ดร. แฟรงค์ หมอตาวัยเกษียณชาวสก็อต เริ่มมาเมืองไทยตั้งแต่ปี 1990 ด้วยการเป็นหมอตาที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงแห่งหนึ่งในฝั่งพม่า การเดินทางสมัยนั้นต้องนั่งเครื่องบินไปลงเชียงใหม่และต่อรถข้ามแม่น้ำสาละวินไปพม่าอีกที เรื่องราวมีอยู่ว่าช่วงนั้นนายพลโบเมี๊ยะ อดีตผู้นำสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ส่งเรื่องร้องขอไปยังสหราชอาณาจักร หาหมอตามารักษาคนไข้ในหมู่บ้านมาเนอปลอ (Manerplaw) รัฐกะเหรี่ยง (Kayin State) ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของ KNU ตอนนั้นมีหมอบินมา 2 คน คือ ดร.แฟรงค์และดร.ฟิลิป

ภาพดร.แฟรงค์และดร.ฟิลิป

สมัยยังไม่เกษียณ หมอแฟรงค์บินมารักษาคนไข้ปีละ 2 สัปดาห์ และทุกครั้งต้องผ่านเมืองไทยตลอด มาแวะพักที่แม่สะเรียง ที่ริเวอร์เฮ้าส์โฮเท็ล (บ้านไม้) ของเรานี่ล่ะ วิธีการรักษาแต่ก่อนจะออกแนวโหดเพราะอะไรๆ ยังไม่เจริญ แถมยังเป็นพื้นที่สู้รบ ดร.แฟรงค์เล่าว่าคนไข้ส่วนใหญ่เป็นโรคต้อกระจก (cataract) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนทั่วโลกอยู่แล้ว สาเหตุหลักมาจากอายุที่มากขึ้น (aging) มีมาแต่กำเนิด (congenital) หรือเกิดจากได้รับการบาดเจ็บทางใจรุนแรงในชีวิต (trauma) ไม่เพียงเฉพาะมารักษา แต่คุณหมอต้องเทรนคนท้องถิ่นให้ทำการรักษาคนไข้เบื้องต้นในช่วงที่หมอไม่อยู่ได้ด้วย

ปี 1995 ทุกอย่างเปลี่ยนไปหลังจากที่กองทัพทัตมาดอว์ของพม่าเข้ายึดครองมาเนอปลอได้สำเร็จ ก่อให้เกิดค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ตามมาในฝั่งชายแดนไทย (แต่ทางการไทยเรียกว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราว” หรือ “temporary shelter”) ขณะเดียวกัน หน่วยงานเอ็นจีโออย่าง International Rescue Committee (IRC) ที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ก็ได้เปิดศูนย์เกี่ยวกับการรักษาโรคตาขึ้นที่พื้นที่ชายแดนในอ.แม่สอด จ.ตาก และที่แม่สะเรียงเอง ก็มีองค์กรอย่าง Malteser International มาเปิด ดูแลเกี่ยวกับด้านนี้เช่นกัน ทำให้บรรดาหมอๆ ยังได้ทำงานต่อ

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หมอแฟรงค์ได้ย้ายมาทำงานตาม “พื้นที่พักพิงชั่วคราว” เดินทางทั่วไทยเพื่อรักษาคนไข้ ปัจจุบันคุณหมอและภรรยาใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยปีละ 35 สัปดาห์ และมักจะพาลูกสาวที่ชื่อ “แอนนา” มาช่วยงานเป็นครั้งคราวเพราะเธอเจริญรอยตามพ่อ เรียนมาด้านสายตาเหมือนกัน (หมอมีลูก 5 คน แต่มีแอนนาคนเดียวเท่านั้นที่สนใจเรื่องเดียวกัน) แอนนาตอนนี้อายุประมาณ 20 ปลาย เล่าว่าตอนเด็ก พ่อจะพาครอบครัวมาด้วยเสมอช่วงปิดเทอม เพราะฉะนั้นแอนนนาเองก็คุ้นเคยเป็นอย่างดีกับพื้นที่ทุรกันดารตามแนวชายแดนไทย-พม่า

