เมื่อวานหอบสังขารไปตรวจเช็คเลือดตามที่หมอสั่งที่ BayCare : Bardmoor ซึ่งอยู่ไกลจากบ้านราว 15 นาที โทรไปจองก่อน ไปถึงเลยไม่ต้องรอนาน พนักงานดูดเลือดไป 2 หลอด เพื่อตรวจหาการทำงานของตับ (LFT) ละเพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ตามที่รายงานไว้แล้วว่าเมื่ออยู่ในโรงพยาบาลจนออก หมอไม่ไว้ใจค่าเม็ดเลือดขาวที่ต่ำมากกว่าปกติ
------
เราว่าโรคประจำตัวเราคือโรคครูครูนี่มันไม่ไปไหนนะ ออกมาจากวงการแล้วก็ยังทำตัวเหมือนเดิม คือ มีอะไรที่เป็นข้อความรู้จากการศึกษาหาอ่าน เห็นว่าก่อประโยชน์ได้บ้างก็อยากค้น คว้า มาเขียนให้อ่าน เพราะตอนนี้ก็รับเงินบำนาญจากชาติมาทุกเดือน สมควรทำประโยชน์บ้างตามสมควร
------
มีว่ากันด้วยเรื่องของตับ ซึ่งอันนี้ไม่เกี่ยวกับน้ำตกแต่อย่างใด... ตับมีหน้าที่มากมายเกินกว่าขนาดที่ใหญ่ของมัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสารต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โปรตีนไข่ขาว หรือ Albumin ช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือดไม่ให้เกิดการบวมน้ำ ผลิตน้ำดี และเกลือน้ำดีเพื่อช่วยย่อยสลายไขมัน สร้างสารห้ามเลือด เป็นเสมือนโรงงานสะสมพลังงาน และผลิตพลังงานให้ร่างกายโดยสลายสารอาหาร คอยกำจัดของเสียในร่างกาย ทำลายและกำจัดสารพิษในร่างกาย และอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญคือ เป็นที่อยู่ของเม็ดเลือดขาวที่เปรียบเป็นบอดี้การ์ดคอยปกป้องไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาทำร้ายร่างกายเรานั่นเอง ดังนั้นการตรวจการทำงานของตับกับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

การตรวจการทำงานของตับ หรือ Liver Function Test ใช้ตัวย่อในวงการแพทย์ว่า LFT คือ การตรวจทางเคมีคลินิก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานะของตับ จากการเจาะเลือดและ ตรวจวิเคราะห์โดยนักเทคนิคการแพทย์ เพื่อตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดหลายตัวเข้ามาประกอบด้วยกันเป็นชุด การตรวจดู LFT สามารถบอกผล Lab หลายค่าคือ
ค่าปกติของผลเลือด
Total protein 6.0 - 8.0 g/dl
Albumin 3.5 - 5.0 g/dL
Globulin 1.5 - 3.2 g/dL
Total bilirubin 0.1 - 1.0 mg%
Direct Bilirubin 0.1 - 0.3 mg %
AST (SGOT) 8 - 50 U/L
ALT (SGPT) 8 - 50 U/L
ALP (Alk. Phosphatase) 35 - 110 U/L
ผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างโปรตีน ค่าที่นิยมตรวจได้แก่
- Albumin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Alb
- Globulin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Glob
- Protein หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Prot
การแปลผลในกลุ่มนี้ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ เนื่องจากหน้าที่หนึ่งของตับคือการสร้างโปรตีนหลายๆ ชนิด ถ้าตับทำงานแย่ลงหรือเสื่อมสภาพ เช่น ตับอักเสบ, ตับแข็ง ก็จะทำให้มีความสามารถในการสร้างโปรตีนลดลง ถ้าตรวจเลือดก็จะพบว่าค่าของ Albumin, Globulin, Protein ต่ำลงเช่นเดียวกัน
-------
ผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับการสังเคราะห์และขับน้ำดี ค่าที่ใช้ตรวจ ได้แก่
- Total Bilirubin มักถูกเขียนย่อๆ ว่า T. Bilirubin
- Direct Bilirubin เขียนย่อๆ ว่า D. Bilirubin
- Indirect Bilirubin (ปกติจะไม่มีการเขียนแสดงค่าในใบรายงานผล แต่สามารถคำนวณได้ โดยใช้สูตร Indirect bilirubin = Total bilirubin – direct bilirubin)
