ตอนแรกว่าจะรีวิว Macbook Pro 2017 15” แต่เห็นคนรีวิวเยอะแล้ว หาจากในเนตได้เยอะแยะ เลยคิดว่ามารีวิวตัวนี้ดีกว่ายังไม่เคยเห็นใครรีวิว CalDigit Thunderbolt Station 3 ครับ
เกริ่นก่อน
คงไม่ต้องบอกว่าคนที่ซื้อ Macbook ทุกคนต้องเจอปัญหากับการที่ต้องมานั่งปวดหัวหาสายอแดปเตอร์แปลงเป็นหัว USB-C เพื่อใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ แต่โชคดีที่มีผู้ผลิตผลิดอุปกรณ์ที่เป็น UCB-C Dock มาเยอะแยะมากมาย บางอันก็ใช้ดี บางอันก็ไม่ดี บางอันแรกๆดีหลังๆไม่ดีซะงั้น
ผมก็เป็นคนนึงที่เพิ่งอัพเกรดแมคมาเป็นตัวใหม่จากรุ่นปี 2015 จริงๆเจ้าตัว 2015 ก็ไม่ได้แย่อะไรแต่หลังๆมาผมตัดต่อวีดีโอเยอะมาก ทำให้เพื่อนบ้าง ทำเป็นงานอดิเรกบ้าง ซึ่งเจ้าเครื่องเก่ามันเริ่มออกอาการเต่าคลานอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับไม่ได้ซื้อของขวัญให้ตัวเองมาหลายปีแล้ว เลยถือโอกาสจัดเลยละกัน ตอนแรกเตรียมงบไว้สำหรับตัว 15 นิ้ว ล่างสุด ไปๆมาๆนั่งคิดเลยกัดฟันอัพเกรด SSD เป็น 512 Gb เลยละกัน เพราะต้องกินแกลบ เอ้ย ใช้นาน พอดูราคาแอบตกใจพอสมควร แต่ยังอยู่ในช่วงรับได้ ก่อนซื้อก็หาพวกหัวแปลง USB-C คุณภาพดี ตอนนั้นเล็งๆไว้ก็ของ Apple นั่นแหล่ะ ที่มันต่อออก HDMI ได้ ราคาแอบแพงแต่มันจำเป็นจริงๆ (ผมต้องซื้อสองอันเพราะผมมีสองจอ) โอเคสรุปราคาเสร็จสรรพ ถือว่ารับได้ แต่อยู่ดีๆเปลี่ยนใจไปซื้อ CalDigit TS3 แทน เพราะอะไรขอว่ากันท้ายๆครับ แต่ก่อนอื่นมาดูข้อแตกต่างระหว่าง Thunderbolt 3 กับ USB-C กันก่อนดีกว่า (สำหรับคนที่รู้แล้วข้ามไปได้เลยเน้อ)
Thunderbolt 3 VS USB-C
เอา USB ก่อน หลายคนคงสับสน USB-C คืออะไร แล้วมันต่างจาก USB3 ยังไง สรุปง่ายๆสองอย่างนี้มันคนละอย่างกันครับ
- USB-A, USB-B, USB-C เป็น
ประเภทของพอร์ต USB ซึ่ง 'หน้าตา' มันจะไม่เหมือนกัน อันนี้สังเกตได้จากการมองดูลักษณะของพอร์ต
- USB 0.x,1,2,3 เป็น
สเปค ของการส่งข้อมูลของพอร์ต USB ยิ่งสเปคสูง (ใหม่กว่า) ยิ่งเร็ว จริงๆมันมีเรื่องการกินพลังงานอีก แต่เอาไว้ก่อนละกัน จำง่ายๆว่ายิ่งสเปคสูง ยิ่งส่งข้อมูลได้เร็ว
