สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA: จิสด้า) จะจัดงานใหญ่ มหกรรม EECi@SKP หรือ EECi Fair ระหว่างวันที่ 10 - 14 มกราคม 2561 ที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รู้จักและเข้าใจกรอบการทำงานของ EECi หรือ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation) ในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีกิจกรรมหลากหลาย รวมถึงการพบปะแลกเปลี่ยนแนวคิดอย่างกว้างขวาง เพื่อนำไปสู่การร่วมลงทุนหรือทำธุรกิจในอนาคต โดยคาดจะมีผู้ร่วมงานไม่ต่ำกว่า 10,000 คน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข่าวจาก MGR Online: https://mgronline.com/science/detail/9600000119612
ข้อมูลพื้นฐาน
จิสด้ากับอุทยานอวกาศ
จิสด้าเป็นองค์การมหาชน ที่ตั้งโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บริการด้านข้อมูลภูมิสารสนเทศ และวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย โดยมีหน่วยงานในสังกัดหลายแห่ง รวมถึงอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมทางอวกาศ (Space Krenovation Park หรือ SKP) ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ถือเป็นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระดับภูมิภาค และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบนวัตกรรมของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมที่มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
โดยภายในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศมีพื้นที่ให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้าทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมกับให้บริการด้านการสนับสนุนการวิจัยให้เกิดผลในเชิงพาณิชย์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
EECi
จากมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดตั้ง โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor Development: EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน โดยการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)
ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าว จะมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เพื่อให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมไปสู่ประเทศไทย 4.0 และเชื่อมโยงระบบการค้าและการขนส่งสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นว่า การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก จะเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่จะ
ส่งเสริมให้ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกของไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และกำลังคนของประเทศและภูมิภาค จึงเสนอแนวทางในการยกระดับและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างพื้นที่นวัตกรรมใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสม ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในพื้นที่ เพื่อช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

และให้อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการวิจัย และนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ หรือ Aerospace
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป้าหมายใน EECi ในเบื้องต้น ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1. ARIPOLIS ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (Automation, Robotics and Intelligent Systems)
2. BIOPOLIS ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ (Life Science & Biotechnology)
3. KRENOVAPOLIS ศูนย์กลางและฐานในการรังสรรค์นวัตกรรมจากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อมูลจาก http://www.eeci.or.th/
จิสด้าปูทางการลงทุนนวัตกรรมชั้นสูง จัดมหกรรมยิ่งใหญ่อีอีซีไอแฟร์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รู้จักและเข้าใจกรอบการทำงานของ EECi หรือ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation) ในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีกิจกรรมหลากหลาย รวมถึงการพบปะแลกเปลี่ยนแนวคิดอย่างกว้างขวาง เพื่อนำไปสู่การร่วมลงทุนหรือทำธุรกิจในอนาคต โดยคาดจะมีผู้ร่วมงานไม่ต่ำกว่า 10,000 คน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อมูลพื้นฐาน
จิสด้ากับอุทยานอวกาศ
จิสด้าเป็นองค์การมหาชน ที่ตั้งโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บริการด้านข้อมูลภูมิสารสนเทศ และวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย โดยมีหน่วยงานในสังกัดหลายแห่ง รวมถึงอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมทางอวกาศ (Space Krenovation Park หรือ SKP) ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ถือเป็นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระดับภูมิภาค และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบนวัตกรรมของประเทศ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมที่มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
โดยภายในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศมีพื้นที่ให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้าทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พร้อมกับให้บริการด้านการสนับสนุนการวิจัยให้เกิดผลในเชิงพาณิชย์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
EECi
จากมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดตั้ง โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor Development: EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน โดยการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)
ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าว จะมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง เพื่อให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมไปสู่ประเทศไทย 4.0 และเชื่อมโยงระบบการค้าและการขนส่งสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นว่า การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก จะเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกของไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และกำลังคนของประเทศและภูมิภาค จึงเสนอแนวทางในการยกระดับและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างพื้นที่นวัตกรรมใหม่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสม ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย รวมถึงชุมชนในพื้นที่ เพื่อช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงสร้างให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ทั้งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
และให้อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการวิจัย และนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ หรือ Aerospace
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้