IMDB: 8.6
Rotten Tomatoes: 97%
Director: Michael Curtiz
Casts: Humphrey Bogart, Ingrid Bergman & more
Theme: Drama, Romance, War
เนื้อเรื่องโดยสังเขป
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคที่นาซีกำลังรุ่งเรือง ณ ประเทศโมร้อคโก Rick Blaine (Humphrey Bogart) หนุ่มใหญ่ชาวอเมริกันเจ้าของไนท์คลับผู้อพยพถื่นฐานมาปักหลักอยู่ที่ Casablanca ได้หวนกลับมาพบคนรักเก่า Ilsa Lund (Ingrid Bergman) พร้อมสามีของเธอ Victor Laszlo (Paul Henreid) ผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายต่อต้าน พวกเขามาที่แห่งนี้เนื่องจากต้องการหาใบผ่านทางไปอเมริกาเพื่อไปสานงานต่อสู้กับเหล่านาซี และสถานที่แห่งนี้เป็นประตูด่านสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้นใบผ่านทางนั้นก็สุดแสนจะหายากและบังเอิญ Rick Blaine ก็มีมันอยู่.
เกร็ดเล็กๆ
1) Casablanca ชนะออสการ์สามรางวัล ได้แก่หนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, และบทหนังยอดเยี่ยม
2) มีข่าวลือว่า Ronald Reagan และ Ann Sheridan เกือบจะมาได้รับบท Rick และ Ilsa ซึ่งสองคนนี้เคยเจอกันมาก่อนในเรื่อง Kings Row 1942 อย่างไรเสียข่าวลือดังกล่าวยังไม่มีการรับรองว่าเป็นเรื่องจริง
3) William Wyler (Roman Holiday 1953 และ Ben-Hur 1959) เกือบจะได้มากำกับหนังเรื่องนี้ แต่คิวไม่ว่าง ผู้สร้างหนัง Hal B. Wallis เลยเลือกเพื่อนสนิทตัวเอง Michael Curtiz มากำกับแทนซะเลย
4) ฉากซีเคว้นเปิดตัวหนังที่มีแผนที่และพากย์ทับ อธิบายว่าเหล่าผู้อพยพจากสงครามมาที่เมืองคาซาบลังก้าได้อย่างไร …ไม่ใช่ฝีมือการกำกับของ Michael Curtiz แต่เป็น Don Siegel ผู้ซึ่งภายหลังผลิตผลงานของตัวเอง อาทิ Invasion of the Body Snatchers (1956) หรือ Dirty Harry (1971)
5) ฝีมือกำกับแรกของ Curtiz นั้นเป็นฉากอดีตในปารีส ซึ่งเป็นฉากปัญหาแก่ Bogart กังวลว่าตัวเองจะทำไม่ได้ เพราะซีนรักๆไม่ใช่แนวของตัวเองเลย ซึ่งตัวเขาพูดเอาไว้ว่า “I’m not up on this love stuff and don’t know just what to do,”
6) ทางฝ่าย Bergman เองก็ไม่เชื่อว่าหนังจะประสบความสำเร็จขนาดนี้ เพราะตัวเองก็สับสนในรายละเอียดของการแสดง เนื่องจากตอนนั้นบทสคริปนั้นเขียนวันต่อวัน เธอเลยไม่รู้ว่าตัวละครที่เธอเล่นนั้นต้องหลงรักหนุ่มคนไหนกันแน่ แต่กระนั้น Curtiz เองก็ไม่ทราบเช่นกัน เลยบอกแก้ขัด แก้เขินไปว่าเล่นแบบอยู่ระหว่างกลางๆ แล้วกัน เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าคุณจะสมหวังกับใคร งั้นก็เล่นแบบวางมาดทำตัว Cool Cool แล้วกัน”
7) Bergman ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง CBC ไว้ว่า ในเมื่อยังไม่รู้ว่าหนังจะจบไปในทิศทางไหน ทีมงานแจ้งมาว่าอาจจะต้องถ่ายฉากจบสองแบบนะ แต่พอถ่ายแบบแรกเสร็จก็โอเคเลย ไม่ต้องถ่ายเวอร์ชั่นสองแล้ว พิธีกรเลยแย้มๆ ถามว่า ถ้าให้เลือกระหว่างหนุ่มสองคนนี้จะเลือกอยู่กับใคร เธอตอบมาว่า โอ้ ฉันอยากอยู่กับ Humphrey Bogart สิ!
