ดูแลห้องเช่าในคอนโดอยู่ ตอนนี้กิจการไม่ค่อยดี ภาษียังเก็บใช้ฐานเดิม มีวิธีจะลดภาษีได้บ้างมั๊ยคะ

เราเป็นผู้ดูแลห้องเช่าในคอนโดจำนวนมากในคอนโดแห่งหนึ่ง (เป็นกรรมสิทธิ์มากกว่า 50% ของห้องชุดทั้งหมด)
กรรมสิทธิ์เป็นของเจ้านายเราและนายได้จัดตั้งเป็นรูปแบบบริษัทเพื่อดำเนินกิจการให้เช่า
มีการชำระภาษีโรงเรือน, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกต้องตามเกณฑ์

การดำเนินธุรกิจ 5 ปีหลังแย่ลงเรื่อยๆ ปีที่แล้วคนเช่าออกไป 20 ห้อง มีคนเข้ามาใหม่ 2-3 ห้อง
รายได้ลดลงเป็นอย่างมาก คาดว่าปีนี้ติดลบแน่นอน
ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้น ทั้งค่าส่วนกลางที่ทางนิติขอเพิ่ม , ค่าพนักงาน ,
ตึกเก่ามากเกิน 30 ปี ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมส่วนกลางที่เค้าเรียกเก็บเพิ่ม ก็ต้องจ่ายก้อนใหญ่
ค่าตบแต่งห้องพัก ส่วนเฟอร์นิเจอร์ก็ใช้ของเก่าถูๆไถๆไป มีบางชิ้นพังจริงก็ซื้อใหม่

ตอนเราเริ่มทำงานที่นี่ใหม่ๆ (มากกว่า 10 ปี) ค่าเช่าห้องอยู่ที่ 6,500 บาท เป็นค่าเช่าเริ่มต้น พื้นที่ 43 ตรม.
ตั้งแต่ปี 2552 มา ลดค่าเช่าเหลือ 4,500 บาท เพิ่งขอขึ้นค่าเช่าลูกค้าได้ที่ 5,000 บาท เมื่อปีที่แล้ว
ส่วนห้องใหญ่พื้นที่ 7-80 ตรม. เราให้เช่าอยู่ที่ 5,500 บาทค่ะ แบบให้เช่าตามสภาพ
โดยให้ผู้เช่าเก่าที่รับสภาพได้และอนุญาตให้ตบแต่งเอง
แล้วเราจะรับผู้เช่าใหม่ๆมาเข้าห้อง 43 ตรม. ที่วางอยู่อีกเยอะ
ห้อง 7-80 ตรม. เคยให้เช่าอยู่ที่ 9,500-11,000 แล้วมาลดเหลือ 5,500 บาทน่ะค่ะ
แต่ทางเขตใช้เกณฑ์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วเป็นฐานในการประเมินมาตลอด โดยใช้ฐาน 6,500/11,000 บาท
เราจึงเสียภาษีแพงอยู่ตลอด

เร็วๆนี้ไปยื่นภาษีโรงเรือน ทางเขตไม่ค่อยเชื่อว่าห้องว่างมากกว่า 50% และไม่เชื่อว่าปล่อยเช่าราคาถูก
น่าจะมีผลกับการประเมินในปีนี้ และทางเขตก็ขอเรียกดูเอกสารหลายอย่าง ทางเรากำลังจัดเตรียมอยู่ค่ะ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
แต่เราเป็นคนดูค่าใช้จ่ายเอง ปีนี้ถ้าคนไม่เข้ามาเช่าอีก 10 ห้อง เราไม่มีเงินจ่ายภาษีโรงเรือนแน่นอนค่ะ
รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเหลือเดือนละ หมื่นบาทเศษเองค่ะ

อยากถามว่า เราสามารถต่อรองกับทางเขตเพื่อลดภาษีลงได้หรือไม่ค่ะปีละเกือบ 3 แสนบาท มันแพงเกินไปค่ะ จะไม่มีจ่ายแล้ว
คิดว่าเค้าควรจะประเมินจากรายได้ที่แท้จริงมากกว่านะคะ แล้วห้องว่างเกิน 50% แต่กลับมีเกณฑ์ลดหย่อนได้ไม่ถึง 50% (อันนี้ดูจากกระทู้เก่าๆ)
คือทางเขตกะว่าจะเก็บรายได้เข้าให้ได้มากที่สุด เราเข้าใจ แต่มันไม่มีเงินจ่ายจะทำยังไงดีล่ะคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่