การแปลผลจะเน้นที่ค่าของ Direct (Conjugated) Bilirubin และ Indirect (Uncojugated) bilirubin โดยทั่วไปแล้วเมื่อเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย Hemoglobin จะเกิดการสลายตัว ได้เป็น Uncojugated Bilirubin (Indirect bilirubin) ดังนั้น ค่าของ Indirect bilirubin มากกว่าปกติ อาจบ่งบอกถึงสภาวะเม็ดเลือดแดงแตกสลายมากผิดปกติจนเกิดภาวะดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลืองตามมา มากกว่าที่จะเป็นปัญหาโดยตรงของตับ
จากนั้น Unconjugated bilirubinจะถูกส่งไปที่ตับ ผ่านกระบวนการกำจัดทิ้งโดยการ conjugate ทำให้กลายสภาพเป็น Conjugated bilirubin ซึ่งละลายน้ำได้ดีขึ้นเพื่อส่งต่อไปขจัดทิ้งทางท่อน้ำดีออกไปรวมกับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีสีเหลือง การที่เซลล์ตับมีการอักเสบซึ่งทำให้ไม่สามารถเอา Unconjugate bilirubin เข้าไปในเซลล์เพื่อ Conjugateได้ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เจาะเลือดเจอค่า Indirect bilirubin ในเลือดสูงผิดปกติได้เช่นกัน
ในทางตรงกันข้าม ถ้ากระบวนการทำงานของตับเป็นไปโดยปกติสามารถเปลี่ยนจาก Unconjugate bilirubin ให้กลายเป็น Conjugated bilirubin ได้ (Direct bilirubin) แต่กลับเกิดปัญหาอุดกั้นของท่อน้ำดี จนไม่สามารถขับน้ำดีทิ้งไปได้ ก็จะมีผลทำให้ Conjugated bilirubin ล้นกลับไปในกระแสเลือดได้ ถ้าไปตรวจเลือดคนไข้ในกลุ่มนี้ ก็จะพบว่าค่า Direct Bilirubin ขึ้นสูงกว่าปกติ
------
ผลเลือดที่บ่งบอกถึงสภาวะเซลล์ตับ หรือเอนไซม์ (enzyme)ตับ ที่นิยมตรวจ ได้แก่
- AST หรือเรียกอีกชื่อว่า SGOT
- ALT หรือเรียกอีกชื่อว่า SGPT
- Alkaline phosphatase หรือมักจะเขียนย่อๆ ว่า ALP
การที่มีค่าเอนไซม์เหล่านี้ โดยเฉพาะค่า SGOT และ SGPT ที่สูงขึ้นมากนั้น เป็นตัวบ่งบอกว่า เซลล์ตับกำลังมีการอักเสบหรือแตกสลายอยู่ จึงทำให้เอนไซม์ตับซึ่งปกติจะอยู่แต่ภายในเซลล์ตับเท่านั้นหลุดลอดออกมาในกระแสเลือดมากขึ้นให้เราตรวจเจอได้ ค่าเอนไซม์ ALP สูงขึ้นผิดปกติก็สามารถพบได้ในกรณีที่มีก้อนแอบแฝงเบียดในตับได้ จำเป็นจะต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวน์ (Ultrasound) เป็นต้น

ตานี้มาถึงเรื่องการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด หรือ complete blood count (CBC) ซึ่ง เป็นการตรวจวัดเซลล์ต่างๆในเลือดได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดโดยอาจจะตรวจด้วยเครื่องหรือโดยการส่องกล้องซึ่งจะตรวจ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดซึ่งจะมีการตรวจต่างๆดังนี้
จำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงจะนำออกซิเจนจากปอดไปสู่ร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายไปขับออกที่ปอด จำนวนเม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยเรียกว่าโลหิตจาง ร่างกายไม่สามารถที่จะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ หากเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากเรียกว่า Polycythemia จะมีโอกาศเกิดเม็ดเลือดแดงอุดหลอดเลือดฝอย
ความเข็มของเลือด Hematocrit (HCT, packed cell volume, PCV). ความเข้มของเลือดเป็นการวัดปริมาตรของเม็ดเลือดแดงเมื่อเทียบกับปริมาตรของเลือด เป็นตัวบอกว่าเรามีโลหิตจางหรือไม่
