


สวัสดีครับ ก่อนอื่นเลย อยากจะเกรินก่อนว่า ตอนนี้ผมอายุ 33 ปี ทำงานเกี่ยวกับการเงิน ไฟแนนซ์ สินเชื่อ ธนาคาร ประสบการณ์ เกือๆ 10 ปี แต่ก่อนในสมัยเด็กๆ เวลาครูถามที่โรงเรียน ว่าโตขึ้นอยากจะเป็นอะไร เด็กคนอื่นๆมักจะตอบถึงอาชีพทั่วๆไปยอฮิตของเด็กๆ แต่ผมต่างไปครับ ผมตอบว่าผมอยากเป็นนายแบ็งค์ เพราะภาพที่เห็นนั้น ดูดี เท่ มีระดับ และงานสบาย นั่งในห้องแอร์ทั้งวัน ตั้งแต่ตอนเด็กๆ ผมเลยมุ่งเรียนมาทางด้านนี้ และสุดท้าย ผมก็ได้ตามตั้งใจครับ...........
แต่...........ความจริงกับความฝัน มันต่างกันลิบลับเลยครับ พนักงานธนาคารเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว กับตอนนี้ ต่างกันมากครับ ตัวเปลี่ยนสำคัญในความคิดของผมคือ...........ประกัน
ผมเองทำงานในด้านสินเชื่อ และการขายผลิตภัณฑ์ต่างๆของทางธนาคาร ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เรื่องการขายประกัน มันมีอยู่หลายสาเหตุครับ ผมอยากให้มองในด้านของพนักงานนะครับ บางคนไม่มีทางเลือก จึงต้องทำงานต่อไป ทำทุกวิธีทางเพื่อให้ได้ยอด เพื่ออยู่ต่อ อย่าบอกนะครับว่า ลำบากนักก็ลาออกสิ่ คิดดีๆนะครับ ทางเลือกของคนเราทุกคนมันต่างกัน แต่ผมเองก็ลาออก
เอาหล่ะครับ ผมจะมาบอกถึงเหตุ และปัญหาครับ ธนาคารใหนๆ ก็ต้องการกำไรสูงๆ การลงทุนต่ำๆ ธุรกิจประกันนี่แหล่ะ มันใช่เลย พอทีนี้ทุกๆธนาคาร

แย่งกันขาย การแข่งขันมันก็สูง แรงกดดันก็เยอะ ผู้บริหารก็กดดันลูกน้องเป็นทอดๆลงมา จนสุดท้ายแรงอันมหาศาลก็กดอยู่ที่ฐาน คือพนักงาน พอพนักงานขายไม่ได้ตามเป้า ทีนี้แหล่ะครับ คำดุด่า คำประชดประชันต่างๆนา มันจะถาโถมเข้ามาหาพนักงาน ยกตัวอย่างนะครับ
- ทำไม่ได้ก็ออกไป รับคนใหม่มา เงินเดือนก็นอนกว่า กลุ่มลูกค้าก็ใหม่ด้วย
- ทำไม่ได้ ก็มีค่าแค่หมาตัวนึง
- ธนาคารจ้างมาทำงาน ทำไม่ได้อยู่ไปก็เลี้ยงเสียข้าวสุก
อย่างที่ว่านะครับ ทางเลือกคนเรามันต่างกัน คนทนได้ก็ทนไป มีทางเลือกหน่อยก็ลาออก แต่ปัญหามันอยู่ที่พนักงานที่ไม่มีทางเลือกนี่แหล่ะครับ จำเป็นต้องทำทุกๆอย่างเพื่อทำยอดให้ได้ มันเลยเกิดปัญหาตามมา พอมีปัญหาแล้ว ธนาคารทำไงหล่ะครับ ก็ตัดหางปล่อยวัดสิ่ครับ ไล่ออก เพระารับใหม่ ค่าจ้างน้อยกว่า และได้กลุ่มลูกค้าเพิ่ม สังเกตุดุเถอะครับ พนักงานธนาคารเข้าๆออกๆกันเป็นว่าเล่น ลองคิดดูนะครับ
-พนักงานขายได้ทำยอดได้ ก็โดนลูกค้าด่า เพราะใช้วิธีการสารพัดหลอกขาย
-พนักงานทำยอดไม่ได้ก็โดนด่า โดนกดดัน
ถ้าถามนะครับว่าพนักงานอยากขายมั้ย ประกันอ่ะ ตอบได้เลยครับว่าไม่