ยกตัวอย่าง พอร์ต USB ส่วนใหญ่ที่เราเห็นอยู่ทั่วๆไปตามโน๊ตบุค หรือเดสก์ทอป มันคือ USB-A (Type A) เหลี่ยมๆนั่นแหล่ะ ซึ่งทั้ง USB2,3 มันใช้คู่กับพอร์ตหน้าตาแบบนี้หมด ดังนั้นพอจะซื้อคอมเราต้องถามคนขายว่าไอเจ้า USB เนี่ยะ มัน USB2 หรือ 3 กันแน่ (ส่วนใหญ่พอร์ต USB3 จะเป็นสีฟ้า USB2 จะเป็นสีขาว/ดำ เพื่อให้ผู้ซื้อแยกออกได้เอง แต่ผู้ผลิตบางเจ้าเช่น Apple ไม่ได้แยกสีให้เห็น) เพราะฉะนั้น พอร์ต USB หน้าตามันอาจจะเหมือนกัน แต่ความเร็วอาจจะต่างกันได้
สำหรับแมครุ่นใหม่ๆ หน้าตาของเจ้าพอร์ต Thunderbolt 3 มันเหมือนกับ USB-C เด๊ะ (หรือจะบอกได้ว่า Apple กับ Intel เค้าตั้งใจทำให้ Thunderbolt 3 มันหน้าตาเหมือนกันกับ USB-C ก็ได้) เพราะฉะนั้นเค้าเลยสร้างให้พอร์ตตัวนี้มันรองรับทั้ง USB3.1 ทั้ง Thunderbolt 3 ไปเลยยังไงล่ะ เพราะฉะนั้น วกกลับไปข้อสังเกตก่อนหน้า หากจะซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้พอร์ต USB-C ให้ถามคนขายว่าอุปกรณ์ตัวนี้รองรับ USB หรือ Thunderbolt เพราะหน้าตามันเหมือนกันแต่ความเร็วต่างกัน
Thunderbolt 3 เมื่อเทียบกับ USB นั้นมันเร็วกว่า USB มาก (Thunderbolt 3 - 40Gbps, USB3.1 - 10Gbps, USB3.0 - 5Gbps) ความเร็วระดับนี้ดียังไง ง่ายๆคือ หากใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ Thunderbolt 3 (พวก RAID storage ต่างๆที่มีพอร์ต Thunderbolt 3) ถ้าใช้โอนถ่ายข้อมูลอย่างเดียว มันจะเร็วมากๆ แปลงง่ายๆ 40Gbps = 5000 MB/S (หรือ 5 กิ๊กต่อวินาที) หรือนอกเหนือจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลแล้ว ด้วยสปีดที่มันสูงมากมันสามารถที่จะต่อจอ 5K ได้เช่นกัน ส่วน 4K รองรับสบาย แต่เอาจริงๆความเร็วที่ได้จากการต่อ external มันขึ้นอยู่กับ SSD ของแมคด้วยว่า max read/write speed มันเท่าไหร่ แมคที่มีความจุ SSD เยอะๆ มันจะมีค่า max read/write speed มากกว่ารุ่นที่ใช้ SSD ความจุน้อยๆ อีกปัจจัยคือความยาวของสาย Thunderbolt ถ้าอยากได้สปีดแบบ 40Gbps ต้องยาวไม่เกิน 0.5m
แต่อุปกรณ์ต่อพ่วงที่รองรับ Thunderbolt 3 มันแพงงงงงงมากกกกกกกกก บางอย่างแพงกว่าตัวแมคบุคอีก เพราะฉะนั้นสำหรับคนทั่วไปคงอีกสักพักกว่าราคามันจะพอจับต้องได้ แต่ๆๆ ข้อดีของเจ้าตัว Thunderbolt 3 เนี่ยะ ด้วยสปีดมันแล้วมันสามารถที่จะใช้ส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์หลายๆอย่างผ่านสาย ‘เส้นเดียว’ ได้ยังไงล่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ บนโต๊ะทำงานผมมี จอ 2 จอ กับ USB external 1 ตัว