Hemoglobin เป็นโปรตีนในเม็ดเลือดที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ทำหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย
Red blood cell indices.ประกอบไปด้วย: mean corpuscular volume (MCV), mean corpuscular hemoglobin (MCH), and mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC). MCV เป็นการวัดขนาดของเม็ดเลือดแดง MCH เป็นค่าของเฉลี่ยของ hemoglobinในเม็ดเลือดแดง MCHC เป็นการวัดค่า hemoglobinในเม็ดเลือดแดง ค่าเหล่านี้จะช่วยเราวินิจฉัยแยกโรคโลหิตจาง
------
เม็ดเลือดขาว White blood cell ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีการติดเชื้อร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็วเพื่อไปทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง แต่มีปริมาณน้อยกว่าเม็ดเลือดแดง
อัตราส่วนเม็ดเลือดขาว Differential blood count (Diff) ส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดขาวได้แก่ neutrophils, lymphocytes, monocytes, eosinophils, และ basophils. สำหรับตัวอ่อนของ neutrophils เรียกว่า band neutrophils, เซลล์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน เช่น ป้องกันการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้
------
การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (White Blood Cell Count, WBC) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml
ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เช่น Aplastic Amemia หรือไขกระดูกฝ่อ ซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด
ถ้าWBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย แต่ถ้าจำนวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่น เช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน อันนั้นจะทำให้สงสัยพวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ดเลือดขาว หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic Leukemia
------
เอานะ ร่ายยาวสาระความรู้ที่เกี่ยวข้องมาเยอะ ที่เยอะคือตัวเองก็อยากเก็บไว้เป็นความรู้ด้วยแหละ ตอนนี้ก็จะบอกว่าที่ไปตรวจมาไม่ได้รู้ผลแบบระเอียดทั้งหมด แต่หมอบอกให้โทรไปเช็คว่าค่าการนับเม็ดเลือดขาวเป็นอย่างไร พอรู้ค่ามาคือยังต่ำมาก หมอว่า ถ้าเป็นหมอ หมอไม่เสี่ยงไป Colombia หรอก เพราะนอกจากค่าเม็ดเลือดขาวต่ำแล้ว ค่าไทรอยด์เป็นพิษก็สูงมาก อาจมีผลต่อการเต้นผิดปกติของหัวใจอย่างตอนที่เข้าฉุกเฉิน อาจเสี่ยงต่ออาการเลือดคลั่งในสมอง ....พอ ๆ หมอ โอเคไม่ไปแล้วจ้า
สรุปแล้วป้าก็ต้องกลับมายกเลิกการตะลอนทัวร์ Colombia แบบเข้าใจ คือ เอาชีวิตตัวเองรอดไว้ก่อน อย่าว่าแต่ที่หมอพูดมาเลย เมื่อวานหลังจากกลับจากโรงพยาบาล ลุงแกใจดี บอกไปกินซุปร้อน ๆ กันเถิด โอเค ไป แต่พอกลับมาถึงบ้านเท่านั้นแหละ มันเหนื่อยเหลือเกิน ลงนอนไปอีก แบบนี้จะไปเดินเที่ยวไหวเหรอ แค่เดินไปเดินมานิด ๆ หน่อย ๆ นี่ก็ใจจะขาดแล้ว ...บอกแล้วว่าอย่าเป็นคนแก่ และอย่าเป็นคนป่วย
ป.ล. รูปอาหารกลางวันที่กิน รูปแรกเป็น Autumn Squash Soup และ Asian Chicken Salad ของป้า ที่จริงไม่อยากกินสลัดเหมือนกันเพราะมันไม่สุข แต่เชื่อใจว่าร้านนี้เขาน่าจะสุขอนามัยดี เลยสั่งมากิน รูปที่ 2 อาหารของลุงเป็น Broccoli Cheddar Soup มาเป็นถ้วยทำจากขนมปัง แกว่าอร่อยมาก ของป้าก็อร่อย กินหมดแต่ซุป เหลือสลัดใส่กล่องกลับบ้าน
