คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ภาพแสดงชั้นทราย/ชั้นหินที่กักเก็บน้ำใต้ดิน

ภาพข้างล่างนี้ มักเจอในภาคใต้ที่เป็นแหล่งหินปูน
บางหมู่บ้านจะพบว่ามีน้ำไหลออกมาจากเชิงเขา
โดยที่ไม่มีลำธารอยู่เลย และบางพื้นที่ อาจเจอหลุมยุบได้

ภาพข้างล่าง เป็น รูป model อย่างง่าย ของชั้นกักเก็บน้ำใต้ดิน
และเกิดเป็น บ่น้ำพุ หรือ หากมีการเจาะ น้ำบาดาล
ก็จะได้ น้ำที่ผุด ขี้นมาเอง โดยไม่ต้องสูบ

ภาพแสดง model อย่างง่าย ของการเติม
และการใช้น้ำใต้ดิน

หลักการของชั้นกักเก็บน้ำบาดาลทั่วไปคือ
มักจะถูกกักเก็บในชั้นหินตะกอนหรือชั้นทรายใต้ดิน
(อันที่จริง น้ำใต้ดินถูกกักเก็บได้ในทุกชั้นหิน ด้วยลักษณะการเกิดของชั้นหินนั้นๆ)
กรณีเป็นชั้นหินกลุ่มหินอัคนี ก็เกิดจากการโก่งตัว หรือแตกหักแล้วสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้
ชั้นหินแปรก็เช่นกัน บ่อบาดาลที่อยู่ในภูเขาที่ไม่ใช่หินปูน มักจะมีลักษณะเช่นนี้
บ้านเราไม่ค่อยพบ ขอไม่พูดถึง
บ้านเราโดยทั่วไป ชั้นน้ำบาดาลถูกกักเก็บในชั้นตะกอนทราย
ที่เคยเป็นแอ่งน้ำ หรือธารน้ำเก่าแก่ เมื่อหลายแสนหลายล้านปีก่อน
ที่ง่ายที่สุดคือ เป็นแนวธารน้ำเดิม (หลายแสน/ล้านปีก่อน ) และมักอยู่ใกล้ธารน้ำปัจจุบัน
ลำดับถัดมาก็เป็นธารน้ำหรือแอ่งน้ำเดิมหรือชั้นตะกอนทรายเมื่อหลายล้านปีก่อน
ปัจจุบันไม่เห็นแนวเดิม มาวันนี้ถูกดิน/หิน ปิดทับหน้าไปหมดแล้ว
มักจะอยู่ลึกลงไปกว่า 30 เมตรจากผิวดิน
พอรู้อย่างนี้ก็ไม่ยาก แรกสุดขอพูดแบบบ้าน ๆ ก่อนนะครับ
เอาเป็นว่า ระยะความลึกไม่เกิน 25 เมตร
ช่างพื้นบ้าน ก็จะต่อท่อแป๊บเหล็กทำหัวให้แหลม หรือรูปเสียม + สายยางน้ำต่อเข้าท้ายท่อ
แล้วพ่นน้ำลงไปในดินเป็นแนวดิ่ง ลึกลงไปเรื่อยๆ
ชั้นแรกจะได้น้ำปนโคลนออกมาเท่านั้น พอลึกลงไปประมาณ 15 เมตร
จะเจอชั้นที่เป็นทราย น้ำที่พ่นแล้วไหลย้อนออกมาด้านบน จะพัดพาเอาทรายในชั้นนั้นมาด้วย
ขณะหมุน หรือเจาะลงไปนั้น ช่างจะสังเกตได้ว่าท่อแป๊บจะลงเร็ว ง่าย และจะรู้สึกว่า
หัวแป๊บด้านล่างเจอทราย (มีเสียดัง) หรือสัมผัสว่าน่าจะเป็นชั้นทรายจากการจับแป๊บหมุนไป-มา
ช่างจะเจาะลงไปอีก กระทั่งพ้นชั้นทรายที่ว่า สมมุติชั้นนี้มี 1.50 เมตร
ช่างมักจะเจาะลงไปอีก2.0 เมตร กระทั่งเจอชั้นดินรองรับข้างใต้
ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าพอแล้ว
จากนั้น เอาก็ค่อยๆ ดึงแป๊บถอยออกมาทีละน้อย มาแช่อยู่ที่ชั้นทราย
แล้วก็พ่นน้ำใสลงไป ประมาณ 10 นาที เพื่อไล่น้ำโคลน
ได้ที่แล้ว ก็ถอดแป๊บออก แล้วเอาท่อ PVC ลงไปแทนที่
ท่อ PVC ส่วนปลาย 1.50 เมตร จะเป็นท่อเซาะร่อง เพื่อหยังลงในชั้นทรายที่ว่า
เซาะร่องเพื่อให้น้ำเข้าในท่อได้