เวลาจะต่อผมจะต้องใช้พอร์ตทั้งหมด 3 พอร์ต (ตู่กับอะแดปเตอร์ USB-C to HDMI 2 ตัว กับ USB-C to USB-A 1 ตัว) กับอีก 1 พอร์ตต่อกับ power adapter ของตัวแมคบุค สรุปคือใช้ทุกพอร์ต เวลาจะถอดโน๊ตบุคออกต้องถอดทุกพอร์ต เวลาจะเสียบใช้งานต้องเสียบทุกพอร์ต หากมีอุปกรณ์ USB-C อีกตัวจะใช้ก็ต้องถอดพอร์ตใดพอร์ตนึงออกก่อน ซึ่งค่อนข้างวุ่นวายและเกะกะ เลยลองหาตัว Dock ดูแล้วก็มาเจอ CalDigit นี่แหล่ะที่น่าจะตอบโจทย์
ทำไมต้อง CalDigit Thunderbolt Station 3
เหตุผลชัดๆคือเพราะมันรองรับ Thunderbolt 3 ครับ ซึ่งต่างจาก Dock ส่วนใหญ่ในท้องตลาดที่รองรับแค่ USB3 ซึ่งข้อดีของเจ้า Thunderbolt3 ก็ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ข้อดีอีกอย่างนึงก็คือเจ้าตัว CalDigit TS3 มันสามารถส่งข้อมูลรวมถึงขาร์ต Macbook pro 15 นิ้วได้ผ่านสาย Thunderbolt เส้นเดียว ต้องบอกก่อนว่าในท้องตลาดมี Dock หลายตัวที่เคลมว่าชาร์ตตัว Macbook pro ได้ แต่มีไม่กี่รุ่นที่ชาร์ตตัว 15นิ้วได้ เพราะตัว 15นิ้ว (85W) มันต้องการพลังไฟมากกว่าตัว 13นิ้ว (60W) ประกอบกับด้วยขนาดที่เล็ก ไม่เกะกะ และวัสดุงานประกอบดี (เป็นอลูมิเนียมทั้งตัว)
หน้าตาประมาณนี้ ข้างหน้ามีพอร์ต Audio In/Out กับ USB-A 3.1
ในกล่องแถมยางรองมาให้ด้วย (ถอดออกได้) เพื่อให้สามารถวางในแนวนอนได้
ข้างหลังมีพอร์ตตามนี้
2 x Thunderbolt 3 (ไว้ต่อกับคอมอันนึง อีกอันนึงไว้ต่อออกอุปกรณ์ที่รองรับ Thunderbolt 3)
2 x USB3.1
2 x eSata 6G
1 x DisplayPort
1 x Gigabit Ethernet
และพอร์ตต่อกับหม้อแปลงภายนอก (หม้อแปลงมีมาให้ด้วย อย่างใหญ่ รองรับไฟ 100V-240V) ในกล่องแถมสาย Thunderbolt 3 มาให้ด้วย ความยาว 0.5 เมตร
ด้านล่างมีแผ่นยางไว้สำหรับวางในแนวตั้ง
ขนาดส่วนสูงพอๆกับ Seagate Backup Plus with Hub แต่ด้านลึกสั้นกว่าครึ่งๆ (ผมเอามาวางคู่กับเหมือนมี USB hub 3 พอร์ต ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งาน)
สายเดียวเอาอยู่ ชาร์ต, จอ 2 จอ, external harddisk
สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมที่ชื่อว่า CalDigit Docking Station Utility มาลงได้ ในกรณีที่เราต้องการถอดสายออกเราสามารถ eject พวกอุปกรณ์ external ต่างๆได้ในทีเดียว
สามารถต่อ Daisy chain จาก port Thunderbolt 3 ที่อยู่หลังตัว Dock ได้
(ภาษาบ้านๆคือต่อพ่วงนั่นแหล่ะ)