8) เวลา Humphrey Bogart เข้าฉากกับ Ingrid Bergman เขาต้องยืนบนกล่องหรือนั่งบนหมอน เนื่องจากเธอสูงกว่าเขาราวๆ 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร
9) Dooley Wilson ผู้รับบท Sam นักเปียนโนเพื่อนรักของ Rick นั้น จริงๆเป็นมือกลอง และเขาก็เล่นเปียนโนไม่เป็น
10) ตัวหนังทั้งเรื่องถ่ายทำในสตูดิโอ ยกเว้นฉากปรากฏตัวของ Major Strasser ซึ่งถ่ายทำที่สนามบิน Van Nuys และคลิปฟุตเทจส่วนน้อยจากปารีส
11) โปสเตอร์ของหนังที่ปรากฏเป็น Bogart ถือปืนนั้น จริงๆแล้ว มันเป็นภาพส่วนหนึ่งในฉากหนังเรื่อง Across the Pacific (1942) โดย Bill Gold ศิลปินโปสเตอร์เป็นคนนำมาวาดประกอบใช้
12) ช่วงก่อนที่หนังจะออกแล่นสู่จอยักษ์ มีข่าวลือว่า Bogart กำลังเรียนภาษาสวีเดนจาก Bergman ส่วน Henreid รับอุปการะลูกสาวสองคนของคนสวนของพ่อเขา ผู้ซึ่งลี้ภัยจากยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริง
13) ภายหลังมีการนำ Casablanca มารีเมคเป็นทีวีซีรีย์ถึงสองหน ในปี 1955-56 และ 1983 โดยภาคหลังนี่มีการถ่ายทำไปแล้วถึง 5 ตอน แต่ฉายได้แค่สองตอนก็โดนแคนเซิลไปซะงั้น
ทำไมถึงควรดู Casablanca?
หากท่านไหนกำลังมองหาหนังรักอยู่ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในคำตอบที่ดีค่ะ หนังรักที่ไม่ได้มีมุมมองแค่สิ้นสุดของคำว่าสมหวัง เหนือกว่านั้นเขาเข้าใจว่าทำไมถึงอยู่ด้วยกันไม่ได้ เป็นรักที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งหนังแฝงศีลธรรมถามคนดูได้อย่างคมคายผ่านตัวละครเอก ว่าเราควรเห็นแก่ความสุขส่วนตัวหรือเพื่อส่วนรวม หนังดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่อืดอาด บทสนทนาสั้นๆ แต่ลึกซึ้ง ความโรแมนติกอบอวลปนกับความเศร้าอยู่ทั้งเรื่อง อีกอย่างเลยคือ เพลง ‘As Time Goes By’ ที่ขับร้องและเล่นเปียนโนโดยเพื่อนรักของพระเอก อธิบายความรู้สึกของพระนางฟังเพลินไม่รู้ลืม
การต่อสู้กันระหว่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอเมริกา และ เยอรมัน
เป็นการสู้กันระหว่างยุคทอง Hollywood และ Propaganda ซึ่งเริ่มต้นจากผลพวงจากสงคราม โดยนักแสดง ผู้กำกับ หรือเหล่าคนในอุตสาหกรรมนี้โดนเหล่านาซีขับไล่ออกจากยุโรป พวกเขาจึงย้ายไปทำหนัง ‘ต่อต้าน’ นาซีนั่นเอง ทางด้านเยอรมันเองก็โปรโมท Propanganda อย่างหนัก (หนังทำมาเพื่อเป็นโฆษณาชวนเชื่อ ปลุกใจคน) สองอุตสากรรมหนังนี้เลยก้าวมาเป็นคู่แข่งกันเข้าอย่างจังแถมแสดงความเกลียดชังที่มีต่อกันอีกด้วย แต่หนังที่มัน ‘ปัง’ ออกมาจากยุคนี้ก็คือ Casablanca นี่แหละ เพราะเป็นหนังเรื่องแรกที่นำเสนอเรื่องราวและผลกระทบของสงครามที่ประชาชนต้องเผชิญ แถม Curtiz และนักแสดงส่วนนึงต่างก็เป็นมีเชื้อสายยิวที่อพยพมาทั้งนั้น บวกกับเรื่องราวโรมานซ์ของพระนางนี่คือ เรียกได้ว่าเป็นหนังที่นำเสนอมุมมองใหม่ ตบหน้าฮิตเลอร์ไปเต็มๆ
ตัวละคร Rick สะท้อนถึงท่าทีของ America ต่อสงครามโลกครั้งที่สอง?
