ไม่ใช่แค่ GL นะ ตัวอื่นในกลุ่มก็น่ากลัว

สืบเนื่องจากกระทู้

https://pantip.com/topic/36208200

ส่วนใหญ่ปัญหาที่นำมาซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจ มักจะมาจากปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินที่มากเกินความเป็นจริง และ หากมีการ default มากขึ้น จะขายทรัพย์สินที่ยึดมาซึ่งไม่รู้ว่ามูลค่าตามที่ประเมินได้หรือไม่ เพราะตัวมูลค่าทรัพย์สินเอง ไม่สามารถ cover debt ของตัวเอง และ กำลังซื้อแทบไม่มี

อีกอย่างคือปัญหาสภาพคล่องครับ ธนาคารหรือ พวกบ. เงินทุน จะเจ้งหรือไม่เจ้งดูที่สภาพคล่องครับ ว่าจะสามารถจ่ายหนี้เมื่อถึงเวลาจ่ายหรือเปล่า

อย่างงบ Mxxx ปี 59 ดูอย่างคร่าวๆ น่าเป็นห่วงคือ มีเงินกู้ยืมระยะสั้นถึง 1 หมื่นล้าน รวมหนี้สินหมุนเวียน 1.3 หมื่นล้าน เงินสดมีแค่ 500ล้าน ลูกหนี้มีถึง 23000 ล้าน เป็นลูกหนี้ระยะ 1 ปี 1.5 หมื่นล้าน รวมสินทรัพย์หมุนเวียน มีเกือบ 1.6 หมื่นล้าน ถ้ามีลูกหนี้ผิดนัดชำระ ระดับนึง หรือมีลูกหนี้ระยะยาวมาก มีปัญหาแน่นอน ต้อง rollover หนี้ระยะสั้นก็คือกู้ใหม่ คำถามคือจากไหน? ต้นทุนการกู้ต้องสูงขึ้นเพราะ liquidity ในระบบลดลง และจะกู้ได้หรือไม่? แต่เงินกู้ยืมระยะสั้นถึง 1 หมื่นล้าน เป็น เงินที่เยอะระดับนึงที่ต้องหามาไฟแนนซ์ระยะสั้น ดูแล้วไม่น่าจะเป็นงานง่ายเลย

มีอีกประเด็นที่สำคัญหลังดูงบการเงินของ ทั้ง Mxxx และ Sxxxx คือการเพิ่มขึ้นของ เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ทั้งสองบริษัท เพิ่มขึ้นประมาณ 5 และ 3.5 เท่าจากปี 58  โดย Mxxx มี เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ปี 58 2900 ล้าน ปี 59 9700 ล้าน ขณะที่ Sxxxx ปี 58 1000 ล้าน ปี 59 5000 ล้าน

ปกติถ้าเราประกอบธุรกิจ กู้ยืมจากสถาบันการเงิน เราต้องมีหลักทรัพย์เช่นบ้าน ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์เพื่อค้ำประกัน แล้วผมอยากถามว่า เขาใช้อะไรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ถ้าดูจาก งบดุล ก็ต้องเป็น ลูกหนี้ ถามว่ามันไม่เสี่ยงไปหน่อยหรือสำหรับสถาบันการเงินที่จะใช้ลูกหนี้ในการค้ำประกัน หนี้มากมายเช่นนี้ ผมลองไปดูในงบการเงินต่อ มันมาจากตั๋ว B/E ที่ออกสู่ตลาดตราสารหนี้ ซึ่งพวกกองทุนของธนาคารจะเป็นฝ่ายรับซื้อ ไม่ทราบเคยไปแบงก์แล้วมี จนท เสนอว่าฝากในแบงก์ดอกเบี้ยน้อย ไปซื้อกองทุนตราสารเงินผลตอบแทนจะดีกว่าแบงก์หน่อย 1.5% bla bla bla นั่นแหละครับ แต่ตามหลักแล้วเมื่อตราสารเมื่อออกสู่ตลาดแล้วจะต้องมี สถาบันจัดอันดับ ให้การรับรอง เราลองไปดูกันว่าเขาวิเคราะห์เพื่อจัดอันดับยังไง
http://www.trisrating.com/th/pdf/announcement/MTLS58-t-101116.pdf
สิ่งที่ tris วิเคราะห์ focus แต่กำไรและผลประกอบการ ซื่งมันควรจะเป็นตราสารทุนไม่ใช่วิเคราะห์ตราสารหนี้ หากวิเคราะห์ในเชิงตราสารหนี้ต้องวิเคราะห์ในเชิงของความเสี่ยงที่จะได้หนี้คืน เช่น Debt/Equity 0.72 ธค ปี 57 1.31 ธค ปี 58 2.41 กย ปี 59 (เป็นเวลาที่ออกรายงาน) 2.65 ธค ปี 59(เวลาในงบสิ้นปี) อัตราส่วนเงินสด/หนี้สินหมุนเวียน  อัตราส่วนทรัพย์สินหมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน ฯลฯ เอาแค่ D/E Ratio 0.72 ->1.31->2.65 แล้วคงอันดับ rating ผมว่ามันขัดกับ common sense ของผม(ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ครับ) ส่วนบริษัทอื่นก็ขอให้ท่านไปดูเอาเองนะครับ คำนวนคร่าวๆก็ไม่ได้หนีกันเท่าไหร่ อย่าลืมว่าวิกฤติ hamburger สถาบันการจัดอันดับของ US ก็มีผลนำไปสู่วิกฤติอย่างมากนะครับ เมื่อจัดอันดับ subprime เป็น AAA ตอนนี้อาจจะยังพอแก้ไขทันนะครับ


ประเด็นที่สอง แสดงว่าการเติบโตของทั้ง 2 บริษัท (ไม่แน่ใจว่าทั้งอุตสาหกรรมหรือเปล่า) ใช้ ตั๋ว B/E เป็นส่วนสำคัญในการขยายอัตราการเติบโต สถานการณ์ปัจจุบันของ ตลาดเงินเป็นที่แน่นอนแล้วว่า fed จะขึ้นดอกเบี้ยหมายความว่าเขาจะพยายามดึงสภาพคล่องออกจากประเทศเขาแต่เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดการเงินแต่ละประเทศเชื่อมต่อกัน หมายความว่าสภาพคล่องในประเทศไทยจะน้อยลงในอนาคตอันใกล้ และจะน้อยลงเรื่อยๆในอนาคตอันไกล ปัญหาคือเมื่อสภาพคล่องน้อยลง แล้วจะ finance ตัวเองยังไง แล้วสถาบันการเงินจะสามารถ tap in ในตลาดตราสารหนี้เหมือนเดิมเหรอครับ แล้วการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ยังขัดกับ common sense เหรอครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่