[13 Reasons Why][Spoil] ทำไมยิ่งดูยิ่งหงุดหงิดกับพฤติกรรมแฮนนา ?

พอดีพึ่งได้ฤกษ์ดู 13 Reasons Why เพิ่งจบ Ep12 แล้วเกิดอารมณ์เสีย (เสียนะ ไม่ใช่ เสียว) มากๆ 555

เพราะยิ่งดูมากเท่าไร ยิ่งหงุดหงิดกับพฤติกรรมแฮนนา

ไม่รุมีใครมองเหมือนผมมั้ย คือรู้สึกว่าเรื่องราวชีวิตบัดซบหลายๆเรื่องที่เกิดกับตัวเธอเนี่ย มันคือเธอพาตัวเองไปหาเหตุการณ์ร้ายๆเหล่านั้นเอง

และที่พีคสุดๆ เหตุการณ์ที่ทำให้ผมอารมณ์เสียสุดๆคือ ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

อุตส่าเอาใจช่วยมาทั้งเรื่อง ท้ายเรื่องทำไมอยากสมน้ำหน้าเธอ

เสียอารมณ์ดูต่อให้จบจริงๆ ให้ตายเถอะ

(สุดท้าย ด่าเราได้ แต่อย่าด่าแรงนะ เราอ่อนไหว ฮาาา เด๊วเราอัดเทปประจานคนด่านะเออ)
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ตอนแรกเราไม่เข้าใจท่าทีของแฮนน่าในตอนนั้นเหมือนกันค่ะ แต่พอได้เจอบทความนึง เค้าพูดถึงอาการของผู้ถูกข่มขืนที่ไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วไป อยากให้ลองอ่านกันนะคะ อาจจะยาวนิดนึง

