีการแลกออกมาเป็นธนบัตรจริงๆ ทำให้ต้นทุนการจัดการธนบัตรและการสำรองค่าเงินตามกฎระเบียบต่างๆน้อยลงอย่างมาก การที่เราใช้เงินทำให้สามารถเก็บ spread ที่ต่ำลงจากลูกค้ารายย่อยได้ เป็นผลดีกับทุกฝ่ายครับ ยิ่งเป็นเงินสกุลที่มีผู้นิยมใช้น้อยเช่น AUD ในตาราง ต้นทุนส่วนนี้ยิ่งสูงมากขึ้น ส่วนต่างที่ประหยัดได้ก็มากขึ้นไปด้วย
[CR] วิเคราะห์อัตราแลกเปลี่ยน บัตร Krungthai Travel Card ดีงามมากมาย ไม่ต้องไปเข้าคิวที่ร้านแลกเงินอีกต่อไป
https://www.ktb.co.th/th/content/personal/cards/krungthai-travel-card
วิธีสมัครใช้งานบัตรมีคนรีวิวไว้แล้วที่ https://www.blognone.com/node/101681 กระทู้นี้คงไม่พูดถึงนะครับ
วันนี้เรามาวิเคาะห์อัตราแลกเปลี่ยนกันโดยใช้อัตราของวันที่ 27 เมษายน 2561 เวลา 10:00 เป็นจุดอ้างอิงครับ
ที่มาของอัตราแลกเปลี่ยน
- แอพ KTB netbank
- https://www.superrichthailand.com/#!/en/exchange
- https://www.visa.co.th/en_TH/travel-with-visa/exchange-rate-calculator.html
มาดูตารางกันก่อน เป็นการเปรียบเทียบอัตรแลกเปลี่ยนกับร้านแลกเงินชื่อดัง และอัตราแลกเปลี่ยนของบัตร VISA ที่ออกในประเทศไทยเมื่อรูดซื้อสินค้าเป็นเงินสกุลอื่นๆ
- Selling คือราคาเงินบาทที่เราต้องจ่ายเพื่อซื้อเงินสกุลอื่นๆ 1 หน่วย (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
- Buying คือราคาเงินบางที่เราจะได้เมื่อขายคืนเงินสกุลอื่นๆ 1 หน่วย (ยิ่งมากยิ่งดี)
- Spread % คือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและขายเงินสกุลอื่นๆ (ยิ่งน้อยยิ่งขายคืนขาดทุนน้อย คือดี)
- พื้นหลังสีเขียว คิออัตราขายที่ถูกที่สุดของแตะละสกุลเงิน
- ตัวอักษรสีเขียว คือส่วนต่างราคาซื้อขายที่ต่ำที่สุด
ซื้อเงินสกุลต่างๆที่ไหนถูกสุด?
จะเห็นได้ว่า ราคาขายของ KTB Travel Card กับ Superrich สีเขียวแทบไม่ต่างกัน ยกเว้นเงิน JPY ที่ Superrich สีเขียวขายถูกกว่าเล็กน้อย แต่ถ้าพิจารณาจากกรณีต้องการแลกคืนด้วย KTB Travel Card ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ
ถ้าซื้อแล้วใช้เงินไม่หมด แลกคืนที่ไหนขาดทุนน้อยสุด?
กรณีนี้มีข้อจำกัดว่า ซื้อที่ไหนต้องแลกคืนที่นั่น ชัดเจนว่า KTB Travel Card แลกคืนได้อัตราดีกว่า(ขาดทุน้อยกว่า)จาก spread ที่ต่ำกว่า Superrich สีเขียวชัดเจนครับ
ถูกกว่ารูดบัตรเครดิตเยอะไหม?
ดูจาก column ขวาสุดจะเห็นว่า rate ของ VISA ซึ่งรวม bank fee อีก 2.5% จะแพงกว่า KTB Travel Card ประมาณ 2-3% ในทุกๆสกุลเงิน
ข้อดีของการใช้บัตร KTB Travel Card
1. สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสด ทำบัตรหายก็เข้าไปปิดบัตรในแอพ KTB netbak ได้เลย แต่ถ้าหายทั้งบัตรทั้งโทรศัพท์ ก็ตัวใครตัวมันละครับ
2. อัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าหรือเทียบเท่าร้านแลกเงิน โดยที่ไม่ต้องลางานไปต่อคิว ถือเงินสดจำนวนมากเดินทางไปกลับ เพิ่มความเสี่ยงจะถูกปล้น
3. ขาดทุนน้อยกว่าเวลาแลกคืน และเหลือเป็นเศษสตางค์ก็แลกคืนได้
ข้อด้อย
1. ถ้าร้านไม่รับบัตร จะต้องกดเงินสดออกมา เสียค่าธรรมเนียม 100 บาทให้ KTB และเสียให้ธนาคารเจ้าตู้ ATM (อัตราขึ้นกับเจ้าของตู้) แต่ประเทศที่ใช้เงิน 7 สกุลหลักนี้ก็น่าจะรับ card payment ได้เกือบทุกที่ที่คนไทยจะไปเที่ยวแล้วละมั้ง
2. มีแค่ 7 สกุล อาจจะน้อยไปหน่อย ถ้าต้องการแลกเงินสกุลอื่นๆ อาจจะต้องแลก USD แล้วไปแลกที่ปลายทางอีกต่อหนึ่ง
ให้คะแนนรีวิว 4.5/5 หัก 0.5 คะแนนเพราะไม่มีเงินสกุล RMB ให้แลก ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะมีคนใช้เยอะกว่า AUD
สรุปได้ว่า ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินสดจริงๆ KTB Travel Card ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้ครับ
ช่วงนี้สมัครฟรีไม่มีค่าธรรมเนียมถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561 ด้วย สมัครแล้วบัตรมีอายุการใช้งาน 2 ปี จะรออะไรรีบไปสมัครกันสิครับ
ส่วนสุดท้ายมีอีกตารางให้ดูครับ เป็นการเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง KTB Travel Card และการแลกเงินหน้าเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย
ตารางนี้ใส่มาเพื่อให้เห็นว่าบัตร KTB Travel Card คือตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า
สังคมไร้เงินสดหรือ e-payment ที่เราได้ยินในข่าวบ่อยๆนั้นมีข้อดีกว่าการใช้เงินสดแบบเดิมอย่างไร
กรณีนี้ ผมเข้าใจว่า KTB เทรดเงินต่างประเทศเก็บสะสมเป็นตัวเลขไว้ในบัญชีเท่านั้น แล้วค่อยเอามาขายลูกค้ารายย่อย โดยไม่มีการแลกออกมาเป็นธนบัตรจริงๆ ทำให้ต้นทุนการจัดการธนบัตรและการสำรองค่าเงินตามกฎระเบียบต่างๆน้อยลงอย่างมาก การที่เราใช้เงินทำให้สามารถเก็บ spread ที่ต่ำลงจากลูกค้ารายย่อยได้ เป็นผลดีกับทุกฝ่ายครับ ยิ่งเป็นเงินสกุลที่มีผู้นิยมใช้น้อยเช่น AUD ในตาราง ต้นทุนส่วนนี้ยิ่งสูงมากขึ้น ส่วนต่างที่ประหยัดได้ก็มากขึ้นไปด้วย