ณ วันที่ 7 ธันวาคม 1941 ถูกบันทึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์อเมริกา เมื่อ Pearl Harbor ถูกโจมตีโดยฝ่ายอักษะ อเมริกาผู้รักสันโดษ ที่เป็นยักษ์หลับมานาน ต้องครุ่นคิดตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุการณ์ในหนังคาซาบลังก้าน่าจะเกิดราวๆนั้น ซึ่งประเทศอเมริกานี่ก็คล้ายๆกับ Rick เลย เพราะแต่แรกเขาอยู่ท่ามกลางความอลม่านโดยไม่สนใจตราบใดที่ไม่ใช่ธุระของตัวเอง แต่แล้วเมื่ออดีตคนรักหวนกลับมาเพื่อขอความช่วยเหลือ หนุ่มใหญ่ตัดสินใจเข้าช่วยเธอและพักพวก
ในทางเดียวกัน ผู้คนในเมืองกับคนดูในสมัยนั้น ต่างก็เผชิญชะตากรรมเดียวกันอีกด้วย คนส่วนนึงในเมืองคาซาบลังก้านั้นเป็นผู้อพยพจากสงครามที่ต้องการเดินทางออกจากเมืองแห่งนี้ แต่พวกเขาติดแหงก ณ ที่นี้ ใครๆ ก็หวังจะเป็นผู้โชคดี หวังจะมีสิทธิ์เหนือกว่าคนอื่น จะว่าไปก็คล้ายๆว่าคนดูก็ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกันในเมื่อพวกเขาก็อยู่ในยุคสงครามจริงๆ พวกเขาต่างก็อยากหลุดพ้นจากที่ที่เป็นอยู่นี้
บทหนัง ตัวละคร และการแสดง
Casablanca เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่เป็นแค่ที่นำเสนอเกี่ยวกับสงครามอย่างเดียวแต่เป็น Film Noir, ละครดราม่ารันทด, สารคดี, German Expressionist (ภาพที่มีเงามืด หลอนๆ มีกลิ่นอายความเป็นเซอร์เรียลเหนือจริงประมาณนึง) และแน่นอนความรัก ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าบทหนังเป็นอะไรที่แปลกใหม่มากในยุคนั้น แถมออกฉายได้ถูกที่ถูกเวลา อะไรๆ มันก็เป็นใจไปหมด ปกติหนังก่อนหน้านี้…พระนางจะสมหวังกัน แต่เรื่องนี้ดึงให้คนดูออกจากโลกลูกกวาด ว่ายังมีอย่างอื่นที่สำคัญกว่า รักแท้ นั่นคือ ความตระหนักในตนเอง
ตัวละคร Rick ฉีกกฏพระเอกหนัง เขามีบุคลิกที่ดูเท่ห์ขรึม สุขุมนุ่มลึก และผู้รักสันโดษ เขาไม่สนใจว่าโลกจะหมุนไปทิศใด ตราบที่มันยังไม่เกี่ยวข้องกับเขา ตรงนี้แหละ คือเสน่ห์ที่คนดูเข้าถึงได้ง่าย มีมิติน่าค้นหา มีความซับซ้อน เนื่องมาจากก่อนหน้านั้น พระเอกส่วนใหญ่ มักถูกนำเสนอว่าเป็นคนดีมาก เป็น’ ฮีโร่ ‘ ดีก็ดีเลิศไปเลย มันทื่อๆ ไร้เสน่ห์ หรือว่าไปก็เหมือน Laszlo ที่สุดโต่งไม่ค่อยมีเสน่ห์
การแสดงของ Bogart และ Bergman ก็ดีเลิศสุดๆ เพียงแค่เขามองตากันก็สื่อถึงอารมณ์รักอาลัยอาวอนได้แล้ว ส่วนนักแสดงสมทบก็ไม่มีใครด้อยกว่าใครเลย ทุกคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายมาอย่างดี ออกมาทีไรก็ได้โชว์ซีนของตัวเองแล้วก็น่าจดจำซะด้วย
