นิ้วขาด(ไม่ได้เกิดจากการทำงาน) ต่อได้แล้ว แต่ใช้งานได้ไม่เหมือนเดิม เบิกเงินทดแทนจากประกันสังคมได้หรือไม่

กระทู้คำถาม
คือผมประสบอุบัติเหตุ ถูกโซ่รถจักรยานยนต์ตัดนิ้วโป้ง(มือข้างขวา)ขาดออกจากกันเลย ขาดออกไป1ข้อ
แล้วผมได้ไปทำการรักษา โดยหมอสามารถต่อนิ้วให้ได้แล้ว แต่กระดูกนิ้วข้อบนและข้อล่างถูกเชื่อมยึดติดกัน จึงไม่สามารถงอนิ้วโป้งได้อีกต่อไป แต่ข้อล่างที่ยึดติดกับกระดูกมือจะขยับได้ คือถ้าขยับ ก็จะขยับได้แบบนิ้วตรงๆแข็งทื่อ ตอนนี้ยังทำการรักษาอยู่ มีลวดดามกระดูกอยู่ในนิ้ว ยังไม่ได้ดึงออก
หมอนัดX-Rayและน่าจะดึงลวดออกทั้งหมด อีกครั้งเดือนมกราคม61  แล้วก็กายภาพเพื่อให้นิ้วขยับหรือใช้งานให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้
จึงอยากสอบถามว่า
1.สามารถเบิกเงินทดแทนที่นิ้วใช้งานได้ไม่เหมือนเดิมจากประกันสังคมได้หรือไม่(ไม่ใช่เงินทดแทนรายได้จากการหยุดงานรักษาตัว)
2.ต้องติดต่อประกันสังคมตอนไหน
3.แบบนี้เรียกว่าพิการไหม ร้องไห้
***มีภาพอธิบายด้านล่าง***
***ภาพประกอบต่อไปนี้ เป็นภาพหามาจากในอินเตอร์เน็ต ภาพX-Rayจริง ไม่ได้ขอหมอมาครับ ***

ภาพที่1 คือ ใส่เหล็กดามกระดูกไว้3ท่อน ตั้งแต่ตอนผ่าตัดต่อนิ้ว เดือนตุลาคม60

ดามเหล็กไว้เพื่อ ไม่ให้ใช้งานหรือขยับนิ้วนี้ เพราะอาจเกิดการรบกวนการทำงานของเส้นเลือด,เส้นประสาท,เส้นเอ็น,กระดูก เป็นต้น จะทำให้นิ้วไม่ติด หลังจากผ่านไป2เดือน หมอก็นัดมาX-Rayอีกครั้ง แล้วหมอก็บอกว่าจะถอยเหล็กออกข้อนึง เพื่อให้กระดูกข้อล่างที่ติดกับกระดูกมือเป็นอิสระ

ภาพที่2 ถอยเหล็กออก 17 mm เดือนธันวาคม60

ที่วงไว้คือช่วงที่นิ้วถูกตัดขาด และข้อบน-ล่าง ถูกเชื่อมติดกันเป็นชิ้นเดียว คือไม่สามารถง้อนิ้วได้อีกตลอดไป
การดึงก็ง่ายๆ ใช้คีมล็อกปากแหลม ล็อคเข้ากับเหล็กที่ยื่นโผล่ออกมาจากปลายนิ้ว แล้วก็หมุนซ้ายหมุนขวา ค่อยๆดึงขึ้นที่ละนิดๆ จนครบความยาวที่หมอวัดไว้ 17 mm แล้วให้คีมตัดเหล็กส่วนที่ยาวเกินออกมาให้เหมือนเดิม แล้วก็ปิดผ่าก็อต เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก หลังจากถอยเหล็กออกมาแล้วก็ลองขยับนิ้วดู ขยับได้เล็กน้อยครับ มันยังตึงๆ เสียวๆอยู่ ปลายนิ้วส่วนที่ขาดออกไป ก็ยังไม่รู้สึก หมอบอกว่า ความรู้สึกเป็นส่วนที่จะกลับมาช้าที่สุด ต้องใช้เวลาเป็นปี แต่จะค่อยๆรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ

เรื่องก็ประมาณนี้ครับ เอาไว้อัพเดทใหม่หลังจากหมอนัดตรวจรอบหน้าเดือนมกราคม61 ครับ
   ขอบคุณครับเยี่ยม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่