ระบบทางกั้นรถไฟที่ตัดถนนมีหลักการทำงานอย่างไร มันรู้ได้ไงว่ารถไฟจะมา รถไฟไปแล้ว ใช้เซนเซอร์อะไร หรือคนสั่ง

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
มีตัวเซ็นเซอร์ติดอยู่ที่ราง ระบบที่ดีๆหน่อยเรียกว่า Axle Counter หรือตัวนับเพลาล้อ
โดยใช้หลักการของการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า ในการตรวจจับจำนวนเพลาล้อของโบกี้รถไฟ
โดยที่ตัวเซ็นเซอร์นี้ จะถูกติดตั้งห่างออกไปจากจุดตัดทั้งสองด้าน ด้านละ 7-800 เมตร

เมื่อรถไฟวิ่งผ่านตัวเซ็นเซอร์ มันจะนับเพลาล้อ และเมื่อรู้ว่าเป็นขบวนรถไฟ
มันก็จะส่งสัญญาณมาบอกตู้ควบคุมไม้กั้นอัตโนมัติ ให้ทำการกั้นถนน
และถ้ากั้นสำเร็จ ก็จะไปเปลี่ยนสถานะของไฟสัญญาณเพื่อบอก พขร. ให้ทราบ
ว่าไม้กั้นลงสนิทแล้ว ให้วิ่งผ่านได้ แต่ถ้ากั้นไม่สนิท ก็จะเป็นไฟสัญญาณสีแดง
เพื่อบอก พขร. ให้ลงห้ามล้อ ซึ่งระยะ 7-800 เมตรนี้ ก็คือระยะเบรกปลอดภัยของรถไฟนั่นเอง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ระบบเครื่องกั้นถนนของรถไฟ มีทั้งแบบใช้คนบังคับ (ซึ่งอาจเป็นในป้อมหรือที่สถานีที่อยู่ใกล้เครื่องกั้นมาก ๆ) และแบบเครื่องกั้นอัตโนมัติครับ

เครื่องกั้นอัตโนมัติก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า "แทร็ค" ก็คงคล้ายๆ เซ็นเซอร์ อยู่ตรงรางห่างจากจุดตัดถนนสักระยะหนึ่ง พอรถไฟผ่านถึงตรงนี้หรือที่เรียกว่า "เหยียบแทร็ค" เครื่องกั้นก็จะลงกั้น และสังเกตว่าพอรถไฟผ่านไป เครื่องกั้นไม่ได้ยกขึ้นทันที แต่ต้องรอสักครู่ให้รถไฟวิ่งไปเหยียบแทร็คอีกฝั่งหนึ่งก่อน เครื่องกั้นจึงจะยกขึ้น  ตอนนี้ บางคนใจร้อนก็รีบลอดหรือฝ่าไป หากเป็นทางคู่ก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะอาจมีรถไฟวิ่งมาอีกฝั่งหนึ่งได้  (เนื่องจากผมไม่แม่นเรื่องเทคนิค อาจเล่าผิดพลาดไปบ้าง แต่คร่าว ๆ ก็ประมาณนี้ครับ)

เพิ่มเติม ว่า พนักงานขับรถไฟจะไม่สามารถขับรถผ่านทางตัดโดยที่เครื่องกั้นไม่ลงเรียบร้อยได้เลย เพราะมีเสาอาณัติสัญญาณบังคับอยู่ ที่บางทีเราอาจเห็นเป็นไฟวาบห้าดวง หรือ เสาไฟสี ที่ถ้าเครื่องกั้นลงเรียบร้อยแล้ว ไฟวาบก็จะวาบเป็นระยะ หรือกรณีเป็นเสาไฟสี ก็จะเป็นสีเขียว เพื่อให้สัญญาณแก่พนักงานขับรถไฟเห็นแต่ไกลว่า ทางตัดนี้กั้นแล้ว จึงจะขับผ่านไปได้ (แต่ยังมีกรณีปลีกย่อยเกี่ยวกับสัญญาณเหล่านี้ ว่า ถ้าไฟเสียต้องทำยังไง อยู่ในข้อบังคับการเดินรถ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่