ประโยคเด็ดสุดคลาสสิค “ Here’s looking at you, Kid ”
“Here’s looking at you” เป็นคำพูดเฉลิมฉลองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วง 1930-40s รวมถึงยังนำมาถูกใช้ตอนเล่น Poker ชี้ผลแพ้ชนะ เวลาไพ่ทุกใบหันหน้ามาที่เราหมด…เสมือนว่าถูกจ้องมองอยู่ ซึ่งประโยคสุดคลาสสิคนี้ไม่ได้อยู่ในบทตั้งแต่แรก Bogart เป็นคนพูดขึ้นมาเอง! เนื่องจากระหว่างรอถ่ายทำเหล่านักแสดงได้เล่น Poker กัน โดยที่ Bogart มายืนดูและสอน Bergman เล่นไปด้วย แล้วก็เลยหยิบเอามาใช้ในหนังค่ะ ครั้งแรกที่ Paris ส่วน Kid นี่ก็เติมเข้ามาให้อารมณ์เด็กน้อย แต่หนังมันพีคสุดๆตอนพูดครั้งที่สองในฉากอำลาเจ้าหล่อน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนแก่ใจคนดูให้รู้สึกหวนถึงอดีตอันหวานหอมที่ปารีส ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นแปลโดยรวมก็คือการอำลา คล้ายๆ So long, Farewell ส่วน Kid ที่เพิ่มเข้ามาตอนนี้แปลว่าลาจากวัยเด็ก ทั้งเขาและเธอ ลาจากจากสัญญา ตอนนี้พวกเราต่างเติบโตขึ้น เรียนรู้สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
Grammar ของประโยคนี้ก็ไม่ถูกหลักไวยากรณ์ ออกอารมณ์คำแสลง นอกจากจะเป็นพูดสำนวนตอนเล่นไพ่แล้ว ยังออกแนวเฉลิมฉลองในความสวยของ Bergman และดีใจที่ได้มองดูเธอด้วยค่ะ ประโยคเดียวมันเจ๋งมากเพราะสามารถบอกความรู้สึกทั้งอำลา อาลัยอาวร โดยไม่ต้องพูดว่าผมรักคุณ
เชิญอ่านต่อได้ที่....
https://classicreviewer.wordpress.com/2017/11/18/casablanca-1942/
[CR] Classic Reviewer :: หนึ่งในหนังรักที่ดีที่สุดตลอดกาล Casablanca (1942)
เนื้อเรื่องโดยสังเขป
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคที่นาซีกำลังรุ่งเรือง ณ ประเทศโมร้อคโก Rick Blaine (Humphrey Bogart) หนุ่มใหญ่ชาวอเมริกันเจ้าของไนท์คลับผู้อพยพถื่นฐานมาปักหลักอยู่ที่ Casablanca ได้หวนกลับมาพบคนรักเก่า Ilsa Lund (Ingrid Bergman) พร้อมสามีของเธอ Victor Laszlo (Paul Henreid) ผู้เป็นหัวหน้าฝ่ายต่อต้าน พวกเขามาที่แห่งนี้เนื่องจากต้องการหาใบผ่านทางไปอเมริกาเพื่อไปสานงานต่อสู้กับเหล่านาซี และสถานที่แห่งนี้เป็นประตูด่านสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้นใบผ่านทางนั้นก็สุดแสนจะหายากและบังเอิญ Rick Blaine ก็มีมันอยู่.