ข้อดี
- สายเดียวเอาอยู่ทั้งต่ออุปกรณ์ยันชาร์ตตัวเครื่อง ไม่เกะกะ
- อุปกรณ์งานประกอบดี
- ขนาดเล็กกระทัดรัด
- รองรับ USB3.1 เท่าที่รู้มามีอีกยี่ห้อที่สมรรถภาพใกล้เคียงกัน ชาร์ต Macbook Pro 15 นิ้วได้ คือ Elgato Thunderbolt 3 Dock แต่ตัวนั้นรองรับแค่ USB3.0)
- เสถียรพอสมควร ตั้งแต่ใช้งานมาเกือบสองเดือนยังไม่เจอปัญหา
ข้อเสีย
- แพง —‘ ($299) ไม่รู้เข้าเมืองไทยแล้วจะเท่าไหร่
- ไม่รู้จะเอาพอร์ต eSATA มาให้ทำไมตั้ง 2 พอร์ต ผมว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้พอร์ตนี้กันอยู่แล้ว น่าจะเอาพอร์ตนี้ออกแล้วใส่ USB3.1 มาให้แทน
- ผู้ใช้บางคนมีปัญหากับ noise หูฟังเวลาต่อเข้าพอร์ตหูฟังด้านหน้า ผมยังไม่เคยลองใช้ไว้เดี๋ยวจะมาอัพเดทอีกทีครับ
- หม้อแปลงใหญ่ และหนัก (อันนี้อาจจะไม่ใช่ข้อเสียก็ได้ เพราะก็ไม่ได้แบกไปไหน 555)
ส่วนตัวผมค่อนข้างพอใจนะ ใช้มาได้สองเดือนกว่าๆแล้วยังไม่เจอปัญหา ถือว่าเกินความคาดหมายครับ
*ถ้ารีวิวผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับยังมือใหม่ แต่พยายามอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด จริงๆถ้ามีเวลาผมกะจะทะยอยรีวิวอุปกรณ์หลายๆอย่างที่เราไม่ค่อยเห็นคนใช้ในเมืองไทย ส่วนใหญ่เป็นของที่ผมซื้อมาใช้ได้สักพักแล้วชอบเลยอยากจะรีวิวให้คนไทยด้วยกันได้เห็นภาพครับ ถ้าชอบรีวิวแบบนี้กระซิบบอกกันได้นะครับจะได้ทะยอยๆเขียนรีวิวโปรดักตัวอื่นๆให้
รีวิวอื่นๆ
กระเป๋า Peak Design Everyday Backpack กับ Everyday Sling
https://pantip.com/topic/36690823
Surface Pro 4
https://pantip.com/topic/35138586
[CR] รีวิว CalDigit Thunderbolt Station 3 สุดยอด Thunderbolt 3 Dock สำหรับ MacBook Pro
เกริ่นก่อน
คงไม่ต้องบอกว่าคนที่ซื้อ Macbook ทุกคนต้องเจอปัญหากับการที่ต้องมานั่งปวดหัวหาสายอแดปเตอร์แปลงเป็นหัว USB-C เพื่อใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ แต่โชคดีที่มีผู้ผลิตผลิดอุปกรณ์ที่เป็น UCB-C Dock มาเยอะแยะมากมาย บางอันก็ใช้ดี บางอันก็ไม่ดี บางอันแรกๆดีหลังๆไม่ดีซะงั้น
