คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
พงศาวดาร กับ พระราชพงศาวดาร ไม่ได้มีความแตกต่างกันครับ ตามความหมายก็คือจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และอาณาจักร โดยมีรากศัพท์มาจาก พงศ์+อวตาร หมายถึงจดหมายเหตุของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเปรียบเสมือพระนารายณ์อวตารลงมาเสวยราชสมบัติลงโลกมนุษย์
แต่ "พระราชพงศาวดาร" เท่าที่พบคือนิยมเรียกเฉพาะพงศาวดารของไทยครับ อาจเพราะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง จึงเรียกนำหน้าด้วยคำว่า "พระราช" แต่สำหรับพงศาวดารชาติอื่นๆ จะนิยมเรียกว่า "พงศาวดาร" เฉยๆ ครับ
ส่วน "ประชุมพงศาวดาร" เป็นหนังสือชุดซึ่งตีพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์เรื่องต่างๆ ของไทย ทั้งเอกสารในประเทศ และเอกสารที่แปลจากภาษาต่างประเทศ โดยโบราณคดีสโมสร, หอสมุดพระวชิรญาณ และหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นผู้อนุญาตให้จัดพิมพ์ในวาระต่างๆ มีทั้งหมด ๘๒ ภาคครับ
แต่ "พระราชพงศาวดาร" เท่าที่พบคือนิยมเรียกเฉพาะพงศาวดารของไทยครับ อาจเพราะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง จึงเรียกนำหน้าด้วยคำว่า "พระราช" แต่สำหรับพงศาวดารชาติอื่นๆ จะนิยมเรียกว่า "พงศาวดาร" เฉยๆ ครับ
ส่วน "ประชุมพงศาวดาร" เป็นหนังสือชุดซึ่งตีพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์เรื่องต่างๆ ของไทย ทั้งเอกสารในประเทศ และเอกสารที่แปลจากภาษาต่างประเทศ โดยโบราณคดีสโมสร, หอสมุดพระวชิรญาณ และหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นผู้อนุญาตให้จัดพิมพ์ในวาระต่างๆ มีทั้งหมด ๘๒ ภาคครับ
แสดงความคิดเห็น
พงศาวดาร ต่างกับ พระราชพงศาวดาร ยังไงหรอครับ
แล้ว ประชุมพงศาวดารคืออะไรครับ