จากนั้น ก็ใช้น้ำใสเป่าลงไปในท่อ PVC กระทั่งหมดโคลน
ถ้ามีอันดับหน่อย ก็จะพ่นด้วยลมพ่นไปกระทั่งน้ำโคลนหมด
ได้น้ำใสมาแทนที่ น้ำใสที่ว่า ก็คือ น้ำบาดาลที่ได้จากการซึมเข้ามาในปลายท่อ 1.50 เมตรนั้นเอง
ถ้าเป็นบ่อที่ลึก เช่น 150 -200 เมตร ก็ทำเช่นเดียวกัน
แต่ใช้เครื่องจักร และท่อเฉพาะ หัวเจาะเฉพาะ
เจาะไป ทุกๆ หนึ่งเมตร จะต้องมีการเก็บตัวอย่างเศษหินเศษดิน
เอามาไว้ในช่อง สำหรับเก็บ (ทำเป็นกล่อง ยาวๆ เรียงเป็นตับ)
พร้อมทั้งเขียนระยะกำกับเสร็จสรรพ
ถ้าเป็นบ่อใหญ่และลึก เขาจะพ่นน้ำผสมเบนโทไนท์ลงไป
จะดูคล้ายๆ โคลนข้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อสารผสมนี้ จะได้อุ้มเศษกินเศษดิน
ขึ้นมาพร้อมกันไปด้วย แล้วก็กรองออก เอาแต่สารผสม พ่นลงไปอีก
กระทั่งเจอชั้นทราย หรือ ชั้นหินตะกอนที่กักเก็บน้ำบาดาล
ซึ่ง ชั้นหิน หรือ ชั้นทรายนั้นๆ จะมีลักษณะไม่เหมือนกับชั้นอื่น
เช่นเม็ดหิน/ทราย ค่อนข้างกลมหรือไม่ค่อยมีเหลี่ยม อยู่กันแบบไม่แน่นเท่ากับชั้นอื่น
สังเกตได้จากอัตราการเคลื่อตัวลงของแท่งเจาะ
ถ้านำมาส่องกล้องจะเห็นชัดว่าผิวค่อนข้างเรียบ (เพราะเป็นตะกอนของแหล่งน้ำเก่า)
ส่วนมากแล้ว ช่างเจาะ เขาไม่ส่องกล้อง เพราะคุ้นเคยกับทราย/ หิน / กรวดที่ไหลขึ้นมา
บ่อบาดาลที่ให้น้ำมาก มักจะมีกรวดเม็ดมนๆ หรือไม่มีเหลี่ยมอยู่มาก
พบในที่ราบลุ่มภาคกลาง ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถึงกทม.
ภาคอีสานหลายแห่ง เป็นชั้นทรายละเอียด แต่มีเกลือปน
บางแห่ง ไม่มีทราย แต่เป็นแผ่นเกลือหนาเป็นเมตร (ให้ดูรายละเอียดเรื่อง
แหล่งหินเกลือเอาเอง ) หาได้ไม่ยากใน Google
บ่อบาดาลในอีสานมักเป็นชั้นทราย ไม่ค่อยเจอกรวด
ยกเว้นแนวแม่น้ำสายหลักเดิมๆ จะเจอกรวดบ้าง
ถ้าเจอกรวดและอยู่ไม่ห่างจากธารน้ำปัจจุบัน ก็แปลว่า สูบอย่างไรก็ไม่หมด
ภาคเหนือ ตอนล่าง เช่นตาก-กำแพงเพชร แนวใกล้แม่น้ำปิง
มักเจอชั้นทรายปนกรวดอยู่ ก็จะมีน้ำบาดาลแบบนี้อยู่
สูบอย่างไรก็ไม่หมด เพราะมีน้ำจากแม่น้ำมาเติมทุกเวลา
จากนครสวรรค์ลงมา ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา มักจะเป็นชั้นทรายค่อนข้างละเอียด
ช่างต้องเก่ง และต้องใช้น้ำโคลนไม่เช่นนั้น รูบ่อที่ทำมักจะพังลงง่ายๆ
----------------------
ตอบคำถาม ช่างเจาะ จะดูจากเศษ ดิน หินทราย ที่ไหลทะลักออกมาทางปากบ่อ
ได้เศษหิน/ทรายแล้วก็เอามาล้าง แล้วเก็บไว้ทุกๆ ระยะ 1 เมตร
สังเกตจากลักษณะของเศษหิน / ทรายที่ขึ้นมา ก็จะรู้ว่า
เป็นชั้นกักเก็บน้ำบาดาลหรือไม่

ภาพข้างล่างนี้ มักเจอในภาคใต้ที่เป็นแหล่งหินปูน
บางหมู่บ้านจะพบว่ามีน้ำไหลออกมาจากเชิงเขา
โดยที่ไม่มีลำธารอยู่เลย และบางพื้นที่ อาจเจอหลุมยุบได้