***เข้ามาแล้วอย่าลืมทักทายกันด้วยการกดไลค์และคอมเม้นต์ อาจแชร์ประสบการณ์เพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่านคนอื่น ๆ ต่อไปได้ค่ะ
#เที่ยวไม่สบายสไตล์สุภาไผ่ #สุขภาพกับการท่องเที่ยว #ป้าต้องเข้าโรงหมอ #ไทรอยด์เป็นพิษ #ปัญหาสุขภาพ #การตะลอนทัวร์ของป้าถ้าจะอด #ตะลอนทัวร์ทั่วโลก #ป้าตะลอนทัวร์
#สุขภาพกับการตะลอนทัวร์ของป้า #2
------
เราว่าโรคประจำตัวเราคือโรคครูครูนี่มันไม่ไปไหนนะ ออกมาจากวงการแล้วก็ยังทำตัวเหมือนเดิม คือ มีอะไรที่เป็นข้อความรู้จากการศึกษาหาอ่าน เห็นว่าก่อประโยชน์ได้บ้างก็อยากค้น คว้า มาเขียนให้อ่าน เพราะตอนนี้ก็รับเงินบำนาญจากชาติมาทุกเดือน สมควรทำประโยชน์บ้างตามสมควร
------
มีว่ากันด้วยเรื่องของตับ ซึ่งอันนี้ไม่เกี่ยวกับน้ำตกแต่อย่างใด... ตับมีหน้าที่มากมายเกินกว่าขนาดที่ใหญ่ของมัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสารต่างๆ ที่สำคัญ เช่น โปรตีนไข่ขาว หรือ Albumin ช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือดไม่ให้เกิดการบวมน้ำ ผลิตน้ำดี และเกลือน้ำดีเพื่อช่วยย่อยสลายไขมัน สร้างสารห้ามเลือด เป็นเสมือนโรงงานสะสมพลังงาน และผลิตพลังงานให้ร่างกายโดยสลายสารอาหาร คอยกำจัดของเสียในร่างกาย ทำลายและกำจัดสารพิษในร่างกาย และอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญคือ เป็นที่อยู่ของเม็ดเลือดขาวที่เปรียบเป็นบอดี้การ์ดคอยปกป้องไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาทำร้ายร่างกายเรานั่นเอง ดังนั้นการตรวจการทำงานของตับกับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
การตรวจการทำงานของตับ หรือ Liver Function Test ใช้ตัวย่อในวงการแพทย์ว่า LFT คือ การตรวจทางเคมีคลินิก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานะของตับ จากการเจาะเลือดและ ตรวจวิเคราะห์โดยนักเทคนิคการแพทย์ เพื่อตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดหลายตัวเข้ามาประกอบด้วยกันเป็นชุด การตรวจดู LFT สามารถบอกผล Lab หลายค่าคือ
ค่าปกติของผลเลือด
Total protein 6.0 - 8.0 g/dl
Albumin 3.5 - 5.0 g/dL
Globulin 1.5 - 3.2 g/dL
Total bilirubin 0.1 - 1.0 mg%
Direct Bilirubin 0.1 - 0.3 mg %
AST (SGOT) 8 - 50 U/L
ALT (SGPT) 8 - 50 U/L
ALP (Alk. Phosphatase) 35 - 110 U/L
ผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างโปรตีน ค่าที่นิยมตรวจได้แก่
- Albumin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Alb
- Globulin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Glob
- Protein หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Prot
การแปลผลในกลุ่มนี้ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ เนื่องจากหน้าที่หนึ่งของตับคือการสร้างโปรตีนหลายๆ ชนิด ถ้าตับทำงานแย่ลงหรือเสื่อมสภาพ เช่น ตับอักเสบ, ตับแข็ง ก็จะทำให้มีความสามารถในการสร้างโปรตีนลดลง ถ้าตรวจเลือดก็จะพบว่าค่าของ Albumin, Globulin, Protein ต่ำลงเช่นเดียวกัน
-------
ผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับการสังเคราะห์และขับน้ำดี ค่าที่ใช้ตรวจ ได้แก่
- Total Bilirubin มักถูกเขียนย่อๆ ว่า T. Bilirubin
- Direct Bilirubin เขียนย่อๆ ว่า D. Bilirubin
- Indirect Bilirubin (ปกติจะไม่มีการเขียนแสดงค่าในใบรายงานผล แต่สามารถคำนวณได้ โดยใช้สูตร Indirect bilirubin = Total bilirubin – direct bilirubin)