เกร็ดเล็กๆ
1) Casablanca ชนะออสการ์สามรางวัล ได้แก่หนังยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, และบทหนังยอดเยี่ยม
2) มีข่าวลือว่า Ronald Reagan และ Ann Sheridan เกือบจะมาได้รับบท Rick และ Ilsa ซึ่งสองคนนี้เคยเจอกันมาก่อนในเรื่อง Kings Row 1942 อย่างไรเสียข่าวลือดังกล่าวยังไม่มีการรับรองว่าเป็นเรื่องจริง
3) William Wyler (Roman Holiday 1953 และ Ben-Hur 1959) เกือบจะได้มากำกับหนังเรื่องนี้ แต่คิวไม่ว่าง ผู้สร้างหนัง Hal B. Wallis เลยเลือกเพื่อนสนิทตัวเอง Michael Curtiz มากำกับแทนซะเลย
4) ฉากซีเคว้นเปิดตัวหนังที่มีแผนที่และพากย์ทับ อธิบายว่าเหล่าผู้อพยพจากสงครามมาที่เมืองคาซาบลังก้าได้อย่างไร …ไม่ใช่ฝีมือการกำกับของ Michael Curtiz แต่เป็น Don Siegel ผู้ซึ่งภายหลังผลิตผลงานของตัวเอง อาทิ Invasion of the Body Snatchers (1956) หรือ Dirty Harry (1971)
5) ฝีมือกำกับแรกของ Curtiz นั้นเป็นฉากอดีตในปารีส ซึ่งเป็นฉากปัญหาแก่ Bogart กังวลว่าตัวเองจะทำไม่ได้ เพราะซีนรักๆไม่ใช่แนวของตัวเองเลย ซึ่งตัวเขาพูดเอาไว้ว่า “I’m not up on this love stuff and don’t know just what to do,”
6) ทางฝ่าย Bergman เองก็ไม่เชื่อว่าหนังจะประสบความสำเร็จขนาดนี้ เพราะตัวเองก็สับสนในรายละเอียดของการแสดง เนื่องจากตอนนั้นบทสคริปนั้นเขียนวันต่อวัน เธอเลยไม่รู้ว่าตัวละครที่เธอเล่นนั้นต้องหลงรักหนุ่มคนไหนกันแน่ แต่กระนั้น Curtiz เองก็ไม่ทราบเช่นกัน เลยบอกแก้ขัด แก้เขินไปว่าเล่นแบบอยู่ระหว่างกลางๆ แล้วกัน เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าคุณจะสมหวังกับใคร งั้นก็เล่นแบบวางมาดทำตัว Cool Cool แล้วกัน”
7) Bergman ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง CBC ไว้ว่า ในเมื่อยังไม่รู้ว่าหนังจะจบไปในทิศทางไหน ทีมงานแจ้งมาว่าอาจจะต้องถ่ายฉากจบสองแบบนะ แต่พอถ่ายแบบแรกเสร็จก็โอเคเลย ไม่ต้องถ่ายเวอร์ชั่นสองแล้ว พิธีกรเลยแย้มๆ ถามว่า ถ้าให้เลือกระหว่างหนุ่มสองคนนี้จะเลือกอยู่กับใคร เธอตอบมาว่า โอ้ ฉันอยากอยู่กับ Humphrey Bogart สิ!
8) เวลา Humphrey Bogart เข้าฉากกับ Ingrid Bergman เขาต้องยืนบนกล่องหรือนั่งบนหมอน เนื่องจากเธอสูงกว่าเขาราวๆ 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร
9) Dooley Wilson ผู้รับบท Sam นักเปียนโนเพื่อนรักของ Rick นั้น จริงๆเป็นมือกลอง และเขาก็เล่นเปียนโนไม่เป็น
10) ตัวหนังทั้งเรื่องถ่ายทำในสตูดิโอ ยกเว้นฉากปรากฏตัวของ Major Strasser ซึ่งถ่ายทำที่สนามบิน Van Nuys และคลิปฟุตเทจส่วนน้อยจากปารีส
11) โปสเตอร์ของหนังที่ปรากฏเป็น Bogart ถือปืนนั้น จริงๆแล้ว มันเป็นภาพส่วนหนึ่งในฉากหนังเรื่อง Across the Pacific (1942) โดย Bill Gold ศิลปินโปสเตอร์เป็นคนนำมาวาดประกอบใช้
12) ช่วงก่อนที่หนังจะออกแล่นสู่จอยักษ์ มีข่าวลือว่า Bogart กำลังเรียนภาษาสวีเดนจาก Bergman ส่วน Henreid รับอุปการะลูกสาวสองคนของคนสวนของพ่อเขา ผู้ซึ่งลี้ภัยจากยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริง
13) ภายหลังมีการนำ Casablanca มารีเมคเป็นทีวีซีรีย์ถึงสองหน ในปี 1955-56 และ 1983 โดยภาคหลังนี่มีการถ่ายทำไปแล้วถึง 5 ตอน แต่ฉายได้แค่สองตอนก็โดนแคนเซิลไปซะงั้น
ทำไมถึงควรดู Casablanca?