ผมก็เป็นคนนึงที่เพิ่งอัพเกรดแมคมาเป็นตัวใหม่จากรุ่นปี 2015 จริงๆเจ้าตัว 2015 ก็ไม่ได้แย่อะไรแต่หลังๆมาผมตัดต่อวีดีโอเยอะมาก ทำให้เพื่อนบ้าง ทำเป็นงานอดิเรกบ้าง ซึ่งเจ้าเครื่องเก่ามันเริ่มออกอาการเต่าคลานอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับไม่ได้ซื้อของขวัญให้ตัวเองมาหลายปีแล้ว เลยถือโอกาสจัดเลยละกัน ตอนแรกเตรียมงบไว้สำหรับตัว 15 นิ้ว ล่างสุด ไปๆมาๆนั่งคิดเลยกัดฟันอัพเกรด SSD เป็น 512 Gb เลยละกัน เพราะต้องกินแกลบ เอ้ย ใช้นาน พอดูราคาแอบตกใจพอสมควร แต่ยังอยู่ในช่วงรับได้ ก่อนซื้อก็หาพวกหัวแปลง USB-C คุณภาพดี ตอนนั้นเล็งๆไว้ก็ของ Apple นั่นแหล่ะ ที่มันต่อออก HDMI ได้ ราคาแอบแพงแต่มันจำเป็นจริงๆ (ผมต้องซื้อสองอันเพราะผมมีสองจอ) โอเคสรุปราคาเสร็จสรรพ ถือว่ารับได้ แต่อยู่ดีๆเปลี่ยนใจไปซื้อ CalDigit TS3 แทน เพราะอะไรขอว่ากันท้ายๆครับ แต่ก่อนอื่นมาดูข้อแตกต่างระหว่าง Thunderbolt 3 กับ USB-C กันก่อนดีกว่า (สำหรับคนที่รู้แล้วข้ามไปได้เลยเน้อ)
Thunderbolt 3 VS USB-C
เอา USB ก่อน หลายคนคงสับสน USB-C คืออะไร แล้วมันต่างจาก USB3 ยังไง สรุปง่ายๆสองอย่างนี้มันคนละอย่างกันครับ
- USB-A, USB-B, USB-C เป็นประเภทของพอร์ต USB ซึ่ง 'หน้าตา' มันจะไม่เหมือนกัน อันนี้สังเกตได้จากการมองดูลักษณะของพอร์ต
- USB 0.x,1,2,3 เป็นสเปค ของการส่งข้อมูลของพอร์ต USB ยิ่งสเปคสูง (ใหม่กว่า) ยิ่งเร็ว จริงๆมันมีเรื่องการกินพลังงานอีก แต่เอาไว้ก่อนละกัน จำง่ายๆว่ายิ่งสเปคสูง ยิ่งส่งข้อมูลได้เร็ว
ยกตัวอย่าง พอร์ต USB ส่วนใหญ่ที่เราเห็นอยู่ทั่วๆไปตามโน๊ตบุค หรือเดสก์ทอป มันคือ USB-A (Type A) เหลี่ยมๆนั่นแหล่ะ ซึ่งทั้ง USB2,3 มันใช้คู่กับพอร์ตหน้าตาแบบนี้หมด ดังนั้นพอจะซื้อคอมเราต้องถามคนขายว่าไอเจ้า USB เนี่ยะ มัน USB2 หรือ 3 กันแน่ (ส่วนใหญ่พอร์ต USB3 จะเป็นสีฟ้า USB2 จะเป็นสีขาว/ดำ เพื่อให้ผู้ซื้อแยกออกได้เอง แต่ผู้ผลิตบางเจ้าเช่น Apple ไม่ได้แยกสีให้เห็น) เพราะฉะนั้น พอร์ต USB หน้าตามันอาจจะเหมือนกัน แต่ความเร็วอาจจะต่างกันได้
สำหรับแมครุ่นใหม่ๆ หน้าตาของเจ้าพอร์ต Thunderbolt 3 มันเหมือนกับ USB-C เด๊ะ (หรือจะบอกได้ว่า Apple กับ Intel เค้าตั้งใจทำให้ Thunderbolt 3 มันหน้าตาเหมือนกันกับ USB-C ก็ได้) เพราะฉะนั้นเค้าเลยสร้างให้พอร์ตตัวนี้มันรองรับทั้ง USB3.1 ทั้ง Thunderbolt 3 ไปเลยยังไงล่ะ เพราะฉะนั้น วกกลับไปข้อสังเกตก่อนหน้า หากจะซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้พอร์ต USB-C ให้ถามคนขายว่าอุปกรณ์ตัวนี้รองรับ USB หรือ Thunderbolt เพราะหน้าตามันเหมือนกันแต่ความเร็วต่างกัน