จากใจอดีตพนักงานธนาคารครับ ยกเลิกเถอะครับ ขายประกับกับธนาคาร
เพื่อพนักงาน และลูกค้านะครับ

แถมครับเผื่อจะได้รู้ทัน
เทคนิคการขายประกันภัยของพนักงานธนาคารที่เป็นปัญหา
๑.ขายบัตรกดเงินพ่วงประกัน
๑.๑ เมื่อลูกค้าเปิดบัญชี และมีความต้องการทำบัตรกดเงิน พนักงานจะแจ้งลูกค้าว่าบัตรกดเงินแบบธรรมดาหมด จะมีแต่เพียงบัตรที่มีความคุ้มครอง
๑.๒ คิดค่าบัตรธรรมดา และบวกกับประกันกล่อง พ่วงไป โดยแจ้งกับลูกค้าว่า แถมความคุ้มครอง เช่น
บัตรกดเงินแบบธรรมดา ๓๐๐ บาท
ประกันกล่อง ๒๐๐บาท
พนักงานจะแจ้งลูกค้าว่า ค่าธรรมเนียมบัตรกดเงินคือ ๕๐๐ บาท
๒.พูดให้เข้าใจว่าเป็นเงินฝากประจำ
๒.๑ เมื่อลูกค้าต้องการนำเงินมาฝากเป็นจำนวนมาก และต้อองการฝากประจำ พนักงานก็จะแนะนำประกันแบบสะสม โดยเลี่ยงคำพูดต่างๆ ที่จะทำให้ลูกค้าเทราบว่าเป็นประกัน และเมื่อถอนเงินคืนก่อนกำหนด จะไม่ได้รับเงินคืนเต็มจำนวน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วพนักงานจะเรียกว่าเป็นการออมเงิน ได้ดอกเบี้ยสูง
๒.๒ ตรวจสอบดูลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่เงินฝากจำนวนมาก และไม่มีการเคลื่อนไหวของเงินเป็นเวลานานๆ พนักงานก็จะพยายามชักจูงให้ลูกค้า โยกย้ายเงินส่วนนั้น มาทำประกัน โดยทำให้ลูกค้าคิดว่าเป็นเงินฝากประจำ ดอกเบี้ยสูง พร้อมแถมความคุ้มครอง
๓.เป็นช่องทางในการกู้ยืมเงิน
พนักงานจะบอกกับลูกค้าที่มีความต้องการที่จะกู้เงิน แต่ประวัติหรือข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า มีความเป็นไปได้ยากที่จะผ่านการพิจารณา ก็จะแนะนำให้ลูกค้าว่านำเงินมาออมระยะยาว เพื่อให้ธนาคารเห็นว่าลูกค้ามีศักยภาพในการชำระค่างวดได้ และเป็นเหมือนหลักประกัน ในการกู้ยืมเงิน
๔.สินเชื่อพ่วงประกัน
๔.๑เมื่อลูกค้าทำการยื่นของสินเชื่อกับทางธนาคาร และพนักงานเห็นว่ามีแนวโน้มผ่านการพิจารณาสูง พนักงานก็จะเสนอประกันวงเงินให้กับลูกค้า พร้อมทั้งขู่ลูกค้า หากไม่ทำประกันแล้ว สัญญาก็อาจจะไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งความจริงแล้ว ลูกค้ามีสิทธิ์เลือกที่จะทำหรือไม่ก็ได้
๔.๒ เมื่อทราบว่าลูกค้าผ่านการพิจารณาสินเชื่อ ก็จะคิดคำนวณค่างวด พร้อมบวกค่าเบี้ยประกัน แล้วแจ้งให้กับลูกค้า โดยที่ลูกค้าไม่ทราบว่า พนักงานได้พ่วงประกันไปให้แล้วเรียบร้อย
๕.ขายประกันทางโทรศัพท์
พนักงานจะอธิบายความคุ้มครอง และแจ้งว่าเป็นสิทธิ์พิเศษที่ลูกค้าได้รับ จากบัตรเครดิต จากบัตรกดเงิน เป็นต้น พนักงานจะพยายามพูดให้ลูกค้าเข้าใจว่า เป็นเพียงการตกลงรับสิทธิ์ แต่ที่จริงแล้วคือการตกลงให้หักเงินผ่านบัตร หรือการเรียกเก็บตามมาที่หลัง
