ผมมาเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ มักจะเดินดูรอบๆตัวเมืองส่วนใหญ่เป็นวัด อาคารเก่า มาเชียงใหม่เห็นว่ามีเจดีย์เก่า เจดีย์ร้างอยู่หลายองค์ เลยใช้เป็นเป้าหมายในการเที่ยวควบคู่ไปกับวัดอื่นๆ จะเน้นวัดร้าง วัดที่มีเจดีย์ทรงแปลกๆ ส่วนวัดที่รู้จักกันแล้ว เช่น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง วัดพันเตา วัดเจ็ดยอด วัดเเชียงมั่น ข้อมูลมีเห็นทั่วไปแล้ว แบ่งพื้นที่รอบนอกประตูสวนดอก ประตูเชียงใหม่ ประตูช้างเผือก และในตัวเมือง
ส่วนบริเวณประตูสวนดอกและเชิงดอยสุเทพ
1.วัดอุ้มโอ (ร้าง) ใกล้โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ซอยบุญเรืองฤทธิ์ ซอย 2

เรียกชื่อตามที่มีพระเจ้าอุ้มโอทั้ง 4 ด้านขององค์เจดีย์ โบราณสถานแห่งนี้ประกอบด้วยเจดีย์และวิหาร เจดีย์มีสภาพชำรุด เรือนธาตุสี่เหลี่ยม มีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน มีลวดลายปูนปั้นประดับ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21
ลวดลายปูนปั้น

ลวดลายเสากรอบซุ้มและเสาผนัง มีกาบบน กาบล่างและประจำยามอก โดยกาบล่างรูปเทวดาพนมมือ
2.วัดแสนตาห้อย (ใกล้ประตูสวนดอก ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ)
ไม่ปรากฏหลักฐานในตำนานและพงศาวดารเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันเหลือหลักฐานเจดีย์ 1 องค์ แบบล้านนา ลักษณะเจดีย์เรือนธาตุสี่เหลี่ยมยกเก็จตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นมาลัยเถาซ้อนกันเป็นชั้นๆ และ องค์ระฆังกลม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์และปล้องไฉน จากรูปแบบของสถาปัตยกรรมดังกล่าว สามารถกำหนดยุคสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 21
ลักษณะของเจดีย์เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นชั้นลูกแก้วย่อเก็จถัดขึ้นไปเป็นชั้นแปดเหลี่ยมและชั้นกลมรองรับองค์ระฆังกลม
3.เจดีย์วัดป่าแดงหลวง (ร้าง) ถนนสุเทพ ซอยบ้านใหม่หลังมอ ซอย 4 หรือ ซอย 5

เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1990 โดยพญาติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิพระราชมารดาและพระบิดาของพระองค์ ลักษณะประกอบของเจดีย์มีความสัมพันธ์กับเจดีย์ช้างล้อมศรีสัชนาลัย ประกอบด้วยฐานเขียงทรงสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้นแล้วเคยปรากฏรูปปั้นช้างล้อมองค์เจดีย์ ลำตัวของช้างเหล่านั้นติดกับติดกับฐานเขียงทรงสี่เหลี่ยมแต่ปัจจุบันชำรุดหลุดหมด
ลวดลายปูนปั้น

ที่ซุ้มจระนำและเสากรอบซุ้มลวดลาย พรรณพฤกษา
4.เจดีย์วัดอุโมงค์
เป็นเจดีย์ทรงระฆังของศิลปะล้านนาสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19
5.วัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม)
เจดีย์องค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีฐานสี่เหลี่ยม เรือนฐานกลมซ้อนกัน 7 ชิ้น และมีซุ้มไว้พระพุทธรูปนั่ง ส่วนบนสุดมีองค์ระฆังเล็กๆ กลมตั้งอยู่ ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่มีเจดีย์ลักษณะนี้อยู่เพียง 3 องค์ คือ วัดร่ำเปิง วัดพวกพงส์ และวัดเจดีย์ปล่ององค์หนึ่ง โดยเฉพาะองค์ที่วัดร่ำเปิงนี้มีสภาพดีที่สุดและกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะไว้แล้ว
เที่ยวชมโบราณสถาน วัดร้าง เจดีย์เก่า รอบตัวเมืองเชียงใหม่
ส่วนบริเวณประตูสวนดอกและเชิงดอยสุเทพ
1.วัดอุ้มโอ (ร้าง) ใกล้โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ซอยบุญเรืองฤทธิ์ ซอย 2
เรียกชื่อตามที่มีพระเจ้าอุ้มโอทั้ง 4 ด้านขององค์เจดีย์ โบราณสถานแห่งนี้ประกอบด้วยเจดีย์และวิหาร เจดีย์มีสภาพชำรุด เรือนธาตุสี่เหลี่ยม มีซุ้มพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน มีลวดลายปูนปั้นประดับ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21
ลวดลายปูนปั้น
ลวดลายเสากรอบซุ้มและเสาผนัง มีกาบบน กาบล่างและประจำยามอก โดยกาบล่างรูปเทวดาพนมมือ
2.วัดแสนตาห้อย (ใกล้ประตูสวนดอก ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ)
ไม่ปรากฏหลักฐานในตำนานและพงศาวดารเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันเหลือหลักฐานเจดีย์ 1 องค์ แบบล้านนา ลักษณะเจดีย์เรือนธาตุสี่เหลี่ยมยกเก็จตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นมาลัยเถาซ้อนกันเป็นชั้นๆ และ องค์ระฆังกลม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์และปล้องไฉน จากรูปแบบของสถาปัตยกรรมดังกล่าว สามารถกำหนดยุคสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 21
ลักษณะของเจดีย์เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นชั้นลูกแก้วย่อเก็จถัดขึ้นไปเป็นชั้นแปดเหลี่ยมและชั้นกลมรองรับองค์ระฆังกลม
3.เจดีย์วัดป่าแดงหลวง (ร้าง) ถนนสุเทพ ซอยบ้านใหม่หลังมอ ซอย 4 หรือ ซอย 5
เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1990 โดยพญาติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิพระราชมารดาและพระบิดาของพระองค์ ลักษณะประกอบของเจดีย์มีความสัมพันธ์กับเจดีย์ช้างล้อมศรีสัชนาลัย ประกอบด้วยฐานเขียงทรงสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองชั้นแล้วเคยปรากฏรูปปั้นช้างล้อมองค์เจดีย์ ลำตัวของช้างเหล่านั้นติดกับติดกับฐานเขียงทรงสี่เหลี่ยมแต่ปัจจุบันชำรุดหลุดหมด
ลวดลายปูนปั้น
ที่ซุ้มจระนำและเสากรอบซุ้มลวดลาย พรรณพฤกษา
4.เจดีย์วัดอุโมงค์
เป็นเจดีย์ทรงระฆังของศิลปะล้านนาสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19
5.วัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม)
เจดีย์องค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีฐานสี่เหลี่ยม เรือนฐานกลมซ้อนกัน 7 ชิ้น และมีซุ้มไว้พระพุทธรูปนั่ง ส่วนบนสุดมีองค์ระฆังเล็กๆ กลมตั้งอยู่ ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่มีเจดีย์ลักษณะนี้อยู่เพียง 3 องค์ คือ วัดร่ำเปิง วัดพวกพงส์ และวัดเจดีย์ปล่ององค์หนึ่ง โดยเฉพาะองค์ที่วัดร่ำเปิงนี้มีสภาพดีที่สุดและกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะไว้แล้ว