หากท่านไหนกำลังมองหาหนังรักอยู่ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในคำตอบที่ดีค่ะ หนังรักที่ไม่ได้มีมุมมองแค่สิ้นสุดของคำว่าสมหวัง เหนือกว่านั้นเขาเข้าใจว่าทำไมถึงอยู่ด้วยกันไม่ได้ เป็นรักที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งหนังแฝงศีลธรรมถามคนดูได้อย่างคมคายผ่านตัวละครเอก ว่าเราควรเห็นแก่ความสุขส่วนตัวหรือเพื่อส่วนรวม หนังดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่อืดอาด บทสนทนาสั้นๆ แต่ลึกซึ้ง ความโรแมนติกอบอวลปนกับความเศร้าอยู่ทั้งเรื่อง อีกอย่างเลยคือ เพลง ‘As Time Goes By’ ที่ขับร้องและเล่นเปียนโนโดยเพื่อนรักของพระเอก อธิบายความรู้สึกของพระนางฟังเพลินไม่รู้ลืม
การต่อสู้กันระหว่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอเมริกา และ เยอรมัน
เป็นการสู้กันระหว่างยุคทอง Hollywood และ Propaganda ซึ่งเริ่มต้นจากผลพวงจากสงคราม โดยนักแสดง ผู้กำกับ หรือเหล่าคนในอุตสาหกรรมนี้โดนเหล่านาซีขับไล่ออกจากยุโรป พวกเขาจึงย้ายไปทำหนัง ‘ต่อต้าน’ นาซีนั่นเอง ทางด้านเยอรมันเองก็โปรโมท Propanganda อย่างหนัก (หนังทำมาเพื่อเป็นโฆษณาชวนเชื่อ ปลุกใจคน) สองอุตสากรรมหนังนี้เลยก้าวมาเป็นคู่แข่งกันเข้าอย่างจังแถมแสดงความเกลียดชังที่มีต่อกันอีกด้วย แต่หนังที่มัน ‘ปัง’ ออกมาจากยุคนี้ก็คือ Casablanca นี่แหละ เพราะเป็นหนังเรื่องแรกที่นำเสนอเรื่องราวและผลกระทบของสงครามที่ประชาชนต้องเผชิญ แถม Curtiz และนักแสดงส่วนนึงต่างก็เป็นมีเชื้อสายยิวที่อพยพมาทั้งนั้น บวกกับเรื่องราวโรมานซ์ของพระนางนี่คือ เรียกได้ว่าเป็นหนังที่นำเสนอมุมมองใหม่ ตบหน้าฮิตเลอร์ไปเต็มๆ
ตัวละคร Rick สะท้อนถึงท่าทีของ America ต่อสงครามโลกครั้งที่สอง?
ณ วันที่ 7 ธันวาคม 1941 ถูกบันทึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์อเมริกา เมื่อ Pearl Harbor ถูกโจมตีโดยฝ่ายอักษะ อเมริกาผู้รักสันโดษ ที่เป็นยักษ์หลับมานาน ต้องครุ่นคิดตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุการณ์ในหนังคาซาบลังก้าน่าจะเกิดราวๆนั้น ซึ่งประเทศอเมริกานี่ก็คล้ายๆกับ Rick เลย เพราะแต่แรกเขาอยู่ท่ามกลางความอลม่านโดยไม่สนใจตราบใดที่ไม่ใช่ธุระของตัวเอง แต่แล้วเมื่ออดีตคนรักหวนกลับมาเพื่อขอความช่วยเหลือ หนุ่มใหญ่ตัดสินใจเข้าช่วยเธอและพักพวก
ในทางเดียวกัน ผู้คนในเมืองกับคนดูในสมัยนั้น ต่างก็เผชิญชะตากรรมเดียวกันอีกด้วย คนส่วนนึงในเมืองคาซาบลังก้านั้นเป็นผู้อพยพจากสงครามที่ต้องการเดินทางออกจากเมืองแห่งนี้ แต่พวกเขาติดแหงก ณ ที่นี้ ใครๆ ก็หวังจะเป็นผู้โชคดี หวังจะมีสิทธิ์เหนือกว่าคนอื่น จะว่าไปก็คล้ายๆว่าคนดูก็ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกันในเมื่อพวกเขาก็อยู่ในยุคสงครามจริงๆ พวกเขาต่างก็อยากหลุดพ้นจากที่ที่เป็นอยู่นี้
บทหนัง ตัวละคร และการแสดง