Thunderbolt 3 เมื่อเทียบกับ USB นั้นมันเร็วกว่า USB มาก (Thunderbolt 3 - 40Gbps, USB3.1 - 10Gbps, USB3.0 - 5Gbps) ความเร็วระดับนี้ดียังไง ง่ายๆคือ หากใช้กับอุปกรณ์ที่รองรับ Thunderbolt 3 (พวก RAID storage ต่างๆที่มีพอร์ต Thunderbolt 3) ถ้าใช้โอนถ่ายข้อมูลอย่างเดียว มันจะเร็วมากๆ แปลงง่ายๆ 40Gbps = 5000 MB/S (หรือ 5 กิ๊กต่อวินาที) หรือนอกเหนือจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลแล้ว ด้วยสปีดที่มันสูงมากมันสามารถที่จะต่อจอ 5K ได้เช่นกัน ส่วน 4K รองรับสบาย แต่เอาจริงๆความเร็วที่ได้จากการต่อ external มันขึ้นอยู่กับ SSD ของแมคด้วยว่า max read/write speed มันเท่าไหร่ แมคที่มีความจุ SSD เยอะๆ มันจะมีค่า max read/write speed มากกว่ารุ่นที่ใช้ SSD ความจุน้อยๆ อีกปัจจัยคือความยาวของสาย Thunderbolt ถ้าอยากได้สปีดแบบ 40Gbps ต้องยาวไม่เกิน 0.5m
แต่อุปกรณ์ต่อพ่วงที่รองรับ Thunderbolt 3 มันแพงงงงงงมากกกกกกกกก บางอย่างแพงกว่าตัวแมคบุคอีก เพราะฉะนั้นสำหรับคนทั่วไปคงอีกสักพักกว่าราคามันจะพอจับต้องได้ แต่ๆๆ ข้อดีของเจ้าตัว Thunderbolt 3 เนี่ยะ ด้วยสปีดมันแล้วมันสามารถที่จะใช้ส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์หลายๆอย่างผ่านสาย ‘เส้นเดียว’ ได้ยังไงล่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ บนโต๊ะทำงานผมมี จอ 2 จอ กับ USB external 1 ตัว เวลาจะต่อผมจะต้องใช้พอร์ตทั้งหมด 3 พอร์ต (ตู่กับอะแดปเตอร์ USB-C to HDMI 2 ตัว กับ USB-C to USB-A 1 ตัว) กับอีก 1 พอร์ตต่อกับ power adapter ของตัวแมคบุค สรุปคือใช้ทุกพอร์ต เวลาจะถอดโน๊ตบุคออกต้องถอดทุกพอร์ต เวลาจะเสียบใช้งานต้องเสียบทุกพอร์ต หากมีอุปกรณ์ USB-C อีกตัวจะใช้ก็ต้องถอดพอร์ตใดพอร์ตนึงออกก่อน ซึ่งค่อนข้างวุ่นวายและเกะกะ เลยลองหาตัว Dock ดูแล้วก็มาเจอ CalDigit นี่แหล่ะที่น่าจะตอบโจทย์
ทำไมต้อง CalDigit Thunderbolt Station 3