การแปลผลจะเน้นที่ค่าของ Direct (Conjugated) Bilirubin และ Indirect (Uncojugated) bilirubin โดยทั่วไปแล้วเมื่อเม็ดเลือดแดงถูกทำลาย Hemoglobin จะเกิดการสลายตัว ได้เป็น Uncojugated Bilirubin (Indirect bilirubin) ดังนั้น ค่าของ Indirect bilirubin มากกว่าปกติ อาจบ่งบอกถึงสภาวะเม็ดเลือดแดงแตกสลายมากผิดปกติจนเกิดภาวะดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลืองตามมา มากกว่าที่จะเป็นปัญหาโดยตรงของตับ
จากนั้น Unconjugated bilirubinจะถูกส่งไปที่ตับ ผ่านกระบวนการกำจัดทิ้งโดยการ conjugate ทำให้กลายสภาพเป็น Conjugated bilirubin ซึ่งละลายน้ำได้ดีขึ้นเพื่อส่งต่อไปขจัดทิ้งทางท่อน้ำดีออกไปรวมกับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีสีเหลือง การที่เซลล์ตับมีการอักเสบซึ่งทำให้ไม่สามารถเอา Unconjugate bilirubin เข้าไปในเซลล์เพื่อ Conjugateได้ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เจาะเลือดเจอค่า Indirect bilirubin ในเลือดสูงผิดปกติได้เช่นกัน
ในทางตรงกันข้าม ถ้ากระบวนการทำงานของตับเป็นไปโดยปกติสามารถเปลี่ยนจาก Unconjugate bilirubin ให้กลายเป็น Conjugated bilirubin ได้ (Direct bilirubin) แต่กลับเกิดปัญหาอุดกั้นของท่อน้ำดี จนไม่สามารถขับน้ำดีทิ้งไปได้ ก็จะมีผลทำให้ Conjugated bilirubin ล้นกลับไปในกระแสเลือดได้ ถ้าไปตรวจเลือดคนไข้ในกลุ่มนี้ ก็จะพบว่าค่า Direct Bilirubin ขึ้นสูงกว่าปกติ
------
ผลเลือดที่บ่งบอกถึงสภาวะเซลล์ตับ หรือเอนไซม์ (enzyme)ตับ ที่นิยมตรวจ ได้แก่
- AST หรือเรียกอีกชื่อว่า SGOT
- ALT หรือเรียกอีกชื่อว่า SGPT
- Alkaline phosphatase หรือมักจะเขียนย่อๆ ว่า ALP
การที่มีค่าเอนไซม์เหล่านี้ โดยเฉพาะค่า SGOT และ SGPT ที่สูงขึ้นมากนั้น เป็นตัวบ่งบอกว่า เซลล์ตับกำลังมีการอักเสบหรือแตกสลายอยู่ จึงทำให้เอนไซม์ตับซึ่งปกติจะอยู่แต่ภายในเซลล์ตับเท่านั้นหลุดลอดออกมาในกระแสเลือดมากขึ้นให้เราตรวจเจอได้ ค่าเอนไซม์ ALP สูงขึ้นผิดปกติก็สามารถพบได้ในกรณีที่มีก้อนแอบแฝงเบียดในตับได้ จำเป็นจะต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวน์ (Ultrasound) เป็นต้น
ตานี้มาถึงเรื่องการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด หรือ complete blood count (CBC) ซึ่ง เป็นการตรวจวัดเซลล์ต่างๆในเลือดได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดโดยอาจจะตรวจด้วยเครื่องหรือโดยการส่องกล้องซึ่งจะตรวจ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดซึ่งจะมีการตรวจต่างๆดังนี้
จำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงจะนำออกซิเจนจากปอดไปสู่ร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายไปขับออกที่ปอด จำนวนเม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยเรียกว่าโลหิตจาง ร่างกายไม่สามารถที่จะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ หากเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากเรียกว่า Polycythemia จะมีโอกาศเกิดเม็ดเลือดแดงอุดหลอดเลือดฝอย
ความเข็มของเลือด Hematocrit (HCT, packed cell volume, PCV). ความเข้มของเลือดเป็นการวัดปริมาตรของเม็ดเลือดแดงเมื่อเทียบกับปริมาตรของเลือด เป็นตัวบอกว่าเรามีโลหิตจางหรือไม่
Hemoglobin เป็นโปรตีนในเม็ดเลือดที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ทำหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย
