โครงการหลวง เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่เป็นโครงการต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ เมื่อมีความมั่นคงในชีวิตแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
พระองค์ท่าน จึงทรงเน้นการพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมแล้ว จึงจะสร้างความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา : มูลนิธิชัยพัฒนา
หนึ่งในโครงการต้นแบบของพ่อ ที่ทำให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโปรตีนที่มีประโยชน์จากปลา ที่สามารถเข้าถึงได้ในทุกระดับ ตั้งแต่คนรากหญ้า จนถึงเจ้าสัว หรือคนดังในแวดวงสังคมชั้นสูง
“ปลานิล” เป็นปลาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานชื่อให้ และให้เป็นอาหารแก่คนไทย

ปลานิลในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (tilapia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia nilotica Linn. จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และทรงพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้เป็นภาษาไทยว่า "ปลานิล" มีความหมายว่า มีสีดำ คือสีนิล และออกเสียงตามพยางค์ต้นของชื่อชนิด คือคำว่า "nil" มาจาก "nilotica" ซึ่งชื่อพระราชทานนี้เป็นชื่อที่สั้น มีความหมายชัดเจนและง่ายแก่การจดจำสำหรับประชาชนทั่วไป ทรงพระราชทานแนวทาง ในการอนุรักษ์พันธุ์ปลานิล จากการทดลองเลี้ยงด้วยพระองค์เอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา : กรมประมง

ต่อมานายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับสนองแนวพระราชดำริให้พัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล ตามกระแสความนิยมบริโภคเนื้อปลาเพื่อรักษาสุขภาพ โดยนำปลานิลจิตรลดาพระราชทาน มาเป็นต้นตระกูลเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ตามแนวพระราชดำริ โดยคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิล ทั้งจากอเมริกา อิสราเอล และไต้หวัน ในการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ จนกระทั่งสามารถได้ปลาเนื้อ พันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะภายนอกโดดเด่น คือ สีของเกล็ด และตัวปลาที่มีสีขาวอมแดงเรื่อๆ ถึงสีแดงอมชมพู คล้ายทับทิม โดยเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า “ปลาทับทิม” ที่สำคัญยังมีลักษณะเด่นที่ความอดทนสามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อย (ทั้งปลาทับทิม และปลานิลถูกเรียกว่าเป็นปลา 2 น้ำ) เนื้อแน่น มีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา
จนทำให้ปลาทั้ง 2 ชนิด (ปลานิล และปลาทับทิม) ถูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจนกลายเป็น “ปลาเศรษฐกิจ” อยู่ในปัจจุบันนี้
ปลานิล หนึ่งในโครงการของพ่อที่ทำให้คนไทยได้กินปลา
พระองค์ท่าน จึงทรงเน้นการพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมแล้ว จึงจะสร้างความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หนึ่งในโครงการต้นแบบของพ่อ ที่ทำให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโปรตีนที่มีประโยชน์จากปลา ที่สามารถเข้าถึงได้ในทุกระดับ ตั้งแต่คนรากหญ้า จนถึงเจ้าสัว หรือคนดังในแวดวงสังคมชั้นสูง
“ปลานิล” เป็นปลาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานชื่อให้ และให้เป็นอาหารแก่คนไทย
ต่อมานายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับสนองแนวพระราชดำริให้พัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล ตามกระแสความนิยมบริโภคเนื้อปลาเพื่อรักษาสุขภาพ โดยนำปลานิลจิตรลดาพระราชทาน มาเป็นต้นตระกูลเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ตามแนวพระราชดำริ โดยคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิล ทั้งจากอเมริกา อิสราเอล และไต้หวัน ในการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ จนกระทั่งสามารถได้ปลาเนื้อ พันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะภายนอกโดดเด่น คือ สีของเกล็ด และตัวปลาที่มีสีขาวอมแดงเรื่อๆ ถึงสีแดงอมชมพู คล้ายทับทิม โดยเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า “ปลาทับทิม” ที่สำคัญยังมีลักษณะเด่นที่ความอดทนสามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อย (ทั้งปลาทับทิม และปลานิลถูกเรียกว่าเป็นปลา 2 น้ำ) เนื้อแน่น มีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา
จนทำให้ปลาทั้ง 2 ชนิด (ปลานิล และปลาทับทิม) ถูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจนกลายเป็น “ปลาเศรษฐกิจ” อยู่ในปัจจุบันนี้