๖. หลอกล่อด้วยผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน
พนักงานจะนำเสนอผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน ที่ได้กลับคืนในแต่ละปี ให้ดูมีมูลค่ามาก เมื่อเทียบกับเบี้ยประกันที่หารเฉลี่ยเป็นวัน ซึ่งแท้ที่จริงจะเรียกเก็บปีซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก เกินกว่าความสามารถที่ลูกค้าจะสามารถจ่ายได้
บอกก่อนนะครับว่าผมไม่เคยทำแบบนี้ ถึงทำยอดไม่ได้ โดนด่า 55555555 เลยลาออกครับ
จากใจอดีตพนักงานธนาคาร เบื่อประกันไม่ต่างจากผู้บริโภค
ผมเองทำงานในด้านสินเชื่อ และการขายผลิตภัณฑ์ต่างๆของทางธนาคาร ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เรื่องการขายประกัน มันมีอยู่หลายสาเหตุครับ ผมอยากให้มองในด้านของพนักงานนะครับ บางคนไม่มีทางเลือก จึงต้องทำงานต่อไป ทำทุกวิธีทางเพื่อให้ได้ยอด เพื่ออยู่ต่อ อย่าบอกนะครับว่า ลำบากนักก็ลาออกสิ่ คิดดีๆนะครับ ทางเลือกของคนเราทุกคนมันต่างกัน แต่ผมเองก็ลาออก
เอาหล่ะครับ ผมจะมาบอกถึงเหตุ และปัญหาครับ ธนาคารใหนๆ ก็ต้องการกำไรสูงๆ การลงทุนต่ำๆ ธุรกิจประกันนี่แหล่ะ มันใช่เลย พอทีนี้ทุกๆธนาคาร
- ทำไม่ได้ก็ออกไป รับคนใหม่มา เงินเดือนก็นอนกว่า กลุ่มลูกค้าก็ใหม่ด้วย
- ทำไม่ได้ ก็มีค่าแค่หมาตัวนึง
- ธนาคารจ้างมาทำงาน ทำไม่ได้อยู่ไปก็เลี้ยงเสียข้าวสุก
อย่างที่ว่านะครับ ทางเลือกคนเรามันต่างกัน คนทนได้ก็ทนไป มีทางเลือกหน่อยก็ลาออก แต่ปัญหามันอยู่ที่พนักงานที่ไม่มีทางเลือกนี่แหล่ะครับ จำเป็นต้องทำทุกๆอย่างเพื่อทำยอดให้ได้ มันเลยเกิดปัญหาตามมา พอมีปัญหาแล้ว ธนาคารทำไงหล่ะครับ ก็ตัดหางปล่อยวัดสิ่ครับ ไล่ออก เพระารับใหม่ ค่าจ้างน้อยกว่า และได้กลุ่มลูกค้าเพิ่ม สังเกตุดุเถอะครับ พนักงานธนาคารเข้าๆออกๆกันเป็นว่าเล่น ลองคิดดูนะครับ
-พนักงานขายได้ทำยอดได้ ก็โดนลูกค้าด่า เพราะใช้วิธีการสารพัดหลอกขาย
-พนักงานทำยอดไม่ได้ก็โดนด่า โดนกดดัน
ถ้าถามนะครับว่าพนักงานอยากขายมั้ย ประกันอ่ะ ตอบได้เลยครับว่าไม่
แถมครับเผื่อจะได้รู้ทัน
เทคนิคการขายประกันภัยของพนักงานธนาคารที่เป็นปัญหา
๑.ขายบัตรกดเงินพ่วงประกัน
๑.๑ เมื่อลูกค้าเปิดบัญชี และมีความต้องการทำบัตรกดเงิน พนักงานจะแจ้งลูกค้าว่าบัตรกดเงินแบบธรรมดาหมด จะมีแต่เพียงบัตรที่มีความคุ้มครอง
๑.๒ คิดค่าบัตรธรรมดา และบวกกับประกันกล่อง พ่วงไป โดยแจ้งกับลูกค้าว่า แถมความคุ้มครอง เช่น
บัตรกดเงินแบบธรรมดา ๓๐๐ บาท
ประกันกล่อง ๒๐๐บาท
พนักงานจะแจ้งลูกค้าว่า ค่าธรรมเนียมบัตรกดเงินคือ ๕๐๐ บาท