ภาพข้างล่าง เป็น รูป model อย่างง่าย ของชั้นกักเก็บน้ำใต้ดิน
และเกิดเป็น บ่น้ำพุ หรือ หากมีการเจาะ น้ำบาดาล
ก็จะได้ น้ำที่ผุด ขี้นมาเอง โดยไม่ต้องสูบ

ภาพแสดง model อย่างง่าย ของการเติม
และการใช้น้ำใต้ดิน

หลักการของชั้นกักเก็บน้ำบาดาลทั่วไปคือ
มักจะถูกกักเก็บในชั้นหินตะกอนหรือชั้นทรายใต้ดิน
(อันที่จริง น้ำใต้ดินถูกกักเก็บได้ในทุกชั้นหิน ด้วยลักษณะการเกิดของชั้นหินนั้นๆ)
กรณีเป็นชั้นหินกลุ่มหินอัคนี ก็เกิดจากการโก่งตัว หรือแตกหักแล้วสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้
ชั้นหินแปรก็เช่นกัน บ่อบาดาลที่อยู่ในภูเขาที่ไม่ใช่หินปูน มักจะมีลักษณะเช่นนี้
บ้านเราไม่ค่อยพบ ขอไม่พูดถึง
บ้านเราโดยทั่วไป ชั้นน้ำบาดาลถูกกักเก็บในชั้นตะกอนทราย
ที่เคยเป็นแอ่งน้ำ หรือธารน้ำเก่าแก่ เมื่อหลายแสนหลายล้านปีก่อน
ที่ง่ายที่สุดคือ เป็นแนวธารน้ำเดิม (หลายแสน/ล้านปีก่อน ) และมักอยู่ใกล้ธารน้ำปัจจุบัน
ลำดับถัดมาก็เป็นธารน้ำหรือแอ่งน้ำเดิมหรือชั้นตะกอนทรายเมื่อหลายล้านปีก่อน
ปัจจุบันไม่เห็นแนวเดิม มาวันนี้ถูกดิน/หิน ปิดทับหน้าไปหมดแล้ว
มักจะอยู่ลึกลงไปกว่า 30 เมตรจากผิวดิน
พอรู้อย่างนี้ก็ไม่ยาก แรกสุดขอพูดแบบบ้าน ๆ ก่อนนะครับ
เอาเป็นว่า ระยะความลึกไม่เกิน 25 เมตร
ช่างพื้นบ้าน ก็จะต่อท่อแป๊บเหล็กทำหัวให้แหลม หรือรูปเสียม + สายยางน้ำต่อเข้าท้ายท่อ
แล้วพ่นน้ำลงไปในดินเป็นแนวดิ่ง ลึกลงไปเรื่อยๆ
ชั้นแรกจะได้น้ำปนโคลนออกมาเท่านั้น พอลึกลงไปประมาณ 15 เมตร
จะเจอชั้นที่เป็นทราย น้ำที่พ่นแล้วไหลย้อนออกมาด้านบน จะพัดพาเอาทรายในชั้นนั้นมาด้วย
ขณะหมุน หรือเจาะลงไปนั้น ช่างจะสังเกตได้ว่าท่อแป๊บจะลงเร็ว ง่าย และจะรู้สึกว่า
หัวแป๊บด้านล่างเจอทราย (มีเสียดัง) หรือสัมผัสว่าน่าจะเป็นชั้นทรายจากการจับแป๊บหมุนไป-มา
ช่างจะเจาะลงไปอีก กระทั่งพ้นชั้นทรายที่ว่า สมมุติชั้นนี้มี 1.50 เมตร
ช่างมักจะเจาะลงไปอีก2.0 เมตร กระทั่งเจอชั้นดินรองรับข้างใต้
ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าพอแล้ว
จากนั้น เอาก็ค่อยๆ ดึงแป๊บถอยออกมาทีละน้อย มาแช่อยู่ที่ชั้นทราย
แล้วก็พ่นน้ำใสลงไป ประมาณ 10 นาที เพื่อไล่น้ำโคลน
ได้ที่แล้ว ก็ถอดแป๊บออก แล้วเอาท่อ PVC ลงไปแทนที่
ท่อ PVC ส่วนปลาย 1.50 เมตร จะเป็นท่อเซาะร่อง เพื่อหยังลงในชั้นทรายที่ว่า
เซาะร่องเพื่อให้น้ำเข้าในท่อได้
จากนั้น ก็ใช้น้ำใสเป่าลงไปในท่อ PVC กระทั่งหมดโคลน
ถ้ามีอันดับหน่อย ก็จะพ่นด้วยลมพ่นไปกระทั่งน้ำโคลนหมด
ได้น้ำใสมาแทนที่ น้ำใสที่ว่า ก็คือ น้ำบาดาลที่ได้จากการซึมเข้ามาในปลายท่อ 1.50 เมตรนั้นเอง
