อยากให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลองมาดูการทำวิจัย Decellularization สำหรับเปลี่ยนตับ ไต หัวใจ ฯลฯ

ได้อ่านหนังสือ Kidney-Development-Disease-Repair-and-Regeneration ทำให้รู้ว่าเขามีทำมากันเป็นสิบปีแล้ว ทำให้สามารถเปลี่ยนเซลล์ที่พื้นผิวอวัยวะจากสิ่งมีชีวิตข้ามสปีชีส์ได้ (เปลี่ยนจากคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งเป็นเรื่องที่พื้นๆ มากครับ) รวมกับเทคนิค reprogramming ที่จะไปสู่การนำอวัยวะเก่ากลับมาซ่อมแซมได้ด้วย
     ในขั้นแรกจะเตรียมสองส่วนคือ A1 นำอวัยวะของผู้บริจาคมาล้างเซลล์เก่าออกให้เหลือแต่โครงสร้างของอวัยวะ ECM (extracellular matrix)
และที่สามารถทำคู่ขนานไปด้วยกันคือ B1 นำเซลล์ที่โตเต็มวัยแล้วของผู้รับ มาทำให้เป็นสเต็มเซลล์ โดยใช้วิธี Reprogramming ให้ได้ iPS Cells
     iPS Cells เป็นเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell)ที่สร้างมาจากเซลล์ปกติของมนุษย์ที่พัฒนาเป็นเซลล์เฉพาะของแต่ละอวัยวะแล้ว (ผ่านขั้นตอน Cell differentiation แล้ว)   โดยไม่ได้สร้างมาจากตัวอ่อน (ไม่ได้ใช้ไข่) ดังนั้นจึงช่วยผ่อนคลายข้อโต้แย้งจริยธรรม
      อีกทั้ง  iPS Cells สร้างมาได้ด้วยการใช้เซลล์ของผู้ป่วยเอง ซึ่งเมื่อหลังจากการปลูกถ่ายเซลล์กลับไปในผู้ป่วย (Stem Cell Transplantation)ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยก็จะไม่การปฏิเสธเซลล์ของตัวเองและหลีกเลี่ยงปัญหาที่น่าห่วง ไม่เสี่ยงเหมือนการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ที่เอามาจากคนอื่น
      และที่สำคัญที่สุด ในกระบวนการ iPS Cells นี้เป็นกระบวนการเดียวกับการย้อนเวลาเซลล์ไปสู่จุดตั้งต้น (reprogramming) หมายถึงอายุเซลล์จะนับ 1 ใหม่เหมือนเด็กแรกเกิด (สามารถตรวจได้จากความยาวของ Telomere) ดังนั้นผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์กลับไปในส่วนนั้น จะได้เซลล์ใหม่เหมือนกับได้เกิดใหม่ ทำให้มีอายุเท่าเดิมต่อไปได้เรื่อยๆ
      หลังจากนั้น นำเซลล์จากขั้นตอน B1 มาเลี้ยงบนโครงสร้างอวัยวะจากขั้นตอน A1 ในสภาพปิดปลอดเชื้อและควบคุมสภาพอุณหภูมิ PH ความดัน อาหาร (กระแสไฟเพื่อกระตุ้นหัวใจ) ฯลฯ กระทั่งอวัยวะอยู่ในสภาพแวดล้อมและทำงานมีประสิทธิภาพใกล้เคียงในมนุษย์มากที่สุด จึงทำการปลูกถ่าย
ซึ่งไม่ต้องกินยากดภูมิเพราะเป็นเซลล์ของผู้รับเอง

อยากให้ประชานชาวไทย ภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับรู้และหันมาให้ความสำคัญเพื่อที่จะทำให้ปัญหาการขาดอวัยวะหมดไปและ
ประชากรมีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นครับ ขอบคุณครับ
่Email:jaturon.k@chula.ac.th
Line ID: ipsc32
อ้างอิง
1. Kidney Development Disease Repair and Regeneration. by Melissa H. Little
2. https://en.wikipedia.org/wiki/Decellularization
3. http://www.thaihealth.or.th/Content/6635-E0B899E0B8B1E0B881E0B8A7E0B8B4E0B897E0B8A2E0B98CE0B8AAE0B8A3E0B989E0B8B2E0B887E0B8ABE0B8B1E0B8A7E0B983E0B888E0B8ADE0B8B0E0B984E0B8ABE0B8A5E0B988E0B888E0B8B2E0B881E0B8AAE0B980E0B895E0B987E0B8A1E0B980E0B88BE0B8A5E0B8A5E0B98Chtml
4. http://www.proton.rmutphysics.com/science-news/index.php?option=com_content&task=view&id=2529&Itemid=1
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่