Red blood cell indices.ประกอบไปด้วย: mean corpuscular volume (MCV), mean corpuscular hemoglobin (MCH), and mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC). MCV เป็นการวัดขนาดของเม็ดเลือดแดง MCH เป็นค่าของเฉลี่ยของ hemoglobinในเม็ดเลือดแดง MCHC เป็นการวัดค่า hemoglobinในเม็ดเลือดแดง ค่าเหล่านี้จะช่วยเราวินิจฉัยแยกโรคโลหิตจาง
------
เม็ดเลือดขาว White blood cell ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีการติดเชื้อร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็วเพื่อไปทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง แต่มีปริมาณน้อยกว่าเม็ดเลือดแดง
อัตราส่วนเม็ดเลือดขาว Differential blood count (Diff) ส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดขาวได้แก่ neutrophils, lymphocytes, monocytes, eosinophils, และ basophils. สำหรับตัวอ่อนของ neutrophils เรียกว่า band neutrophils, เซลล์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน เช่น ป้องกันการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้
------
การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว (White Blood Cell Count, WBC) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml
ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เช่น Aplastic Amemia หรือไขกระดูกฝ่อ ซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด
ถ้าWBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย แต่ถ้าจำนวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่น เช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน อันนั้นจะทำให้สงสัยพวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ดเลือดขาว หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic Leukemia
------
เอานะ ร่ายยาวสาระความรู้ที่เกี่ยวข้องมาเยอะ ที่เยอะคือตัวเองก็อยากเก็บไว้เป็นความรู้ด้วยแหละ ตอนนี้ก็จะบอกว่าที่ไปตรวจมาไม่ได้รู้ผลแบบระเอียดทั้งหมด แต่หมอบอกให้โทรไปเช็คว่าค่าการนับเม็ดเลือดขาวเป็นอย่างไร พอรู้ค่ามาคือยังต่ำมาก หมอว่า ถ้าเป็นหมอ หมอไม่เสี่ยงไป Colombia หรอก เพราะนอกจากค่าเม็ดเลือดขาวต่ำแล้ว ค่าไทรอยด์เป็นพิษก็สูงมาก อาจมีผลต่อการเต้นผิดปกติของหัวใจอย่างตอนที่เข้าฉุกเฉิน อาจเสี่ยงต่ออาการเลือดคลั่งในสมอง ....พอ ๆ หมอ โอเคไม่ไปแล้วจ้า
-----
ป.ล. รูปอาหารกลางวันที่กิน รูปแรกเป็น Autumn Squash Soup และ Asian Chicken Salad ของป้า ที่จริงไม่อยากกินสลัดเหมือนกันเพราะมันไม่สุข แต่เชื่อใจว่าร้านนี้เขาน่าจะสุขอนามัยดี เลยสั่งมากิน รูปที่ 2 อาหารของลุงเป็น Broccoli Cheddar Soup มาเป็นถ้วยทำจากขนมปัง แกว่าอร่อยมาก ของป้าก็อร่อย กินหมดแต่ซุป เหลือสลัดใส่กล่องกลับบ้าน
***สนใจอ่านเรื่องราวการท่องเที่ยวตะลอนทัวร์ของป้า ติดตามได้จากเพจนี้นะคะ https://www.facebook.com/BBTravelAroundTheWorld/
***เข้ามาแล้วอย่าลืมทักทายกันด้วยการกดไลค์และคอมเม้นต์ อาจแชร์ประสบการณ์เพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่านคนอื่น ๆ ต่อไปได้ค่ะ
#เที่ยวไม่สบายสไตล์สุภาไผ่ #สุขภาพกับการท่องเที่ยว #ป้าต้องเข้าโรงหมอ #ไทรอยด์เป็นพิษ #ปัญหาสุขภาพ #การตะลอนทัวร์ของป้าถ้าจะอด #ตะลอนทัวร์ทั่วโลก #ป้าตะลอนทัวร์