เหตุผลชัดๆคือเพราะมันรองรับ Thunderbolt 3 ครับ ซึ่งต่างจาก Dock ส่วนใหญ่ในท้องตลาดที่รองรับแค่ USB3 ซึ่งข้อดีของเจ้า Thunderbolt3 ก็ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ข้อดีอีกอย่างนึงก็คือเจ้าตัว CalDigit TS3 มันสามารถส่งข้อมูลรวมถึงขาร์ต Macbook pro 15 นิ้วได้ผ่านสาย Thunderbolt เส้นเดียว ต้องบอกก่อนว่าในท้องตลาดมี Dock หลายตัวที่เคลมว่าชาร์ตตัว Macbook pro ได้ แต่มีไม่กี่รุ่นที่ชาร์ตตัว 15นิ้วได้ เพราะตัว 15นิ้ว (85W) มันต้องการพลังไฟมากกว่าตัว 13นิ้ว (60W) ประกอบกับด้วยขนาดที่เล็ก ไม่เกะกะ และวัสดุงานประกอบดี (เป็นอลูมิเนียมทั้งตัว)
2 x Thunderbolt 3 (ไว้ต่อกับคอมอันนึง อีกอันนึงไว้ต่อออกอุปกรณ์ที่รองรับ Thunderbolt 3)
2 x USB3.1
2 x eSata 6G
1 x DisplayPort
1 x Gigabit Ethernet
และพอร์ตต่อกับหม้อแปลงภายนอก (หม้อแปลงมีมาให้ด้วย อย่างใหญ่ รองรับไฟ 100V-240V) ในกล่องแถมสาย Thunderbolt 3 มาให้ด้วย ความยาว 0.5 เมตร
(ภาษาบ้านๆคือต่อพ่วงนั่นแหล่ะ)
ข้อดี
- สายเดียวเอาอยู่ทั้งต่ออุปกรณ์ยันชาร์ตตัวเครื่อง ไม่เกะกะ
- อุปกรณ์งานประกอบดี
- ขนาดเล็กกระทัดรัด
- รองรับ USB3.1 เท่าที่รู้มามีอีกยี่ห้อที่สมรรถภาพใกล้เคียงกัน ชาร์ต Macbook Pro 15 นิ้วได้ คือ Elgato Thunderbolt 3 Dock แต่ตัวนั้นรองรับแค่ USB3.0)
- เสถียรพอสมควร ตั้งแต่ใช้งานมาเกือบสองเดือนยังไม่เจอปัญหา
ข้อเสีย
- แพง —‘ ($299) ไม่รู้เข้าเมืองไทยแล้วจะเท่าไหร่
- ไม่รู้จะเอาพอร์ต eSATA มาให้ทำไมตั้ง 2 พอร์ต ผมว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้พอร์ตนี้กันอยู่แล้ว น่าจะเอาพอร์ตนี้ออกแล้วใส่ USB3.1 มาให้แทน
- ผู้ใช้บางคนมีปัญหากับ noise หูฟังเวลาต่อเข้าพอร์ตหูฟังด้านหน้า ผมยังไม่เคยลองใช้ไว้เดี๋ยวจะมาอัพเดทอีกทีครับ
- หม้อแปลงใหญ่ และหนัก (อันนี้อาจจะไม่ใช่ข้อเสียก็ได้ เพราะก็ไม่ได้แบกไปไหน 555)
ส่วนตัวผมค่อนข้างพอใจนะ ใช้มาได้สองเดือนกว่าๆแล้วยังไม่เจอปัญหา ถือว่าเกินความคาดหมายครับ
*ถ้ารีวิวผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับยังมือใหม่ แต่พยายามอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด จริงๆถ้ามีเวลาผมกะจะทะยอยรีวิวอุปกรณ์หลายๆอย่างที่เราไม่ค่อยเห็นคนใช้ในเมืองไทย ส่วนใหญ่เป็นของที่ผมซื้อมาใช้ได้สักพักแล้วชอบเลยอยากจะรีวิวให้คนไทยด้วยกันได้เห็นภาพครับ ถ้าชอบรีวิวแบบนี้กระซิบบอกกันได้นะครับจะได้ทะยอยๆเขียนรีวิวโปรดักตัวอื่นๆให้
รีวิวอื่นๆ
กระเป๋า Peak Design Everyday Backpack กับ Everyday Sling
https://pantip.com/topic/36690823
Surface Pro 4
https://pantip.com/topic/35138586