ถ้าเป็นบ่อที่ลึก เช่น 150 -200 เมตร ก็ทำเช่นเดียวกัน
แต่ใช้เครื่องจักร และท่อเฉพาะ หัวเจาะเฉพาะ
เจาะไป ทุกๆ หนึ่งเมตร จะต้องมีการเก็บตัวอย่างเศษหินเศษดิน
เอามาไว้ในช่อง สำหรับเก็บ (ทำเป็นกล่อง ยาวๆ เรียงเป็นตับ)
พร้อมทั้งเขียนระยะกำกับเสร็จสรรพ
ถ้าเป็นบ่อใหญ่และลึก เขาจะพ่นน้ำผสมเบนโทไนท์ลงไป
จะดูคล้ายๆ โคลนข้นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อสารผสมนี้ จะได้อุ้มเศษกินเศษดิน
ขึ้นมาพร้อมกันไปด้วย แล้วก็กรองออก เอาแต่สารผสม พ่นลงไปอีก
กระทั่งเจอชั้นทราย หรือ ชั้นหินตะกอนที่กักเก็บน้ำบาดาล
ซึ่ง ชั้นหิน หรือ ชั้นทรายนั้นๆ จะมีลักษณะไม่เหมือนกับชั้นอื่น
เช่นเม็ดหิน/ทราย ค่อนข้างกลมหรือไม่ค่อยมีเหลี่ยม อยู่กันแบบไม่แน่นเท่ากับชั้นอื่น
สังเกตได้จากอัตราการเคลื่อตัวลงของแท่งเจาะ
ถ้านำมาส่องกล้องจะเห็นชัดว่าผิวค่อนข้างเรียบ (เพราะเป็นตะกอนของแหล่งน้ำเก่า)
ส่วนมากแล้ว ช่างเจาะ เขาไม่ส่องกล้อง เพราะคุ้นเคยกับทราย/ หิน / กรวดที่ไหลขึ้นมา
บ่อบาดาลที่ให้น้ำมาก มักจะมีกรวดเม็ดมนๆ หรือไม่มีเหลี่ยมอยู่มาก
พบในที่ราบลุ่มภาคกลาง ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถึงกทม.
ภาคอีสานหลายแห่ง เป็นชั้นทรายละเอียด แต่มีเกลือปน
บางแห่ง ไม่มีทราย แต่เป็นแผ่นเกลือหนาเป็นเมตร (ให้ดูรายละเอียดเรื่อง
แหล่งหินเกลือเอาเอง ) หาได้ไม่ยากใน Google
บ่อบาดาลในอีสานมักเป็นชั้นทราย ไม่ค่อยเจอกรวด
ยกเว้นแนวแม่น้ำสายหลักเดิมๆ จะเจอกรวดบ้าง
ถ้าเจอกรวดและอยู่ไม่ห่างจากธารน้ำปัจจุบัน ก็แปลว่า สูบอย่างไรก็ไม่หมด
ภาคเหนือ ตอนล่าง เช่นตาก-กำแพงเพชร แนวใกล้แม่น้ำปิง
มักเจอชั้นทรายปนกรวดอยู่ ก็จะมีน้ำบาดาลแบบนี้อยู่
สูบอย่างไรก็ไม่หมด เพราะมีน้ำจากแม่น้ำมาเติมทุกเวลา
จากนครสวรรค์ลงมา ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา มักจะเป็นชั้นทรายค่อนข้างละเอียด
ช่างต้องเก่ง และต้องใช้น้ำโคลนไม่เช่นนั้น รูบ่อที่ทำมักจะพังลงง่ายๆ
----------------------
ตอบคำถาม ช่างเจาะ จะดูจากเศษ ดิน หินทราย ที่ไหลทะลักออกมาทางปากบ่อ
ได้เศษหิน/ทรายแล้วก็เอามาล้าง แล้วเก็บไว้ทุกๆ ระยะ 1 เมตร
สังเกตจากลักษณะของเศษหิน / ทรายที่ขึ้นมา ก็จะรู้ว่า
เป็นชั้นกักเก็บน้ำบาดาลหรือไม่
แสดงความคิดเห็น
คนเจาะน้ำบาดาล รู้ได้อย่างไรว่าถึงชั้นบริเวณที่มีน้ำแล้ว
ใช้น้ำโคลนหล่อเย็นหัวสว่าน เมื่อเจาะไประดับหนึ่งแล้วรู้ได้อย่างไรครับว่า
ที่ความลึกระดับนั้นจะมีน้ำอยู่ มีวิธีดูอย่างไรครับ