คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
แบบย่อ :-
อาคารที่เข้าข่ายงานวิชาชีพ หากพื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตรม.ขึ้นไป ถ้ามีสถาปนิกออกแบบก็ต้องคุมงานด้วย ทั้งนี้ต้องดูรายละเอียดต่อว่าพื้นที่อาคารมากน้อยใช้ระดับชั้นต่างกันด้วยถ้าพื้นที่เกิน 1,000 ตรม. & สูงเกิน15 ม. ต้องใช้สถาปนิกระดับสามัญขึ้นไป . . .
ส่วนวิศวกรโยธา อาคารสูงตั้งแต่ 3 ชั้น ต้อง ออกแบบ & คุมงานด้วย หรือ อาคารถาวร และตั้งแต่ 1 ชั้นขึ้นไป ที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ พาณิชย์ อุตสาหกรรม นันทการ การศึกษา อยู่อาศัยรวม หรืออาคารที่มีคนใช้สอย อยู่รวมกัน จำนวนมาก งานโครงสร้างพิเศษ ป้าย เขื่อน สะพาน ส่วนอาคารพักอาศัย เช่น บ้าน ไม่เกิน 2 ชั้นต้องมีการพิจารณาดูว่าลักษณะโครงสร้างในอาคารที่มีความซับซ้อนหรือส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าข่ายวิชาชีพ ซึ่งมีรายละเอียดซับซ้อน แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องทำรายการคำนวณและวิศวกรโยธาแค่ออกแบบและ/หรือจะคุมด้วยก็ได้
สรุป ถ้าเข้าข่ายงานวิชาชีพใดก็ต้องคุมงานทั้งคู่
แบบละเอียด >> [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนคำตอบที่ทาง กทม.ให้มานั้น ก็ต้องสอบถามกลับไปว่า อยู่ในเงื่อนไข ข้อกำหนดในข้อไหนของกฎหมาย
อาคารที่เข้าข่ายงานวิชาชีพ หากพื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตรม.ขึ้นไป ถ้ามีสถาปนิกออกแบบก็ต้องคุมงานด้วย ทั้งนี้ต้องดูรายละเอียดต่อว่าพื้นที่อาคารมากน้อยใช้ระดับชั้นต่างกันด้วยถ้าพื้นที่เกิน 1,000 ตรม. & สูงเกิน15 ม. ต้องใช้สถาปนิกระดับสามัญขึ้นไป . . .
ส่วนวิศวกรโยธา อาคารสูงตั้งแต่ 3 ชั้น ต้อง ออกแบบ & คุมงานด้วย หรือ อาคารถาวร และตั้งแต่ 1 ชั้นขึ้นไป ที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ พาณิชย์ อุตสาหกรรม นันทการ การศึกษา อยู่อาศัยรวม หรืออาคารที่มีคนใช้สอย อยู่รวมกัน จำนวนมาก งานโครงสร้างพิเศษ ป้าย เขื่อน สะพาน ส่วนอาคารพักอาศัย เช่น บ้าน ไม่เกิน 2 ชั้นต้องมีการพิจารณาดูว่าลักษณะโครงสร้างในอาคารที่มีความซับซ้อนหรือส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าข่ายวิชาชีพ ซึ่งมีรายละเอียดซับซ้อน แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องทำรายการคำนวณและวิศวกรโยธาแค่ออกแบบและ/หรือจะคุมด้วยก็ได้
สรุป ถ้าเข้าข่ายงานวิชาชีพใดก็ต้องคุมงานทั้งคู่
แบบละเอียด >> [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนคำตอบที่ทาง กทม.ให้มานั้น ก็ต้องสอบถามกลับไปว่า อยู่ในเงื่อนไข ข้อกำหนดในข้อไหนของกฎหมาย
แสดงความคิดเห็น
สร้างบ้าน มีสถาปนิกเซ็นต์ควบคุมงานก่อสร้างแล้ว ต้องมีวิศวกรควบคุมอีกหรือไม่ครับ
กฎกระทรวง กำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติว่า:-
ข้อ ๔ ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา มีดังต่อไปนี้ (๑) อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓ ชั้นขึ้นไป หรือโครงสร้างของอาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีความสูงตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป หรืออาคารที่มีช่วงคานตั้งแต่ ๕ เมตรขึ้นไป
บ้านผมไม่เข้าข่ายตามนั้น
แต่ให้คนไปถามที่ กทม. บอกต้อง มีทั้ง สถาปนิก และวิศวกรเซ็นต์ควบคุม
ผมสามารถยกข้อกฎหมายตามกฎกระทรวง ไปบอกเขาได้หรือไม่
หรือมี กฎหมายอะไรมาบังคับอีก รบกวนผู้รู้ช่วยบอกหน่อยครับ