[CR] รีวิว "วัดดังเชียงใหม่วัดน่าไปสายบุญต้องห้ามพลาด" ep2.

วัดนี้เป็นวัดที่ 2 ต่อจากวัดแรกที่ได้เขียนถึงวัดสวนดอก ลิ้งค์กระทู้นี้นะครับ >>[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


วัดต่อไปที่ต้องห้ามพลาดก็คือ "วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร"   เพี้ยนลุย



หนึ่งในวัดเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่อย่างวัดพระสิงห์วรมหาวิหารซึ่งเป็นศูนย์รวมศรัทธาของผู้คนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับพระพุทธสิหิงค์ หรือชื่อที่คนท้องนี้เรียกกันมาตั้งแต่ครั้งอดีตว่า "พระสิงห์" นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อวัดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งวัดแห่งนี้ยังมีพระธาตุประจำปีมะโรงอีกด้วย ฉะนั้นไม่ว่าใครก็ตามถ้าอยากให้มีความเป็นศิริมงคลเกิดขึ้นกับชีวิตคงต้องหาโอกาสแวะเวียนมาสักการะกันซักครั้ง เม่าฝึกจิต



วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"



แผนที่จาก Google map





ประวัติของวัดพระสิงห์แบบย่อๆ
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยังวัดสวนดอก แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้ ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสุพรรณหงส์ และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่ พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
ความเชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป











ภาพมุมต่างๆ และบรรยากาศภาพในวัด จะเห็นว่ามีนักท่องเที่ยวพลุกพล่านไม่ขาดสาย







พระอุโบสถสองสงฆ์ตั้งอยู่ระหว่างวิหารหลวงและพระธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีมะโรง










วิหารลายคำ ตำหนักที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ อันเป็นชื่อมาของวัดพระสิงค์ครับ







หอไตร
สร้างเป็นอาคารตึกครึ่งไม้ ผนังด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้น เป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ. 2476 เจ้าแก้วนวรัฐได้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ที่ฐานหอไตร ภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์














พระศรีสรรเพชร (หลวงพ่อโต) พระประธานในวิหารหลวงวัดพระสิงห์
ลักษณะองค์พระประทับสมาธิราบ(ปัทมาสนะ)สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2363 โดยเจ้าหลวงช้างเผือกธรรมลังกา เจ้านครเชียงใหม่ลำดับที่2 พุทธลักษณะเป็นล้านนาสิงห์สามมีอิทธิพลศิลปะชาน(ไทใหญ่)เล็กน้อย








ภาพบรรยากาศภายในวัดพระสิงห์ครับ มีนักท่องเที่ยวค่อยข้างเยอะทุกช่วง แต่ก็สงบร่มรื่นมาก











วัดพระสิงห์วรมหาวิหารถือเป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ที่มีความเก่าแก่มากที่สุดวัดหนึ่ง มีพระพุทธรูปสำคัญคือพระสิงห์ หรือพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ซึ่งได้รับความศรัทธาจากผู้คนเมืองนี้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีพระธาตุที่ตรงกับปีมะโรงเช่นกัน ดังนั้นไม่เฉพาะแต่เพียงคนที่เกิดในปีมะโรงเท่านั้นที่น่าจะหาโอกาสมากราบไหว้ ทว่าใครก็ตามที่มีโอกาสมาเชียงใหม่แล้วอยากได้ความเป็นศิริมงคลกลับไปก็ควรแวะมาสักการะยังวัดแห่งนี้

บรรยากาศความสงบ และความสวยงามของสถาปัตยกรรมโบราณสถานเป็นอะไรที่เข้ากันและลงตัวมาก รับรองว่าใครที่ได้มีโอกาสมาเยือนวัดแห่งนี้ จะกลับบ้านไปด้วยความสุขรอยยิ้ม รู้สึกอิ่มบุญ และภาพสวยงามทุกคนแน่นอนครับ หัวใจหัวใจ




ขอส่งท้ายด้วยภาพของพระธาตุหลวง หรือพระมหาเจดีย์เป็นพระธาตุหนึ่งใน 12 นักษัตร ประจำปีมะโรง ขนาบข้างด้วยวิหารลายคำ (ด้านซ้ายสุด) และพระอุโบสถ ภายในมีมณฑปปราสาท ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์จำลอง










ชื่อสินค้า:   วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่