"ผู้หญิงที่กำลังถูกข่มขืนมีปฏิกิริยาอย่างไร: ความจริงกับความเชื่อ

        เมื่อวานสอนวิชาสัมมนากฎหมายอาญา แล้วถามนักศึกษาว่า "พวกคุณคิดว่าผู้หญิงที่กำลังถูกข่มขืนเค้าจะมีปฏิกิริยาอย่างไร" นักศึกษาทั้งห้อง (11 คน ถามทีละคน) ซึ่งมีทั้งหญิงและชายตอบตรงกันว่าผู้หญิงก็คงจะดิ้นรน ขัดขืน และร้องเรียกให้คนช่วย คำตอบนี้ไม่แตกต่างกันกับคำตอบที่ถามในหลายๆ คลาสที่สอน และกับหลายๆ คนที่พูดคุย
       เรามักจะเชื่อกันอย่างนั้นเพราะส่วนใหญ่เราก็ไม่เคยถูกข่มขืน และถึงแม้ตามสถิติแล้วผู้หญิงทั่วโลกโดยเฉลี่ยทุก 1 ใน 5 คน จะเคยถูกข่มขืนหรือถูกพยายามข่มขืน แต่คนที่ผ่านประสบการณ์นี้ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ออกมาพูดให้เราฟัง เราจึงเรียนรู้ประสบการณ์แบบนี้ด้วยจินตนาการ ผ่านทางสื่อต่างๆ ซึ่งสร้างภาพให้เราเห็นว่าผู้หญิงที่ถูกข่มขืนจะดิ้นรนสุดกำลังและเรียกร้องให้คนมาช่วย เพื่อสร้างภาพเหยื่อให้น่าสงสารที่สุด
ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและควรต้องคุยกัน และผมไม่คิดว่าเราควรรู้สึกกระอักกระอ่วนที่ต้องพูดเรื่องความผิดเกี่ยวกับเพศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักกฎหมาย เพราะเมื่อเรามีความคาดหวังว่าผู้หญิงที่เป็นเหยื่อต้องมีปฏิกิริยาเช่นนี้ แล้วในชีวิตจริงเหยื่อนิ่งเฉยไม่โวยวาย ผู้กระทำความผิดอาจอ้างได้ว่ายินยอม เพราะถ้าไม่ยอมคงดิ้นแล้ว โวยวายแล้ว และเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้ (ดู CEDAW/C/57/D/34/2011 และ CEDAW/C/46/D/18/2008) รวมทั้งเป็นการวางตราบาปให้กับผู้หญิงที่ถูกข่มขืนว่าทำไมเราไม่สู้ ทำไมเราไม่หนี ถ้าเราทำแบบนั้น ผลคงไม่เป็นแบบนี้
         แล้วผู้หญิงโวยวาย ดิ้นรน และเรียกให้ช่วย..จริงหรือ? หรือถามใหม่ ในทางชีววิทยาผู้หญิงในสภาวะเช่นนั้นโวยวาย ดิ้นรน ร้องให้คนช่วยได้จริงหรือ?
         คำตอบอาจทำให้ประหลาดใจ เพราะถึงแม้โดยปกติเมื่อเราเผชิญกับภยันตรายร่างกายเราจะสั่งให้เราเข้าสู่สภาวะเตรียมพร้อมที่จะสู้ หรือหนี (fight or flight) ดวงตาเปิดกว้าง ลูกตาดำกรอกด้วยความเร็ว ได้ยินเสียงทุกอย่างอย่างชัดเจน แต่ถ้าภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่หนีไม่พ้น และรู้ว่าสู้ไม่สำเร็จ (สมองเราคำนวณความเป็นไปได้เร็วมากว่าจะชนะหรือแพ้ และการคำนวณนี้อยู่เหนือการควบคุมของเรา) และภยันตรายนั้นกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะการข่มขืนเป็นภยันตรายที่อยู่ในกลุ่มนี้สมองจะสั่งการให้เราอยู่เฉยๆ แล้วการสั่งการนี้ไม่ใช่การแนะนำของสมองต่อร่างกายนะครับ แต่เป็นการที่สมองยึดครองร่างกายไปจากเรา เพราะตอนนั้นสมองส่วนใช้เหตุผล (prefrontal cortex) จะถูกทำให้ใช้การณ์ไม่ได้ เราอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถสั่งการให้ร่างกายขยับได่ตามใจ (เหมือนกวางที่ถูกเสือจ้อง) ปฏิกิริยาโดยธรรมชาติของร่างกายเมื่ออยู่ในสภาวะสิ้นหวังนั้น จากตาเปิดกว้างตอนนี้เราจะปิดตาลง ตัวสั่นเทา อุณหภูมิร่างกายลดลง ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด หมดเรี่ยวแรง และในกรณีที่รุนแรงคือเราไม่รู้สึกถึงตัวตนหรือแยกตัวตนออกจากร่างกายที่ถูกกระทำ เราเรียกปฏิกิริยาทั้งหมดนี้ว่า "tonic immobility"
         แน่นอนว่าเราสามารถเอาชนะปฏิกิริยาธรรมชาติพวกนี้ ด้วยการฝึกฝนให้ร่างกายเราคุ้นเคยกับสภาวะหวาดกลัวและสิ้นหวังนั้น เหมือนทหารที่ทำให้คุ้นเคยกับเสียงดงกระสุน เมื่อสมองคุ้นชินความหวาดกลัวรูปแบบนี้ เราก็จะยังสามารถบังคับร่างกายได้ คำถามคือผู้หญิงที่เป็นเหยื่อได้ถูกฝึกหัดให้คุ้นชินกับความหวาดกลัวจากการถูกจู่โจมในทางเพศหรือไม่ ผมคิดว่าเรารู้ว่าคำตอบคือไม่ (เว้นแต่กรณีภรรยาถูกสามีข่มขืนเป็นประจำ แต่นั้นก็อาจอธิบายได้ว่าทำไมภรรยาถึงกล้าตอบโต้สามีมากกว่าผู้หญิงถูกคนแปลกหน้าจู่โจม เพราะภรรยา "อาจ" ไม่ได้หวาดกลัวสามี หรือคุ้นชินกับความหวาดกลัวนั้น เหมือนทหารที่ถูกฝึกฝน)
ผมหวังว่าเพื่อนใน fb ที่เป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่เมื่อเป็นผู้พิพากษาแล้ว หรือที่เป็นผู้พิพากษาอยู่เมื่อเจอคดีว่าผู้หญิงไม่ร้อง ไม่หนี ไม่ดิ้น จะเข้าใจปฏิกิริยาทางธรรมชาติของร่างกายได้ดีขึ้น และไม่ตัดสินคดีตามจินตนาการว่าการที่ไม่ร้อง ไม่หนี ไม่ดิ้น แปลว่ายอม ซึ่งนั่นไม่เพียงเป็นการทำลายชีวิตคนที่ถูกทำลายมาแล้วหนึ่งครั้ง แต่ยังเป็นการส่งต่อความเชื่อผิดๆให้กับคนรุ่นต่อไปด้วยครับ
#อย่าให้รุ่นลูกฉลาดเพียงเท่ารุ่นเรา #ข่มขืนไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
(รายละเอียดอาการและกรณีศึกษา tonic immobility ดูเพิ่มเติมที่ Fear and the Defense Cascade: Clinical Implications and Management บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารจิตเวชศาสตร์ ของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Harvard)
http://journals.lww.com/…/Fear_and_the_Defense_Cascade___Cl…
                
         เป็นโพส จากอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ. Ronnakorn bunmee (เป็นชื่อเฟชอาจารย์ค่ะ )
ความคิดเห็นที่ 4
ไม่แปลกนะที่จะรู้สึกอย่างนี้ แต่แฮนน่าอยู่ในสภาวะจิตใจที่แต่ละการตัดสินใจไม่ได้อยู่บนเหตุผลไง ถ้าเธอประคองสติตัวเองได้ เธอคงไม่ฆ่าตัวตายหรอก คนดูอย่างเราเป็นคนธรรมดา ๆ ที่ไม่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ไม่แปลกเลยที่จะไม่เข้าใจ กรณีของแฮนน่ามันเป็นภาวะซึมเศร้าเก็บกดมานาน เธอไม่ได้เห็นโลกนี้สวยงาม เธอไม่ได้มีคนคอยให้คำปรึกษา เธอไม่ได้ตัดสินใจถูกตลอดเวลา เราจึงให้เห็นสิ่งที่แฮนน่าแสดงออกบางครั้งก็น่าสงสารในความโชคร้ายของเธอ แต่บางครั้งก็เหมือนเธอคือคนที่ทำร้ายตัวเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่