Casablanca เป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่เป็นแค่ที่นำเสนอเกี่ยวกับสงครามอย่างเดียวแต่เป็น Film Noir, ละครดราม่ารันทด, สารคดี, German Expressionist (ภาพที่มีเงามืด หลอนๆ มีกลิ่นอายความเป็นเซอร์เรียลเหนือจริงประมาณนึง) และแน่นอนความรัก ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าบทหนังเป็นอะไรที่แปลกใหม่มากในยุคนั้น แถมออกฉายได้ถูกที่ถูกเวลา อะไรๆ มันก็เป็นใจไปหมด ปกติหนังก่อนหน้านี้…พระนางจะสมหวังกัน แต่เรื่องนี้ดึงให้คนดูออกจากโลกลูกกวาด ว่ายังมีอย่างอื่นที่สำคัญกว่า รักแท้ นั่นคือ ความตระหนักในตนเอง
ตัวละคร Rick ฉีกกฏพระเอกหนัง เขามีบุคลิกที่ดูเท่ห์ขรึม สุขุมนุ่มลึก และผู้รักสันโดษ เขาไม่สนใจว่าโลกจะหมุนไปทิศใด ตราบที่มันยังไม่เกี่ยวข้องกับเขา ตรงนี้แหละ คือเสน่ห์ที่คนดูเข้าถึงได้ง่าย มีมิติน่าค้นหา มีความซับซ้อน เนื่องมาจากก่อนหน้านั้น พระเอกส่วนใหญ่ มักถูกนำเสนอว่าเป็นคนดีมาก เป็น’ ฮีโร่ ‘ ดีก็ดีเลิศไปเลย มันทื่อๆ ไร้เสน่ห์ หรือว่าไปก็เหมือน Laszlo ที่สุดโต่งไม่ค่อยมีเสน่ห์
การแสดงของ Bogart และ Bergman ก็ดีเลิศสุดๆ เพียงแค่เขามองตากันก็สื่อถึงอารมณ์รักอาลัยอาวอนได้แล้ว ส่วนนักแสดงสมทบก็ไม่มีใครด้อยกว่าใครเลย ทุกคนทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายมาอย่างดี ออกมาทีไรก็ได้โชว์ซีนของตัวเองแล้วก็น่าจดจำซะด้วย
ประโยคเด็ดสุดคลาสสิค “ Here’s looking at you, Kid ”
“Here’s looking at you” เป็นคำพูดเฉลิมฉลองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วง 1930-40s รวมถึงยังนำมาถูกใช้ตอนเล่น Poker ชี้ผลแพ้ชนะ เวลาไพ่ทุกใบหันหน้ามาที่เราหมด…เสมือนว่าถูกจ้องมองอยู่ ซึ่งประโยคสุดคลาสสิคนี้ไม่ได้อยู่ในบทตั้งแต่แรก Bogart เป็นคนพูดขึ้นมาเอง! เนื่องจากระหว่างรอถ่ายทำเหล่านักแสดงได้เล่น Poker กัน โดยที่ Bogart มายืนดูและสอน Bergman เล่นไปด้วย แล้วก็เลยหยิบเอามาใช้ในหนังค่ะ ครั้งแรกที่ Paris ส่วน Kid นี่ก็เติมเข้ามาให้อารมณ์เด็กน้อย แต่หนังมันพีคสุดๆตอนพูดครั้งที่สองในฉากอำลาเจ้าหล่อน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนแก่ใจคนดูให้รู้สึกหวนถึงอดีตอันหวานหอมที่ปารีส ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นแปลโดยรวมก็คือการอำลา คล้ายๆ So long, Farewell ส่วน Kid ที่เพิ่มเข้ามาตอนนี้แปลว่าลาจากวัยเด็ก ทั้งเขาและเธอ ลาจากจากสัญญา ตอนนี้พวกเราต่างเติบโตขึ้น เรียนรู้สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า
Grammar ของประโยคนี้ก็ไม่ถูกหลักไวยากรณ์ ออกอารมณ์คำแสลง นอกจากจะเป็นพูดสำนวนตอนเล่นไพ่แล้ว ยังออกแนวเฉลิมฉลองในความสวยของ Bergman และดีใจที่ได้มองดูเธอด้วยค่ะ ประโยคเดียวมันเจ๋งมากเพราะสามารถบอกความรู้สึกทั้งอำลา อาลัยอาวร โดยไม่ต้องพูดว่าผมรักคุณ
เชิญอ่านต่อได้ที่.... https://classicreviewer.wordpress.com/2017/11/18/casablanca-1942/