ผ่านไปแล้วเมื่อ 20.30 - 21.30 น. วันที่ 24 มีนาคม กับกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” (60+ Earth Hour 2018) ที่กรุงเทพมหานครทำกิจกรรมไปพร้อมๆกับเมืองต่างๆ ทั่วโลก
โดยกำหนดจุดจัดกิจกรรมปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ 6 จุด คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า สะพานพระราม 8 และภูเขาทอง พร้อมกำหนดให้อาคารสถานที่ราชการทุกแห่งปิดไฟหากไม่จำเป็นต้องใช้ ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือตลอดเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน
ซึ่งตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา กทม.ร่วมกับ มูลนิธิ FEED องค์กร WWF ประเทศไทย ร่วมกับ 187 ประเทศ 7,000 เมืองทั่วโลก “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2018)” ปิดไฟในเวลาที่ไม่จำเป็น เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และจากความร่วมมือในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ 16,371 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่า 56.91 ล้านบาท และสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 9,233 ตัน
โดยเมื่อปี 2560 ปีที่แล้ว จากการปิดไฟ 1 ชั่วโมง สามารถลดการไฟฟ้าได้ 1,953 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นมูลค่า 7.68 ล้านบาท และสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1,016 ตัน ... ส่วนปี 2561 จะลดได้แค่ไหน ลุ้นกัน !!
“ปิดไฟ ลดโลกร้อน”
โดยกำหนดจุดจัดกิจกรรมปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ 6 จุด คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า สะพานพระราม 8 และภูเขาทอง พร้อมกำหนดให้อาคารสถานที่ราชการทุกแห่งปิดไฟหากไม่จำเป็นต้องใช้ ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือตลอดเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน
ซึ่งตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา กทม.ร่วมกับ มูลนิธิ FEED องค์กร WWF ประเทศไทย ร่วมกับ 187 ประเทศ 7,000 เมืองทั่วโลก “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2018)” ปิดไฟในเวลาที่ไม่จำเป็น เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และจากความร่วมมือในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ 16,371 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่า 56.91 ล้านบาท และสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 9,233 ตัน
โดยเมื่อปี 2560 ปีที่แล้ว จากการปิดไฟ 1 ชั่วโมง สามารถลดการไฟฟ้าได้ 1,953 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นมูลค่า 7.68 ล้านบาท และสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1,016 ตัน ... ส่วนปี 2561 จะลดได้แค่ไหน ลุ้นกัน !!