ภาพหมอแฟรงค์กับครอบครัว ถ่ายที่ระเบียงริเวอร์เฮ้าส์ โฮเท็ล (บ้านไม้)
เมื่อถามว่าแล้วทำไมแฟรงค์ถึงคิดอยากจะมาพื้นที่สู้รบตั้งแต่แรก เขาบอกว่าตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรมาก แค่คิดว่าจะมาผจญภัย มาอีกฟากโลกที่มีแม่น้ำ ภูเขา มันน่าสนุกและน่าตื่นเต้น แต่ก็ยอมรับว่าตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะมาอะไรนานหลายปีขนาดนี้ แต่หมอบอกว่าคงเพราะเป็นความประสงค์ของพระเจ้ากระมัง ไปๆ มาๆ นี่ก็ปาเข้าไปจะ 30 ปีแล้ว และหมอก็จะยังทำงานเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ

ข้อมูลเสริมจากเพื่อนร่วมงานดร.แฟรงค์
1) ทางการไทยเรียกศูนย์อพยพรับผู้ลี้ภัยว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราว” หรือ “temporary shelter” เพราะไทยไม่ได้เซ็นสัญญารับผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการกับสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) สำหรับประเทศที่เซ็นสัญญา จะเรียกศูนย์เหล่านี้ว่า “ค่ายลี้ภัย” หรือ “refugee camp” และผู้ลี้ภัยจะมีสิทธิ์ทุกอย่างตามที่ UNHCR กำหนดไว้ เช่น สามารถออกไปทำงานในพื้นที่นอกศูนย์ได้
2) ปัจจุบันในไทยมีศูนย์อพยพทั้งหมด 9 แห่งทั่วประเทศตามแนวชายแดนไทย-พม่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี กลุ่มผู้อพยพเป็นชาวกะเหรี่ยงจากพม่า ไม่ใช่ชาวโรงฮิงญา ตัวเลขทางการผู้อพยพตอนนี้อยู่ที่ราว 150,000 คนทั่วประเทศ แต่ละปีจะมีคนออกจากค่ายเพื่อย้ายไปยังประเทศที่สามและมีคนใหม่เข้ามาแทนที่เรื่อยๆ
(ขอบคุณภาพจากดร.แฟรงค์)
หมอตาชาวสก็อต...28 ปีกับคนไข้ตามตะเข็บชายแดน
สมัยยังไม่เกษียณ หมอแฟรงค์บินมารักษาคนไข้ปีละ 2 สัปดาห์ และทุกครั้งต้องผ่านเมืองไทยตลอด มาแวะพักที่แม่สะเรียง ที่ริเวอร์เฮ้าส์โฮเท็ล (บ้านไม้) ของเรานี่ล่ะ วิธีการรักษาแต่ก่อนจะออกแนวโหดเพราะอะไรๆ ยังไม่เจริญ แถมยังเป็นพื้นที่สู้รบ ดร.แฟรงค์เล่าว่าคนไข้ส่วนใหญ่เป็นโรคต้อกระจก (cataract) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนทั่วโลกอยู่แล้ว สาเหตุหลักมาจากอายุที่มากขึ้น (aging) มีมาแต่กำเนิด (congenital) หรือเกิดจากได้รับการบาดเจ็บทางใจรุนแรงในชีวิต (trauma) ไม่เพียงเฉพาะมารักษา แต่คุณหมอต้องเทรนคนท้องถิ่นให้ทำการรักษาคนไข้เบื้องต้นในช่วงที่หมอไม่อยู่ได้ด้วย