๒.พูดให้เข้าใจว่าเป็นเงินฝากประจำ
๒.๑ เมื่อลูกค้าต้องการนำเงินมาฝากเป็นจำนวนมาก และต้อองการฝากประจำ พนักงานก็จะแนะนำประกันแบบสะสม โดยเลี่ยงคำพูดต่างๆ ที่จะทำให้ลูกค้าเทราบว่าเป็นประกัน และเมื่อถอนเงินคืนก่อนกำหนด จะไม่ได้รับเงินคืนเต็มจำนวน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วพนักงานจะเรียกว่าเป็นการออมเงิน ได้ดอกเบี้ยสูง
๒.๒ ตรวจสอบดูลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่เงินฝากจำนวนมาก และไม่มีการเคลื่อนไหวของเงินเป็นเวลานานๆ พนักงานก็จะพยายามชักจูงให้ลูกค้า โยกย้ายเงินส่วนนั้น มาทำประกัน โดยทำให้ลูกค้าคิดว่าเป็นเงินฝากประจำ ดอกเบี้ยสูง พร้อมแถมความคุ้มครอง
๓.เป็นช่องทางในการกู้ยืมเงิน
พนักงานจะบอกกับลูกค้าที่มีความต้องการที่จะกู้เงิน แต่ประวัติหรือข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า มีความเป็นไปได้ยากที่จะผ่านการพิจารณา ก็จะแนะนำให้ลูกค้าว่านำเงินมาออมระยะยาว เพื่อให้ธนาคารเห็นว่าลูกค้ามีศักยภาพในการชำระค่างวดได้ และเป็นเหมือนหลักประกัน ในการกู้ยืมเงิน
๔.สินเชื่อพ่วงประกัน
๔.๑เมื่อลูกค้าทำการยื่นของสินเชื่อกับทางธนาคาร และพนักงานเห็นว่ามีแนวโน้มผ่านการพิจารณาสูง พนักงานก็จะเสนอประกันวงเงินให้กับลูกค้า พร้อมทั้งขู่ลูกค้า หากไม่ทำประกันแล้ว สัญญาก็อาจจะไม่ผ่านการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งความจริงแล้ว ลูกค้ามีสิทธิ์เลือกที่จะทำหรือไม่ก็ได้
๔.๒ เมื่อทราบว่าลูกค้าผ่านการพิจารณาสินเชื่อ ก็จะคิดคำนวณค่างวด พร้อมบวกค่าเบี้ยประกัน แล้วแจ้งให้กับลูกค้า โดยที่ลูกค้าไม่ทราบว่า พนักงานได้พ่วงประกันไปให้แล้วเรียบร้อย
๕.ขายประกันทางโทรศัพท์
พนักงานจะอธิบายความคุ้มครอง และแจ้งว่าเป็นสิทธิ์พิเศษที่ลูกค้าได้รับ จากบัตรเครดิต จากบัตรกดเงิน เป็นต้น พนักงานจะพยายามพูดให้ลูกค้าเข้าใจว่า เป็นเพียงการตกลงรับสิทธิ์ แต่ที่จริงแล้วคือการตกลงให้หักเงินผ่านบัตร หรือการเรียกเก็บตามมาที่หลัง
๖. หลอกล่อด้วยผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน
พนักงานจะนำเสนอผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน ที่ได้กลับคืนในแต่ละปี ให้ดูมีมูลค่ามาก เมื่อเทียบกับเบี้ยประกันที่หารเฉลี่ยเป็นวัน ซึ่งแท้ที่จริงจะเรียกเก็บปีซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก เกินกว่าความสามารถที่ลูกค้าจะสามารถจ่ายได้
บอกก่อนนะครับว่าผมไม่เคยทำแบบนี้ ถึงทำยอดไม่ได้ โดนด่า 55555555 เลยลาออกครับ