ปี 1995 ทุกอย่างเปลี่ยนไปหลังจากที่กองทัพทัตมาดอว์ของพม่าเข้ายึดครองมาเนอปลอได้สำเร็จ ก่อให้เกิดค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆ ตามมาในฝั่งชายแดนไทย (แต่ทางการไทยเรียกว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราว” หรือ “temporary shelter”) ขณะเดียวกัน หน่วยงานเอ็นจีโออย่าง International Rescue Committee (IRC) ที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ก็ได้เปิดศูนย์เกี่ยวกับการรักษาโรคตาขึ้นที่พื้นที่ชายแดนในอ.แม่สอด จ.ตาก และที่แม่สะเรียงเอง ก็มีองค์กรอย่าง Malteser International มาเปิด ดูแลเกี่ยวกับด้านนี้เช่นกัน ทำให้บรรดาหมอๆ ยังได้ทำงานต่อ
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หมอแฟรงค์ได้ย้ายมาทำงานตาม “พื้นที่พักพิงชั่วคราว” เดินทางทั่วไทยเพื่อรักษาคนไข้ ปัจจุบันคุณหมอและภรรยาใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยปีละ 35 สัปดาห์ และมักจะพาลูกสาวที่ชื่อ “แอนนา” มาช่วยงานเป็นครั้งคราวเพราะเธอเจริญรอยตามพ่อ เรียนมาด้านสายตาเหมือนกัน (หมอมีลูก 5 คน แต่มีแอนนาคนเดียวเท่านั้นที่สนใจเรื่องเดียวกัน) แอนนาตอนนี้อายุประมาณ 20 ปลาย เล่าว่าตอนเด็ก พ่อจะพาครอบครัวมาด้วยเสมอช่วงปิดเทอม เพราะฉะนั้นแอนนนาเองก็คุ้นเคยเป็นอย่างดีกับพื้นที่ทุรกันดารตามแนวชายแดนไทย-พม่า
เมื่อถามว่าแล้วทำไมแฟรงค์ถึงคิดอยากจะมาพื้นที่สู้รบตั้งแต่แรก เขาบอกว่าตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรมาก แค่คิดว่าจะมาผจญภัย มาอีกฟากโลกที่มีแม่น้ำ ภูเขา มันน่าสนุกและน่าตื่นเต้น แต่ก็ยอมรับว่าตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะมาอะไรนานหลายปีขนาดนี้ แต่หมอบอกว่าคงเพราะเป็นความประสงค์ของพระเจ้ากระมัง ไปๆ มาๆ นี่ก็ปาเข้าไปจะ 30 ปีแล้ว และหมอก็จะยังทำงานเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ข้อมูลเสริมจากเพื่อนร่วมงานดร.แฟรงค์
1) ทางการไทยเรียกศูนย์อพยพรับผู้ลี้ภัยว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราว” หรือ “temporary shelter” เพราะไทยไม่ได้เซ็นสัญญารับผู้ลี้ภัยอย่างเป็นทางการกับสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) สำหรับประเทศที่เซ็นสัญญา จะเรียกศูนย์เหล่านี้ว่า “ค่ายลี้ภัย” หรือ “refugee camp” และผู้ลี้ภัยจะมีสิทธิ์ทุกอย่างตามที่ UNHCR กำหนดไว้ เช่น สามารถออกไปทำงานในพื้นที่นอกศูนย์ได้
2) ปัจจุบันในไทยมีศูนย์อพยพทั้งหมด 9 แห่งทั่วประเทศตามแนวชายแดนไทย-พม่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี กลุ่มผู้อพยพเป็นชาวกะเหรี่ยงจากพม่า ไม่ใช่ชาวโรงฮิงญา ตัวเลขทางการผู้อพยพตอนนี้อยู่ที่ราว 150,000 คนทั่วประเทศ แต่ละปีจะมีคนออกจากค่ายเพื่อย้ายไปยังประเทศที่สามและมีคนใหม่เข้ามาแทนที่เรื่อยๆ
(ขอบคุณภาพจากดร.แฟรงค์)